ผู้เขียน หัวข้อ: สพฉ.ห่วงอุบัติเหตุปีใหม่รุนแรงขึ้น สถิติเกิด100ครั้งตาย12คน/ชี้เส้นทางเสี่ยงทั่ว  (อ่าน 754 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
สพฉ.ห่วงอุบัติเหตุปีใหม่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ชี้สถิติเพิ่มขึ้น 12% หรือเกิด 100 ครั้ง มีคนเสียชีวิต 12 คน เตือนเส้นทางเสี่ยง สายอีสาน ให้ขับขี่ระวังบริเวณทางหลวงเส้นที่ 1 กม. 70 และทางขึ้นเขาแก่งคอย จ.สระบุรี เหตุเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
    ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดเสวนาเรื่อง “เปิดจุดเสี่ยง ปิดรอยโหว่ ลดสูญเสียอุบัติเหตุบนท้องถนน สัญจรปีใหม่ไปกลับปลอดภัย” นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นเป็น 2 เท่า โดยในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค.2556-2 ม.ค.2557 มีการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินรวม 25,959 ราย จังหวัดที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ จ.นครราชสีมา รองลงมาคือ เชียงใหม่ ชลบุรี บุรีรัมย์ และขอนแก่น ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่ามี 3 ปัจจัย คือ 1.เกิดขับขี่รถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร หรือมีอาการอ่อนล้า หลับใน 2.สภาพรถไม่พร้อมต่อการเดินทาง และ 3.ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม ทางโค้ง ทางลาด ทางแยก สำหรับการรับมือเพื่อลดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ สพฉ.ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข การประสานระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ 78 ศูนย์ สายด่วน 1669 พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง และจัดเรือ อากาศยานไว้พร้อมรับผู้ป่วยฉุกเฉินกรณีเร่งด่วน
    ด้าน ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย AIT กล่าวว่า การเกิดอุบัติในช่วงเทศกาลปีใหม่มีปัจจัยแตกต่างกันออกไป ซึ่งในช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง 7 วันอันตราย แบ่งเป็นลักษณะของการเกิดเหตุ ในช่วงวันที่ 1-2 และวันที่ 6-7 ลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุช่วงวันที่ 1-2 เกิดขึ้นที่ถนนสายหลัก สาเหตุหลักมาจากการขับรถเร็ว ส่วนวันที่ 3-5 จะเกิดที่ถนนสายรอง และสาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย พบว่า 80% ของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในปีที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นกับรถมอเตอร์ไซค์ สาเหตุหลักคือเมาแล้วขับ และ 10-15% เกิดขึ้นกับรถปิกอัพ สาเหตุคือการขับรถเร็ว
    นอกจากนี้ยังมีสถิติที่น่าตกใจคือ ในการเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2557 ความรุนแรงในการเกิดเหตุเพิ่มมากขึ้นถึง 12% ซึ่งหมายความว่าในการเกิดอุบัติเหตุ 100 ครั้งจะมีคนเสียชีวิต 12 คน สาเหตุหลักการสูญเสียมาจาก 3 ส่ว อาทิ การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย การขับรถด้วยความเร็วสูง และอันตรายจากสิ่งกีดขวางข้างทาง อาทิ ป้าย ต้นไม้ เกาะกลาง หรือคูไหล่ทาง เป็นต้น
    ดร.กัณวีร์กล่าวต่อว่า อยากฝากให้ระวังเส้นทางที่ประชาชนจะต้องสัญจรในแต่ละภูมิภาคว่าที่มีหลายจุด ดังนี้ เส้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ ทางหลวงเส้นที่ 1 เส้นวังน้อยอยุธยา กิโลเมตรที่ 70 และเส้นที่ 2 คือทางขึ้นเขาแก่งคอยสระบุรี ซึ่งถนนช่วงนี้จะเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อย ส่วนขากลับภาคใต้ คือ ถนนทางหลวงหมายเลขที่ 35 เส้นพระราม 2 เพราะถนนเส้นนี้ประชาชนจะใช้ความเร็วในการขับรถค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุชนท้ายหรือรถตกข้างทางเป็นจำนวนมาก
    นอกจากนี้แล้วยังมีถนนทางหลวงหมายเลขที่ 41 เส้นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร ซึ่งลักษณะเส้นทางเป็นภูเขาและโค้งที่เยอะจนทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งนั้นก็สร้างการสูญเสียที่ค่อนข้างรุนแรง ส่วนประชาชนที่จะเดินทางไปภาคเหนือ ถนนที่ประชาชนจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือ ถนนทางหลวงหมายเลขที่ 32 ที่จะผ่านทางจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อขึ้นไปยังจังหวัดอื่นๆ โดยถนนเส้นนี้จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นผู้ใช้รถใช้ถนนควรศึกษาการเดินทางให้ละเอียดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นด้วย
    นายธรรมรัตน์ อาจวารินทร์ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยกู้ภัย มูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์ จ.ชลบุรี กล่าวว่า จังหวัดชลบุรีถือเป็นเส้นทางไปสู่ภาคตะวันออก ทำให้ช่วงวันหยุดยาวมีรถสัญจรค่อนข้างมาก โดยในพื้นที่ดังกล่าวมีจุดเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 3 จุด คือ 1.ถนนทางเบี่ยงเข้าถนนเลี่ยงเมืองใกล้เคียงกับทางเข้านิคมอมตะนคร มีสภาพถนนสร้างความสับสนให้กับประชาชน จึงเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง 2.ถนนสาย 344 ที่เป็นทางลัดไปสู่จังหวัดระยอง ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้รถที่มาเร็วเสียหลัก และ 3.ถนนมอเตอร์เวย์ กิโลเมตรที่ 53 บริเวณเขาเขียว ซึ่งจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะรถตู้โดยสาร เนื่องจากขับด้วยความเร็วสูง
    ด้านนายธีรยุทธ มังกรสุวรรณ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ภัยสว่างบริบูรณ์ฯ พัทยา และนักสื่อสารกู้ชีพ สพฉ. ประจำภาคตะวันออก กล่าวว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่พื้นที่พัทยาส่วนใหญ่จะเกิดจากการขับรถเร็ว และผู้ขับขี่เมาสุรา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ จุดเสี่ยงอุบัติเหตุต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ บริเวณถนนสาย 36 ตรงข้ามสนามพีระเซอร์กิต สายกระทิงลาย-ระยอง  โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน
    นอกจากนี้ นายธีระ กุ๋ยเอี๊ยบ เจ้าหน้าที่มูลนิธิสว่างบริบูรณ์ฯ พัทยา และนักสื่อสารกู้ชีพ สพฉ. ประจำภาคตะวันออก กล่าวเสริมอีกว่า การเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ในพื้นที่พัทยา จุดที่มีความเสี่ยงมากและมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง คือบริเวณจุดยูเทิร์นต่างๆ อาทิ จุดยูเทิร์นหน้าโรงแรมเวฟอินทร์ จุดยูเทิร์นหน้าวัดบางละมุง จุดยูเทิร์นหน้าปั๊มน้ำมัน ปตท.ศูนย์พระเทพ และจุดยูเทิร์นบ้านพักคนชรา เนื่องจากจุดดังกล่าวไม่มีป้ายบอกทางที่ชัดเจน อีกทั้งไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ.

ไทยโพสต์
26 December, 2014