ผู้เขียน หัวข้อ: เจาะลึกเลือกตั้งแพทยสภา  (อ่าน 1590 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เจาะลึกเลือกตั้งแพทยสภา
« เมื่อ: 14 ธันวาคม 2014, 00:26:44 »
7 ธ.ค.57 ช่วงเวลานี้จนถึง 20 มกราคม 2558 เป็นช่วงเวลาการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาชุดใหม่ แทนกรรมการแพทยสภาวาระ 2556-2558 ที่กำลังจะหมดวาระในปลายเดือน ม.ค.58 ที่จะถึงนี้ ประเด็นที่แต่ละกลุ่มนำมาใช้หาเสียง หลักๆ คือ ประเด็นกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหาย ที่ก่อนหน้านี้ ก็เปิดประเด็นนี้จนเป็นกระแสมาแล้ว ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ประเด็นนี้จะถูกหยิบยกมาใช้เสมอๆ สิ่งที่เกิดในปีนี้ ก็เหมือนเดจาวูเมื่อ 2 ปีก่อน

นอกจากนั้น ก็เป็นเรื่อง ความเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ความเกี่ยวพันกับองค์กร ส. เอ็นจีโอ เครือข่ายผู้เสียหาย รวมถึงความเห็นต่อกฎหมายเสริมความงาม

ทั้งนี้กรรมการแพทยสภานั้น ประกอบไปด้วย

กรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เจ้ากรมแพทย์ ทหารเรือ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ นายแพทย์ใหญ่กรมตำรวจ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์

กรรมการแพทยสภาโดยการเลือกตั้ง ซึ่งมีจำนวนเท่ากับกรรมการแพทยสภา ซึ่งตำแหน่งกรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง วาระปีพ.ศ.2558-2560 ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งนี้ มีจำนวน 28 คน ดังนั้นที่มาจากเลือกตั้งจะมีจำนวน 28 คน เท่ากันรวมแล้วจะมีทั้งหมด 56 คน

ข้อมูลจากแพทยสภาระบุว่า การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภานั้น เริ่มตั้งแต่ปี 2511 และปัจจุบันแพทยสภามีอายุครบ 46 ปี ไปเมื่อวันที่ 9 ต.ค.57 ที่ผ่านมา

จากสถิติการเลือกตั้งนั้น พบว่า สมาชิกแพทยสภา ซึ่งได้แก่ แพทย์ผู้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรในวิชาแพทยศาสตร์ที่แพทยสภารับรอง อายุเกิน 20 ปี ไม่มี จิตฟั่นเฟือน ไม่ประพฤติเสียหาย ไม่เคยต้องโทษ ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด ในวาระการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาในอดีต คือ ปี พ.ศ.2546-2548 จำนวนร้อยละ 50.5 แต่โดยทั่วไปมีผู้ใช้สิทธิ์ไม่ถึงครึ่ง เช่น การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน (ปีพ.ศ.2556-2558) จำนวนสมาชิกแพทยสภาผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนจำนวน 43,332 คน มีผู้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเพียง 11,779 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 27.18 ของจำนวนสมาชิกเท่านั้น

พญ.ชัญวลี ศรีสุโข โฆษกแพทยสภา เคยกล่าวว่า กรรมการแพทยสภามักถูกกล่าวหาจากสมาชิกแพทยสภาว่า ไม่ปกป้องคุ้มครองสมาชิก ถูกสมาชิกแพทยสภาบางคนฟ้องร้องต่อศาล ขณะเดียวกันก็ถูกประชาชนกล่าวหาว่าไม่ปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการกระทำของแพทย์ ถูกประชาชนบางคนฟ้องร้องต่อศาล

ซึ่งจะเป็นอย่างที่กล่าวหากันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิจารณญานของทุกท่าน แต่ในที่นี้ขอยกวัตถุประสงคและอำนาจหน้าที่ของแพทยสภาตามกฎหมายมาประกออบการพิจารณาดังนี้

วัตถุประสงค์ของแพทยสภาตามมาตรา 7 มีดังนี้

1.ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม

2.พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวช

3.ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

4.ช่วยเหลือแนะนำเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข

5.ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุข

6.เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

อำนาจและหน้าที่ของแพทยสภาตามมาตรา 8 มีดังนี้

1.รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

2.พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

3.รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันต่างๆ

4.รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันทางการแพทย์

5.รับรองวิทยฐานะของสถาบันทางการแพทย์ที่ทำการฝึกอบรมใน ข้อ 4

6.ออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นๆ ในวิชาชีพเวชกรรม

การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาวาระปี พ.ศ.2558-2560 ที่กำลังมาถึงนี้ มีสมาชิกแพทยสภาสมัครลงรับเลือกตั้งเป็นกรรมการแพทยสภาทั้งหมดจำนวน 98 คน โดยมีทั้งที่รวมกันเป็นกลุ่ม และผู้สมัครอิสระ ซึ่งประวัติ ประสบการณ์ทำงาน นโยบายของแต่ละกลุ่ม และแต่ละท่าน สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของแพทยสภา

ในจำนวน 98 คนที่ลงสมัครนั้น ในระดับกลุ่มที่สำคัญมี 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1.ชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ มีสมาชิก 27 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรรมการแพทยสภาหลายสมัย และล้วนมีตำแหน่งใหญ่โตในระดับ ทั้ง นายกแพทยสภา เลขาธิการแพทยสภา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา เหรัญญิก อุปนายก และโฆษกแพทยภา เป็นต้น

