ผู้เขียน หัวข้อ: แจงขอปรับเพิ่มงบบัตรทอง 59 ตามเงินเฟ้อ-ค่าใช้จ่าย เชื่อลดผลกระทบ รพ.  (อ่าน 491 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
"หมอรัชตะ" เผยของบบัตรทองปี 59 เพิ่มขึ้น ตามอัตราเงินเฟ้อและค่าใช้จ่าย หลังถูกดองงบเท่าเดิมหลายปี มั่นใจช่วยลดผลกระทบโรงพยาบาล พร้อมปรับสิทธิประโยชน์ เพิ่มคุณภาพการรักษา เพิ่มเติมค่าบริการใหม่ "ดูแลผู้สูงวัย-ค่าบริการสาธารณสุขระดับท้องถิ่น"
       
       ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า บอร์ด สปสช.มีมติเห็นชอบเตรียมนำเสนองบเหมาจ่ายรายหัวขาขึ้นปีงบประมาณ 2559 อัตรา 3,222.97 บาทต่อประชากร หรือ 177,743.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 16.1 ซึ่งเป็นการปรับตามอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนเฉลี่ยการบริการที่เพิ่มขึ้นตามปกติ ทั้งนี้ ยังได้มีการปรับการบริหารและสิทธิประโยชน์เพื่อให้ครอบคลุมการดูแลรักษาพยาบาลประชาชนยิ่งขึ้น โดยเพิ่มงบการบริการอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ค่าบริการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเพิ่มทั้งค่าบริการและการป้องกัน โดยเป็นการสนับสนุนบริการและส่งเสริมบริการ จำนวน 400.29 ล้านบาท
       
       ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สำหรับการบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ได้ปรับต้นทุนบริการตามผลการใช้บริการ เฉลี่ยปี 2556-2557 ซึ่งต้นทุนจะปรับเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 9.4 รวมถึงได้มีการเพิ่มจำนวนน้ำยาล้างไตจาก 3.65 ถุงต่อวัน เป็น 3.99 ถุงต่อวัน การเพิ่มจำนวนครั้งล้างไตด้วยเครื่อง จาก 9 ครั้งต่อเดือน เป็น 10 ครั้งต่อเดือน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพิ่มเติมรายการใหม่คือ ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อเป็นการดูแลภาวะพึ่งพิงอย่างเหมาะสม ตามแผนบูรณาการผู้สูงอายุ และค่าบริการสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น เป็น 48.99 บาทต่อคน โดยในปีนี้ได้กำหนดการดำเนินงานเพิ่มเติม 2 รายการ คือ การตรวจพัฒนาการและสายตาในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน และการชะลอผู้สูงอายุที่จะเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง
       
       "นอกจากนี้ สปสช.ยังได้เสนอขอเพิ่มเติมในหมวดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่ทุรกันดารและเสี่ยงภัย โดยขอปรับเพิ่มค่าบริการที่ได้รับลดลงจากการปรับเพิ่มเงินเดือนแบบก้าวกระโดดของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนของการเพิ่มพยาบาล 3,000 อัตราตามนโยบายของรัฐบาลก่อนหน้านี้ จำนวน 624.275 ล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2555 มีการเพิ่มงบบัตรทองน้อยมาก และคงอัตราเหมาจ่ายปี 2557-2558 ขณะที่ค่าเงินเดือนตอบแทน และค่ายาและเวชภัณฑ์มีการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณ และกระทบต่อการดำเนินการ ปี 2559 จำเป็นต้องปรับเพิ่มงบประมาณ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น" ศ.นพ.รัชตะ กล่าว

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 กุมภาพันธ์ 2558