ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดสถิติอุบัติเหตุคร่าชีวิตคนไทยอันดับ 6 ของโลก  (อ่าน 501 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ปิดสถิติอุบัติเหตุคร่าชีวิตคนไทยอันดับ 6 ของโลก คนตาย 2 พันคนต่อเดือน ชี้กฎหมายเอาผิดเมาแล้วขับอ่อนแอ แค่มีเงิน-เป็นไฮโซ ชนคนตายก็พ้นคุกได้ ด้าน”ตัวแทนกู้ชีพ” ชี้ แม้ระบบการแพทย์จะดีแต่หากอุบัติเหตุรุนแรง อัตราการเสียชีวิตย่อมสูง แนะรณรงค์ป้องกันแก้ปัญหาจากต้นตอ ศวปถ.แนะกู้ชีพก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยต้องมั่นใจว่าปลอดภัย ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำสอง

 

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จัดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ประจำปี 2556 (National EMS FORUM 2013) ภายใต้ประเด็นหลัก คือ“ภาคีการแพทย์ฉุกเฉินไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน” โดยได้มีการเสวนาในหัวข้อ “การป้องกันอุบัติเหตุจราจร”

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย รองผู้อำนวยการอาวุโสและผู้อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น     กล่าวว่า  การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในเมืองไทย นับว่ามีความรุนแรงเป็นอย่างมาก จากสถิติขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุของประเทศไทย มาเป็นอันดับ 6 ของโลกเลยทีเดียว หรือหากคิดภายใน 1 เดือน มีคนเจ็บประมาณ 2แสนคน มีคนตาย ประมาณ 2 พันคน ทั้งนี้การเกิดอุบัติเหตุ คนส่วนใหญ่มักมองเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีความคุ้นชินกับสิ่งนี้  แต่สิ่งที่เรากังวลกลายเรื่องระบาด เช่น ไข้หวัดนก ทั้งๆที่อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมีมากกว่าหลายเท่าตัว  ส่วนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น นโยบายรถคันแรก จากสถิติมีผู้ลงทะเบียนขอรถป้ายแดงเพิ่มขึ้นเป็นล้านคันซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 5เท่าตัว  แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ คนที่ออกรถป้ายแดง ไม่มีศักยภาพที่จะขับรถได้ดีพอ เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น และคนที่เป็นเหยื่อส่วนใหญ่มักเป็นคนเดินถนน นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการเมาแล้วขับ ที่การกำหนดโทษในประเทศไทยยังไม่รุนแรงเท่าที่ควร มีโทษปรับเพียงไม่กี่พัน ยกตัวอย่างเช่น ไฮโซไปชนคนตาย สุดท้ายก็ไม่ติดคุก หรือพูดง่ายๆ ถ้ามีเงินเป็นไฮโซก็สามารถอยู่เหนือกฎหมายได้  ขณะที่ต่างประเทศโทษจะหนักกว่าเรามาก อย่างในประเทศญี่ปุ่น มีความผิดถึงขั้น ยึดใบขับขี่ตลอดชีวิต และถึงขั้นให้ออกจากงานกันเลยทีเดียว

นพ.วิทยา กล่าวต่อว่า  เหลืออีกไม่กี่ปีเราก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ซึ่งมั่นใจว่าการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะเมื่อมีการเปิดประเทศคนในอาเซียนก็จะเข้ามามาก ที่สำคัญความรู้การใช้ถนนก็มีความต่างกัน ยกตัวอย่าง เมื่อเราข้ามถนนในประเทศลาว เราก็คุ้นชินกับการมองรถทางด้านขวา ปรากฏว่ารถมาทางซ้ายก็เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ในทางกลับกัน หากคนลาวมาที่ประเทศไทย ก็จะคุ้นชินกับการมองรถทางด้านซ้าย เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน หรือแม้แต่การขับรถที่เราถนัดซ้ายเมื่อไปประเทศลาวก็ขับทางขวา อาจเกิดเป็นความไม่คุ้นชินจนเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นก่อนที่จะเข้าเออีซี เราต้องเตรียมพร้อมรวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อการลดอุบัติเหตุ   อย่างไรก็ตามการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ขอเรียนว่า ไม่ใช่เฉพาะคนขับรถ คนข้ามถนน แม้แต่หน่วยกู้ชีพ ก็อยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแทบทั้งสิ้น ฉะนั้นการเตรียมความพร้อม การรณรงค์ตระหนักรู้เพื่อลดอุบัติเหตุจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตามในส่วนของ สพฉ. ก็ควรพัฒนามาตรฐานในการจัดการเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับบุคลากร เช่นจะต้องกำหนดว่าคนขับรถพยาบาลจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย นอกจากนี้ต้องทำการณรงค์ในเรื่องการให้ทางรถพยาบาล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน นอกจากนี้ควรจัดให้มีการประชุมกันทุกเดือน (EMS DAY) เพื่อหาแนวทางและบทเรียนในการพัฒนา

ด้านนายมนตรี เลาหกรรณวนิช ตัวแทนมูลนิธิ กล่าวว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา อยากชื่นชม สพฉ.ว่ามีการบูรณาการการทำงานเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินได้ดี แต่เมื่อย้อนกลับมามองถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุ หลายชีวิตไม่รอดเนื่องจากผู้ประสบเหตุมีอาการหนักมาก และแม้แพทย์ที่เข้าให้การช่วยเหลือจะเก่งอย่างไรก็ไม่สามารถช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินได้ นอกจากนี้ยังมีสถิติการเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุสูงมาก และที่เห็นได้ชัดคือสถิติในปี 2555 สถิติการเกิดอุบัติเหตุมีมากขึ้น จำนวนผู้บาดเจ็บลดลง แต่ผู้เสียชีวิตกลับมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าอุบัติเหตุมีความรุนแรงสูง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราต้องพัฒนาตนเอง อย่าทำแค่เรื่องช่วยคนเจ็บ เก็บคนตาย

“ไม่ควรให้ความสำคัญเพียงแค่ 7 วันอันตรายเท่านั้น เพราะการรายงานตัวเลขที่เกิดขึ้นเราก็รู้กันดีว่าไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริง ดังนั้นจึงต้องมีการทำงานเชิงรุก โดยเริ่มนำข้อมูลแต่ละหน่วยงานมาเปรียบเทียบกัน และช่วยกันรณรงค์การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในวงกว้างา  เช่น ให้เคารพกฎจราจร สนับสนุนให้มีการสร้างวงเวียนในพื้นที่การจราจรคับคั่งเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุ หรือลดอัตราเสี่ยงการเกิดอาการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น สวมหมวกกันน็อค”

รศ. ลำดวน ศรีศักดา อนุกรรมการที่ปรึกษาด้านถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบสวนสาเหตุอุบัติเหตุ กล่าวว่า  ปัจจัยสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุคือสภาพถนน และความเร็ว  แต่ทั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจคือเรื่องการช่วยเหลือของอาสาสมัครกู้ชีพ ซึ่งตามปกติรถกู้ชีพจะมีสัญญาณไฟซึ่งน่าจะเพียงพอในการเตือนประชาชนรอบข้างว่ามีเหตุฉุกเฉิน  แต่ก็ยังพบว่ามีอุบัติเหตุซ้ำสองเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นหลักของการช่วยเหลือผู้ป่วย คือ  จะต้องมั่นใจก่อนมีความปลอดภัย  คือ หาที่จอดรถกู้ชีพที่เหมาะสม วางระบบป้องกันคนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการโดยฝ่ายช่วยเหลือผู้ป่วยก็ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือ ส่วนผู้เก็บข้อมูลก็เริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลซึ่งถือว่ามีประโยชน์มากในการพัฒนาระบบการช่วยเหลือต่อไป เช่น การถ่ายภาพเหตุการณ์จะต้องถ่ายในมุมกว้าง และสามารถอธิบายเรื่องราวของการเกิดอุบัติเหตุ