2.กลุ่มแพทยสภาวิวัฒน์ มีสมาชิก 25 คน มีบางคนเคยเป็นกรรมการแพทยสภา

3.กลุ่มพลังแพทย์ มีสมาชิก 28 คน มีบางคนเคยเป็นกรรมการแพทยสภา

ประเด็นที่แต่ละกลุ่มนำมาใช้หาเสียง หลักๆ คือ ประเด็นกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหาย ที่ก่อนหน้านี้ ก็เปิดประเด็นนี้จนเป็นกระแสมาแล้ว ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ประเด็นนี้จะถูกหยิบยกมาใช้เสมอๆ สิ่งที่เกิดในปีนี้ ก็เหมือนเดจาวูเมื่อ 2 ปีก่อน

นอกจากนั้น ก็เป็นเรื่อง ความเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ความเกี่ยวพันกับองค์กร ส. เอ็นจีโอ เครือข่ายผู้เสียหาย รวมถึงความเห็นต่อกฎหมายเสริมความงาม

(ขณะเดียวกัน ในสังคมออนไลน์ก็มีผู้เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของทั้ง 3 กลุ่มนี้ไว้ แต่สำนักข่าว Health Focus ไม่ขอนำมาเผยแพร่ในที่นี้ เนื่องจากมีบางประเด็นอ่อนไหว อย่างไรก็ตามคงไม่เกินความสามารถของแพทย์ทุกท่านที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจะค้นหากันได้ และใช้วิจารณญานในการตัดสินใจและพิจารณาเอง)

ดังนั้น เพื่อให้ทราบข้อมูล รับรู้ถึงนโยบายและความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม รวมถึงผู้สมัครอิสระ สำนักข่าว Health Focus จึงได้สัมภาษณ์บุคคลที่เป็นแกนนำแต่ละกลุ่ม และจะทยอยนำเสนอตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 7 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป รวมถึงสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องถึงความคาดหวังต่อการทำหน้าที่ของแพทยสภา ในโอกาสที่จะมีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาชุดใหม่นี้ (สำหรับผู้สมัครอิสระท่านใดที่สนใจอยากเผยแพร่นโยบายของท่าน สามารถติดต่อและฝากเบอร์โทรได้ที่ อีเมล healthfocus1713@gmail.com หลังจากนั้นทางกองบรรณาธิการ Health Focus จะประสานงานเพื่อสัมภาษณ์ต่อไป)

การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา

ส่วนรายละเอียดการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภานั้น ข้อมูลจากแพทยสภาระบุว่า คณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2558-2560ได้ดำเนินการส่งบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง รายละเอียดประวัติผู้สมัครรับเลือกตั้งและข้อความที่สื่อถึงสมาชิกแพทยสภา พร้อมดินสอดำ 2 B และ ซองบริการธุรกิจตอบรับส่งกลับบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ให้สมาชิกแล้วเมื่อวันที่ 18 พ.ย.57

คำแนะนำเกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้ง

1.การลงคะแนนในบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ให้กระทำโดยลงลายมือชื่อผู้ใช้สิทธิ์ และใช้ดินสอดำอย่างน้อย 2 B ที่ใส่มาด้วย ในซอง ระบายให้เต็มในวงกลมหน้าชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวนไม่เกิน 28 หมายเลข

2.กรณีที่ท่านไม่ประสงค์เลือกผู้ใดทั้งสิ้น ให้ระบายเต็มในวงกลมหลังหมายเลข 0 (เลขศูนย์)

3.อย่าลืมลงลายมือชื่อ

4.พับใส่ซองปิดผนึกและส่งกลับคืนทางไปรษณีย์ โดยควรนำส่งก่อนวันที่ 10 มกราคม 2558 และ

5.หรือนำส่งลงหีบรับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 ในวันราชการ เวลา 08.30 น. ถึง เวลา 16.30 น. โดยกำหนดปิดหีบรับบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง วันที่ 20 มกราคม 2558 เวลา 16.30 น.

6.คณะอนุกรรมการเลือกตั้งฯ จะดำเนินการตรวจนับคะแนน เลือกตั้ง วันที่ 21 มกราคม 2558 ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป

7.กรณีที่ท่านไม่ได้รับบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง สามารถติดต่อรับได้ที่ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-5901886, 02-5901887


Sun, 2014-12-07
http://www.hfocus.org/content/2014/12/8786

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เจาะลึกเลือกตั้งแพทยสภา(2)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2014, 00:28:58 »
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ “คุ้มครองแพทย์-เป็นประโยชน์ประชาชน”

“หมอสมศักดิ์” ประกาศ 10 นโยบาย “ชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์” หาเสียงเลือกตั้ง “กก.แพทยสภาวาระ 58-60” ทั้งเดินหน้าขยาย ม.41 กันฟ้องหมอคดีอาญา ถอนบริการการแพทย์ออกจาก พ.ร.บ.คดีวิธีพิจารณาผู้บริโภค พร้อมทำกรอบมาตรฐานการทำงานแพทย์ รพ.รัฐ/ใช้ทุน/แพทย์ประจำบ้าน พร้อมเดินหน้าพัฒนาวิชาชีพแพทย์ ยันคุ้มครองแพทย์ แต่เป็นประโยชน์ประชาชน กันผลกระทบบริการรักษาพยาบาลในอนาคต   

