ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษหน้า  (อ่าน 3305 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษหน้า
« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2015, 23:50:36 »
‘นพ.รัชตะ’ ศึกกระทรวงหมอต้องจบบนโต๊ะเจรจา

สถานการณ์ความขัดแย้งในระบบหลักประกันสุขภาพรอบล่าสุด ที่ปะทุขึ้นมาปีกว่า และยังคงยืดเยื้อชนิดที่ไม่แน่ใจว่า ถึงที่สุดแล้วสถานการณ์นี้จะจบลงอย่างไรนั้น ประเด็นที่หลายฝ่ายเป็นห่วงคือ ความขัดแย้งครั้งนี้อาจจะกำลังทำให้ระบบสุขภาพไทย ซึ่งมีขอบเขตมากกว่า ระบบหลักประกันสุขภาพหรือระบบประกันสุขภาพภาครัฐ (แต่เป็นส่วนที่สำคัญมากในระบบสุขภาพไทย) ติดกับดักและไม่สามารถพัฒนาเดินหน้าไปได้อย่างที่ควรจะเป็น

ขณะที่มุมมองมองอีกด้าน กลับมองว่า ความขัดแย้งที่เกิดจากความเห็นต่างนั้น จะเป็นตัวที่ก่อเกิดทำให้ระบบสุขภาพของไทยเดินหน้าไปได้ เพราะผ่านการปะทะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนความเห็นต่างจนตกผลึกและนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพในภาพใหญ่ได้

ขณะเดียวกัน เมื่อมองหลักหมุดหมายที่สำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย ปี 2558 ถือเป็นปีที่ 13 ที่ไทยสามารถทำให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพได้อย่างถ้วนหน้า และแน่นอนว่า เป้าหมายไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้ แต่ต้องมีการพัฒนาและเดินหน้าต่อไป ซึ่งเป็นไปตามพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งยังคงมีภารกิจที่ท้าทายหลายประการในปัจจุบันและอนาคตสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นภาวะสังคมผู้สูงอายุ ความยั่งยืนด้านการคลัง การขยายตัวของเทคโนโลยี และการตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชน รวมถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และการสร้างความสมดุลระหว่างอำนาจของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ในระบบสาธารณสุขในประเทศไทย

ที่ผ่านมา ได้เกิดข้อเสนอด้านปฏิรูประบบสาธารณสุขที่หลากหลายและมีทิศทางตลอดจนการมุ่งเน้นเป้าหมายที่แตกต่างกัน กระทรวงสาธารณสุขเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณสุข ผ่านกลไกเขตบริการสุขภาพ โดยเชื่อว่าเป็นการปฏิรูประบบสาธารณสุขโดยใช้กลไกด้านการเงินการคลังได้ ขณะที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นำเสนอทิศทางการปฏิรูป โดยเน้นที่การกระจายอำนาจ และความเท่าเทียมในการเข้ารับบริการสาธารณสุขดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้งสองหน่วยงานหลักในระบบสาธารณสุขให้ความสำคัญกับทิศทางการปฏิรูปที่ต่างกัน โดยฝ่ายหนึ่งมุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพเป็นหลัก และความเท่าเทียมเป็นรอง ขณะที่อีกฝ่ายมุ่งเน้นเรื่องการสร้างความเท่าเทียมเป็นหลัก และประสิทธิภาพเป็นรอง

สำนักข่าว Health Focus จึงได้จัดทำซีรีย์ (series) ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษหน้าขึ้น โดยสัมภาษณ์นักคิด นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานในระบบสาธารณสุข ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในระบบสุขภาพไทย จำนวน 15 คน เพื่อร่วมถกเถียงแลกเปลี่ยนในประเด็น ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษหน้า และหวังว่าซีรีย์ชุดระบบสุขภาพไทยในทศวรรษหน้านี้ จะนำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับทุกฝ่ายในการออกแบบระบบสุขภาพที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทยอย่างแท้จริง

ตอนแรกพบกับ นพ.รัชตะ ศึกกระทรวงหมอต้องจบบนโต๊ะเจรจา

ความเคลื่อนไหวในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ช่วงชิงพื้นที่ข่าวบนหน้าสื่อมาโดยตลอด โดยเฉพาะช่วงการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส.ดูเหมือนว่า สธ.จะมีบทบาทสอดรับการเคลื่อนไหวมากที่สุด

แม้ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเข้าควบคุมอำนาจบริหารราชการและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อเดินหน้าปฏิรูป แต่บรรยากาศใน สธ.ก็ยังคงคุกรุ่นไม่เปลี่ยนแปลง

ขัดแย้งต้องจบในวงเจรจา

"ปัญหาแค่นี้หาทางออกได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร" คือคำยืนยันของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข (สธ.) ต่อความเห็นต่างเรื่องรูปแบบการจ่ายเงินใน "เขตสุขภาพ" ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

นั่นเพราะหลักใหญ่ใจความของนโยบายเขตสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี และทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรดำเนินการต่อไป

"เขตบริการสุขภาพหมายถึงกลุ่มจังหวัดที่สังกัดในเขต เราอยากให้แต่ละเขตใช้ทรัพยากรร่วมกันมากที่สุด โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นทรัพยากรของใคร ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยที่มีศักยภาพมากขึ้น ลดความแออัดและกระจุกตัวของผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่วนกลาง เพราะสามารถผ่องถ่ายผู้ป่วยกันในเขตได้ ซึ่งแนวทางเหล่านี้ทุกคนเห็นด้วยกันหมด ที่ยังเห็นไม่ตรงกันอยู่ก็คือเรื่องเงิน"

สำหรับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นพ.รัชตะ มั่นใจว่าสามารถจบลงได้ด้วยการเจรจา โดยที่ผ่านมามีการพูดคุยกันน้อยเกินไปจนทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งหลังจากนี้จะต้องพูดคุยกันให้มากขึ้น เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นกันให้มากขึ้น

"หลักการที่ผมใช้คือปรึกษาหารือกันโดยอิงความถูกต้องของข้อมูล เอาข้อมูลมาดูกันว่ามันผิดตรงไหน แก้กันอย่างไร และใช้กระบวนการรับฟังความเห็นให้มากขึ้น ปีนี้ผมต้องการรับฟังกันอย่างจริงจังถือเป็นนโยบาย เพราะครบรอบ 12 ปี ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เข้ามาช่วยเหลือประชาชนแล้ว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ต้องเอาให้จบ"

ในส่วนของการบริหารจัดการงบประมาณก็ต้องทำให้ดี แต่ยอมรับว่าอย่างไรแล้วก็ต้องเพิ่มขึ้น นั่นเพราะประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทุกปี หรือแม้แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ที่จะนำเข้ามาใช้สอยก็ทำให้ค่าใช้จ่ายก็ต้องเพิ่มขึ้น

"รัฐบาลต้องจัดงบประมาณให้เพียงพอ ไม่ใช่น้อยเกินไป อย่างปีที่แล้วก็ถูกตัดงบประมาณทั้งที่เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมันเพิ่มขึ้นทุกปี และแต่ละปีก็ไม่ได้ใช้เงินมากในการดูแลสุขภาพคนไทย แต่หลังจากนี้ต้องมุ่งไปเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค"

เดินหน้า 'มะเร็ง' มาตรฐานเดียว

ท่ามกลางกระแสปฏิรูปที่ดำเนินมานานกว่า 7 เดือน ภายใต้การบริหารราชการของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สธ.ได้วางรากฐานนโยบายสุขภาพสำหรับอนาคต เริ่มตั้งแต่การพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรทางการแพทย์ให้ได้ รวมไปถึงการลดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพ

ประการแรก ต้องสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพให้กับประชาชนอย่างครอบคลุม ทั้งด้านยา วัคซีน หรือเครื่องมือทางการแพทย์ เพราะในขณะนี้เราไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรืออย่างยาที่บอกกันว่าสามารถผลิตเองได้ในประเทศไทยนั้นก็ไม่เป็นความจริง เรายังต้องนำเข้าสารตั้งต้นมาจากต่างประเทศ แล้วนำมาทำเป็นเม็ดหรือน้ำ และควบคุมคุณภาพก่อนจะนำออกไปขาย หรือแม้แต่วัคซีนก็มีเพียงส่วนน้อยที่ผลิตได้เองในประเทศ

"หากเกิดภาวะวิกฤตสงคราม ภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาดหนัก ถามว่าเราจะทำกันอย่างไร ตัวอย่างน้ำท่วมที่ผ่านมาเราขาดแคลนน้ำเกลือ ดังนั้นต้องสร้างความมั่นคงทางด้านนี้ให้มากขึ้น ต้องสนับสนุนให้เกิดการผลิตยาเอง"

ประการต่อมาเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพ เราไม่ได้มองถึงเรื่องการยุบรวมกองทุน เพราะจะเป็นที่ยอมรับได้ยาก แต่จะพยายามทำให้ทั้ง 3 กองทุน ซึ่งประกอบด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กองทุนประกันสังคมและกองทุนสวัสดิการข้าราชการ เชื่อมโยงกันในการบริหารจัดการข้อมูล

"ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ให้บริการกับกลุ่มผู้ซื้อก็จะต้องไปคิดว่าทำอย่างไรจะได้สะดวกรวดเร็วในการจัดซื้อ ไม่มีอะไรติดขัด มีมาตรฐานที่ถูกต้อง และหากมีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ก็ทำให้การจัดทำงบประมาณง่ายมากขึ้น เนื่องจากจะได้รู้ว่ากลุ่มโรคใดต้องใช้งบเท่าไรจึงจะเหมาะสม" นอกจากนี้ ต้องทำให้แต่ละกองทุนมีสิทธิประโยชน์ที่คล้ายคลึงกันมากขึ้น โดยขณะนี้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกันหมด หรืออุบัติเหตุฉุกเฉินก็เท่าเทียมกันหมด ซึ่งต่อไปที่ต้องดำเนินการก็คือเรื่องมะเร็งที่อาจจะทำให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด

สังคมสูงวัย-โรคเรื้อรังสุม

สิ่งที่น่ากังวลและจะเกิดขึ้นแน่ในอนาคตอันใกล้นี้ คือการเติบโตขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุ โดยคาดกันว่าในปี 2564 จะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 20% ซึ่งหากไม่มีการเตรียมพร้อมตั้งรับก็จะทำให้ไม่สามารถดูแลประชากรกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งที่ตามมาเป็นเงาตามตัวคืองบประมาณที่จะสูงขึ้น แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจต่อไป

อีกหนึ่งความกังวลก็คือ ประชาชนชาวไทยจะเผชิญกับโรคไม่ติดต่อที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม เช่น โรคความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ที่กระทบส่งต่อไปยังโรคหัวใจ หรือโรคไต ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายเช่นกัน

"เมื่อคนวัยทำงานตายก่อนวัย ก็ไม่สามารถใช้แรงงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ แต่เรื่องนี้สามารถป้องกันได้"

อย่างไรก็ดี หากเทียบกับประเทศในอาเซียนด้วยกันแล้วการแพทย์ของประเทศไทยไม่เป็นรองใคร ต่างชาติให้การยอมรับและเข้ามารักษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล

"เมื่อชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการในประเทศไทยก็จะไปเชื่อมโยงกับรายได้ของโรงแรม ภาคการท่องเที่ยว สายการบิน นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือเราต้องหาจุดสมดุลเพื่อไม่ให้ประชาชนชาวไทยได้รับผลกระทบจาก โกลบอลเฮลท์ (Global Health) ด้วย"

ทั้งหมดคือทิศทางระบบสุขภาพไทย ฉายผ่านวิสัยทัศน์ของเจ้ากระทรวงสาธารณสุข

เผยแพร่ครั้งแรก : นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 26 มกราคม 2558

Thu, 2015-02-05
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9227

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เมื่อพูดถึงการปฏิรูประบบสุขภาพ ไม่ว่าจะแตะไปที่เรื่องใดก็ตาม ถนนทุกสายล้วนมุ่งมาที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพทั่วประเทศ ขณะที่อีกด้านหนึ่ง ปัจจัยท้าทายใหม่ๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะสังคมผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของโรคติดต่อไม่เรื้อรัง โรคอุบัติใหม่ ภาวะเศรษฐกิจ การเงินการคลังของประเทศ ต่างก็มีพลวัตรของมันไปเรื่อยๆ ยิ่งเป็นตัวเร่งให้ระบบสาธารณสุขไทย ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกขณะ

แล้วในฐานะเป้าใหญ่ที่ทุกฝ่ายคาดหวังจะเห็นการปฏิรูป สธ.มีมุมมองต่อการปรับโครงสร้างระบบสุขภาพอย่างไร?

ต้องร่วมมือแก้ปัญหาระบบ

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ. ให้ภาพที่พึงประสงค์ของระบบสุขภาพไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าว่า ควรเป็นภาพที่คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น มีปีที่มีสุขภาพดีมากขึ้น มีระบบบริการที่ครอบคลุมภายใต้การจัดการที่มีธรรมภิบาลซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ (Good health at low cost) และหากดูจากผลการพัฒนาด้านสาธารณสุขมากว่าครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 1 จนถึงแผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 11 จะคาดการณ์ได้ชัดถึงแนวโน้มในอนาคต คือ คนไทยอายุยืนยาวขึ้นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่อัตราการเจริญพันธุ์ลดต่ำลงมาก และรูปแบบของโรคเปลี่ยนไปจากโรคติดต่อ เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ขณะเดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของภาวะแวดล้อม พฤติกรรมสุขภาพที่แย่ลงและปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนไปสู่สังคมผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อน จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้น เป็นภาระของระบบบริการและสังคมโดยรวม

นพ.ณรงค์ ชี้ว่า แนวโน้มเหล่านี้ หากไม่แก้ไขให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีมากพอ ก็จะเกิดผลกระทบต่อระบบสุขภาพเป็นอย่างมาก เช่น ไตวาย พิการหรือเสียชีวิต เกิดปัญหาไปถึงการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เพราะแม้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเมื่อเทียบกับจีดีพียังไม่มากนัก (4%) แต่ประเด็นอยู่ที่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งแม้จะเพิ่มการลงทุนไปมาก แต่ก็จะทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพออกมาไม่ดีมาก

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการจัดการภายในระบบ เช่น กำลังคนที่ยังไม่เพียงพอ การเงินการคลังที่เป็นปัญหา ระบบสุขภาพที่เป็นภาระและไม่มีคุณภาพ การอภิบาลระบบที่ยังขาดธรรมภิบาล สิ่งเหล่านี้หากปล่อยไว้ ไม่กล้าหาญที่จะเริ่มต้นวางรากฐานในการแก้ปัญหา วันหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่าสายเกินแก้

นพ.ณรงค์ มองว่า การจะดำเนินการเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายระบบสุขภาพที่ดีได้นั้น เป็นภาระหน้าที่ของทุกฝ่าย โดยมี สธ.เป็นแกนหลักในการกำหนดทิศทาง (National health authority) โดยต้องมีการบูรณาการผู้มีหน้าที่สนับสนุนด้านการเงิน ด้านวิชาการ ด้านการผลิตบุคลากร เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้จริง

“หากดูจากปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Health determinants) ที่มีความสลับซับซ้อนผูกโยงกัน เช่น ปัญหาเรื่องพัฒนาการเด็ก แม่วัยใส อุบัติเหตุทางถนนฯลฯ การแก้ปัญหาจึงต้องสานพลังกันและกำหนดทิศทางที่ถูกต้องบนพื้นฐานความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based) ภาคีเครือข่ายก็ควรเข้ามาร่วมมือกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างเดิน”ปลัดสธ.ระบุ

‘รพ.องค์การมหาชน’ทำได้ยาก

ขณะเดียวกัน ในส่วนของประเด็นการกระจายอำนาจไปยังหน่วยบริการนั้น นพ.ณรงค์ มองว่าไม่ว่าจะให้โรงพยาบาลออกนอกระบบ หรือ แบบเขตสุขภาพ ทั้ง 2 แนวทางนี้ เป็นเรื่องที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่อย่างไหนมาก่อนมาหลัง

