ผู้เขียน หัวข้อ: สพศท.โว มติบุคลากรการแพทย์-สาธารณสุข ยันไม่เอา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วยฯ  (อ่าน 1346 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สพศท.โว มติบุคลากรการแพทย์-สาธารณสุข ยันไม่เอา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วยฯ เสนอแก้ ม.4 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ แจงกรณีจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนชดเชยนั้น ส่งผลให้ รพ.ต้องเก็บค่ารักษาเพิ่มขึ้น
       
       วันนี้ (1 มี.ค.) นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ กรรมการ สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(สพศท.) กล่าวว่า วันนี้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบด้วยแพทยสภา กรรมมาธิการการสาธารณสุขวุฒิสภา, กรรมมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร์และสภาการพยาบาล ร่วมเข้าประชุมพิจารณ์ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ.....ที่ รพ.สงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมหลากหลายวิชาชีพและประชาชนทั่วไปประมาณ 200 คน โดย สพศท. ได้มีการให้ความรู้รายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้ และมีมติไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะเนื้อหายังไม่เหมาะสมกับการใช้ในประเทศไทย เนื่องจากจำนวนแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข และอุปกรณ์ต่างๆ ยังมีความขาดแคลน ทำให้มีภาระงานล้นมือ เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องอยู่แล้ว แต่ร่าง พรบ.ฉบับนี้มีเนื้อหากดดันผู้ให้บริการรักษาผู้ป่วย ผลที่ตามมาไม่สามารถควบคุมความกังวลของแพทย์และพยาบาลได้ จนเกิดการลังเลในการรักษาผู้ป่วยหรือหลีกเลี่ยงการรักษาโดยการส่งต่อไปรักษา ที่อื่น มีโอกาสทำให้ผู้ป่วยตายหรือพิการเพิ่มขึ้น จากการออกกฎหมายลักษณะนี้มาใช้ ความกังวลของแพทย์ทำให้การตรวจรักษาใช้เวลานานขึ้น ประชาชนจะได้รับบริการที่ล่าช้า ไม่ได้รับความสะดวก
       
       “นอกจากนี้ การเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนชดเชย จะมีผลทำให้เก็บเงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น เป็นภาระกับประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อไปช่วยประชาชนส่วนน้อยที่ได้รับความเสียหาย ผู้ร่วมประชุมเห็นว่าไม่คุ้มค่า และร่าง พรบ.ฉบับนี้มีเนื้อหาที่เปิดช่องแสวงหาผลประโยชน์ของคณะกรรมการ โดยเงินสมทบกองทุนพอกพูนตลอด เพราะไม่ต้องส่งคืนคลัง แต่เอื้อให้คณะกรรมการหาประโยชน์เพราะอนุญาตให้ใช้เงินกองทุนได้ร้อยละ 10 ดังนั้น เงินกองทุนยิ่งโต คณะกรรมการก็มีโอกาสใช้เงินมากขึ้นตาม ซึ่งไม่น่าไว้วางใจ” นพ.เพิ่มบุญ กล่าว
       
       นพ.เพิ่มบุญ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดมีมติ เห็นด้วยว่าหนทางช่วยเหลือผู้เสียหายที่ง่ายที่สุดคือ การแก้ไขกฎหมาย พรบ.หลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศ และไปแก้กฎระเบียบการใช้เงินในมาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพ ให้มีวงเงินสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าเปลี่ยนจาก 200,000 บาท เป็น 1 ถึง 2 ล้านบาท ซึ่งเงินในมาตรา 41 มีเพียงพออย่างแน่นอน น่าจะมีความเหมาะสมกว่าและคุ้มครองได้ทันที ถ้ารัฐบาลตัดสินใจทำ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 มีนาคม 2554