7 ธ.ค.57 นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภาหลายสมัย ในฐานะประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ (ชพพ.) กล่าวถึง 10 นโยบายของทาง ชพพ.ซึ่งได้ประกาศในการหาเสียงเลือกตั้งแพทยสภา 2558-2560 ว่า การกำหนดนโยบายของทาง ชพพ. เมื่อดูในภาพรวมแล้ว ไม่ได้เป็นการปกป้องเฉพาะวิชาชีพแพทย์เท่านั้น แต่เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ประชาชนโดยรวม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากระบบบริการอนาคต

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า นโยบายที่ ชพพ.ให้ความสำคัญคือการแก้ไขมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เพื่อคุ้มครองความเสียหายจากการเข้ารับบริการทางการแพทย์ โดยให้การคุ้มครองที่ครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศ ไม่เพียงเฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น แต่รวมถึงทุกระบบรักษาพยาบาล ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว และไม่ก่อส่งผลกระทบต่อวิชาชีพแพทย์เพราะมีระบบรองรับ ซึ่งการขยายมาตรา 41 นี้จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเช่นเดียวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ที่มีความพยายามผลักดันขณะนี้ ซึ่งจะส่งผลเสียระบบการรักษาพยาบาลของประเทศเอง นอกจากนี้ยังเดินหน้าการคุ้มครองให้แพทย์ที่รักษาตามมาตรฐานวิชาชีพไม่ถูกดำเนินคดีอาญา 

“เรื่องนี้ที่ผ่านมาทางแพทยสภาได้พยายามผลักดัน เนื่องจากมองว่ากรณีของแพทย์ที่ตั้งใจรักษาผู้ป่วยแล้ว อาจเกิดความผิดพลาดซึ่งเป็นไปได้ในทางการแพทย์และไม่มีเจตนา ควรจะได้รับการคุ้มครอง ไม่ควรให้ถึงขั้นต้องถูกดำเนินคดีอาญาและติดคุก ซึ่งที่ผ่านมาได้มีกรณีที่แพทย์รักษาผู้ป่วยถูกดำเนินคดีอาญา ปรากฎว่าไม่เพียงแต่ส่งผลต่อแพทย์ที่ไม่อยากรักษาผู้ป่วยในระบบ อาจลาออกไปอยู่เอกชนหรือประกอบอาชีพอื่น ยังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในการเข้าถึงการรักษาจากสถานการณ์นี้” อดีตนายกแพทยสภากล่าวและว่า แต่ในกรณีที่แพทย์ทำผิดกฎหมาย อย่างขายยาหรือให้การรักษาที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือให้การรักษาที่ผิดมาตรฐาน เหล่านี้ต้องถูกดำเนินคดี

นอกจากนโยบายข้างต้นแล้ว นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ยังมีนโยบายผลักดันแก้ไข พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 โดยนำเรื่องการรักษาโรคทางการแพทย์ออกจากกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากการรักษาไม่ใช่สินค้า จะใช้มาตรฐานวิธีการพิจารณาเดียวกันไม่ได้ อย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีอาการไอ 10 คน แต่ละคนอาจมีอาการป่วยและต้องได้รับยาที่ต่างการ ให้การรักษาต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรนำรวมกับบริการและการขายสินค้าอื่นๆ นอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้ยังไม่เป็นธรรมต่อแพทย์ เพราะผู้ป่วยสามารถฟ้องร้องโดยปากเปล่าและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยปล่อยให้แพทย์เป็นผู้พิสูจน์ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ที่ผ่านมาส่งผลให้มีผู้ป่วยฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้น

ส่วนกรณีการกำหนดนโยบายคัดค้านคนนอกเป็นเข้าร่วมเป็นกรรมการแพทยสภานั้น เป็นไปตามหลักการ “วิชาชีพ” ต้องควบคุม “วิชาชีพ” กันเอง โดยในหลักการ ไม่ว่าการดำเนินการออกหลักสูตรการเรียนการสอน การพิจารณาการรักษา ผู้พิจารณาจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาชีพซึ่งจะเข้าถึงกระบวนการวิธีทางการแพทย์ได้ แต่ในกรณีที่มีข้อพิพาทและร้องเรียนนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแพทยสภาปกป้องวิชาชีพแพทย์นั้น ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงวุฒิที่เป็นคนกลางเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ เป็นต้น เพื่อเป็นการถ่วงดุลให้เกิดความโปร่งใสในการพิจารณาคดี

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ชพพ.ยังมีนโยบายคัดค้านการริดรอนสิทธิ์ ที่ขัดกับ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ ต่อแพทย์ โดยจะเปิดโอกาสให้แพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถให้การรักษาได้ อย่างการผ่าตัดจมูก การเย็บแผลทั่วไป เป็นต้น ไม่จำกัดเฉพาะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ยกเว้นกรณีการผ่าตัดใหญ่และการรักษาที่ต้องเป็นเฉพาะทาง อย่างเช่น การผ่าตัดแปลงเพศ การผ่าตัดเปลี่ยนตับหรือไต เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากช่วยให้แพทย์ในต่างจังหวัดสามารถให้การรักษาแล้ว ยังช่วยประชาชนให้ได้รับบริการมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีนโยบายในการผลักดันให้แพทย์ไทยเป็นผู้นำในระดับ ASEAN ทั้งด้านการเรียน การสอน วิชาการ การรักษาและการวิจัย