อย่างไรก็ตาม หากมองบริบทของสังคมไทยอย่างมีเหตุผล ไม่สุดโต่ง จะเห็นว่าการผลักโรงพยาบาลออกไปเป็นองค์การมหาชน หรือแม้แต่การถ่ายโอนไปให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระดับต่างๆ มีความเป็นไปได้น้อยมาก เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา

ด้วยเหตุนี้ การจัดการแบบเขตสุขภาพน่าจะเป็นการจัดการในระยะเริ่มต้นที่ดีกว่า เพราะยังไม่ต้องวุ่นวายกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรมากนัก แต่เป็นการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่ที่มีขนาดเหมาะสมได้วางแผนแก้ปัญหาภายในเขตของตนเอง ที่สุดแล้วเมื่อเขตสุขภาพมีความเข้มแข็ง การออกไปเป็นองค์การมหาชนหรือรูปแบบอื่นใด ก็จะมีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์มากขึ้น โดย สธ. ก็จะทำหน้าที่เพียงกำหนดสิศทางนโยบาย กฎเกณฑ์และควบคุมมาตรฐานระดับชาติเท่านั้น

สธ.ไม่ได้ต้องการทะเลาะกับใคร

อย่างไรก็ดี จากปัจจัยในระยะสั้นในขณะนี้ ต้องยอมรับว่าความเห็นที่แตกต่างกัน การเคลื่อนไหวที่มีฝักฝ่าย ทำให้ข้อเสนอของการปฏิรูประบบสุขภาพอาจไม่เป็นเอกภาพเท่าที่ควร ขณะเดียวกัน กลไกการปฏิรูปที่มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)เป็นตัวแทนนั้น หากไม่รับฟังความเห็นของ สธ. เท่าที่ควร ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อแนวทางที่กระทรวงได้พยายามปฏิรูปอยู่

“การขาดเอกภาพในการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ย่อมส่งผลต่อความก้าวหน้าและคุณภาพของการดำเนินการ สธ.ไม่ต้องการทะเลาะกับใครหรือองค์กรไหน แต่ต้องการความร่วมมือ ในทางกลับกันองค์กรต่างๆควรทบทวนและวางบทบาทของตนให้ถูกต้องเหมาะสม กระทรวงเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาสุขภาพของประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 70% ในด้านการรักษาพยาบาล และเกือบ 100% ในเรื่องการสาธารณสุข จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทิศทางให้เกิดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์”นพ.ณรงค์ ระบุ

ปลัดสธ. กล่าวอีกว่า หากดูการปฏิรูปที่สธ.ดำเนินการอยู่ จะเห็นชัดเจนว่าเป็นไปเพื่อเป้าหมาย ทั้งเรื่องประสิทธิภาพและความเท่าเทียม ไม่มีเรื่องใดเป็นเรื่องหลักและเรื่องรอง ตัวอย่างเช่น  การพัฒนาเป็นเขตสุขภาพแทนที่จะเป็นจังหวัด ก็เพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมในการจัดให้มีบริการ โดยเฉพาะบริการการแพทย์ชั้นสูง ซึ่งก็ต้องมีการร่วมใช้ทรัพยากรก็จะทำให้ต้นทุนลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในที่สุด

ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียก็ควรดำเนินการในทิศทางที่ประชาชนได้ประโยชน์ ไม่มีวาระซ่อนเร้น ไม่เล่นเกมการเมือง เชื่อมั่นในการกระจายอำนาจการจัดการลงไปที่ระดับพื้นที่ และต้องการเห็นการจัดการที่มีธรรมภิบาลอย่างแท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาของระบบ เกิดประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

“อย่าดำเนินการเพียงเพื่อปกป้องความเชื่อ หรือประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มเท่านั้น หากเป้าหมายตรงกัน โดยพื้นฐานก็สามารถถกแถลงแลกเปลี่ยนเหตุผล แล้วร่วมมือกันแก้ปัญหา เดินหน้าปฏิรูปไปด้วยกันได้”นพ.ณรงค์ กล่าว

ปลัดสธ. ทิ้งท้ายว่า หากสามารถปฏิรูปได้จริง ทั้งเรื่องธรรมภิบาลซึ่งเป็นรากเหง้าของการอภิบาลระบบ การจัดการเขตสุขภาพอย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงการจัดการการเงินการคลังที่สนับสนุนการดำเนินการของเขตสุขภาพได้จริง ก็น่าเชื่อได้ว่าประชาชนจะได้รับบริการที่เท่าเทียม มีคุณภาพ ปลอดภัย และทรัพยากรของประเทศอย่างคุ้มค่า

เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 22 ธันวาคม 2557


Fri, 2015-02-06
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9242
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2015, 00:02:17 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และเจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ อย่าง จอน อึ๊งภากรณ์ ได้ฉายภาพระบบสุขภาพในอีก 10 ข้างหน้าไว้อย่างน่าสนใจ

ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดและนักเคลื่อนไหวในแวดวงภาคประชาสังคม “จอน” เชื่อว่าหลักการของ “รัฐสวัสดิการ” จะนำพาความมั่นคงไปสู่ประชาชนทั่วทุกหัวระแหง โดยเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่จะช่วยให้คนไทยหลุดพ้นจากภาวะ “ล้มละลาย” ทางเศรษฐกิจการจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ในวันที่ระบบหลักสุขภาพถ้วนหน้าจะถูกทำลาย “จอน” เป็นคนแรกๆ ที่ออกมายืนแถวหน้าเพื่อปกป้อง เขาและเครือข่ายภาคประชาชนได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น “กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ” และมีบทบาทสำคัญมาจนถึงทุกวันนี้

รักษาถ้วนหน้า – ตั้งกองทุนเดียว

ผมเป็นคนที่เชื่อในหลักการของ “รัฐสวัสดิการ” กล่าวคือรัฐมีหน้าที่ในการดูแลประชาชนให้เข้าถึงปัจจัย 4 หรือปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเรื่องของ “สุขภาพ” ก็เป็นส่วนหนึ่งในนี้ ฉะนั้นประชาชนจะต้องได้รับบริการสุขภาพที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และต้องสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงเสมอหน้า

ในความหมายของประชาชนต้องรวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างประเทศ กลุ่มคนไร้สัญญาณ ฯลฯ ที่ต้องเข้าถึงบริการได้

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำไปสู่เป้าหมายตามที่ต้องการในอนาคต ทว่ากลับยังมีปัญหาอยู่ที่เรื่อง “กองทุนสุขภาพ” ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 3 กองทุนหลัก ประกอบด้วย กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ

ความเชื่อของผมคือจะต้องทำให้เป็น “กองทุนเดียว” คือควรจะทำให้เป็นระบบเดียวกันซึ่งจะทำให้เกิดอำนาจซื้อเป็นอย่างมาก ดังนั้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ-การรักษาพยาบาล ของกองทุนประกันสังคมและกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ก็ควรโอนมาให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้ดูแล

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กำลังพูดถึง “มาตรฐานกลาง” ในการรักษาพยาบาลที่ควรจะเทียบเท่ากันทั้งหมด ส่วนกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนสวัสดิการข้าราชการจะให้สิทธิประโยชน์เรื่องความสุขสบาย เช่น ให้สิทธิค่าห้องพิเศษ ก็สามารถกระทำได้

ที่สำคัญคือจะมาเก็บค่ารักษาพยาบาล “ณ จุดให้บริการ” ไม่ได้

จริงๆ ทุกคนจะถูกเก็บค่ารักษาพยาบาลอยู่แล้ว ซึ่งการเก็บนั้นควรจะเก็บในระบบภาษี ถ้าหากถึงจุดที่ภาษีปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่จำเป็นของประชาชนทั้งหมดก็อาจจะต้องเก็บเป็นภาษีพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีสุขภาพ แต่ต้องจัดเก็บตามความสามารถในการจ่ายและสัมพันธ์กับภาษีเงินได้ กล่าวคือคนที่มีความสามารถจ่ายได้สูงก็จ่ายมากหน่อย หรือคนที่ไม่มีความสามารถก็อาจไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้

นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีระบบการส่งเสริมและป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ต้องผสมผสานเข้าไปอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพด้วย

อุปสรรคคือ “การเมือง”

หากถามว่าจะเดินไปสู่เป้าหมายคือ ความเสมอหน้า-ความครอบคลุม-กองทุนเดียว ได้อย่างไร ก็ขอตอบว่าสิ่งที่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคอยู่คือปัญหาทาง “การเมือง”

ที่ผ่านมาชัดเจนว่าอุปสรรคที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรคทางการเมือง ไม่ใช่อุปสรรคทางเทคนิคที่ไม่สามารถทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง หากมองย้อนหลังดูระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีความก้าวหน้าไปได้ไกลมาก สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งเงินเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2544-2545 เป็นต้นมา

ปัญหาทางการเมืองในที่นี้อยู่ที่ว่าพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาลมองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้หรือไม่ ขณะเดียวกันก็ขึ้นอยู่กับการตื่นตัวของประชาชนด้วย เพราะถ้าประชาชนเรียกร้องก็จะกลายเป็นนโยบายในท้ายที่สุด ซึ่งพิสูจน์แล้วในหลายประเทศว่า ประชาชนมีความกังวลเรื่องหลักประสุขภาพของตัวเองถดถอย สอดคล้องกับคะแนนนิยมที่ตกต่ำลงของพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมที่พยายามจำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของหลักประกันสุขภาพไม่ให้สูงขึ้น

สำหรับประเทศไทย ถือว่ายังไม่ถึงจุดวิกฤตเนื่องจากใช้งบประมาณด้านสุขภาพน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็มีแนวโน้มจะเข้าสู่วิกฤตเมื่อประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มมากขึ้น คนก็จะเริ่มชั่งน้ำหนักระหว่างการถูกเก็บภาษี กับผลประโยชน์ที่ได้รับจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

“ต้องยอมรับความจริงว่าพรรคการเมืองในประเทศไทยไม่ได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประชาชนเท่าที่ควร พรรคการเมืองไม่ได้มีฐานมาจากประชาชน แต่เกิดขึ้นจากกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในสังคมเท่านั้น ดังนั้นภาคประชาชนต้องมีความเข้มแข็งในการเรียกร้อง”

ทั้งหมดที่กล่าวมา คือทิศทางการพัฒนาของระบบหลักประกันสุขภาพไทยที่ควรจะเป็น

ไม่ใช่เพียงคนจน แต่คนชั้นกลางก็พร้อมล้มละลาย

ขณะนี้มีผู้ที่คัดค้านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเยอะ ถามว่าหากประเทศไทยไม่เดินไปแนวทางข้างต้นนี้ ก็อาจจะเป็นไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับสหรัฐอเมริกา กล่าวคือมีแค่ระบบสุขภาพที่รองรับคนที่ยากจนที่สุดแต่ไม่ได้สร้างความเท่าเทียม ซึ่งทุกวันนี้ก็มีนักการเมืองหลายคนพยายามผลักดันให้เกิด

นักการเมืองหลายคนเข้าใจผิดโดยพูดกันว่าประเทศไทยควรจะมีระบบรักษาสุขภาพฟรีเฉพาะผู้ยากไร้ ซึ่งจะทำให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพมากกว่า ขอยืนยันว่า “ไม่ใช่ความจริง” เพราะหากประชาชนคนชั้นกลางมีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคเรื้อรัง-โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ก็สามารถล้มละลายจากการรักษาพยาบาลได้เช่นกัน  

“ที่สหรัฐอเมริกา แม้ว่าประชาชนของเขาจะมีงานทำและมีรายได้แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับซื้อประกันเอกชน ดังนั้นเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องออกนอกประเทศมารักษาตัวที่ประเทศอินเดียหรือประเทศไทย สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพแพงที่สุดในโลกประเทศหนึ่งโดยไม่มีสวัสดิการให้กับประชาชน หากประเทศไทยเลือกแนวทางนี้ก็จะนำไปสู่การเสียชีวิตโดยไม่มีเหตุอันควรของคนจำนวนมาก”

นอกจากนี้ หากไม่พัฒนาระบบสุขภาพไปในทิศทางที่กล่าวไว้ข้างต้น คือคนในประเทศไทยทั้งหมดไม่ได้รับการดูแล ปัญหาโรคติดต่อก็จะแพร่ระบาดมากขึ้น แม้ว่าขณะนี้จะมีความพยายามทำประกันสุขภาพให้กับแรงงานข้ามชาติทั้งถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย แต่ระบบก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้อง

ต้องบรรจุ “รัฐสวัสดิการ” ไว้ในรัฐธรรมนูญ

หากเราต้องการพัฒนาระบบสุขภาพโดยตั้งเป็นตุ๊กตาไว้ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า ถ้าถามว่าต้องทำอะไรบ้างก็คงเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล ให้เพียงพอต่อความต้องการ ต้องออกแบบให้โรงพยาบาลหลุดออกจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่สิ่งที่เป็นหัวใจของความคิดเรื่องนี้คือ เราต้องรวมนักวิชาการ ภาคประชาชน และผู้รู้ทั้งหลาย ให้ร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนให้เข้าใจเรื่องหลักประกันสุขภาพที่ถูกต้อง

“ทุกวันนี้มีการให้ข้อมูลที่บิดเบือนจำนวนมาก ผมคิดว่าจำเป็นต้องเปิดเวทีให้ถกเถียงเพื่อความเข้าใจของประชาชน ขณะเดียวกันต้องพัฒนาบทบาทของนักวิชาการด้านนี้ ปัจจุบันนักวิชาการมีแต่ยังไม่เพียงพอและพูดเสียงไม่ดัง ดังนั้นเราต้องอธิบายให้ชัดว่าเราสามารถที่จะสร้างระบบหลักประกันสุขภาพกองทุนเดียวได้แบบไหน สิทธิประโยชน์เป็นอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าใด ประชาชนก็จะได้เห็นตุ๊กตาตัวเดียวกัน”

ในการร่างรัฐธรรมนูญ ก็ควรมีการเขียนหลักของรัฐสวัสดิการเข้าไปด้วย ควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐว่าต้องดูแลให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ครอบคลุมประชาชนของประเทศทั้งหมด

รพ.เป็นของ “ท้องถิ่น” - สธ.ต้องเล็กลง

ในอนาคตต้องมีการถ่ายโอนโรงพยาบาลให้ “ท้องถิ่น” เป็นผู้ดูแล และโรงพยาบาลเหล่านั้นจะต้องกลมกลืนอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน อย่างน้อยเริ่มต้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) และโรงพยาบาลชุมชน โดยมีเงินอุดหนุนจากส่วนกลางลงไป

ประโยชน์หลายประการจะเกิดขึ้นจากแนวทางนี้ เช่น ท้องถิ่นอาจจะให้ทุนให้คนในท้องถิ่นไปเรียนแพทย์ พยาบาล แล้วกลับมาทำงานในท้องถิ่นของตัวเอง หรือหากพบว่าการกำกับดูแลโรงพยาบาลไม่ดีคนในท้องถิ่นก็มีอำนาจในการจัดการ เช่น เปลี่ยนตัวผู้อำนวยการโรงพยาบาล

“ผมคิดว่าโรงพยาบาลประจำจังหวัดก็ยังควรเป็นของท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขอาจจะเหลือเพียงโรงพยาบาลศูนย์ที่เป็นระดับภาคหรือโรงพยาบาลเฉพาะทาง เพราะโดยหลักการแล้วกระทรวงสาธารณสุขควรเป็นกระทรวงทางวิชาการ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐาน กำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันโรคต่างๆ มากกว่าการเข้าไปเป็นเจ้าของสถานพยาบาลเอง”