ด้าน นพ.ประยูร โกวิทย์ ผอ.โรงพยาบาลบ้านไผ่ กล่าวว่า ในพื้นที่บ้านไผ่ แม้จะมีหน่วยกู้ชีพทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันทำงาน แต่ในส่วนของสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจนมีผู้เสียชีวิตมาเป็นอันดับ 1 รวมทั้งคนนอกพื้นที่มาเสียชีวิตที่บ้านไผ่ก็มีจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งกระบวนการจัดการลดอุบัติเหตุในบ้านไผ่ก็มีกระบวนการง่ายๆ ที่เน้นการพูดคุยประชุมร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยมีโจทย์ในการนำทางร่วมกันว่าจะลดอุบัติเหตุในพื้นที่ เมื่อได้โจทย์แล้วสิ่งแรกเริ่มต้นด้วยการหาข้อมูล ผู้เสียชีวิตว่าเสียชีวิตกี่คน หรือพื้นที่ไหนมีคนเสียชีวิตมากที่สุด หรือจุดแยกใดมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดเป็นต้น โดยหาข้อมูลจาก ตำรวจในพื้นที่ หน่วยกู้ชีพ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ชักชวนตำรวจ  อบต. อบจ.นายอำเภอ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ผู้นำท้องถิ่น มาร่วมพูดคุยปรึกษาหารือกันว่าจะหาแนวทางป้องกันร่วมกันอย่างไร เมื่อได้ข้อเสนอแนะร่วมกันแล้ว จึงนำเนินการในทางปฏิบัติต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ตรงสี่แยกหนองน้ำใส มักเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากสี่แยกดังกล่าวไม่มีไฟแดง เมื่อเรานำเรื่องนี้มาพูดคุยกันและได้ข้อสรุปร่วมกันว่า  ต้องทำช่องยูเทิร์นรถ แต่ต้องนำแผงปูนมาปิดการจราจรบางช่องจราจรตรง สี่แยกนั้น เมื่อทำเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเรียบร้อยจึงดำเนินการตามแบบนั้นทันที เมื่อเวลาผ่านไปปรากฏว่า สี่แยกนั้นไม่มีอุบัติเหตุอีกเลย ซึ่งการลดอุบัติเหตุได้ดังกล่าว เกิดจากการร่วมมือร่วมใจ ของคนในพื้นที่ชัดเจน

นพ.ประยูร กล่าวต่อว่า ในส่วนของพฤติกรรมการใช้ถนนของชาวบ้านแบบผิดๆ  ยอมรับว่า แม้จะใช้กฎหมายมาบังคับก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ยังมีการขับขี่มอเตอร์ไซด์โดยไม่สวมหมวกกันน็อคกันอยู่ แต่บ้านไผ่จะมีวิธีแตกต่างกันออกไป เช่น ใครที่สวมหมวกกันน็อคมา ก็จะให้ตำรวจมามอบรางวัลให้ พร้อมมีคำชื่นชมจากนายอำเภอ แต่หากใครไม่สวมหมวกกันน๊อคมาก็จะทำการเรียกมาพูดคุยกันก่อน โดยให้เลือกว่า จะเลือกถูกปรับ 400 บาท หรือจะซื้อหมวกกันน็อคใหม่ในราคา  99 บาท สุดท้ายก็เลือกการซื้อหมวกกันน็อคแทน ส่งผลให้มีการตอบรับที่ดีจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก มีบางครอบครัวใส่หมวกกันน็อคทั้งพ่อแม่ลูกเลย เมื่อเห็นเช่นนี้รู้สึกชื่นใจเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจอย่างง่ายเพื่อทำการลดอุบัติเหตุในพื้นที่ชุมชนร่วมกัน โดยปราศจากการบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด

http://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=202&auto_id=9&TopicPk=