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายส่งเสริมให้มีกรอบมาตรฐานการทำงาน (working time directive) ของแพทย์รัฐ แพทย์ปประจำบ้าน และแพทย์ใช้ทุน ต้องยอมรับว่าแพทย์เหล่านี้ทำงานหนักมาก แต่ละวันต้องออกตรวจและรักษาคนไข้จำนวนมาก ทำให้ขาดการพักผ่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ความผิดพลาดในการรักษาย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก ดังนั้นทางแพทยสภาจะมีการจัดทำกรอบมาตรฐานการทำงานของแพทย์ และออกเป็นประกาศข้อบังคับแพทยสภา เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการ ทั้งนี้จะไม่ครอบคลุมแพทย์เอกชน หรือแพทย์ที่ทำงานมานานแล้ว หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะแพทย์เหล่านี้มีทางเลือก ต่างจากกลุ่มแพทย์ที่ต้องใช้ทุน ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะจะได้รับบริการที่ดีและลดความเสี่ยงของการรักษาที่ผิดพลาด

“นโยบายของ ชพพ.ข้างต้นนี้ เบื้องต้นได้ตั้งเป้าดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เนื่องจากบางนโยบายเป็นเรื่องกฎหมายที่ต้องใช้เวลา อีกทั้งการดำเนินการต้องผ่านหน่วยงานอื่น” ประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพ กล่าวและว่า นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมความก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างมีคุณภาพ ภายใต้ “ธรรมาภิบาล” และ “จริยธรรม”, แพทย์ต้องสั่งและจ่ายยารักษาผู้ป่วยได้ตามปกติอย่างเป็นธรรม ไม่เพิ่มขั้นตอนใหม่ให้ผู้ป่วยลำบาก และการสนับสนุนและผลักดันให้ “ภาคเอกชนร่วมมือกับภาครัฐ” ในการผลิตแพทย์ การพัฒนาการศึกษา และการวิจัย

Sun, 2014-12-07
http://www.hfocus.org/content/2014/12/8787

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เจาะลึกเลือกตั้งแพทยสภา(3)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2014, 00:30:48 »
นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ แพทยสภาภิวัฒน์ “ประกาศปฏิรูปแพทยสภา”

“กลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์” ประกาศปฏิรูปแพทยสภา หากได้รับเลือกตั้ง กก.แพทยสภา เน้นการทำงานแบบกัลยาณมิตร เดินหน้าดัน พ.ร.บ.ลดความขัดแย้งแพทย์-ผู้ป่วย เสนอจัดตั้ง “กองทุนกลาง” ทำหน้าที่เหมือนกองทุนประกันภัยรถยนต์ ชดเชยความเสียหายจากการรับบริการรักษา ห้ามฟ้องแพทย์ แต่ให้ฟ้องร้องกองทุนกลางแทน พร้อมสนับสนุนสร้างความก้าวหน้าวิชาชีพ ขยายการอบรมและเรียนต่อ เพิ่มคุณภาพชีวิตกับแพทย์

8 ธ.ค.57 นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ ประธานกลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์ กล่าวว่า ในการลงแข่งขันรับสมัครเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาของกลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์นั้น เนื่องจากเราต้องการเห็นแพทยสภาปรับเปลี่ยนและเข้าใจบทบาท ในฐานะที่เป็นองค์กรซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสังคมให้เป็นผู้ทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนในด้านการรักษาพยาบาล เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ โดยเน้นการปรับทัศนคติการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างกัลยาณมิตร ในรูปแบบของการพูดคุยและรับฟัง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแพทย์ ผู้ป่วย และประชาชน นอกจากการดูแลแพทย์ในวิชาชีพด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมที่เป็นการปกป้องเกียรติศักดิ์ศรีวิชาชีพแพทย์       

นพ.ศุภชัย กล่าวว่า ด้วยหลักการดังกล่าว จึงนำมาสู่การกำหนดนโยบายของกลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์ โดยอันดับแรกคือการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ให้อยู่บนรากฐานความเข้าใจ ไม่ใช่ขัดแย้งฟ้องร้อง ซึ่งเป็นเรื่องด่วนที่ต้องแก้ไข ซึ่งเราสนับสนุนให้มีระบบการบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล ทั้งในฝั่งผู้ป่วย รวมถึงแพทย์และพยาบาล ในการออกกฎหมายที่มีการจัดตั้งกองทุนกลางในการชดเชยความเสียหายกรณีสุดวิสัยทางการแพทย์ ที่เป็นกลไกกลางทำให้ผู้ป่วยและแพทย์ไม่ต้องขัดแย้งและฟ้องร้องกัน เช่นเดียวกับระบบประกันภัยรถยนต์ที่มีกองทุนกลาง พร้อมกันนี้ต้องไม่มีการดำเนินคดีกับแพทย์ที่ให้การรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยกรณีต้องการฟ้องร้องให้ฟ้องร้องกับกองทุนกลางแทน

ทั้งนี้การเสนอให้ออกเป็น พ.ร.บ.นั้น เนื่องจากการขยาย ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จะมีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นกฎหมายที่คุ้มครองเฉพาะผู้มีสิทธิ์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการ ประกันสังคม และผู้ป่วยที่จ่ายเงินเอง อีกทั้งการแก้ไขกฎหมายยังมีความยุ่งยาก ต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ อาจทำให้เกิดความวุ่นวายได้