สำหรับนโยบาย “เขตสุขภาพ” ควรเกิดจากหลายๆ จังหวัดมารวมกัน เช่น แต่ละจังหวัดมองแล้วว่าจำเป็นต้องมีโรงพยาบาลเฉพาะทางหรือศูนย์สุขภาพสักแห่ง เพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง แต่ถ้าเป็นเขตสุขภาพที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนดและให้มีการจ่ายเงินผ่านเขตสุขภาพ เพื่อให้เขตสุขภาพไปกระจายให้โรงพยาบาลอีกทอดหนึ่งนั้น ส่วนตัวแล้ว “ไม่เห็นด้วย”

“ทิศทางมันควรจะเป็นการกระจายอำนาจที่แท้จริงให้กับท้องถิ่น แน่นอนว่าอีก 10 ปี ก็อาจยังไปไม่ถึง แต่นี่คือทิศทางที่ควรจะเป็น ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือกระทรวงสาธารณสุขกลับมีนโยบายที่กลบสิ่งเหล่านี้จนเรามองกันไม่เห็นว่าควรจะไปทางไหน”

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขก็เช่นกัน ทั้งหมดมีฐานมาจากการ “เสียอำนาจ” เพราะตั้งแต่มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขเสียอำนาจไปมาก แต่ถ้าว่ากันตามหลักการแล้วควรจะเสียมากกว่านี้อีก กระทรวงต้องเล็กลงกว่านี้อีกเยอะ หรือลองเทียบกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเห็นว่าแม้แต่ขนาดอาคาร พื้นที่ หรือจำนวนบุคลากร ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใหญ่เกินความจำเป็นเหมือนกับในประเทศไทย

อีกหนึ่งกลไกสำคัญในระบบสุขภาพคือ “องค์การเภสัชกรรม” ที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมียุคใดสามารถทำให้องค์การเภสัชกรรรมบรรลุเป้าประสงค์ที่แท้จริง

“ทุกวันนี้ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่เรื่องของค่าแรง เพราะเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบว่าค่าแรงของประเทศไทยถูกมาก แต่ปัญหาที่แท้จริงคือค่าใช้จ่ายด้านยา ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการดูแลค่ายาให้มีความเหมาะสม นั่นหมายความว่าเราอาจต้องทำสิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ในบางครั้ง เราต้องใช้ทุกมาตรการเพื่อควบคุมราคายา โดยเฉพาะกฎหมายป้องกันการผูกขาดยา และมีคณะกรรมการควบคุมราคายา”

“องค์การเภสัชกรรมต้องมีบทบาทสำคัญในการรองรับระบบหลักประกันสุขภาพ ผมเชื่อว่ามีศักยภาพในการผลิตทั้งยาที่หมดสิทธิบัตร และเวชภัณฑ์อื่นๆ โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นรัฐต้องหวงแหนองค์การเภสัชกรรมและให้น้ำหนักมากกว่านี้”

ทั้งหมดคือทิศทาง “ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษหน้า” สะท้อนผ่านมุมมองของ “จอน อึ๊งภากรณ์”

เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 12 ธันวาคม 2557


Sat, 2015-02-07
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9251
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2015, 00:02:38 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
หากกล่าวถึงการปฏิรูประบบสุขภาพ กระบวนการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลย คือต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสะท้อนมุมมองและข้อเสนอด้านต่างๆ และหากจะนับตัวบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่วิพากษ์วิจารณ์ระบบอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หนึ่งในนั้นย่อมต้องมี ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ด้วยอย่างแน่นอน

ดร.อัมมาร เป็นหนึ่งใน Think Tank ที่สังคมยอมรับความรู้ความสามารถ และคลุกคลีกับการเงินการคลังในระบบสาธารณสุขมานาน เคยดำรงตำแหน่ง อาทิ กรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 กองทุนสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยกองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสวัสดิการข้าราชการ กรมบัญชีกลางอีกด้วย

แล้วนักวิชาการผู้นี้มองภาพระบบสาธารณสุขในอนาคตไว้อย่างไร ? จะไปให้ถึงเป้าหมายที่พึงประสงค์อย่างไร ? และจุดไหนที่จำเป็นต้องมีการปฏิรูป ?

สร้างระบบปฐมภูมิ


ดร.อัมมาร ประเมินภาพในปัจจุบันว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถือว่าประสบความสำเร็จ อย่างน้อยก็ทำให้ประชาชนอุ่นใจค่อนข้างมาก ว่าถ้าเกิดว่าเจ็บไข้ได้ป่วยก็ได้รับการดูแล โดยเฉพาะเมื่อป่วยเป็นโรคหนักๆ เช่น  โรคหัวใจ ก็มีโอกาสรอดตายมากขึ้น รวมถึงช่วยให้ความเจ็บป่วยที่เกิดกับกระเป๋าเงินของประชาชนลดลงไปเยอะ เป็นเรื่องที่ชัดเจนและมีหลักฐานเชิงประจักษ์

“สำหรับโรคร้ายแรงที่ใช้เงินเยอะ ที่สมัยก่อนประชาชนต้องควักกระเป๋า วันนี้ทุเลาลงไปเยอะ อันนี้เป็นข้อดีอย่างยิ่ง เป็นความสำเร็จที่ผมอยากจะขอภูมิใจร่วมด้วย”นักวิชาการเกียรติคุณของทีดีอาร์ไอ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ระบบโดยรวมในขณะนี้ ยังมีหลายอย่างที่บกพร่องมาก เช่น ไม่มีระบบบริการสาธารณสุขที่เอื้อต่อการดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมือง กล่าวได้ว่าไม่มีเลย คนในเมืองทุกระดับติดนิสัยว่าเมื่อเป็นโรคแล้วต้องไปโรงพยาบาล

“เราผลักให้ทุกคนไปรักษาที่โรงพยาบาลหมด แต่โรงพยาบาลที่มี โดยเฉพาะในโครงการ 30 บาท ก็มีแพทย์ไม่มากพอที่จะรับคนไข้นอก แพทย์แต่ละคนต้องดูแลคนไข้นับร้อยในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ คุณต้องให้เวลากับคนไข้ ไม่ใช่แพทย์อย่างเดียว นางพยาบาล ทั้งระบบต้องให้เวลากับคนไข้” ดร.อัมมาร กล่าว

ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องลงทุนสร้างระบบปฐมภูมิที่ดี โดยเฉพาะในเมือง เพราะคนไทยส่วนใหญ่กำลังกรูเข้ามาในเมือง แม้กระทั่งคนที่อยู่ในชนบท ก็เข้ามาแสวงหาการรักษาพยาบาลในเมือง จะไปกีดกันไม่ให้เข้ามาก็ไม่ได้ จึงต้องจัดระบบให้ดี ซึ่งบทบาทการจัดบริการปฐมภูมิเหล่านี้ ดร.อัมมาร มองว่าควรเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) หรือแม้กระทั่งหมอประเภทเอสเอ็มอีที่เปิดคลินิกเล็กๆ แต่ต้องมีระบบการกำกับควบคุมที่ดีพอจากสธ. ซึ่งเรื่องงานกำกับดูแลนี้ สธ. ก็ยังบกพร่องมากๆ

ส่วนเรื่องงบประมาณที่จะลงไปอุดหนุนระบบปฐมภูมิ เข้าใจว่าเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แต่ไม่ว่าจะเรื่องใครจ่ายเงิน จ่ายแล้วเงินไปไหน ไม่ควรเป็นประเด็นหลัก แต่ควรตั้งโจทย์กันใหม่ ว่าต้องการระบบปฐมภูมิอย่างไรจึงจะเหมาะ ส่วนจะให้สปสช.จ่าย หรือ ให้สธ.จ่าย เป็นเรื่องที่จะตามมาทีหลัง

ลงทุนหน่วยบริการ

ดร.อัมมาร ยังฉายภาพอีกว่า การมีระบบประกันสุขภาพเกิดขึ้น ทำให้งบลงทุนของสธ. ลดฮวบลงไปเยอะมาก แม้จะมีช่วงหนึ่งที่มีโครงการไทยเข้มแข็ง แต่การจัดการงบลงทุนก็อีลุ่ยฉุยแฉก มีการสร้างโรงพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้นมากมาย บางแห่งจำเป็น หลายแห่งก็ไม่จำเป็น แต่โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปหลายแห่งกลับขาดแคลนทรัพยากรมาก คนไข้ต้องนอนบนพื้น ห้องผู้ป่วยของโรงพยาบาลบางที่ ใช้ได้คำเดียวคือทุเรศ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มขึ้น

“โรครุนแรงทั้งหลายเดี๋ยวนี้รัฐดูแลให้ ฉะนั้นความต้องการในการรักษาพยาบาลมีมากขึ้นเยอะ แต่โรงพยาบาลหลายแห่งที่อยู่ในเมืองไม่สามารถขยับขยายได้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม มันต้องลงทุนเพิ่ม ต้องบริการประชาชนมากขึ้นในส่วนนี้ เวลานี้อัตคัดมาก อันนี้พูดเฉพาะคนไข้ในนะ ไม่ต้องพูดถึงคนไข้นอก ซึ่งมาออกันเต็มไปหมด”ดร.อัมมาร กล่าว

ในทางกลับกัน ภาพอีกด้านหนึ่งก็มีโรงพยาบาลบางแห่งที่ลงทุนไปมากเกินไป เช่น โรงพยาบาลชุมชนในภาคกลาง โรงพยาบาลเหล่านี้ ควรเปลี่ยนให้เป็นสถานที่รักษาคนไข้ในลักษณะของ Long Term Care แทน

“มันมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุน การลงทุนเป็นตัวหล่อลื่นทำให้ความขัดแย้งลดลงไปได้ ไม่ได้หมายความว่าลงทุนเพื่อเอาใจฝ่ายที่เสียประโยชน์นะ แต่ว่าหลายแห่งมันต้องการการลงทุน ขณะเดียวกันโรงพยาบาลศูนย์จะต้องไม่หวงก้าง ประชาชนที่เป็นคนไข้นอก ผ่องถ่ายไปให้คลินิกเอกชนซะบ้าง เวลานี้มันไม่มีคลินิกเอกชนก็เพราะ สปสช.หวงก้าง ไม่ยอมให้หน่วยงานนอกกระทรวงทำ เพราะว่าถ้าให้ทำ เงินก้อนที่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ได้จากค่าหัวของคนไข้นอก ก็ไปตกอยู่ไปอยู่กับคลีนิคเอกชน ขณะที่ สธ.ก็ไม่อยากให้ทำด้วย”ดร.อัมมาร กล่าว

รัฐมนตรีต้องหยุดความขัดแย้ง

เรื่องการบริหารเงินในระบบ ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง สปสช. และ สธ.  ซึ่งนักวิชาการรายนี้ มองว่า ทั้ง 2 ฝ่ายมีทิฐิและมีคนถือหางทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นความขัดแย้งในระดับที่น่าจะมีคนเคาะได้ ซึ่งถ้าให้ประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายว่าเป็นสัมมาทิฐิ ทั้งคู่อยากจะประสงค์ความดี ก็มาดูว่าอันไหนขัดแย้งกัน อันไหนไม่ขัดแย้งกัน และมีการฟันธงไปเลยว่าให้ สธ.จัดการ หรือให้สปสช.จัดการ ดูว่าคนที่เหมาะสมจัดการเรื่องการเงินควรเป็นใคร

ถามว่าใครจะเป็นคนเคาะ ? ดร.อัมมารตอบทันทีว่าหน้าที่นี้ต้องเป็นของรัฐมนตรี ซึ่งหากจะเคาะ ก็ต้องไม่ใช่ด้วยเหตุผลทางการเมืองว่าฝ่ายหนึ่งมีเสียงข้างมาก อีกฝ่ายหนึ่งมีเสียงข้างน้อย แต่ต้องดูว่าโจทย์การบริหารคืออะไร สิ่งใดให้ประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

ดร.อัมมาร ยังกล่าวต่อไปว่า เมื่อมองจากข้างนอกเข้ามาในระบบ รู้สึกว่าสธ. ใช้เวลามากเกินไป ใช้ทรัพยากรมากเกินไปเพื่อจะอุ้มโรงพยาบาลทั้ง 800-900 แห่ง ให้อยู่รอดภายใต้เงื่อนไขของ สปสช. และการออกมาโจมตี สปสช.นั้น โดยส่วนตัวมองว่าหน้าที่การทำให้โรงพยาบาลอยู่รอดได้ ไม่ใช่หน้าที่ สปสช. และ สปสช.ก็ไม่ได้เป็นแหล่งเงินเดียวที่มีในระบบ ดังนั้นเป็นหน้าที่ สธ. ที่จะต้องเปิดให้หน่วยบริการมีอิสระในการบริหารจัดการได้ในระดับหนึ่ง ไม่ใช่ผูกที่ส่วนกลางหมด

ส่วนจะกระจายอำนาจแบบเขตสุขภาพ หรือไปเป็นองค์การมหาชนแบบโรงพยาบาลบ้านแพ้วนั้น ดร.อัมมารไม่ขอแสดงความเห็น แต่หลักการคือต้องดูว่าควรทำอะไรที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด ถ้าใช้การบริหารแบบเขตสุขภาพ ก็อยากจะรู้ว่าจะจัดการอะไรให้แก่ประชาชนที่อยู่ในเขตสุขภาพนั้น และทำอย่างไร ถึงจะมีผลดี

 “ผมคิดว่า สธ.หวงแหนทุกโรงพยาบาลมากเกินไป บางโรงพยาบาลต้องหวง เช่น โรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล ต้องให้งบประมาณและดูแลโดยตรง แต่โรงพยาบาลที่มีความพร้อม ถ้าเป็นไปได้ปล่อยออกไปให้ อปท.ดูแล ผ่องถ่ายออกไปเสียบ้าง ยิ่งเป็นส่วนใหญ่ได้ยิ่งดี เก็บไว้แต่โรงพยาบาลที่มีความจำเป็นทางสังคมที่จะต้องมีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ”ดร.อัมมาร กล่าว

อย่างไรก็ตาม เรื่องต่างๆเหล่านี้เป็นการบริหารจัดการภายใน แต่ถ้ามองในมุมผู้มีอำนาจรัฐ สมมุติ ตัว ดร.อัมมารเองจะไปหาเสียง ก็จะชูนโยบายกับประชาชนว่าไปหาหมอรอ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง และหมอมีเวลาให้อย่างน้อย 15 นาที ถามว่าถ้าหาเสียงแบบนี้ สธ.ทำได้หรือไม่

“ไม่รู้ว่า 15 นาทีดีไหม แต่เวลาผมไปหาหมอแบบจ่ายเงินเอง ผมได้เวลาครึ่งชั่วโมง เวลาหาเสียงก็เอามาตรฐานสักครึ่งหนึ่งก่อน อันนี้ต้องทำให้ได้ ไม่ใช่มานั่งทะเลาะกัน”นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าว

เร็วไปที่จะรวม 3 กองทุน

แม้ปัจจุบัน จะอยู่ในช่วงสถานการณ์พิเศษ มีรัฐบาลมาจากการยึดอำนาจ หลายคนอาจมองว่าเป็นโอกาสดีที่จะผลักดันนโยบายสำคัญๆที่ไม่สามารถทำได้ในยุคประชาธิปไตย แต่ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 กองทุนสุขภาพ ดร.อัมมาร กลับมองว่าไม่อยากจะใช้อำนาจเต็มที่ตามรัฐบาลพิเศษ โดยเฉพาะสิ่งที่ทำแล้วกระทบกระเทือนประชาชน เพราะที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะต้องมีความยั่งยืนทางการเมือง จะให้ถึงขั้นรวม 3 กองทุนสุขภาพยังเร็วเกินไป เพราะในที่สุดแล้ว จะกลายเป็นการแย่งเงินกัน เพราะต้องเอาเงินจาก ก. ไปให้ ข. คนที่มีเงินเยอะก็จะมองว่าคนที่มีน้อยจากมาแย่งเงินไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลประชาธิปไตยควรจะทำ ไม่ใช่ให้ทหารทำ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้สามารถวางมาตรฐานได้หลายอย่าง ซึ่งที่กำลังอยู่ดำเนินการในขณะนี้ คือให้ทั้ง 3 กองทุนทำงานร่วมกันในเรื่องจัดระบบเคลียร์ริ่ง ระบบแบ็กออฟฟิศต่างๆ มากขึ้น และที่พยายามผลักดันคือเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งแม้จะดำเนินการมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีข้อบกพร่องค่อนข้างเยอะ เพราะมีการประชาสัมพันธ์ว่าไปใช้บริการที่ไหนก็ได้

