4.ผลกระทบต่องบประมาณ
4.1 กระทรวงสาธารณสุขขาดงบประมาณ ในการดำเนินการตามหน้าที่ในจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข แต่สูญเสียอำนาจในการได้รับงบประมาณในการดำเนินการ การวางแผนพัฒนาเพราะขาดเงินงบประมาณ แม้แต่เงินเดือนบุคลากรของตน ก็ยังต้องไปขอมาจากสปสช.
4.2 งบประมาณจำนวนมากต้องใช้ไปในการบริหารงาน และเงินเดือน/ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ของสปสช. ที่ทำหน้าที่บริหารกองทุนของรัฐ แต่มีสิทธิกำหนดอัตราเงินเดือนตัวเองในราคาสูง กว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นๆ ทำให้เป็นภาระต่อรายจ่ายของรัฐบาล
4.3 สปสช. มีการใช้งบประมาณไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น สปสช.มีหน้าที่ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้แก่โรงพยาบาลแทนประชาชน แต่สปสช.กลับใช้อำนาจในการ “บริหารจัดการโครงการต่างๆเอง” ซื้อยา เครื่องมือ และเวชภัณฑ์เอง และยังประกาศ กฎเกณฑ์ในการใช้ยา เครื่องมือ และการรักษาผู้ป่วย ซึ่งส่อไปในการทำผิดหน้าที่ และยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสปสช.มีอำนาจสั่งจ่ายเงินถึงครั้งละ 1,000 ล้านบาท ซึ่งไม่น่าจะทำได้ตามกฎหมาย
4.4 งบประมาณของรัฐบาลที่มาจากภาษีของประชาชน ถูกใช้ในการบริการด้าน สุขภาพ อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่เห็นคุณค่าของการบริการ เพราะไม่มี “หน้าที่”รับผิดชอบ “สร้าง” สุขภาพ มีแต่มาเรียกร้อง “สิทธิ” ในการ “ซ่อม”สุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
4.5 งบประมาณของรัฐบาลจะถูกใช้ไปในการตรวจวินิจฉัยที่เกินจำเป็นเพราะแพทย์จะพยายามป้องกันตัวเองจากการฟ้องร้องด้วยการส่งตรวจวินิจฉัยให้มากที่สุด และมีการใช้ยาที่เกินความจำเป็น รวมทั้งการรักษาอื่นๆ ด้วยเหตุผลเดียวกัน (defensive medicine) เหมือนที่ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังประสบอยู่