ผู้เขียน หัวข้อ: ประเทศไทยมี 90 จังหวัด?  (อ่าน 792 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
ประเทศไทยมี 90 จังหวัด?
« เมื่อ: 29 ธันวาคม 2014, 12:38:32 »
 ในฐานะประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน ประเทศไทยน่าจะได้ประโยชน์สูงมากจากราคาน้ำมันที่ต่ำลง

ถ้าน้ำมันดิบอยู่ในระดับราคาประมาณ 60 เหรียญต่อบาร์เรล

ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในเมืองไทยน่าจะทยอยลดราคาลงไม่ต่ำกว่า 30% จากจุดสูงสุด

แต่ปรากฏว่าช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันที่ดิ่งเหวกลับกลายเป็นข่าวในทางลบสำหรับเศรษฐกิจไทย

"หุ้นตก" ก็บอกว่ามาจากน้ำมันลด

ทั้งที่น่าจะมีผลจากข่าวลืออัปมงคลมากกว่า

ในมุมของภาคธุรกิจ ราคาน้ำมันที่ลดลงครั้งนี้น่าจะเป็นผลดีระดับ A+

เป็น "ข่าวดี" ที่สุดสำหรับเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่เห็นวี่แววจะฟื้นตัว

คำถามก็คือเราจะรับ "ข่าวดี" นี้อย่างไร

หรือจะใช้ "โอกาส" นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร

"เก่ง" หรือ "ไม่เก่ง" บางทีก็วัดกันตอน "โอกาส" หล่นทับ และตอนที่เผชิญ "วิกฤต"

จะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด หรือเสียหายต่ำสุด

"ฝีมือ" วัดกันตอนนี้

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟัง เป็นผลพวงจากการ "คิดต่อ" เรื่องกลยุทธ์การส่งออกของ "คาราบาวแดง"

พี่เสถียร เศรษฐสิทธิ์ เคยบอกว่าเขาเลือกบุกกัมพูชาเป็นหลัก คิดแบบละเอียดว่าจะลุยตลาดแบบไหน

ไม่ได้คิดเพียงแค่ตั้งเอเย่นต์แล้วปล่อยไปตามชะตากรรม

แต่เข้าไปช่วยอย่างจริงจัง เข้าไปช่วยกระจายสินค้าไปต่างจังหวัด

จัดคอนเสิร์ตศิลปินกัมพูชาในพื้นที่ ทำแคมเปญชิงโชค ฯลฯ

ตั้งเป้า "คาราบาวแดง" ต้องเป็นที่ 1 ที่กัมพูชา

ผมนึกถึงผลวิจัยทางประวัติศาสตร์การเมืองเรื่อง "แผนที่"

เพราะเส้นแบ่งเขตแดนทำให้เราคิดว่าเราเป็นคนของประเทศไหน

ทั้งที่ในพื้นที่ชายแดนคนหนองคายกับคนเวียงจันทน์จะคุ้นเคยกันกว่าคนหนองคายกับกรุงเทพฯ

คนบุรีรัมย์กับคนกัมพูชาจะสนิทสนมกันกว่าคนบุรีรัมย์กับคนยะลา

ครับ ถ้าเราลบเส้นแผนที่ออกไป ก็จะเหลือแต่ความสัมพันธ์ที่เป็นจริง

คิดแบบนี้เมืองไทยก็ไม่ได้มี 77 จังหวัด

เราสามารถคิดกับเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ติดชายแดนไทยให้เสมือนเป็น 1 จังหวัดของไทยก็ได้

พอเราคิดว่าเป็นจังหวัดของไทย

เราจะคิดการทำตลาดแตกต่างจากที่ทำอยู่ตอนนี้

เพราะตอนนี้เราคิดว่าเป็นเมืองหนึ่งในลาว พม่า กัมพูชา เราก็จะแค่ส่งสินค้าให้เอเย่นต์ในเมืองนั้นดำเนินการ

ไม่เข้าไปลงแรงเหมือนกับการทำตลาดในต่างจังหวัด

แต่ถ้าเราไม่ยึดติดกับเส้นเขตแดน คิดว่าเมืองท่าขี้เหล็กที่อยู่ติดกับเชียงรายมีประชากร 1 ล้านคนของพม่าเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย เพียงแต่พูดคนละภาษากัน

คล้าย ๆ กับ "แม่สอด" ที่คนพม่าเต็มเมือง หรือคนไทยพูดพม่าได้

คล้ายกับ "บุรีรัมย์" ที่คนไทยพูดภาษาเขมรได้

เพียงแค่มุมคิดเปลี่ยน ตลาดเปลี่ยนเลยนะครับ

กลายเป็นว่าเรามีจังหวัดใหม่อีกกว่า 10 จังหวัดที่เรายังไม่ได้ทำตลาดอย่างจริงจัง

ถ้าตั้งทีมการตลาดซึ่งอาจเป็นคนพื้นที่ทำกิจกรรมการตลาดเหมือนเป็นจังหวัดหนึ่งของเรา

เครื่องดื่มก็มีทีมเข้าถึงตู้แช่ ถ้าเป็นสินค้า

ทั่วไปก็บุกเข้าร้านโชห่วย

ยิ่งได้ปัจจัยเสริมจาก 2 เรื่อง คือ "ราคาน้ำมัน" ที่ลดลง กับ AEC

ราคาน้ำมันลด ค่าขนส่งก็ลดลง

เพราะการที่ไปส่งสินค้าที่หนองคายกับไปเวียงจันทน์ ต้นทุนก็เพิ่มนิดเดียว

จะทะลุทะลวงต่อแบบ "คาราบาวแดง" ก็ได้

หรือเรื่อง AEC ยิ่งถือเป็น "โอกาส" เพราะทำให้การส่งออกง่ายขึ้น

ในทางธุรกิจเราก็สามารถคิดแบบนี้ได้ เหมือนกับที่ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าสัว

ซีพี จะบอกว่าทรัพยากรทั้งโลกเป็นของซีพี คนทั้งโลกเป็นของซีพี ตลาดทั้งโลกเป็นของซีพี

ไม่ได้จำกัดกรอบว่าจะต้องอยู่ในเมืองไทย

"โอกาส" ในโลกนี้มีทั้ง "โอกาส" ที่ลอยลงมาจากฟ้า

คนอื่นประทานให้

และ "โอกาส" ที่เราสร้างขึ้นเอง

แค่เปลี่ยนกรอบความคิด ไม่ติดกับเส้นแผนที่

"โอกาสใหม่" ก็เกิดขึ้นครับ


 24 ธ.ค. 2557
คอลัมน์ Market-Think โดย สรกล อดุลยานนท์
ประชาชาติธุรกิจ