ผู้เขียน หัวข้อ: มท.1กดปุ่มเปิดศูนย์ 7 วันอันตราย 30 ธ.ค. หวังยอดตายเป็นศูนย์  (อ่าน 765 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 28 ธ.ค. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผยว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) จะเดินทางมาเป็นประธานเปิดศูนย์แถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558 ภายใต้แนวคิด "มอบความสุขทั่วไทย สัญจรปีใหม่ ปลอดภัยทุกคน" ในวันที่ 30 ธ.ค.  เวลา 14.30 น. โดยศูนย์จะเปิดระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.2557– 5 ม.ค.2558 มีรัฐมนตรีสลับกันมาแถลงข่าวทุกวัน ส่วนพิธีปิดศูนย์วันที่ 6 ม.ค. จะมีนายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย  มาทำหน้าที่

นายฉัตรชัย กล่าวว่า มาตรการการสร้างความปลอดภัยทางถนน ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมทั้ง รมว.มหาดไทย ซึ่งเทศกาลปีใหม่เป็นช่วงที่มีสถิติอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าปกติ ดังนั้นเพื่อให้การป้องกันและลดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียมาก ศปถ.จึงกำหนดกรอบแนวทางเน้นมาตรการ 3 ด้าน ได้แก่  การป้องกันเน้นการบังคับใช้กฎหมาย 10 มาตรการอย่างเข้มข้น การควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และการดูแลนักท่องเที่ยวตามจุดผ่านแดน

นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า ยอดของการสูญเสียที่ผ่านมาจะอยู่ในพื้นที่ตามท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่และเกี่ยวข้องกับสุรา โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน ได้แก่ เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดจึงอยากเน้นการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบเรื่องการใช้รถใช้ถนน ห้ามเมาแล้วขับ ส่วนรถที่บริการสาธารณะจะต้องมีความรับผิดชอบเช่นกัน ซึ่งก็จะมีมาตรการตรวจสอบและควบคุมคนขับด้วย ทั้งนี้ แม้ทางรัฐบาลและ ศปถ.จะไม่ได้ตั้งเป้าจำนวนผู้เสียชีวิต แต่เราหวังจะให้ยอดของผู้เสียชีวิตเป็นศูนย์

ทั้งนี้ สำหรับสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 โดยสรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วันตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค.2556 - 2 ม.ค.2557
เกิดอุบัติเหตุรวม 3,174 ครั้ง (ปีใหม่ 2556 เกิด 3,164 ครั้ง) เพิ่มขึ้น 10 ครั้ง ร้อยละ 0.32
ผู้เสียชีวิต รวม 366 ราย เท่ากับปีใหม่ 2556
ผู้บาดเจ็บรวม 3,345 คน (ปีใหม่ 2556 ผู้บาดเจ็บ 3,329 คน) เพิ่มขึ้น 16 คน ร้อยละ 0.48

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 41.71
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.03
พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 22.39
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 56.59
ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วัน รวม 5 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน บึงกาฬ ตราด ปัตตานี และ พังงา
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 127 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 21 ราย

28 ธันวาคม พ.ศ. 2557   ข่าวสดออนไลน์