ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการ ยัน พ.ร.บ.ยาสูบ ใหม่  (อ่าน 874 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
นักวิชาการ ยัน พ.ร.บ.ยาสูบ ใหม่
« เมื่อ: 29 ธันวาคม 2014, 12:21:31 »
นักวิชาการ ยัน พ.ร.บ.ยาสูบ ใหม่ ไม่กระทบชาวไร่

ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนากำลังคนด้านควบคุมยาสูบ และรองประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุ หรี่ กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบฉบับใหม่ กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภา แต่พบว่ามีกลุ่มชาวไร่ยาสูบออกมาคัดค้านว่าได้รับความเดือดร้อนจากกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยอ้างว่ากฎหมายฉบับนี้จะมีประสิทธิภาพสูง ทำให้คนไทยสูบบุหรี่น้อยลง จนใบยาที่ปลูกไว้ไม่สามารถขายได้นั้น จากข้อมูลกระทรวงการคลังพบว่า ในฤดูการผลิตปี 2552-2553 ประเทศไทยมีชาวไร่ ยาสูบ 61,058 ราย ผลิตใบยาได้ 62,448,781 กิโลกรัม โดย 64.8% เป็นใบยาสำหรับส่งออก และ 35.2% รับซื้อโดยโรงงานยาสูบไทยจะเห็นว่า 2 ใน 3 ของผลผลิตใบยาสูบไทย เป็นผลผลิตสำหรับส่งออก ดังนั้นปัจจัยที่มากระทบกับรายได้หรืออาชีพของชาวไร่ยาสูบส่วนนี้จะมาจากกลไกการตลาดโลกเป็นหลัก ส่วนความต้องการใบยาสูบของชาวไร่จะกระทบต่อเมื่อมีสัดส่วนการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศมากกว่าความต้องการของบุหรี่จากโรงงานยาสูบ 

     ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า จากสถิติที่พบว่าจำนวนประชากรไทยที่สูบบุหรี่ ลดลงจาก 12.2 ล้านคนในปี 2534 เหลือ 10.77 ล้านคนในปี 2556 ขณะที่ยอดจำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตในปี 2534 เท่ากับ 1,942 ล้านซอง และ ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 2,172 ล้านซอง หรือเฉลี่ยเท่ากับ 2,000 ล้านซองต่อปี ในขณะที่โรงงานยาสูบเสียส่วนแบ่งตลาดให้บริษัทบุหรี่ต่างประเทศ จากที่เคยครองตลาดในประเทศ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2534 เหลือประมาณ 75% ในปี 2556 ซึ่ง​ข้อมูลข้างต้นย่อมเป็นหลักฐานยืนยันว่า ตลอดช่วง 23 ปีที่มีการรณรงค์ควบคุมยาสูบอย่างต่อเนื่อง การควบคุมยาสูบไม่ใช่ปัจจัยที่จะส่งผลต่ออาชีพชาวไร่ยาสูบไทย แต่การที่จำนวนยาสูบไทยในส่วนที่รับซื้อโดยโรงงานยาสูบลดลง นั่นเป็นเพราะโรงงานยาสูบไทยเสียส่วนแบ่งตลาดบุหรี่ให้แก่บริษัทบุหรี่ต่างประเทศ

ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า ​ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบไทยในอนาคต น่าจะประกอบด้วย
1.โรงงานยาสูบไทยเสียส่วนแบ่งให้แก่บุหรี่ต่างประเทศในสัดส่วนที่มากขึ้น
2.ต้นทุนการผลิตใบยาสูบในประเทศสูงขึ้นมากกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้ปริมาณการส่งออกลดลงตามกลไกการตลาด
3.โรงงานยาสูบไทยหันไปซื้อใบยาสูบจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่าเพื่อลดต้นทุน

ซึ่งการออก พ.ร.บ.​ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ จึงไม่มีส่วนที่เกี่ยวกับการทำไร่ การบ่มใบยา และการค้าใบยาสูบ แต่เป็นการออกเพื่อป้องปกเยาวชนและสุขภาพประชาชนเท่านั้น

29 ธันวาคม พ.ศ. 2557
บ้านเมือง