“คนก็อยากไปใช้บริการเอกชนทั้งนั้น มันบ้า เพราะฉะนั้นต้องจัดระบบใหม่ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะดูในครั้งนี้ ซึ่ง สปสช.รับไปเป็นคนดูแลในนามอีก 2 กองทุน ฉะนั้นเขาต้องทำงานด้วยกันอยู่แล้ว ว่าทำอย่างไรถึงจะให้ระบบนี้ทำงานได้ดี”ดร.อัมมาร กล่าว

รีดไขมันสวัสดิการข้าราชการ

อีกประเด็นที่มีการอภิปรายตลอดมา คือภาระการเงินการคลังของรัฐที่ต้องใส่เข้ามาในระบบสุขภาพ เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นทุกปี จนหลายคนเกรงว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งจะทำให้รัฐแบกรับไม่ไหว

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์  ดร.อัมมาร กลับมองว่าไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งที่จะไปทับถมระบบหลักประกันสุขภาพ เพราะใช้งบประมาณจำกัดจำเขี่ยมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ ถ้าจะกล่าวหาในเรื่องภาระงบประมาณ ต้องกล่าวหาสวัสดิการราชการ เพราะตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างล้นเหลือในช่วงประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา แม้ในช่วง 3 ปีมานี้จะเริ่มควบคุมได้ แต่ว่าก็ยังสูงมากอยู่เมื่อเทียบกับระบบหลักประกันสุขภาพ ในทางกลับกันควรต้องเพิ่มงบให้ สปสช.ด้วยซ้ำ

ดร.อัมมาร กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่ผลักดันให้ต้นทุนระบบสุขภาพเพิ่มขึ้นคือโครงสร้างประชากรที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวนออกมาแล้วภาระงบประมาณไม่ได้มากขึ้นมากมายนัก ประเมินว่าแต่ละปีขึ้นเพิ่มประมาณ 2% แต่ในระบบมีไขมันที่ระบบสวัสดิการข้าราชการ ก็ต้องค่อยๆรีดออก อย่างน้อยคนที่เข้ามาใหม่ควรเป็นพนักงานของรัฐหมดและรอคนเก่าเกษียณอายุ ยิ่งในอีก 3-5 ปี จะมีข้าราชการครูเกษียณ 5 แสนคน ถือเป็นโอกาสทอง ถ้าจะเปิดรับใหม่ควรให้เป็นพนักงานของรัฐให้หมด


เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ 19 มกราคม 2558


Sun, 2015-02-08
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9258
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2015, 00:02:56 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
การปฏิรูประบบสุขภาพครั้งใหญ่ในช่วง10 กว่าปีที่ผ่านมา มีการออก พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ 2545 กระจายอำนาจบริหารการเงินการคลังออกจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มาอยู่กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะ“ผู้ซื้อบริการ” โดย สธ. ปรับบทบาทมาเป็น “ผู้ให้บริการ” ทำให้ภาพของระบบสาธารณสุขของไทยพลิกโฉมไปอย่างมากมาย ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจนขนาดไหน ก็มีหลักประกันด้านสุขภาพ ไม่ต้องล้มละลายขายบ้านขายรถมาจ่ายค่ารักษาตัวเหมือนในอดีตอีก

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าสำเร็จแค่ครึ่งเดียวเพราะกระจายอำนาจได้เฉพาะเรื่องการเงิน แต่ยังไม่เกิดการกระจายอำนาจบริหารจัดการไปยังหน่วยบริการ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการพูดเรื่องนี้มาโดยตลอด ทั้งข้อเสนอให้กระจายอำนาจในรูปแบบการองค์การมหาชน หรือ สธ.เอง ก็เสนอโมเดลเขตสุขภาพเขตสุขภาพ เป็นต้น แต่ก็ไม่มีการผลักดันจากรัฐบาลอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน การแยกอำนาจบริการการเงินการคลังออกจาก สธ. ก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง สธ.และ สปสช.เกิดความขัดแย้งกันเป็นระยะๆ ด้วย

นอกจากนี้ แม้จะมีการเปลี่ยนรูปแบบจัดการการเงินการคลังภายในตัวระบบเอง แต่ต้นทางงบประมาณก็ยังมาจากการจัดสรรโดยรัฐบาลแบบปีต่อปีเช่นเดิม ซึ่งก็เป็นคำถามถึงความยั่งยืนว่ารัฐจะแบกรับภาระงบประมาณได้นานแค่ไหนในอนาคต และจะมีหลักประกันอย่างไรว่าระบบสุขภาพจะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียงพอตามความจำเป็นอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจัยทั้งหมดนี้ นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ กรรมการแพทยสภา ให้ความเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเดินหน้าปฏิรูประบบสุขภาพครั้งใหญ่อีกรอบ ทั้งในมิติของการกระจายอำนาจบริการจัดการ และ การออกแบบหลักประกันด้านการเงินการคลังให้เพียงพอต่อความต้องการของระบบ

อย่าติดกับดักความสำเร็จ


นพ.ศุภชัย ให้ภาพระบบสุขภาพที่พึงปรารถนาในอนาคตว่า ควรเป็นระบบที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ ประชาชนเข้าถึงได้ และมีทางเลือกที่หลากหลายเหมาะสมกับสภาพทางเศรษกิจของแต่ละคน ไม่ควรมีอุปสรรคเมื่อจำเป็นต้องใช้บริการขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคด้านการเดินทาง หรือการเข้าถึง เช่น โรงพยาบาลแน่น รอคิวยาว ค่าใช้จ่ายสูง ฯลฯ

ขณะที่เมื่อมองระบบในปัจจุบัน นพ.ศุภชัย ให้ความเห็นว่ายังอยู่ระดับที่น่าพอใจหากเทียบกับประเทศที่มีฐานะเศรษกิจใกล้เคียงกับไทย ระบบสุขภาพไทยได้รับการยกย่องเป็นตัวอย่างในต่างประเทศ มีจุดเด่นที่ระบบการเงินการคลัง ทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ  ภายใต้ สปสช. ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ มีบริการเสริมต่างๆในภาคเอกชน รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็ยังไม่สูงมากนักหากเทียบเคียงกับประเทศอื่น มีความครอบคลุมของสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งหมดนี้ถือว่าน่าพอใจในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบโดยรวม ปัจจัยระยะสั้น เช่น ความขัดแย้งที่เกิดในระบบ การขาดความคล่องตัวของหน่วยบริการ และการมีส่วนร่วมในระบบของประชาชน ชุมชนท้องถิ่นและสังคม ส่วนปัจจัยที่มีผลในระยะยาวคือเรื่องระบบการเงินการคลังที่รัฐบาลต้องมีความชัดเจนว่าจะยังรับบทบาทเป็น “ผู้จ่าย” เพียงรายเดียวในระบบต่อไปหรือไม่ ถ้ายังจ่ายอยู่จะหาเงินมาจากไหน และถ้าจะจ่ายไม่ไหว จะมีระบบอะไรมารองรับ

นพ.ศุภชัย ชี้ว่า หากติดกับดัก คิดว่าความสำเร็จที่มีในขณะนี้พอเพียงแล้ว ไม่ยอมก้าวหน้าต่อไป ในอนาคตจะมีปัญหาความขัดแย้งไม่เข้าใจกันขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ ทั้งระหว่างแพทย์ พยาบาลกับผู้ป่วย ระหว่างหมอชนบทกับหมอในเมือง ระหว่างบุคลากรในภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งทำให้ทุกคนไม่มีความสุข

นอกจากนี้ จะเกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างภาครัฐกับเอกชน คนที่มีเงินซื้อประกันสุขภาพเอกชนได้ มีเงินจ่ายเพิ่มได้ ก็จะได้รับบริการที่มีคุณภาพในระดับที่เหนือกว่าคนที่อยู่ในภาครัฐ

ขณะเดียวกัน รัฐก็คงไม่มีความสามารถเป็นผู้จ่ายเงินรายเดียวในระบบสุขภาพไปได้เรื่อยๆ เพราะระบบที่ต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลเป็นรายปี รัฐต้องหาเงินภาษีมาแล้วแบ่งไปตามโครงการความเร่งด่วนหลายๆกระทรวง ซึ่งยากที่จะการันตีว่าระบบสุขภาพจะได้ส่วนแบ่งที่ควรจะได้เรื่อยๆ สัดส่วนงบประมาณของระบบสุขภาพจะมีปัญหาถ้าไม่มีแหล่งเงินที่ชัดเจน

“คิดหลวมๆ แค่นี้ ระบบสุขภาพในอีก 10 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าช่วงนี้เราทำอะไรได้มากแค่ไหน ถ้าทำอะไรไม่ได้ ปล่อยไปเรื่อยๆ ภาพมันก็ไม่ค่อยดี แต่ถ้าเราทำ มันก็ไปถึงจุดที่พึงปรารถนาได้แม้จะไม่ทั้งหมด”นพ.ศุภชัย กล่าว

ทำหน่วยบริการให้คล่องตัว

นพ.ศุภชัย กล่าวต่อไปว่า เมืองไทยมีระบบของรัฐเป็นระบบหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย มีกำลังคนเยอะ แต่กลับเป็นระบบที่แข่งขันกับภาคเอกชนได้ยากขึ้นๆ ดึงบุคลากรได้ยาก เนื่องจากระบบบริหารจัดการที่รวมศูนย์ อีกทั้งมีแรงจูงใจต่ำ เกิดสภาพบุคลากรทำงานหลายทาง บางคนเปิดคลินิก บางคนไปทำโรงพยาบาลเอกชน ทั้งๆที่ไม่ได้อยากทำ เพราะวันๆหนึ่งต้องทำงาน 14-15 ชั่วโมง เรื่องนี้ไม่ใช่ความอยากได้เงินมากมาย แต่เพราะงานของรัฐงานเดียวยังการันตีศักดิ์ศรี การันตีสถานะทางสังคมในระดับที่พึงเป็นไม่ได้

“ฉะนั้นระบบตรงนี้ต้องกระจายออกไป ต้องทำให้สถานบริการของรัฐมีการบริหารจัดการที่คล่องตัว ตัดสินใจดำเนินการในเรื่องการใช้จ่ายเงิน เรื่องกิจกรรมต่างๆได้มากขึ้น มีระบบประเมินผลงานที่ตอบสนองต่อท้องถิ่น ไม่ใช่ตอบสนองที่ส่วนกลาง ถ้าผูกไว้ที่ส่วนกลางอย่างเดียวไปไม่ไม่รอด โรงพยาบาลต้องมีอิสระตัดสินใจได้เอง และต้องเป็น Working Place ที่คนทำงานมีความภูมิใจและประชาชนไว้วางใจ ต้องรักษาภาครัฐให้เป็น Benchmark สำหรับภาคเอกชนให้ได้ ไม่ใช่กลายเป็นสถานที่ชั้น 2 สำหรับบุคลากรที่ไม่มีทางไป  ต้องเป็นสถานที่ทำงานที่มีเกียรติ ดึงดูดคนดีได้”นพ.ศุภชัย กล่าว

กรรมการแพทยสภารายนี้ ให้ความเห็นด้วยว่า การทำหน่วยบริการให้คล่องตัวและเข้มแข็ง จะเป็นตัวช่วยควบคุมภาคเอกชนให้อยู่ในรูปในรอยได้เป็นอย่างดี เพราะเอกชนได้เปรียบรัฐอย่างเดียวในเรื่องความคล่องตัว ดังนั้นถ้ารัฐพัฒนาตัวเองให้คล่องตัวขึ้นมา ก็จะสร้างสมดุลย์กับเอกชนได้ กำหนดค่าบริการที่สมเหตุผล จะขึ้นราคาค่าบริการมั่วคงไม่ได้ ในทางกลับกัน ภาคเอกชนทุกวันนี้พัฒนาไปถึงระดับภูมิภาคแล้ว ก็ควรเปิดโอกาสให้ขยายบทบาทในระบบมากขึ้น ไม่ใช่มองด้วยสายตาว่าจะเป็นฝ่ายเอากำไรอย่างเดียว เพราะการรักษาพยาบาลในเมืองไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่นำชื่อเสียง นำรายได้มาสู่เศรษฐกิจประเทศ

ทดลองกระจายอำนาจหลายรูปแบบ

ในส่วนของทางเลือกการกระจายอำนาจนั้น นพ.ศุภชัย เชื่อว่าไม่มีรูปแบบไหนที่เป็น One size fit all ที่ผ่านมามีหลายกระแส เช่น ให้โรงพยาบาลเป็นอิสระแบบโรงพยาบาลบ้านแพ้ว หรือของ สธ.เองที่พยายามกระจายอำนาจออกเป็นเขต ซึ่งก็ยากที่จะพูดว่าแบบไหนดีกว่ากัน แต่ที่สำคัญคือต้องเปิดโอกาสให้ได้ทดลองแนวคิดกันได้แล้ว อย่ามัวแต่พูดแล้วไม่ได้ทำอะไร

“บ้านแพ้วมีจุดดีเยอะ ก็น่าจะมีโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีความพร้อมในระดับบ้านแพ้ว อย่างน้อยๆ 5-10 แห่ง ทดลองในระดับต่างๆแล้วดูว่าเป็นอย่างไร หรือ โรงพยาบาลที่ใหญ่ๆขึ้นมา การบริหารจัดการเป็นพวงแบบเขต ผมคิดว่ามันออกแบบได้ ควรทดลองให้มีความหลากหลาย ไม่ควรที่จะบอกว่าอะไรถูกอันเดียวแล้วเดินอันเดียว มันน่าจะเป็นพลวัตร ค่อยๆไป ค่อยๆสรุป อะไรที่เป็นของแท้มันจะยั่งยืน แต่ต้องเปิดโอกาสให้ทดลอง”นพ.ศุภชัย ให้ความเห็น

นพ.ศุภชัย ยังมองไปถึงการกระจายอำนาจส่วนหนึ่ง ออกไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้วยซ้ำ เพราะในระดับนานาชาติ อปท.รับผิดชอบงานสาธารณสุขเยอะมาก งานสาธารณสุขระดับต้นควรไปอยู่กับอปท.ได้ แต่ที่ผ่านมาเรื่องนี้ไม่คืบหน้าเพราะบุคลากรในระบบไม่พร้อม ไม่อยากไปอยู่กับอปท. ฯลฯ แต่อย่างน้อยก็น่าจะมีอปท.ที่พร้อมกระจายอำนาจได้

นพ.ศุภชัย ย้ำว่า เรื่องเหล่านี้คือสิ่งที่อยากให้ลองทำ ขณะที่บทบาทของส่วนกลางนั้นต้องเล็กลง ไม่จำเป็นต้องดูแลทั้งหมด ให้ดูแลเฉพาะหน่วยบริการที่ไปไม่ไหวเท่านั้น ส่วนหน่วยบริการที่เดินหน้าต่อไปได้ ก็ให้เดินหน้าต่อไป

หยุดทะเลาะแล้วหาจุดสมดุลย์

นพ.ศุภชัย ชี้ว่าความขัดแย้งในระบบ ระหว่างสธ.และสปสช. ทำให้ระบบรวนไปหมด เพราะแต่ละฝ่ายจะผลักดันการออกแบบระบบให้เป็นไปตามที่ตัวเองเชื่อและอยากเห็น ไม่ยอมหันหน้าคุยกัน