ต่อมาคือการเร่งรัดพิจารณาข้อร้องเรียน โดยเฉพาะด้านจริยธรรมแพทย์ให้รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองแพทย์ที่ทำงานในวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานที่ดี ขณะเดียวกันยังเป็นการให้ความเป็นธรรมกับประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล โดยจะมีการพัฒนากระบวนการพิจารณาให้รวดเร็วและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่งผลให้แพทย์ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนในการรักษา ไม่ให้อยู่บนความระแวงซึ่งกันและกัน, การกระจายกระบวนการทำงานของแพทยสภาเพื่อให้เกิดความใกล้ชิดกับแพทย์สมาชิกและประชาชนมากที่สุด โดยจะมีการจัดตั้งกรรมการแพทยสภาส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีการติดตามและส่งเสริมการดูแลด้านจริยธรรมของแพทย์

นพ.ศุภชัย กล่าวว่า ขณะเดียวกันในด้านการดูแลวิชาชีพแพทย์นั้น กลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์มีนโยบายส่งเสริมที่ไม่เพียงแต่พัฒนาการดำเนินวิชาชีพแพทย์ให้เกิดก้าวหน้า แต่ยังมุ่งการสร้างความเป็นธรรมให้กับวิชาชีพแพทย์ โดยจะส่งเสริมให้มีการปฏิรูปแพทยสภาศึกษาโดยร่วมกับกลุ่มแพทย์สถาบัน และสภาวิชาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ไม่เฉพาะปัจจุบันแต่ต้องมองไปยังถึงอนาคต ที่ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของประเทศ แต่ต้องสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาชีพและการศึกษาต่อของแพทย์ด้วย โดยจะมีการขยายกรอบข้อจำกัดเพื่อให้สามารถเข้าศึกษาเพิ่มเติมได้ พร้อมกันนี้จะดึงโรงพยาบาลเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนที่เป็นการคืนกำไรให้สังคมโดยไม่มุ่งหวังผลกำไร การพัฒนาฝึกอบรมแพทย์ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากในด้านการศึกษาแล้ว ยังส่งเสริมในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตแพทย์ให้เกิดความสมดุลทั้งการประกอบวิชาชีพแพทย์ สังคมและชีวิตส่วนตัว เพราะต้องยอมรับว่าแพทย์เป็นวิชาชีพที่ทำงานหนักตลอดเวลา จนเบียดบังเวลาชีวิตในส่วนอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องทำให้แพทย์มีความสมดุลในการใช้ชีวิตด้วย โดยเฉพาะในส่วนของแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งมีค่าตอบแทนต่ำ ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต ทำให้ต้องทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มเติม ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การเรียนต่อ และยังเกิดความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นมองว่ารัฐบาลน่าจะอุดหนุนเพิ่มค่าตอบแทนให้แพทย์กลุ่มนี้ เพื่อให้สามารถมุ่งศึกษา และทำงานได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ในส่วนของแพทย์ที่จบใหม่ จะประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้มีการจัดส่งแพทย์เหล่านี้ไปทำงานยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์พี่เลี้ยงจริงๆ ไม่ใช่ปล่อยไปทำงานเองอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้แพทย์ส่วนใหญ่มีความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพตนเอง ดังนั้นแพทยสภาต้องเพิ่มโอกาสและขยายการเข้าเรียนอย่างเป็นธรรม โดยจุดนี้เรามองไปยังค่าตอบแทน ซึ่งหากเพียงพอในการเลี้ยงครอบครัว จะทำให้แพทย์เลือกไม่ไปทำงานนอกเวลายังโรงพยาบาลเอกชนเพื่อหารายได้เสริมได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ จึงไม่ใช่การกำหนดจำกัดกรอบเวลาการทำงาน เพราะหากแพทย์ไปทำงานยังโรงพยาบาลเอกชนจะยิ่งมีปัญหาไปกันใหญ่

“ในการลงเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาครั้งนี้จะได้รับเลือกหรือไม่นั้น ถือว่ากลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์ได้แสดงจุดยืนแล้ว มั่นใจว่าแพทย์ส่วนใหญ่ต่างรักษาในเกียรติยศและศักดิ์ศรีของวิชาชีพแพทย์ การเข้าเรียนแพทย์ก็เพื่อต้องการดูแลรักษาประชาชนในยามเจ็บป่วย จึงได้รับเกียรติและความไว้วางใจ แต่ขณะเดียวกันแพทย์ต้องมีความสุขและมั่นใจในการทำงานด้วย ดังนั้นแนวคิดที่ทางกลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์นำเสนอน่าจะสอดคล้องกับความรู้สึกของแพทย์ส่วนใหญ่ ซึ่งขอเคารพในการตัดสินใจ” ประธานกลุ่มแพทยสภาภิวัฒน์ กล่าว


Mon, 2014-12-08
http://www.hfocus.org/content/2014/12/8793

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เจาะลึกเลือกตั้งแพทยสภา (4)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 06 มกราคม 2015, 22:23:22 »
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา : พลังแพทย์ ขอโอกาสพัฒนาวิชาชีพแพทย์

