เรื่องพื้นที่พิเศษ ๑. มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน และตรวจสอบได้
๒. ไม่ใช้ความรู้สึกหรือดุลยพินิจในการพิจารณา
๓. เปิดเผยข้อมูลในการจัดพื้นที่ตามหลักเกณฑ์อย่างละเอียด ไม่ให้เป็นที่เคลือบแคลงใจของทุกฝ่าย
๔. การเป็นโรงพยาบาลระดับใด(รพช. รพท. รพศ.)ต้องไม่เป็นเหตุ หรืออุปสรรคในการที่จะได้ หรือไม่ได้ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนตามภาระงาน๑. ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันทั้งประเทศ (ไม่ใช่ให้แต่ละโรงพยาบาลไปทะเลาะกันเอง สร้างความขัดแย้งระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหารโรงพยาบาล และระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันเอง)
๒. วงเงินขึ้นกับวงงาน (ไม่ใช่ตามฉบับ๗ หรือรายรับของโรงพยาบาล จึงจะเป็นการจ่ายตามภาระงานอย่างแท้จริง และถึงจะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตามวัตถุประสงค์ของการจ่ายค่าตอบแทน)
๓. สัดส่วนของแต่ละวิชาชีพ ขึ้นกับสัดส่วนของงาน (ขึ้นกับคุณค่าของงานที่ผู้บริหารกระทรวงฯจะให้ ไม่ใช่ให้แต่ละวิชาชีพไปแย่งชิงกันเอง เป็นการทำลายความสามัคคีระหว่างวิชาชีพ ระหว่างเพื่อนร่วมงาน)
๔. หลักการคิดต้องไม่ซับซ้อนยุ่งยาก และเป็นภาระจนเกินไป (ให้พวกเราใช้เวลาทำงานดูแลผู้ป่วย และทำตามนโยบายใหม่ๆของกระทรวงฯดีกว่า)
ที่ผ่านมาแนวคิดของคณะทำงานของกระทรวงฯไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานคาดหวัง และไม่เคยเปลี่ยนแนวคิดเลย แม้จะมีความคิดเห็น ข้อทักท้วง ข้อห่วงใย จากการหลายๆฝ่ายตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ถ้ากระทรวงฯต้องการพัฒนางาน ปรับเปลี่ยนหลายๆเรื่อง(อย่างที่กำลังทำกันอยู่) ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายทุกวิชาชีพ ต้องพึ่งความสามัคคีในการทำงาน ต้องได้ใจของบุคลากร ดังนั้นเรื่องค่าตอบแทนต้องโปร่งใส เป็นธรรม และเหมาะสมอย่างแท้จริง
ข้อเสนอให้พิจารณา๑. พิจารณาปรับเพิ่มค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ (ฉบับ ๕)
๒. พิจารณาปรับเพิ่ม เงิน พตส.
๓. เข้าใจว่าผู้บริหารต้องการใช้ ค่าตอบแทนตามภาระงานเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่อยากให้ผู้บริหารรับทราบว่าขณะนี้บุคลากรหลายวิชาชีพ หลายสาขา หลายพื้นที่ หลายแห่ง มีภาระงานมากเกินไป ค่าตอบแทนทั้งหมดของบุคลากรต่ำกว่าภาคเอกชนมาก ขอให้ผู้บริหารลดช่องว่างให้แคบลงก่อน แล้วค่อยเติมส่วนที่กระตุ้นประสิทธิภาพ ไม่งั้นไม่สามารถรักษาคนดีคนเก่งให้อยู่ในระบบได้
ทุกๆคนอยากเห็น การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม และเป็นธรรม เสียที.......