“สปสช.ก็อย่าติดยึดกับความเชื่อของตัวเอง อย่าหลงกับความสำเร็จที่ผ่านมา เพราะมันไม่การันตีอนาคต มันต้องพูดคุยกันหาจุดสมดุล และอนุญาตให้เกิดความหลากหลายในการพิสูจน์แนวคิดของแต่ละคน เพราะถ้าทะเลาะกันก็ไม่ได้เดินหน้า มันไม่มีระบบที่สมบูรณ์ ไม่ได้ 100%ทำไมไม่ตกลงกันที่ 50-60% ก่อน ที่เหลือก็ทนกันหน่อยแล้วก็พิสูจน์กันไป อัตตามันสูงก็ลดๆลงมา สปสช.มีจุดแข็งเยอะมาก แต่ก็ต้องรู้ว่าทำไมที่ผ่านมามีความขัดแย้งเยอะ กระทรวงก็ต้องดูตัวเองว่าอะไรที่พึงทำอะไรที่ไม่พึงทำ ก็ต้องคุยกัน”กรรมการแพทยสภารายนี้เสนอแนะ

สร้างหลักประกันการเงินการคลัง

อีกประเด็นนอกเหนือจากการกระจายอำนาจบริหารจัดการ นพ.ศุภชัย ยังมองว่าต้องเร่งสร้างความชัดเจนของที่มาของงบประมาณที่จะเข้าสู่ระบบสุขภาพ เพราะแนวโน้มในอนาคตจะต้องใช้เงินมากขึ้นยิ่งกว่านี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องทบทวนนโยบาย อย่าหากินกับประชานิยมอย่างเดียว โดยเฉพาะนโยบายการเงินการคลัง ที่ผ่านมาไม่มีใครกล้าแตะเพราะกลัวเสียชื่อ นี่ก็เป็นกับดักความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดนี้แล้วรัฐบาลต้องตอบให้ได้ ว่าจะเป็นผู้จ่ายรายเดียวต่อไปไหวหรือไม่ไหว ถ้ายังจ่ายรายเดียว จะมีระบบอะไรการันตีว่าสถานพยาบาลจะได้งบประมาณเท่าที่ควรได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกแช่แข็งหรือหั่นงบหากรัฐเกิดปัญหาการเงินขึ้นมา

ขณะเดียวกัน ถ้ารัฐบาลบอกว่าจ่ายไม่ไหว ก็ต้องมีความชัดเจนว่าจะจัดสรรเงินที่มีอยู่ลงไปที่จุดไหน เพราะนิยามความเป็นธรรมตีได้หลายอย่าง จะจ่ายทุกคนเท่ากันหรือดูแลคนที่มีรายได้น้อยกว่า

“ผมตีความว่ารัฐบาลมีหน้าที่ดูกระเป๋าตัวเองแล้วดูว่าช่วยใครได้บ้าง เหมือนช่วยชาวนาตอนนี้ จ่ายทุกคนก็ไม่ไหว ก็เอามาจ่ายบางคน ระบบ 30บาทตอนนี้ก็ไม่ใช่ทุกคนได้ใช้ ก็ต้องประเมินกันจริงจังแล้ว”นพ.ศุภชัย กล่าว

ทั้งนี้ นพ.ศุภชัย มองว่า การออกแบบระบบหลักประกันสุขภาพที่ผ่านมา เดิมมองว่าการสร้างระบบที่แยกคนจนคนรวยเป็นไปได้ยาก แต่ปัจจุบันนี้ระบบไอทีดีกว่าเดิม จึงไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะออกแบบว่าคนกลุ่มไหนจะดูแลในระดับคุณภาพที่ดี คนกลุ่มไหนต้องจ่ายล่วงหน้าไว้แล้วถึงเวลาป่วยก็ไม่ต้องจ่ายเยอะ

“มันออกแบบได้ ผมมองว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ อย่าติดกับดักความสำเร็จ เปิดกว้าง ยอมมองดูในเชิงความเป็นจริงว่าจะปรับอะไรได้บ้าง”นพ.ศุภชัย ระบุ

นพ.ศุภชัย เสนอว่ารูปแบบการเงินการคลังที่พึงประสงค์นั้น 1.ต้องมีให้พอ 2.ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มี value for money และ 3.เป็นธรรม ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองไปที่ระบบสวัสดิการสังคมเป็นหลัก โดยเป็นระบบที่สะสมเงินล่วงหน้า ไม่ต้องมาจ่ายเงินตอนป่วยหรือการันตีว่าตอนป่วยจ่ายแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ต้องเป็นระบบที่ดูความสามารถในการจ่ายของแต่ละกลุ่มและเปิดโอกาสให้มีสิทธิเลือกได้ เช่น ถ้าเป็นคนไข้ที่ฐานะยากจน ก็ต้องการันตีคุณภาพให้ได้ ไม่ใช่เป็นระบบชั้น 2 สำหรับคนจน และควรจ่ายเท่าที่จ่ายได้ จ่ายนิดหน่อยเพื่อไม่ให้ใช้บริการโดยไม่คิดถึงคุณค่า ขณะที่ในส่วนของคนที่มีกำลังจ่าย ก็ต้องให้จ่าย เป็นต้น

“มันออกแบบได้ ให้ไปเข้าประกันสังคมหรือซื้อประกันสุขภาพแล้วมาลดภาษีก็ได้ การออกแบบมันไม่ยาก มันมีระบบให้เลือกเยอะมาก”นพ.ศุภชัย กล่าว


เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 5 มกราคม 2558

Mon, 2015-02-09
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9270
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2015, 00:03:17 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยติดหล่มการพัฒนาด้วยมี 3 กับดักสกัดกั้น ตามมุมมองของเลขาธิการสมาคมโรงพยาบาลเอกชน  นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชัย หากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สามารถแสวงหาทางออกจากกับดักประชานิยม กับดักทางการเงิน และกับดักของ วาทกรรมความเหลื่อมล้ำได้

เห็นทีภาพระบบสุขภาพในอนาคตจะเลือนรางเต็มทน

ไทยจนเกินไป-ไม่พร้อมรัฐสวัสดิการ

เมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของประเทศไทย จะพบว่าอยู่ที่ 5,000 เหรียญสหรัฐเท่านั้น หมายความว่าประเทศไทยมีงบประมาณ ไม่มาก และหากพิจารณาเงินที่ใช้ในระบบสุขภาพ ซึ่งมีกว่า 5 แสนล้านบาท (10-15% ของงบประมาณประเทศ) พบว่าเป็นเงินสนับสนุนของรัฐบาลสูงถึง 70%ประมาณประเทศ) พบว่าเป็นเงินสนับสนุนของรัฐบาลสูงถึง 70%

คำถามคือการตั้งเป้าหมายที่จะ "รักษาฟรี" ให้กับประชาชนทุกคน จะเป็นไปได้หรือไม่

"ประเทศใกล้เคียงกับเราใช้เงินในระบบสุขภาพประมาณ 6-7% ของงบประมาณประเทศ แต่ประเทศไทยกลับใช้ถึง 15% ของงบประมาณทั้งหมด และข้อเท็จจริงคือขณะนี้ยังไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ คำถามคือ ถ้าต้องการให้รักษาฟรีครอบคลุมประชากรทั้งหมด เราอาจต้องใช้ งบประมาณสูงถึง 30% ของงบประมาณทั้งหมด ถามต่อว่าเป็นไปได้หรือไม่"

ขณะที่ประเทศที่มีฐานะใกล้เคียงหรือรวยกว่าประเทศไทยไม่มากในเอเชียอย่างมาเลเซีย เงินจำนวน 100 บาท ในระบบสุขภาพของเขา รัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างมากก็ไม่เกิน 40-45 บาท อีก 55-60 บาท เป็นความรับผิดชอบของประชาชนเอง ประชาชนของเขาต้องดูแลรักษาสุขภาพของเขาเป็นเบื้องต้นเอง ประชาชนของเขาต้องดูแลรักษาสุขภาพของเขาเป็นเบื้องต้น

จากแนวนโยบายรักษาฟรีข้างต้นนี้นำไปสู่พฤติกรรมการใช้บริการของคนในสังคมไทยที่ ไม่เหมาะสม กล่าวคือประชาชนคาดหวังว่ารัฐบาลจะรักษาพยาบาลให้ฟรีทุกกรณี ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเมื่อเจ็บป่วย

คนที่ใช้บัตรทองไม่ได้จนจริงๆ

"ป่วยก็ไม่ต้องรับผิดชอบเพราะมีคนรับผิดชอบให้ ไปรักษาแล้วไม่พอใจไม่สุขใจก็ร้องเรียน ก็ได้เงินกลับมาใช้อีก เหมือนเราไปสร้างพฤติกรรมว่าตายในม็อบได้เงินชดเชย 7.5 ล้านบาท มันกลายเป็นการไม่ส่งเสริมให้คนทำในสิ่งที่ถูกต้อง"

ทั้งประเด็นความไม่พร้อมของประเทศและการสร้างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "กับดักทางการเงิน" ของระบบ

ตั้งแต่มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศไทยเคยชินกับ "ประชานิยม" จนทำให้ในวันนี้จะให้ประชาชน "ร่วมจ่าย" คงไม่ได้อีกแล้ว แต่ถ้าถามว่าจะให้รัฐอุดหนุนเพิ่มจนงบประมาณด้านสุขภาพเพิ่มสูงกว่า 15% ก็คงไม่ไหวอีก

เช่นกัน เพราะนี่คือกับดักที่เกี่ยวข้องกับคะแนนนิยม ตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ในผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทอง 100 คน จะเป็นคนจนระดับล่างจริงๆ เพียงแค่ 25% เท่านั้น ส่วนอีก 75% คือคนที่รวยกว่าคนจนระดับล่างกลุ่มนี้ ดังนั้นภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรสำหรับดูแลคนจำนวน 47 ล้านคน จะมีคนจนระดับล่างสุด ที่แย่งชิงทรัพยากรส่วนนี้ได้เพียง 25% เท่านั้น

ในอดีตประเทศไทยมีบัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (บัตร สปร.) หรือบัตรคนจน ซึ่งออกให้กับคนประมาณ 15 ล้านคน โดยให้อำนาจผู้นำชุมชนเป็นคนรับรองสิทธิ แน่นอนว่าในจำนวนนี้ต้องมีผู้ที่ไม่ได้จนจริง ซึ่งผลการศึกษาในขณะนั้นมีประมาณ 2-3 ล้านคน หรือ 20-30%

ทว่า ปัจจุบันในระบบบัตรทองกลับมีคนจนระดับล่างที่ใช้บริการเพียง 25% นั่นหมายความว่ามีผู้ที่ไม่ได้จนจริงๆ แฝงอยู่ถึง 3 เท่า หรือ 300% มากกว่าโครงการ สปร. ในอดีตมากมาย

เพิ่มเก้าอี้ให้คนเตี้ย

กับดักต่อมาก็คือ "กับดักวาทกรรมความเหลื่อมล้ำ" ลองจินตนาการว่ามีคนอยู่ 2 คน คือคนเตี้ยกับคนสูง ทางเลือกมีเพียง 2 แบบเท่านั้น คือทำคนเตี้ยให้เท่าคนสูง และทำคนสูงให้เตี้ยเท่าคนเตี้ย

ทางเลือกแรก "เพิ่มเก้าอี้ให้คนเตี้ย" (คนจน) เพื่อให้สูงขึ้น ส่วนคนสูงที่สูงอยู่แล้วก็เหมือนเดิม  ถ้าใช้วิธีนี้เราก็มีเงินเพียงพอจะดูแลคนจนมากขึ้น 3-4 เท่าตัว คือเอาเงินที่ใช้ดูแลคนอีก 75% ไปดูแลคนจนเพียงอย่างเดียว คำถามคือแล้วเหตุใดเราจึงไม่กันคนสูงออกไป แล้วนำเงินทั้ง 100% ให้คนจนใช้ทั้งหมด

"ถ้าทำวิธีนี้ ค่าเหมาจ่ายรายหัวบัตรทองสำหรับคนจนจริงๆ ก็จะเพิ่มอีก 3-4 เท่า นั่นหมายความว่าจะมีเงินดูแลคนจนเกิน 1 หมื่นบาท/คน/ปี"

สำหรับทางเลือกที่สอง "ตัดหัว-ตัดขาคนสูง" ลงมาให้เทียบเท่ากับคนเตี้ย แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ คนเตี้ยเท่ากับคนสูง แต่ถามว่าเหมาะสมเป็นธรรมหรือไม่ อันนี้ใช้งบมากเพราะต้องดูแลทุกคนทั้ง 67 ล้านคน ประเทศรวยพอที่จะทำได้หรือไม่

หลุดพ้นจากกับดัก ต้อง 'ประกันตน'

ทุกวันนี้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จ่ายเงินน้อยที่สุด นั่นเพราะผู้ประกันตนต้องเสียเงินดูแลตัวเอง ขณะเดียวกัน สปส.ก็ไม่กล้าเพิ่มค่า เหมาจ่ายหัว เพราะมองว่าจะล้ำหน้ากองทุนบัตรทอง

"เมื่อประกันสังคมไม่กล้าจ่ายเงินเพิ่ม ผู้ประกันตนก็ยิ่งรู้สึกว่าทำไมจ่ายเงินไปแล้วกลับได้รับบริการเทียบเท่าบัตรทอง ผู้ประกันตนก็ไม่พอใจ ดังนั้นหากยิ่งต้อนคนให้เข้าระบบบัตรทองเพิ่มมากขึ้นปัญหา ก็จะมากขึ้นตาม"

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะทำอะไรเพื่อให้ออกจากกับดักนี้ก็ควรรีบทำ เพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งคงไม่สามารถทำได้

"แต่ถ้าเราปรับกระบวนการให้ประชาชนรู้จักดูแลตัวเองก็จะไปได้ แต่อาจต้องยอมจ่ายเงินบางส่วนบ้าง"

รูปธรรมที่จะเกิดขึ้นได้นั้นอาจไม่จำเป็นต้องออกแบบกองทุนใหม่ แต่ควรหาแนวทาง "จูงใจ"  ให้คนในระบบบัตรทองจำนวน 75% ที่มีกำลังจ่ายเงินดูแลสุขภาพตัวเองได้ เข้าสู่ "ประกันสังคม"

"สิ่งที่ต้องทำก็คือหาวิธีการคัดกรองคนที่มีกำลังจ่ายออกจากกองทุนบัตรทอง แล้วหามาตรการจูงใจให้คนเข้าสู่ระบบประกันสังคม

...ส่วนตัวคิดว่าอาจใช้จุดแข็งของประกันสังคมคือกองทุนบำนาญชราภาพ และกองทุนชดเชยการว่างงานและนำเงินที่เหลือในกองทุนประกันสังคมในส่วนรักษาพยาบาลกว่าสองแสนล้านบาทมาลงทุนในภารกิจช่วงต้นนี้"

เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 23 ธันวาคม 2557


Tue, 2015-02-10
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9279

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
นอกเหนือจากความไม่พร้อมในการรับมือความเปลี่ยนแปลงแล้ว แนวนโยบายด้านสุขภาพในอนาคตของประเทศก็แทบไม่มีให้เห็นเป็นรูปธรรม

ตามมุมมองของนักวิชาการด้านสังคม ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินว่า ในอนาคต 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาหลากหลาย เนื่องจาก "ไม่ได้เตรียมพร้อม" ตั้งแต่เรื่องสภาพภูมิอากาศ ความแออัดของเขตเมือง การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

หากให้วาดภาพระบบสุขภาพที่ควรจะเป็นในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเด็นสำคัญที่สุดคือ คนไทยทุกคนควรจะได้สิทธิในการรับ "บริการด้านสุภาพขั้นพื้นฐาน" ที่ทัดเทียมกัน

พร้อมกันนั้น ต้องสร้างระบบที่สามารถป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพให้กับคนไทยทุกคน เช่น อุบัติเหตุ โรคจากการทำงาน เรื่องอาหารโภชนาการ และสุดท้ายต้องมีระบบที่จะส่งเสริมให้คนไทยเกิดการตื่นตัวด้านสุขภาพมากไปกว่าคิดแต่จะหาโรงพยาบาลดีๆ เท่านั้น

แนวทางที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้สำเร็จได้ คือ ต้องทำให้ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีส่วนร่วมในการ "เป็นเจ้าของ" ระบบสุขภาพ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ง่ายที่จะทำให้สำเร็จ โดยทุกวันนี้มีคนจำนวนหนึ่งรู้สึกแบบนี้แล้ว นั่นคือคนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพราะรัฐประกาศว่าสิ่งนี้เป็น "สิทธิ" ของเขา ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่เป็นสังคมสงเคราะห์