กลุ่มพลังแพทย์ ประกาศ ขอโอกาสทำงานพัฒนาวิชาชีพแพทย์ กระตุ้นหมอให้ใช้สิทธิ์เพิ่ม ยันจุดยืนคัดค้าน “ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” หนุนขยาย ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมเดินหน้าพัฒนามาตรฐานการรักษา ยกระดับคุณภาพชีวิตหมอ

11 ธ.ค.57 พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา แกนนำกลุ่มพลังแพทย์ กล่าวถึงนโยบายของกลุ่มพลังแพทย์ ในการลงรับสมัครเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาว่า นโยบายสำคัญของกลุ่มพลังแพทย์คือการเปลี่ยนแปลงการทำงานของแพทยสภา เน้นการทำงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้โดยสมาชิกแพทย์และประชาชนอย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้ยังมีจุดยืนสำคัญคือการผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานในการรักษาที่จะช่วยลดปัญหาในการรักษาและความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วยลงได้ได้ เนื่องจากปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสาเหตุสำคัญเกิดจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะแพทย์ในระบบกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาเกิดภาวะขาดแคลนอย่างหนัก ทำให้แพทย์ต้องมีภาระการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น ทำงานตลอดทั้งวัน จึงส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วย ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาที่นอกจากต้องมีจำนวนแพทย์ที่เพียงพอแล้ว ยังต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอด้วย 

พญ.เชิดชู กล่าวว่า ส่วนที่ขณะนี้มีความพยายามในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข ทางกลุ่มพลังแพทย์มีนโยบายที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุว่าให้เป็นการชดเชยที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด เพราะในข้อเท็จจริงปัญหานี้จะต้องไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นในการรักษาและภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดจากผู้ป่วยเอง เช่น การแพ้ยา อย่างกรณีของนางดอกรัก เพชรประเสริฐ ที่มีภาวะแพ้ยารุนแรงถึงขั้นตาบอด ซึ่งแม้แต่ตัวผู้ป่วยเองก็ไม่ทราบ ไม่ได้มาจากการรักษาของแพทย์ แต่การระบุว่าชดเชยไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด นั่นอาจทำให้เข้าใจได้ว่าเกิดจากการรักษาของแพทย์ได้ ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการเดินหน้าขยาย ม. 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มากกว่า

“ม. 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการคุ้มครองและชดเชยเฉพาะผู้มีสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 48 ล้านคน ซึ่งผู้มีสิทธิ์ในระบบนี้ต้องยอมรับว่ามีทั้งคนจนและคนไม่จน คนที่มีเงิน ดังนั้นแม้แต่คนที่มีเงินยังได้รับการคุ้มครอง ดังนั้นจึงควรขยายไปยังผู้มีสิทธิในระบบประกันสังคมที่เป็นแรงงานและข้าราชการที่มีเงินเดือนน้อย” แกนนำกลุ่มพลังแพทย์ กล่าว

พญ.เชิดชู กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินนโยบายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แม้ว่าจะส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้แพทย์มีภาระงานเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้เฉพาะบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มเป็น 170-200 ล้านครั้งต่อปีแล้ว แม้แต่นโยบายโอบามาแคร์ ยังเน้นให้ประชาชนไปซื้อประกันสุขภาพกับเอกชน โดยเน้นให้สิทธิ์รักษาพยาบาลเฉพาะคนจน ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เป็นต้น ต่างจากประเทศไทยที่ให้สิทธิรักษาพยาบาลคนทั้งประเทศ แต่ทั้งนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการคือการปรับมาตรฐานการทำงานของแพทย์ ที่นอกจากทำให้แพทย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการรักษา โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ที่ใช้ทุนในต่างจังหวัด ซึ่งในความเป็นจริงแพทย์เหล่านี้ต้องออกไปทำงานยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์พี่เลี้ยง แต่ด้วยปัญหาขาดแคลนแพทย์ทำให้กระทรวงสาธารณสุขต้องส่งไปทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนแทน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องแก้ไข   

นอกจากนี้กลุ่มพลังแพทย์ยังมีนโยบายส่งเสริมการเรียนต่อของแพทย์เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ และทางการแพทย์ของไทย รวมถึงการสนับสนุนด้านการวิจัยใหม่ๆ อย่างการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ซึ่งที่ผ่านมาในต่างประเทศเป็นที่ยอมรับกันแล้ว แต่บ้านเรายังไม่รับรอง เช่นเดียวกับการสนับสนุนความก้าวหน้าวิชาชีพแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หรือแม้แต่โรงพยาบาลชุมชน

“กลุ่มพลังแพทย์ลงสมัครเพื่อมุ่งทำงานพัฒนาเพื่อวิชาชีพแพทย์ ส่วนจะได้รับเลือกหรือไม่นั้น ต้องขอโอกาสในการทำงาน และขอเรียกร้องให้แพทย์ซึ่งมีอยู่กว่า 40,000 คนให้ออกมาใช้สิทธิ์ เนื่องจากที่ผ่านมาแพทย์ใช้สิทธิ์ลงคะแนนน้อยมากเพียงแค่ร้อยละ 25 เท่านั้น จึงขอปลุกกระแสเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง” แกนนำกลุ่มพลังแพทย์ กล่าว

Thu, 2014-12-11
http://www.hfocus.org/content/2014/12/8817

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เจาะลึกเลือกตั้งแพทยสภา (5)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 06 มกราคม 2015, 22:24:43 »
หนุน ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม วาระนายกแพทยสภาไม่เกิน 2 สมัย

