ผู้เขียน หัวข้อ: สปสช.ยันรพ.ขาดทุนไม่เกี่ยวงบบัตรทอง  (อ่าน 432 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
สปสช.อัดสธ.ใส่ร้าย ยันรพ.ขาดทุนไม่เกี่ยวการจัดสรรงบบัตรทอง ชงรมว.สธ.ตั้งคกก.กลางวิเคราะห์-ทางแก้ระยะยาว

ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) พร้อมด้วย นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาฯสปสช. นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาฯสปสช. และนพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาฯสปสช. ร่วมกันแถลงข่าว เรื่อง “สปสช.ชี้แจงการบริหารกองทุนบัตรทอง” โดยนพ.วินัย กล่าวว่า สปสช.กูกกล่าวหาและใส่ร้ายมาหลายเวที โดยพยายามอดทัน จนเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ใส่ร้ายสปสช.ในหลายประเด็น ถ้าสปสช.ไม่ชี้แจงจะเท่ากับยอมรับการใส่ร้าย

ประเด็นที่ 1.ใส่ร้ายว่าสปสช.บริหารห่วย ไม่มีธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในเรื่องที่สปสช.โอนเงินไปให้รพ.ในวันที่ 27 ก.ย. 2555แล้วโอนเงินจำนวนดังกล่าวกลับมาสปสช.ในเดือนธันวาคม ข้อเท็จจริง คือ รพ.ไม่เคยต้องถอนเงินแล้วส่งเงินให้สปสช. เป็นการโอนเงินล่วงหน้าไปให้รพ.ตามที่มีการประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนของงบฯผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปีก่อนหน้า ถ้ารพ.ใช้ไม่หมดในปีก่อนหน้าปีต่อมาก็จะใช้วิธีการหักลบกลบหนี้ ซึ่งมีประมาณ 4,500 ล้านบาท ไม่ได้มีการสั่งให้มีการโอนเงินกลับ ข้อมูลนี้ปลัดอาจรู้น้อยหรือไม่เข้าใจ ไม่ใช่สปสช.ไม่มีธรรมาภิบาล

2.การที่ระบุว่าสปสช.มีการโอนเงินให้องค์กรอื่นที่ไม่ใช้หน่วยบริการเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์นั้น ในการจัดสรรงบส่วนนี้มีระเบียบรองรับและสามารถดำเนินการได้

3.ใส่ร้ายว่าสปสช.บริหารกองทุนย่อยทำให้รพ.ขาดทุนและมีเงินค้างท่อ ขอแจงว่าการบริหารกองทุนย่อยคำนึถึงการเข้าถึงบริการของประชาชนเกี่ยวกับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างๆ

4.กล่าวหาว่าสปสช.ทำให้หอมอนามัยกลายเป็นหมอหน้าจอ คีย์ข้อมูลเพื่อสอยเงิน อยากชี้แจงว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่หมออนามัยต้องทำเป็น 43 แฟ้มตามที่สธ.กำหนด และไม่อยากให้ปลัดสธ.ส่งสัญญาณว่าข้อมูลไม่สำคัญ ทั้งที่ข้อมูลมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้นสธ.ต้องจัดทำระบบให้ทันสมัยให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผน

นพ.วินัย กล่าวอีกว่า กรณีที่รพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินหรือขาดทุนนั้น ต้องพิจารณาทั้งในฝั่งของรายรับและรายจ่าย ในส่วนของรายรับรพ.จะได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และเก็บตรงจากคนไข้ และฝั่งรายจ่ายเป็นความรับผิดชอบในกลไกการบริหารของสธ. ที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งการปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานสธ. การจ่ายค่าแรงเพื่อเป็นวันละ 300 บาทหรือเดือนละ 15,000 บาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายจ่าย และมีอีกหลายรพ.ที่เมื่อเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการแล้วทำให้สถานภาพทางการเงินดีขึ้น การใส่ร้ายสปสช.ทำให้รพ.ขาดทุนจึงไม่ใช่ อย่าไรก็ตาม การแก้ปัญหารพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะยาว สปสช.จะเสนอรมว.สธ.ให้ตั้งคณะกรรมการกลางมาวิเคราะห์ปัจจัย สาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม

ต่อข้อถาม กลไกการจัดสรรงบบัตรทองไม่ได้ทำให้รพ.ขาดทุนใช่หรือไม่ นพ.วินัย กล่าวว่า รพ.ในพื้นที่ห่างไกล ถิ่นทุรกันดารหรือมีประชากรน้อย การจัดสรรงบฯในรูปแบบที่เป็นอยู่อาจเป็นปัญหา แต่สปสช.มีกลไกเสริมให้กับรพ.เหล่านี้เพื่อช่วยแก้ปัญหารพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว โดยปีงบประมาณ 2558 สปสช.มีกลไกการแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องใน 4 ส่วน ได้แก่

1.เงินสำหรับจ่ายให้รพ.ในถิ่นทุรกันดาร 500 ล้านบาท

2. ค่าตอบแทนบุคลากร 3,000 ล้านบาท จัดให้รพ.ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง

3. กันเงินเดือนไว้ประมาณ 1,800 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหา และ
4.จัดสรรเงินผู้ป่วยนอกให้เขตกระจายช่วยรพ.ที่ขาดสภาพคล่อง

นพ.ประทีป กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการสามารถทำได้ไม่ผิดวัตถุประสงค์แต่อย่างใด โดยงบที่จัดสรรให้หน่วยบริการราว 1.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 99 %ของงบประมาณทั้งหมด อีกส่วนเป็นงบส่งเสริม สนับสุนการจัดบริการสาธารณสุข ซึ่งเงินที่จัดสรรให้มูลนิธิและหน่วยงานอื่นๆอยู่ในส่วนนี้ ปีงบประมาณ 2557 เป็นจำนวนประมาณ 587 ล้านบาท คิดเป็น 0.42 %ของงบทั้งหมด โดยจัดสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) กรมต่างๆในสธ. สสจ.และสสอ.และมูลนิธิต่างๆ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  11 ธันวาคม 2557