อย่างไรก็ดี ใช่ว่าจะสร้างให้คนเป็นเจ้าของแล้วเพียงพอ สิ่งที่ต้องมีควบคู่กันด้วยหลักฐานทางวิชาการที่จะอธิบายได้ว่าควรจัดบริการในรูปแบบใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ทุกวันนี้ประเทศไทยมีปัญหาคือ 3 ระบบ คือ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งแต่ละระบบใช้รูปแบบไม่เหมือนกัน มีทั้งเหมาจ่ายรายหัว ทั้งจ่ายสมทบ ทั้งให้เบิกได้อย่างไม่จำกัด

"ระบบหนึ่งให้เบิกได้ไม่จำกัด ก็ใช้งบประมาณมาก อีก 2 ระบบ ก็มองตาปริบๆ ว่าทำไมตัวเองไม่ได้บ้าง ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นไปไม่ได้ และการให้ชนิดที่ไม่มีการจำกัดก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีถ้าหากเรายังไม่มีระบบคัดเลือกสิ่งที่จะให้ที่เหมาะสม ดังนั้นนอกจากการสร้างให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของระบบแล้ว ยังต้องมี "ผู้กำกับ" ไม่ให้ 3 ระบบเหลื่อมล้ำกันด้วย"

ส่วนตัวมองว่ารูปแบบ (วิธีการจ่ายเงิน) ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ต้องมีบางส่วนที่เหมือนกัน นั่นคือบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นที่ทุกคนได้รับต้องเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นยาที่จำเป็น เครื่องมือแพทย์ที่สำคัญ แต่ระบบไหนต้องการความสะดวกสบายก็ให้ไปจ่ายเพิ่มเอง ซึ่งทั่วโลกพิสูจน์แล้วว่ารูปแบบการจ่ายรายหัวเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็จะมีคำถามอีกว่ารายหัวนี้มันควรเป็นเท่าไร จะปรับเพิ่มได้ไหม หรือรัฐบาลจะคุมไปตลอด รายละเอียดปลีกย่อยเยอะ

การแข่งขันจะทำให้แต่ละกองทุนเกิดการพัฒนา แต่หากให้เอา 3 ระบบมาขยำรวมกัน ถามว่าใครจะยอม คนที่อยู่ในระบบราชการก็บอกว่าของตัวเองดีและคงไม่ยอมไปอยู่ในระบบอื่น ดังนั้นคงเป็นไปไม่ได้ที่จะขยำรวมกันเป็นก้อนเดียว แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยให้ต่างคนต่างทำ ทั้ง  3 ระบบ ยังคงต้องเดินควบคู่กันไปด้วยกัน

สำหรับอนาคตและทิศทางที่เหมาะสมของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คือเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ออกแบบกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย (Regulator) ทุกวันนี้เวลามีโปรแกรมอะไรก็เป็นลักษณะ Top-Down เช่น สั่งให้ทุกจังหวัดไปทำเรื่องเดียวกัน ซึ่งในอนาคตต้องเปลี่ยน สิ่งที่อยากเสนอและผลักดันอยู่ในขณะนี้คือ การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยตัวของชาวบ้านในพื้นที่เอง ส่วนกลางทำเพียงนำความรู้เข้าไป เพิ่มเติมให้

"ถ้าความเชื่อเขายังไปไม่ถึง เช่น แร่ใยหิน เขายังไม่เข้าใจ ยังไม่เห็นความสำคัญ เขาก็อาจจัดลำดับไว้สุดท้ายก็ได้ แต่เราก็ต้องคอยไปคุยกับเขา ไปบอกถึงอันตรายต่างๆ กับเขา แต่ให้เขาเลือกเอา เขาจะภูมิใจมากที่เขาได้ตัดสินใจ"

แต่ละพื้นที่มีปัญหาแตกต่างกัน เขาก็จะรู้ว่าอะไรสำคัญและจะจัดการอะไรก่อน


เผยแพร่ครั้งแรก : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 7 มกราคม 2558


Wed, 2015-02-11
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9281

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
12 ปี ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในมุมมองของ นพ.วิโรจน์ วิโรจนวัธน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน (รพร.สว่างแดนดิน) จ.สกลนคร คือช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก จากความไม่ลงตัวของการแบ่งบทบาท ระหว่างผู้ซื้อ อย่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และผู้ให้บริการ อย่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จนกลายเป็นความขัดแย้งที่ลุกลามมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้ระบบสุขภาพมีความเสี่ยงที่จะถึงจุดชะงักงัน

“จริงอยู่ที่งบประมาณมันเพียงพอขึ้นมาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ การทำงานซ้ำซ้อน ระหว่างสปสช.และสธ. เพราะสธ.เขาบริหารคน แต่ไม่ค่อยมีเงิน ขณะที่สปสช.มีเงิน แต่กลับบริหารคนไม่ได้ กลายเป็นว่าต่างคนก็ต่างกำหนดงาน คนหนึ่งเอาเงินมาล่อให้ทำ ส่วนอีกคนใช้อำนาจบริหารบุคคลมาสั่งให้ทำ แล้วที่แย่กว่านั้นคือ นอกจากข้างบนจะไม่คุยกันให้ดีแล้ว ก็ยังขัดแย้งกันเองอีก” นพ.วิโรจน์ขยายความปัญหาให้ฟัง

เขาบอกว่า สถานะเช่นนี้ ทำให้ทรัพยากรที่จัดสรรลงมาในระบบสุขภาพไม่เคยพอเสียที เพราะเป้าหมายที่ทั้ง 2 หน่วยงานกำหนด เป็นคนละเป้ากัน ทำให้การทำงานจริงสับสนวุ่นวายกันไปหมด ซึ่งในความเห็นเขา ปัญหาสำคัญมาจาก พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่ให้อำนาจหน้าที่ สปสช. เกินกว่าการเป็น “ผู้ซื้อ” ไปมาก

เช่น ให้สปสช.เป็นผู้ซื้อ แต่กลับมีอนุกรรมการควบคุมมาตรฐานของหน่วยบริการ หรือให้อำนาจสปสช.ในการจัดสรรเงินไปยังกองทุนย่อยต่างๆ ด้วยตัวเอง ทั้งที่อำนาจกำหนดว่าจะจ่ายเงินเพื่อเน้นเรื่องใดเป็นพิเศษ ควรจะเป็นของฝ่ายนโยบายและแผนของสธ. ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายระดับชาติ แต่สปสช.กลับมีแผนกวิเคราะห์แผน และตั้งเป้าหมายด้วยตัวเอง ทำงานซ้ำซ้อนกับกระทรวง

“ที่มันกระทบกับประชาชน ก็เพราะคนเหล่านี้เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งควรจะอยู่ในภาคบริการให้มากขึ้น ไม่ใช่มานั่งสุมหัววางแผน ทำงานแบบเดียวกัน แล้วก็ทะเลาะกันเอง หากเราเปลี่ยนให้คนเหล่านี้ไปอยู่ในภาคบริการแทน แล้วมาตกลงคุยบทบาทให้ดี เพื่อให้กรมกองต่างๆ เล็กลง ก็จะได้คนเพียงพอ และใช้งบประมาณ รวมถึงทรัพยากรน้อยลง เงินของการบริหารสองส่วนนี้ก็เอาไปยังหน่วยบริการเพิ่มขึ้นได้” นพ.วิโรจน์อธิบายปัญหาให้เห็น

ส่วนภาพอนาคต 10 ปีข้างหน้านั้น เขาตั้งความหวังไว้ 5 ประเด็น คือ 1.ต้องมีการสร้างสมดุลของระบบ ให้ระบบบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชนไม่แตกต่างกันสุดขั้ว และสร้างสมดุลการดูแลสุขภาพระหว่างผู้รับบริการ และผู้ให้บริการด้วย 2.มีการร่วมมือกันทำงานในทุกภาคส่วน แทนการทะเลาะกัน 3.เทคโนโลยีในระบบสาธารณสุข ต้องถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม 4.ประชาชนต้องพึ่งตัวเองได้ 5.ต้องกระจายอำนาจการบริหารจัดการมากขึ้นเรื่อยๆ และ 6.ผู้รับบริการต้องตระหนักและมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบสุขภาพตัวเอง

ทว่า หากภาพความขัดแย้งระหว่าง 2 หน่วยงาน ยังคงชัดเจนอยู่อย่างนี้ คงไม่อาจไปถึงดวงดาวได้ ขณะเดียวกัน การเอาประชาชนเป็นตัวประกัน โดยต่างคนต่างก็อ้างว่าทำเพื่อประโยชน์ประชาชน จะยิ่งทำให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น โดยไม่วันใดก็วันหนึ่ง มีความเสี่ยงที่จะกระทบประชาชนจริงๆ

สำหรับวิธีการที่จะไปให้ถึงนั้น ผู้อำนวยการรพร.สว่างแดนดิน บอกว่า เรื่องการสร้างสมดุลนั้น ค่อนข้างยาก เพราะไปเกี่ยวพันกับกลไกธุรกิจของเอกชน ซึ่งปัจจุบัน หลายโรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว ซึ่งเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็มีหน้าที่สำคัญคือ ทำกำไรให้ได้สูงสุด ทำให้กลไกสุขภาพ กลายเป็นการซื้อขายเชิงกำไรขาดทุน

“การรักษาของภาครัฐและเอกชนดูจะห่างกันมากขึ้นทุกที ขณะที่ภาคเอกชนขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ภาครัฐกลับถูก ‘ตอน’ จากงบประมาณ เพราะฉะนั้น อาจถึงเวลาต้องออกกฎหมายกำหนดเพดานราคาค่าบริการของภาคเอกชน เพื่อไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายเกินจริงไปจนน่าเกลียด”

ขณะที่ การสร้างสมดุลระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการนั้น คุณหมอวิโรจน์บอกว่า แรงจูงใจของประชาชนขณะนี้คือทำงานหาเงินเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สนใจดูแลสุขภาพตัวเอง และระบบที่มีกลับโยนไปให้บุคลากรสธ.ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนแทน ซึ่งหากเกิดปัญหาสุขภาพมากๆ เข้าก็แน่นอน บุคลากรสธ.ย่อมดูแลไม่ได้ จึงอาจต้องใช้กฎหมายควบคุมแบบเดียวกับกฎหมาย “ให้คาดเข็มขัดนิรภัย” หรือ “ให้สวมหมวกกันน็อก” ซึ่งแต่ละปีสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้มาก และสร้างแรงจูงใจบางอย่าง ให้ประชาชนมีหน้าที่ดูแลสุขภาพของตัวเอง

เช่น จากเดิมที่ให้ข้าราชการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่รู้จบ เปลี่ยนเป็น แต่ละปีมีวงเงินค่ารักษาพยาบาล 1 หมื่นบาท แล้วถ้าใช้ไม่หมด จะได้โบนัสตอบแทนคืน ซึ่งน่าจะสร้างแรงจูงใจให้คนดูแลตัวเองมากขึ้น

สำหรับการร่วมมือกันระหว่างสปสช. และสธ. นั้น เขาบอกว่า อาจถึงเวลาต้องปรับบทบาทหน้าที่ระหว่างสปสช.และสธ.ใหม่ ด้วยการให้ตัวแทน 2 หน่วยงาน รวมถึงภาคประชาชนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง มาหารือกันว่าประชาชนต้องการอะไร และหน่วยงานสามารถตอบสนองอย่างไรก็ตาม

ด้านการจัดการเทคโนโลยีนั้น คุณหมอวิโรจน์ให้ความเห็นว่า ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่ประเมินเทคโนโลยีและการเข้าถึงยาอย่างโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ (ไฮแทป) ซึ่งล้วนมีแต่ระดับ “หัวกะทิ” ทำงานอยู่ แต่สธ.กลับนำไปใช้จริงน้อยมาก ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญที่จะลดภาระ กับความซ้ำซ้อนทางงบประมาณได้

ส่วนระบบที่พึ่งตนเองได้ คุณหมอขยายความว่า ปัจจุบัน ต้องพึ่งยาจากต่างประเทศ ทำให้สูญเสียงบประมาณไปมาก ซึ่งก็ถึงเวลาแล้วที่โรคง่ายๆ ก็ถึงเวลาพิจารณาว่าอาจต้องใช้ยาแผนไทย ที่ผลิตเองเป็นอันดับแรก และก็ถึงเวลาที่สธ. ต้องวางแผนพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น

เขตสุขภาพ ยิ่งเริ่มยิ่งเพิ่มความขัดแย้ง

สำหรับระบบกระจายอำนาจ ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่นั้น คุณหมอบอกว่า ประเด็นสำคัญคือต้องทำให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่ปล่อยให้หน่วยบริการเพิ่มจำนวนโดยไร้การควบคุม อย่างในปัจจุบัน ที่พระสงฆ์หรือนักการเมืองขอให้สร้างตึก หรือสร้างโรงพยาบาลเพิ่ม ก็ต้องสร้าง แต่ระบบเขตของสธ. ที่ให้ผู้ตรวจราชการสธ. เป็นซีอีโอเขต ดูแลงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เขาก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน

“เขตสุขภาพ ควรจะเป็นบอร์ดที่ประกอบด้วย ผู้ซื้อบริการ ผู้ให้บริการ และภาคประชาชน มาทำหน้าที่จัดการทรัพยากร อย่างน้อยที่สุดก็คือต้องมีอำนาจจัดการงบประมาณ แล้วผู้ตรวจฯ ค่อยมานิเทศน์ว่า ทำได้ตามเป้าหรือไม่ ไม่ควรจะก้าวก่ายงบประมาณใดๆ ทั้งสิ้น เพราะงบประมาณมันต้องแยกผู้ซื้อ และผู้ให้บริการ ถ้าให้ผู้ให้บริการจัดการ หลักการมันก็เสียหมด” ผู้อำนวยการรพร.สว่างแดนดินแสดงความคิดเห็น

“ขั้นตอนง่ายๆ คือ สธ.ชี้เป้า ว่าควรทำอย่างนี้ สปสช.ในฐานะผู้ซื้อบริการส่งงบประมาณมาให้บอร์ดเขต ที่มีตัวแทนทุกส่วนมาพูดคุยกัน บนพื้นฐานข้อมูล ถ้าผู้ให้บริการบอกไม่พอ ก็จัดสรรใหม่ ทุกคนมีอำนาจเท่ากัน ไม่ใช่ของสธ.คนเดียว”

ส่วนการจัดการในรูปแบบ องค์กรมหาชน อย่าง “โรงพยาบาลบ้านแพ้ว” นั้น เขาเห็นว่าถ้าที่ไหนพร้อม พอเลี้ยงตัวเอง ก็สามารถทำได้ แต่ต้องเชื่อมโยงกับเขตบริการสุขภาพ เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ก็ต้องขึ้นกับเขตสมุทรสาคร แต่จากที่ประเมินสภาพโรงพยาบาลส่วนใหญ่ขณะนี้ ยังเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

“ต้องยอมรับว่า เราหาคนเหมือนพี่วิทิต (นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว) ได้ยาก เพราะหมอไม่ได้เป็นนักบริหาร นักเศรษฐศาสตร์ หรือนักการตลาดแบบพี่วิทิต เพราะฉะนั้นก็ต้องยอมรับว่าคนที่บริหารโรงพยาบาล อาจไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ ไม่อย่างนั้นก็ไปไม่รอด เพราะแค่บริหารโรงพยาบาลทั่วไปก็ยากแล้ว”

ปัจจัยระยะสั้น รพศ.-รพช.ขัดแย้งหนัก

ถามถึงปัจจัยระยะสั้นที่จะส่งผลกระทบให้เป้าหมายไปไม่ถึงฝั่งฝัน คุณหมอบอกว่า ที่น่ากังวลที่สุดคือความขัดแย้งภายในหน่วยงานที่จัดการนโยบายระบบสุขภาพของประเทศ ซึ่งขณะนี้ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) มีความขัดแย้งกันอย่างสูง ตั้งแต่ความไม่เข้าใจเรื่องระบบส่งต่อ และค่าตอบแทน ที่รพช.ได้สูงกว่า

“ตอนนี้กลายเป็นว่า ปลัดกระทรวงฯ ดึงรพศ./รพท.มาเป็นพวก ขณะที่สปสช.มีรพช.หนุน ซึ่งประเด็นง่ายๆ ที่รมว.สธ.มอบนโยบายอย่าง ทีมแพทย์ประจำครอบครัว หรือการสร้างระบบสุขภาพของแต่ละหน่วยบริการอย่างไร้รอยต่อ แทบเป็นไปไม่ได้เลย หากเกิดความขัดแย้งลักษณะนี้ เพราะฉะนั้น หากจะเริ่มแก้ปัญหาก็ต้องสลายขั้วให้ได้ก่อน”

ส่วนปัจจัยระยะยาว คุณหมอบอกว่าปัจจัยภายใน มี 4 ข้อ ได้แก่  1.สธ.และสปสช.ต้องผ่าตัดโครงสร้างครั้งใหญ่เพื่อให้หน่วยงาน และกรม-กอง เล็กลง ไม่เทอะทะเหมือนในปัจจุบัน 2.ระบบธรรมาภิบาล ซึ่งถ้ายังมีการโกงกิน หรือกินค่าหัวคิว งบประมาณเท่าไรก็ไม่พอ 3.กำลังคน ซี่งต่างคนต่างกำหนดทำให้ซ้ำซ้อนกัน และ 4.ประสิทธิภาพของผู้บริหาร ให้มองภาพรวมขององค์กรมากขึ้น

ขณะที่ภาวะสุขภาพที่สำคัญที่คุณหมอบอกว่าน่าจับตา ได้แก่ 1.สังคมผู้สูงอายุ เพราะรัฐต้องใช้งบเยอะมากในการบริหารจัดการ 2.โรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งเป็นผลพวงจากสังคมเปิด และการเปิดประชาคมอาเซียน และ 3.อุบัติเหตุ ที่มีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ

เท่าเทียมกับประสิทธิภาพ

เป้าหมายที่สำคัญซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามุ่งหน้าไปถึงทุกปี คือทำอย่างไร ให้ช่องว่างของระบบการรักษาพยาบาล “เท่าเทียม” กันมากขึ้น

คุณหมอบอกว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของบ้านเรา เริ่มต้นจากฐานคิดที่ว่า จะทำอย่างไรให้คนที่ “ขายบ้าน” “ขายวัว” และ “ขายควาย” เข้าถึงระบบบริการภาครัฐโดยไม่ต้องล้มละลาย

“แต่เดิมบริการภาครัฐบริหารจัดการได้ไม่ดีพอ เมื่อเปลี่ยนเป็นสปสช.จัดบริการแทน หลายเรื่องก็ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น ทั้งผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ การล้างไต หรือการผ่าตัดต้อกระจก แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าก็คือ หากจัดบริการให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จุดพอดีจะอยู่ตรงไหน”

เขาบอกว่า เมื่อการเข้าถึงบริการดีขึ้นเยอะมาก ก็ถึงเวลาต้องหันกลับมามองประสิทธิภาพในการบริหาร และการจัดการงบประมาณแทน

“ผมคิดว่าปัญหาขณะนี้ มันเกิดจากการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะถ้าจัดการมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ในเขต 8 เราสามารถดูแลคนไข้เปลี่ยนหัวใจ หรือรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ในมาตรฐานเดียวกันทั้งเขต ทั้งที่ทรัพยากรก็เท่าที่อื่น แต่เราเน้นเรื่องประสิทธิภาพแทน นั่นทำให้ผมคิดว่าเราอาจต้องเปลี่ยนทิศทางมาเน้นเรื่องประสิทธิภาพดีก่อน ถ้าประสิทธิภาพดี ก็จัดการได้เท่าเทียม และถ้าบริหารดี ประสิทธิภาพดี ก็มีเงินเหลือ เงินเหลือก็ทำอย่างอื่นได้ แต่ถ้ากระจายความเท่าเทียมไปอย่างเดียว อย่างไม่มีประสิทธิภาพ สุดท้าย มันจะสิ้นเปลืองทรัพยากรมากกว่าที่ควรจะเป็น” ผู้อำนวยการรพร.สว่างแดนดินระบุ

อีกประเด็นที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ในระบบสุขภาพก็คือ จะทำอย่างไรให้ 3 กองทุนสุขภาพ ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ เหลื่อมล้ำให้น้อยที่สุด

นพ.วิโรจน์ แสดงความคิดเห็นว่า สิทธิในการรับบริการที่แตกต่างกันมากขณะนี้ ถึงเวลาที่ต้องทำให้เท่ากัน จะต้องไม่มีอีกแล้ว ที่ กองทุนนี้รักษาได้ แต่กองทุนนี้รักษาไม่ได้ เช่น ประกันสังคม ตรวจร่างกายประจำปีไม่ได้ แต่สปสช. และข้าราชการทำได้ ก็ต้องพิจารณาว่ามีข้อใดไม่เท่า แล้วหาระบบจัดการที่ทำให้เท่ากัน

“แล้วระเบียบในการเรียกเก็บเงินก็ควรจะต้องเป็นระเบียบเดียวกัน แต่ผมก็ไม่คิดว่าเราจะต้องรวมทุกกองทุนเข้าด้วยกันเหมือนที่เขียนใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ นะ เพราะขืนรวมจริง จะเกิดความขัดแย้งในระดับบริหารของแต่ละกองทุนแน่นอน แต่ก็ถึงเวลาที่ต้องเริ่มต้นคิดแล้วว่าจะเริ่มอย่างไร” นพ.วิโรจน์สรุปในตอนท้าย


Thu, 2015-02-12
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9287

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เป็นเวลากว่า 12 ปีแล้ว (นับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา) ที่ “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำเนิดขึ้น และมีบทบาทเปรียบดัง 1 ใน 3 เสาหลัก ค้ำยันสุขภาพประชาชนชาวไทย ไม่ให้ต้องประสบกับภาวะล้มละลายจากการรักษาพยาบาล

ระยะเวลากว่าทศวรรษได้พิสูจน์ทราบถึงความสำเร็จในการออกแบบระบบโดยปราศจากข้อเคลือบแคลงใดๆ การปรับเพิ่มงบประมาณรายหัว การขยายสิทธิประโยชน์ และการขยายการคุ้มครองประชากรอย่างครอบคลุม ทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) กลายมาเป็น “ต้นแบบ” ให้นานาประเทศเข้ามาถอดบทเรียน

หนึ่งในผู้ร่วมออกแบบระบบตั้งแต่แรกเริ่มอย่าง นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช. ยอมรับว่า แม้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา “บัตรทอง” จะประสบความสำเร็จ แต่ในทศวรรษหน้ายังมี “ความท้าทาย” อีกหลายประการให้ต้องฟันฝ่า

ระบบสุขภาพในอุดมคติ

หากจะพูดถึง “ความท้าทาย” ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า จำเป็นต้องเข้าใจภาพอุดมคติของระบบสุขภาพที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องการการเป็นลำดับแรก

เริ่มตั้งแต่ “ประชาชน” ซึ่งต้องการ “ที่ปรึกษาประจำตัว” ที่มีความรู้ทั้งในเชิงระบบและเชิงเนื้อหา คือเป็น “ตัวกลาง” คอยให้คำปรึกษาเรื่องปัญหาสุขภาพและเป็นตัวกลางที่คอยเชื่อมต่อให้เข้าสู่ระบบได้ นอกจากนี้ต้องการให้มีระบบเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินต่างๆ และต้องการให้เข้าถึงการบริการได้ โดยที่เรื่องเงินทองไม่เป็นอุปสรรค

ในส่วนของ “ผู้ให้บริการ” ต้องการให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่ก่อนป่วยด้วยการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เมื่อเจ็บป่วยก็สามารถให้บริการได้ตามความจำเป็นของพยาธิสภาพของคนไข้โดยไม่แบ่งแยกฐานะ สามารถให้การรักษาที่มีราคาแพงได้โดยไม่มีแรงกดดันจากเรื่องเงินทอง มีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล

ขณะที่ “ผู้ซื้อบริการ” ต้องการทำให้กลุ่มเป้าหมายของตัวเองเข้าถึงสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบบริการที่มีจำกัด โดยต้องไม่มีการแบ่งแยกหรือเหลื่อมล้ำจนเกินไป ทางด้าน “รัฐบาล” ก็ต้องการให้ประชาชนของตัวเองเข้าถึงบริการ และไม่เป็นภาระงบประมาณมากจนเกินไป

ความท้าทาย “บัตรทอง” ทศวรรษหน้า

ภาพอุดมคติของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพ คือหมุดหมายสำคัญสำหรับปฏิรูประบบเพื่อไปให้ถึง แต่หากจำเพาะเจาะจงโฟกัสเฉพาะ “บัตรทอง” ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจของ นพ.ประทีป จะพบว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า มี “ความท้าทาย” อย่างน้อยๆ 4 ประเด็นสำคัญ

ประเด็นแรกคือ การลดความเหลื่อมล้ำ เริ่มจากความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุน ซึ่งทำให้การเข้าถึงบริการหรือการใช้ทรัพยากรในการบริการมีความแตกต่างกันออกไป นั่นคือใครถือเงินมากกว่าก็จะได้รับการบริการส่วนใหญ่ไป รวมถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท ความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาค ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการปฐมภูมิกับบริการที่อยู่ระดับสูงขึ้นไป

ประเด็นที่สามารถดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาได้ทันที เช่น อุบัติเหตุฉุกเฉิน ซึ่งวิธีการคือต้องใช้ทรัพยากรการบริการของภาคเอกชนที่มีอยู่ และต้องลงทุนตัวระบบเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน หรือ โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ โรคไตวาย ต้องทำให้สามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้โดยเท่าเทียม หรือแม้แต่ การจัดระบบดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ติดบ้านติดเตียง ที่ภายใน 5 ปีนี้ จำเป็นต้องจัดบริการดูแลโดยมียุทธศาสตร์อยู่ที่ชุมชน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัดการ และรัฐบาลกลางเป็นผู้สนับสนุน

ประเด็นที่สองคือ การทำให้ระบบนี้ ครอบคลุมคนไทยทุกคน หมายความรวมถึงคนที่อยู่ในประเทศไทยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชายขอบ ด้อยโอกาส แรงงานข้ามชาติ ประเด็นที่สามคือ การสร้างความยั่งยืนให้กับระบบ โดยเฉพาะความยั่งยืนทางการเงินการคลัง ความยั่งยืนทางด้านประสิทธิภาพของการจัดการทั้งหลาย ความยั่งยืนด้วยมีภาควิชาการนำไม่ใช่ถูกอำนาจทางการเมืองยึดโยง

ประเด็นสุดท้ายก็คือ การปฏิรูประบบบริการ ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มีการปฏิรูปอำนาจของผู้ซื้อบริการหรือประชาชนมาตลอด แต่กลับไม่เคยมีการปฏิรูประบบบริการ ระบบบริการส่วนใหญ่เป็นของภาครัฐโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีลักษณะรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง อยู่ภายใต้กฎระเบียบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพ จึงไม่สามารถขยายการบริการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของผู้ซื้อบริการได้

“เราก็คาดหวังว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ระบบบริการเหล่านี้ต้องมีการปฏิรูป”

อย่าปล่อยให้ระบบบริการเข้าสู่ “ตลาดเสรี”

ว่ากันเฉพาะ “การปฏิรูประบบบริการ” เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริงซึ่งแปรเปลี่ยนมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา น่าสนใจว่าแนวทางการปฏิรูปควรจะเป็นอย่างไร

“ระบบบริการที่ดียังคงต้องอยู่ภายใต้ “ภาครัฐ” และต้องไม่ปล่อยให้เข้าสู่ “ตลาดเสรี” นั่นเพราะเรื่องระบบสุขภาพเป็นเรื่องความมั่นคงของสังคมและประเทศ ประกอบกับเป็นสินค้าเฉพาะที่ซับไพร์มมีผลต่อดีมานด์”\

อย่างไรก็ดี ระบบที่เป็นของรัฐนั้นจะต้องแก้ปัญหาเรื่อง “ความไร้ประสิทธิภาพ” ด้วยการ “กระจายอำนาจ” ออกไป

ทางเลือกของการกระจายอำนาจ แบ่งได้เป็น 1.การกระจายให้ท้องถิ่น แต่คำถามคือขณะนี้ท้องถิ่นเข้มแข็งหรือพร้อมดูแลระบบบริการหรือไม่ 2.กระจายให้ผูกโยงอยู่กับคนในพื้นที่ อาจไม่ต้องอยู่กับรัฐบาลท้องถิ่น ทำเป็นองค์การมหาชนหรือองค์กรอิสระก็ได้ แต่ต้องยึดโยงให้คนในพื้นที่กำหนดทิศทาง หรือมีสิทธิเลือกผู้บริหาร

“ถ้าทำเช่นนี้ได้ การปฏิรูปการซื้อบริการกับการปฏิรูประบบบริการก็จะมาเจอกันในพื้นที่”

ในทางกลับกันหากไม่ดำเนินการปฏิรูปตามแนวทางข้างต้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงก็คือสถานการณ์การเผชิญหน้า ความขัดแย้ง กับการไร้ประสิทธิภาพของตัวระบบ

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ปัญหาเรื่องการขยายกำลังคนในระบบบริการสุขภาพก็จะทำไม่ได้ เพราะอัตรากำลังไม่พอ ทุกอย่างอยู่ภายใต้ระเบียบ การจะหารายได้เพิ่มเติมก็อยู่ภายใต้ระเบียบ นั่นหมายความว่าจะไม่สามารถ “ปลดปล่อย” ศักยภาพที่แท้จริงออกมาได้

ที่สุดแล้วตัวระบบบริการสุขภาพก็จะติดแหง็กอยู่เช่นนี้ ม็อบต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น ประชาชนก็จะเข้าไม่ถึงบริการ และการบริการเหล่านั้นไม่อาจจะบรรลุเป้าหมายได้

สำหรับความคิดในเรื่องระบบบริการนั้น จะมีอยู่ 2 แนวคิด ควบคู่กันมาโดยตลอด ที่สำคัญทั้ง 2 แนวคิดนี้ พร้อมจะตีกลับไปมาได้เสมอ

แนวคิดแรก คือการสร้างระบบบริการสุขภาพให้เป็น “รัฐสวัสดิการ” ที่ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับ กับอีกแนวคิด คือแนวคิด “ตลาดเสรี” แต่มีการสังคมสงเคราะห์ร่วมอยู่ ซึ่งถือเป็นแนวคิดระบบใหญ่ของประเทศในขณะนี้

“ถ้าแนวคิดของรัฐสวัสดิการอ่อนลงเมื่อไร กระแสหลักก็จะขึ้น”

ทั้งหมดก็กลับสู่คำถามที่ว่าในเรื่องของ “ประสิทธิภาพ” กับ “คุณภาพ” เราควรให้น้ำหนักสิ่งใดก่อน ซึ่งโดยหลักการแล้วระบบสุขภาพที่ดีต้องมีทั้ง 2 อย่าง แต่ในประเทศไทยที่เป็นตลาดเสรีที่มีการแข่งขันนั้น ทิศทางเรื่อง “คุณภาพ” จะได้รับการดูแลอุ้มชูโดยตัวระบบอยู่แล้ว เพราะเป็นกระแสหลัก

แต่เรื่อง “ประสิทธิภาพ” จะค่อยๆ ต่ำลงถ้ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือ ดังนั้นกลไกของสังคมที่ดี หรือนโยบายแห่งรัฐที่ดี น่าจะต้อง “ดูแลกระแสรองเป็นหลัก” เพื่อให้เกิดความสมดุล เป้าหมายคือต้องไปควบคู่กัน