นพ.ธานินทร์ ผู้สมัครกก.แพทยสภากลุ่มราชวิทยาลัย ขอโอกาสแก้ปัญหาขัดแย้งแพทย์-ผู้ป่วย หนุน ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม กำหนดวาระนายกแพทยสภาไม่เกิน 2 สมัย ต่อใบประกอบโรคศิลป์ทุก 5 ปี เสนอนโยบายผลิตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางให้สอดคล้องกับสภาพสังคม

นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย

นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย รับว่าการลงสมัครครั้งนี้ค่อนข้างลำบากใจ เพราะเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่อยากขอโอกาสในการแก้ปัญหาระหว่างแพทย์กับคนไข้ที่ยังขาดการสื่อสาร สร้างความเข้าใจจนกลายเป็นปัญหาการฟ้องร้องคดีความต่างๆ  โดยการป้องกันและลดปัญหาเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือ จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความรู้ความสามารถมากยิ่งขึ้น รวมทั้งต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ มีการตรวจวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ ที่สำคัญต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับคนไข้ และญาติคนไข้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะหากทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีย่อมลดปัญหาความไม่เข้าใจและการฟ้องร้องระหว่างแพทย์กับคนไข้ได้

“ส่วนเรื่องพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขฯ มีข้อถกเถียงกันมาก สิ่งสำคัญต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เชื่อข้อมูลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ นั้น ผมมองว่าเป็นเรื่องดีที่มีการกำหนดวาระของนายกแพทยสภาให้ไม่เกิน 2 สมัย ซึ่งเหมาะสมและเปิดโอกาสให้คนใหม่ๆ เข้ามา ขณะที่การต่อใบประกอบโรควิชาชีพเวชกรรมทุกๆ 5 ปี ก็เป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้แพทย์มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยด้วย” นพ.ธานินทร์ กล่าว

สำหรับนโยบายของกลุ่มราชวิทยาลัยฯ นั้น ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องการพัฒนาแนวทางการผลิตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศในปัจจุบัน และพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  รวมทั้งต้องพัฒนางานด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรฐานการประกอบวิชาชีพของแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทาง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย พัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นต้น


Tue, 2015-01-06
http://www.hfocus.org/content/2015/01/9011

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เจาะลึกเลือกตั้งแพทยสภา (จบ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 06 มกราคม 2015, 22:26:00 »
เชื่อเลือกตั้งกก.แพทยสภาครั้งนี้ เป็นโอกาสปฏิรูปแก้ขัดแย้งได้

“ปธ.เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์” ชี้ เลือกตั้ง กรรมการแพทยสภา โอกาสปฏิรูปแก้ปัญหาความขัดแย้ง “หมอ-คนไข้” หนุนนโยบาย “ฟ้องกองทุนชดเชยผู้เสียหาย” แทนการฟ้องแพทย์และ รพ.กรณีไม่รับการเยียวยา พร้อมเรียกร้องผู้สมัครหาเสียงบนหลักการความเป็นจริงและเป็นไปได้ เชื่ออาจมีแพทย์ลงคะแนนเสียงเพิ่ม เหตุมีกลุ่มทางเลือกใหม่ลงสมัคร

6 ม.ค.58 นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่างถึงทิศทางการดำเนินงานของแพทยสภา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาชุดใหม่ ว่า หากแพทยสภาหากทำตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ในมุมมองตนเองเห็นว่า ที่ผ่านมาแพทยสภาไม่ได้ปฎิบัติตามวัตถุประสงค์การก่อตั้งคือการควบคุมจริยธรรมแพทย์และปกป้องสวัสดิภาพการรับการรักษาพยาบาลของประชาชน แต่กลับกระทำในสิ่งตรงกันข้าม เป็นผลให้เกิดความขัดแย้งและร้าวฉานระหว่างแพทย์และผู้ป่วยขึ้น ดังนั้นแพทยสภาในยุคปฏิรูประบบสาธารณสุขควรจะโน้มตัวลงมารับฟังเสียงประชาชน ใส่ใจต่อปัญหามากขึ้น โดยนำปัญหาเหล่านั้นขึ้นมาวางและแก้ไขร่วมกัน เพราะหมอกับคนไข้ต้องอยู่ร่วมกัน ซึ่งปัญหาขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตสำหรับตนเองแล้วก็อยากให้จบ

นางปรียนันท์ กล่าวว่า แพทยสภาเองต้องอยู่บนหลักการและเหตุผลในการหาทางออกร่วมกัน อย่างปัญหาความขัดแย้งระหว่างหมอและผู้ป่วย ซึ่งแพทยสภาเองไม่ควรคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เนื่องจากแพทยสภาต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาเป็นตัวปัญหาทำให้ผู้ป่วยไปฟ้องร้องหมอมากขึ้น เพราะแพทยสภาที่ต้องทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเป็นธรรมเป็นกลไกที่พึ่งไม่ได้ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องไปฟ้องศาล และต้องต่อสู้กันยาวนานหลายสิบปี และแม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะแพ้คดี แต่กรณีที่ผู้ป่วยชนะแพทยสภาก็ลบชื่อแพทย์ออกจากคำพิพากษาไม่ได้ ที่ทำให้หมอเกิดความเสียหายมากกว่า ดังนั้นวันนี้ทั้งฝ่ายแพทย์และผู้ป่วยเองต้องจับมือเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้ง