“นโยบายรัฐต้องดูแลเรื่องประสิทธิภาพเป็นหลัก เป้าหมายไม่ใช่เพื่อให้ประสิทธิภาพแซงหน้าคุณภาพ แต่ต้องการให้ประสิทธิภาพเคียงคู่ขึ้นมา เพื่อเดินควบคู่กันไปได้”

ถ้ากระแสหลักขึ้นมา ประสิทธิภาพสูง จีดีพีเกิด แต่คนส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้ง คนเหล่านั้นก็ถูกรองรับด้วยระบบสังคมสงเคราะห์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ช่องว่างทางสังคมก็ถ่างออก เมื่อมีช่องว่างทางสังคมมากๆ การเผชิญหน้าก็จะเกิดขึ้น สงครามก็จะเกิดขึ้น

“สถานการณ์พิเศษ” ปฏิรูประบบสุขภาพ

หากพิจารณาประวัติศาสตร์การปฏิรูประบบสุขภาพ พบว่าส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงใน “สถานการณ์พิเศษ” คำถามคือเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

คำตอบอาจจำแนกได้เป็น 3 ประการ ประกอบด้วย 1.การปฏิรูประบบสุขภาพ เมื่อเทียบกับการปฏิรูปด้านอื่นๆ จะพบว่าสถานการณ์ยังไม่วิกฤต ยังคอยได้ ซึ่งแตกต่างกับเรื่องเศรษฐกิจที่จะนำมาซึ่งการเผชิญหน้า ดังนั้นในรัฐบาลปกติจึงไม่ให้ความสำคัญ

2.แนวคิดการปฏิรูปด้านสุขภาพ “ฝืนแนวคิดระบบใหญ่” กล่าวคือระบบสุขภาพเป็นเรื่องของความมั่นคง เป็นเรื่องความเป็นธรรม คู่ขนานไปกับเรื่องประสิทธิภาพ แต่กระแสสังคมระบบใหญ่เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ เรื่องการหากำไรส่วนเกินต่างๆ ดังนั้นการปฏิรูประบบสุขภาพในภาวะปกติจึงเป็นการฝืนตลาด หรือฝืนระบบใหญ่ ที่สุดแล้วจึงไม่ได้รับการสนับสนุน

ประการที่ 3.การปฏิรูประบบสุขภาพเป็นเรื่องระยะยาว จำเป็นต้องมีการวางแผน ขณะที่ในภาวะปกติสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือนโยบายที่ “เห็นผล”

“สถานการณ์พิเศษซึ่งถูกนำโดยฝ่ายวิชาการจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ในที่นี้เป็นแค่การวางรากฐานเอาไว้ ส่วนรูปธรรมอื่นๆ อาจเกิดขึ้นในรัฐบาลปกติก็ได้”

อย่างไรก็ดี การสร้างระบบ การเปลี่ยนแปลงระบบ และการปฏิรูประบบ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของประเทศไทย เราเห็นถึงทฤษฎี 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ฉะนั้นทั้งหมดไม่ใช่บทบาทของภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีการผสมผสานร่วมมือกันของทั้งภาครัฐ (การเมือง) ฝ่ายวิชาการ และพลังทางสังคม (ผู้ป่วย-ประชาชน)

“ลำพังจะฝากความหวังไว้กับภาครัฐเพียงอย่างเดียวก็คงยาก”

เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 29 ธันวาคม 2557


Sat, 2015-02-14
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9306

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ภาพอนาคตระบบสุขภาพไทยในมุมมองของ นพ.วัฒนา นาวาเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นภาพแห่งความท้าทายจากทั้ง โรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้าคนไทยมากขึ้น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ และที่สำคัญที่สุดคือการจัดการระบบงบประมาณ รวมถึงระบบการบริหารจัดการด้านสุขภาพเพื่อรองรับปัญหาเหล่านี้

“ภาพที่ผมเห็นคือเมื่อ การแพทย์พัฒนามากขึ้น อายุยืนขึ้น เมื่ออายุยืนขึ้น เป็นปัญหาโรคที่เราจะเป็นบ่อยๆ คือ โรคมะเร็ง การรักษาจะถูกเปลี่ยนไปเน้นการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงมากมากขึ้น ขณะเดียวกัน สิ่งที่จะตามมาคือเมื่อคนไทยอายุสูงขึ้น อวัยวะจะไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ ภาวะสมองเสื่อม หัวใจล้มเหลว ตับวาย-ไตวาย จะเกิดมากขึ้น แล้วค่ารักษาจะไปตกกับค่าใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งหลายโรคมาก กลายเป็นภาระกับทั้งผู้ป่วย ลูกหลาน และกับโรงพยาบาล” นพ.วัฒนาระบุ

นอกจากนี้ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อีก คือเรื่องของมลภาวะทางอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจล้มเหลว  รวมถึง การติดโรคแปลกๆ เช่น อีโบลา หรือการกลายพันธุ์ของโรคที่มีอยู่แล้วอย่าง ไข้หวัด  รวมถึง โรคในอดีตที่เคยหมดไปแล้ว อย่างวัณโรค ก็มีความเสี่ยงที่จะกลับมาอุบัติใหม่  และดื้อยามากขึ้น ซึ่งทั้งหมด เป็นปัจจัยที่มีผลสำคัญที่ระบบสุขภาพไทยต้องเตรียมรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทว่าปัญหาสำคัญขณะนี้ ในมุมมองของคุณหมอวัฒนา ก็คือ การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาคนป่วยเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ทั้งที่คนไทยสามารถเรียนรู้เพื่อที่จะป้องกันโรคได้ ทั้งในแง่ของการดูแลสุขภาพตัวเอง ผ่านการกินอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย หรือ การป้องกันไม่ให้เชื้อติดต่อไปยังคนอื่น แต่น่าเสียดายที่ในเชิงนโยบายที่ผ่านมา มีการให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไป จนทำให้โรงพยาบาล กลายเป็นปลายทางที่ต้องรับดูแล เมื่อถึงขั้นวิกฤตแล้วเสมอ

“ทุกฝ่ายก็พยายามให้ความรู้ประชาชนมากขึ้น แต่เรามีข้อจำกัดสำคัญด้านเวลา เพราะตอนนี้ทุกโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย แค่ให้การรักษาก็เหนื่อยมากแล้ว กลายเป็นว่าบุคลากรทางการแพทย์ไม่มีเวลามาให้ความรู้ แล้วยังต้องยิ่งป้องกันอีก กลายเป็นเรื่องที่เราอ่อนด้อยไป แต่ถึงอย่างไรก็ต้องทำ” นพ.วัฒนาระบุ

ปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย รวมถึงโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศก็คือ การมีผู้ป่วยที่นอนเกินหนึ่งเดือนมากถึง 600 คนต่อเดือน ทำให้ไม่สามารถรับคนไข้ใหม่ได้เลย ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว โรงพยาบาลใหญ่ ควรจะดูแลคนไข้ที่หมุนเวียนเข้าออกให้ได้มากที่สุด

“ถ้าเรามีโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่สามารถหมุนคนไข้เหล่านี้ไปไว้ได้ โรงพยาบาลใหญ่ก็จะสามารถรับคนไข้ได้มากขึ้น ทีนี้โรคระยะสั้น คนไข้ก็สามารถใช้สิทธิ์ตัวเองมารับการรักษาได้มากขึ้น ปัญหาโรงพยาบาลก็ล้นน้อยลง ผมอยากเสนอให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาดูแลคนไข้ที่นอนนานกว่า 1 เดือน เพื่อให้ถ่ายเทจากโรงพยาบาลใหญ่ออกไป ซึ่งศักยภาพเขาดูแลได้ ถ้ามีการฝึกประสบการณ์ผู้ดูแลอีกสักหน่อย ซึ่งเรื่องนี้หากทำได้ก่อนประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบอีก 10ปีข้างหน้า เราก็จะคลายกังวลไปได้อีกมาก”  นพ.วัฒนา ระบุ

อย่างไรก็ตาม คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. ยังเชื่อว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลใหญ่ก็ยังจะมีอัตราครองเตียงที่ “ล้น” อยู่ดี เนื่องจากการที่คนไทยได้รับการรักษาที่ดีขึ้น อายุยืนขึ้น จะทำให้ “ลูกค้า” ของโรงพยาบาลเยอะต่อเนื่องตามไปด้วย

“การแพทย์ที่ดีจะไม่ทำให้คนไข้เสียชีวิต และการแพทย์ของไทยได้รับการยกย่องมาก แต่ในมุมกลับกัน เมื่อการแพทย์ดี คนเข้ามารับการรักษาแล้วอาการดีขึ้น สุดท้ายเขาก็จะกลับมารักษาใหม่เรื่อยๆ ซึ่งที่น่ากังวลก็คือ โรงพยาบาลเราไม่ได้ขยายใหม่ทุกปี เหมือนห้างสรรพสินค้าหรือโรงแรม เพราะปัจจุบัน จำนวนโรงพยาบาล รวมถึงจำนวนบุคลากร เพิ่มขึ้นน้อยมาก ไม่สัมพันธ์กับอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนด้วยซ้ำ และกว่าจะเพิ่มได้ ก็ต้องใช้เวลาหลายปี ทั้งการเตรียมอาคาร ครุภัณฑ์ แพทย์-พยาบาล ซึ่งการวางนโยบายให้สัมพันธ์กัน ก็เป็นปัจจัยที่ยากลำบากมาก คำตอบสุดท้ายจึงหนีไม่พ้นการให้คนไทยดูแลตัวเองมากขึ้น และสร้างระบบดูแลผู้ป่วยแบบปฐมภูมิที่ดี ไม่ต้องให้คนไข้เข้ามากระจุกตัวที่โรงพยาบาลใหญ่เพียงอย่างเดียว”

ไม่มีทางออกอื่นนอกจาก “ร่วมจ่าย”

งบประมาณรัฐที่ถูกใช้จ่ายผ่านการดูแลสุขภาพประชาชนทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กลายเป็นตัวเลขที่หลายฝ่ายกังวลเนื่องจากมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ และเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ก็มีความเป็นไปได้ว่า งบประมาณที่ใช้จ่ายจะมากจนส่งผลกระทบต่องบประมาณรายปี

“ในประเทศที่มีระบบประกันสุขภาพ ล้วนมีปัญหาเหมือนกันหมด วันนี้ประชาชนทุกคนสามารถใช้สิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตัวเองมี แต่ค่ารักษาพยาบาล เราไม่สามารถบีบให้เท่าเดิมได้ในแต่ละปี มันมีแต่สูงขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างยาถ้าปีนี้ 1บาท อีก 10 ปี ข้างหน้า ไม่มีทางที่จะ 1 บาทเท่าเดิม เหมือนเรากินข้าวแกงวันนี้ กับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มันก็ต่างกันเป็น 10 บาทแล้ว แล้วยิ่งยา-เวชภัณฑ์แพงขึ้น บวกกับจำนวนคนเข้าโรงพยาบาลมากขึ้น เราจะเผชิญกับปัญหาใหญ่แน่นอน” คณบดีแพทย์ มช.แสดงความคิดเห็น

เขายังบอกอีกว่า ด้วยสถานการณ์ขณะนี้ อีกเรื่องที่ต้องเร่งตัดสินใจคือการสร้างระบบ “ร่วมจ่าย” ในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งอาจจะใช้โมเดลแบบในประเทศญี่ปุ่น คือรัฐจ่ายให้ 70% และประชาชนจ่ายอีก 30% ซึ่งจะทำให้การเข้าโรงพยาบาลแบบ “ฝืนระบบ” หรือรักษากันมากเกินไป ก็จะน้อยลงไปด้วย และที่สำคัญก็คือเมื่อประชาชนต้องร่วมจ่าย ก็จะทำให้สนใจในการดูแลสุขภาพตัวเองมากยิ่งขึ้น ไม่ให้ต้องเจ็บไข้เพื่อเข้าโรงพยาบาลอย่างเดียว ซึ่งในยุค “ปฏิรูป” ก็ถึงเวลาที่จะหยิบยกเรื่องนี้มาหารืออย่างจริงจัง

“ถ้าเราปล่อยไป โรงพยาบาลของรัฐเองไม่มีทางที่จะจัดการงบประมาณให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด เพราะเงินที่ลงมา มันมีค่าใช้จ่ายที่รวมไปถึงเงินเดือนบุคลากร หรือการบริหารจัดการอื่นๆ ด้วย วันนี้ รัฐพยายามที่จะกำหนดราคากลางของยาและเวชภัณฑ์ ให้ซื้อในราคาต่ำที่สุด แต่แนวคิดอย่างนี้ไม่น่าจะอยู่ได้นาน เพราะต้นทุนเหล่านี้จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ”

ขณะที่ แนวคิดการจัดบริการแบบ “เขตบริการสุขภาพ” นั้น นพ.วัฒนา บอกว่า เป็นความคิดที่ดีในการสร้างระบบโรงพยาบาลแม่ข่ายในการดูแลผู้ป่วย และสร้างระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ แต่ที่น่ากังวลก็คือ หากสุดท้ายแล้วงบประมาณที่ลงไปไม่เพียงพอ ก็มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งกันอยู่ดี ระหว่างโรงพยาบาลที่ได้งบประมาณมากและโรงพยาบาลที่ได้งบประมาณน้อย แม้จะเป็นพี่น้องกันก็ตาม เพราะฉะนั้น ก็ต้องกลับมาที่คำถามเดิมว่า ต้องทำอย่างไรให้ระบบมีงบประมาณดูแลที่เพียงพอ

ส่วนการสร้างโรงพยาบาลที่เป็นอิสระ ดูแลตัวเองได้แบบ “โรงพยาบาลบ้านแพ้ว” นั้น คุณหมอบอกว่า การที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทำคลินิกกึ่งเอกชน ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และกลายเป็นส่วนเสริมสำคัญในการแก้ปัญหาเงินที่ได้จากระบบน้อยลงไปเรื่อยๆ ซึ่งหากโรงพยาบาลสังกัดสธ.จะทำคลินิกพิเศษก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ที่จะทำให้โรงพยาบาลอยู่ได้ รวมถึงกันบุคลากรไม่ “สมองไหล” ออกไปยังโรงพยาบาลเอกชน อย่างที่หลายฝ่ายกังวล

ศึกหมอไม่น่ากังวล “พี่-น้อง” ทั้งนั้น

แม้ความขัดแย้งระหว่างสธ.กับสปสช. จะดูรุนแรงมากเพียงใด แต่ในสายตาคนนอกอย่าง นพ.วัฒนา มองว่า เป็นเรื่องของความเห็นไม่ตรงกันของ พี่-น้อง ที่ไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินกว่าจะคุยกันได้ลงตัว

“ที่ผ่านมา เราอาจจะมีหลายเรื่องที่ฝั่งผู้ซื้อบริการอย่างสปสช. ตึงเกินไปกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งก็เป็นของธรรมดา เพราะคนหนึ่งกุมเงิน คนหนึ่งให้บริการ แต่ผมคิดว่า ถึงอย่างไรก็เป็นหมอด้วยกันทั้งคู่ แล้วก็เป็นพี่น้องกัน ทำงานด้วยกันมา พอยืนคนละฝั่งก็อาจจะไม่เข้าใจกันบ้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร” นพ.วัฒนาระบุ

“แต่อย่าให้ตึงเกินไป เพราะผู้ปฏิบัติปฏิบัติตามไม่ไหว เงินที่มาจากรัฐก็ฝืดมากขึ้นทุกที เขาก็เครียด ก็กดดัน ที่ผ่านมาเรื่องมันเกิดก็เพราะอย่างนี้ อย่างไรก็ตาม หากเรื่องนี้จบด้วยการนั่งพูดคุยกัน หาจุดพอดี ก็น่าจะหาทางออกได้โดยเร็ว เพราะสุดท้าย ทั้งสองฝ่าย ก็ทำงานเพื่อประชาชนเหมือนกันทั้งนั้น”

เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 29 มกราคม 2558


Mon, 2015-02-16
http://www.hfocus.org/content/2015/02/9317