ทั้งนี้ในการเลือกตั้งแพทยสภาครั้งนี้ ส่วนตัวมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เนื่องจากมีทีมแพทย์ที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าเชื่อถือ มีท่าทีต่อสังคมและผู้ป่วยในทางที่ดี ทั้งยังสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แม้ว่าจะมีความเห็นต่างในบางประเด็น แต่เน้นการสนับสนุนให้เกิดการเยียวยา ทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและรับบริการในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น

“ทางฝ่ายผู้ป่วยเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้ทำการฟ้องร้องกับกองทุนแทนที่จะฟ้องแพทย์และโรงพยาบาล ในกรณีผู้ป่วยไม่ต้องการรับเงินกองทุนและต้องการฟ้องร้องต่อ ประเด็นนี้คนไข้ไม่คัดค้าน ซึ่งในการพิจารณาจะมีผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ความเห็น ทั้งฝ่ายผู้ป่วย แพทย์ แพทยสภา และผู้แทนกองทุนรักษาพยาบาล”  ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าว             

นางปรียนันท์ กล่าวว่า จากที่ติดตามนโยบายการหาเสียงของกลุ่มแพทย์ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งนั้น เห็นว่า ในการหาเสียงควรตรงไปตรงมา ไม่เกินจริง ซึ่งในกลุ่มที่คัดค้านการออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ขอชี้จงข้อเท็จจริงว่า กฎหมายฉบับเดิมได้ถูกตีตกไปแล้ว ขณะนี้เป็นร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ที่มีการปรับปรุงเนื้อหา แม้แต่หมอหลายคนที่เคยคัดค้านต่อต้าน พออ่านรายละเอียดเนื้อหาแล้วก็ได้มีท่าทีที่เปลี่ยนไป และหันกลับมาสนับสนุนการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องมองว่าเป็นประโยชน์ทั้งฝ่ายแพทย์และผู้ป่วย

ขณะที่การขยายการคุ้มครองใน ม. 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 นั้น ตรงนี้ฝ่ายผู้ป่วยเองไม่คัดค้าน แม้ว่าในช่วงแรกจะไม่เห็นด้วยกับการนำเงินงบประมาณมาชดเชยให้กับผู้ป่วยแทนเอกชน แต่เมื่อดูแล้วผู้ป่วยที่กำลังเดือดร้อนได้ประโยชน์ จึงได้สนับสนุน และได้เข้าร่วมประชุมในยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทยเพื่อดูแนวโน้มการแก้ไขกฎหมาย ที่มีผู้แทนฝ่ายผู้ป่วย แพทยสภา กรมบัญชีกลาง และผู้แทนกองทุนต่างๆ ตลอดจนนักกฎหมายเข้าร่วม แต่สรุปแล้วว่าทำไม่ได้ เพราะแต่ละกองทุนมีกฎหมายของตัวเอง จะเอาเงินไปใช้นอกวัตถุประสงค์ไม่ได้ และการแก้ไขเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะต้องปรับแก้กฎหมายถึง 3 ฉบับ จึงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้

ส่วนการนำบริการทางการแพทย์ออกจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น นางปรียนันท์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ ทางฝ่ายศาลยุติธรรมเป็นผู้ยกร่าง และขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากจะปรับแก้ต้องไปสู้กับสำนักงานศาลยุติธรรม ดังนั้นหลักการจึงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแม้ว่าจะมีการนำเสนอโนบายนี้ แต่จะทำสำเร็จหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะขัดกับหลักยุติธรรม เช่นเดียวกับการหาเสียงออกกฎหมายห้ามฟ้องอาญาแพทย์ ในข้อเท็จจริงไม่มีใครอยากฟ้องอาญาแพทย์อยู่แล้ว แต่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายหลักของประเทศกำหนดไว้เช่นนั้น ดังนั้นแม้ว่าจะมีการออกกฎหมายฉบับต่างๆ ออกมา เพื่อไม่ให้ฟ้องอาญาก็ทำไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้องของบ้านเมือง แม้แต่นักกฎหมายก็สรุปแล้วว่าทำไม่ได้

“ในการเลือกตั้งแพทยสภาครั้งนี้เป็นโอกาสของการปฏิรูปและควรปฏิรูปมานานแล้ว เพราะที่ผ่านมามีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้เป็นกรรมการแพทยสภามีทั้งที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชน คลินิกเสริมความงาม เป็นต้น เราไม่ได้ห้ามทำธุรกิจการค้า แต่เมื่อมีผู้ป่วยร้องเรียนและกรรมการเหล่านี้ต้องทำหน้าที่พิจารณาทำให้เกิดคำถามความน่าเชื่อถือ” นางปรียนันท์ กล่าวและว่า แพทย์ในประเทศมีจำนวนสองถึงสามหมื่นคน ที่ผ่านมาใช้สิทธิ์เพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น ยังมีพลังเงียบอยู่มาก ที่ผ่านมาแพทย์บางส่วนเลือกงดออกเสียงหรือ No Vote เพราะว่ามองว่าไม่มีทางเลือกที่ดี แต่ครั้งนี้มีทางเลือกใหม่ อาจทำให้มีแพทย์ออกเสียงเพิ่มขึ้น


Tue, 2015-01-06
http://www.hfocus.org/content/2015/01/9012