ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระทรวงสาธารณสุข จากใจแพทย์โรงพยาบาลชุมชน  (อ่าน 2297 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
 จากคอลัมภ์จี้ สธ ปฏิรูปตัวเอง โดยอาจารย์แพทย์อาวุโสท่านหนึ่ง เกษียนอายุราชกรรไปแล้วซึ่งเป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพภาพแห่งชาติ แกนนำอาวุโสชมรมแพทย์ชนบท จากคำให้สัมภาษณ์ของท่านพอสรุปได้เป็น3 ประเด็นดังนี้ครับ

1 กระทรวงสาธารณสุขและ สสจ ละเลยมาตรา 41 ตาม พรบ หลักประกันสุขภาพ ไม่มีการเรียกประชุมคณะกรรมการ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล ต้องขอเรียนว่า

ช่วงก่อน สิ้นสุด การเป็นผู้อำนวยการสาขาจังหวัดของ สสจ คือ1 ตุลาคม 2557 นั้นหลายจังหวัดก็มีการประชุม ถ้ามีเรื่องขอรับการช่วยเหลือเข้าหลักเกณฑ์ แต่ถ้าไม่มีเรื่องร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบทางการแพทย์ก็คงไม่ได้ประชุม ซึ่งแต่ละปี แต่ละจังหวัด ไม่เกิน10 เรื่องซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณ ผู้ป้วยที่มารับการรักษาในระบบบริการของกระทรวงสาธารณสุข ในแต่ละจังหวัด ซึ่งในสามัญสำนึกแล้วทาง สสจ ไม่ละเลยแน่เพราะเรื่องร้องเรียนเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้บริหารของ สสจ ในระดับจังหวัดตระหนักดี ถึงปัญหาที่จำเป็นต้องเยียวยาเบื้องต้นเพื่อลดผลกระทบต่อบริการประชาชน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มมี พรบ หลักประกันสุขภาพ พศ.2544 ซึ่งก็ไม่เคยมีปัญหา การละเลยแต่อย่างใด แต่จู่ ๆ ก็ยกมาเป็นประเด็น ตีวัวกระทบคราด เพื่อเสริมแรงความขัดแย้งของ กสธ กับ สปสช ซึ่งอันที่ก็ไม่ได้มีอะไรรุนแรงยังทำงานด้วยกันได้ แต่จุดประสงค์จริง คือต้องการเตะตัดขาปลัดณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ซึ่งกลุ่มก๊วนตระกูล ส และ ชพบ กำลังไล่ล่า ให้จนตรอก ด้วยการสหบาทา ผ่านสื่อที่กลุ่มกว๊นพวกนี้มีอยู่ อย่างมากมาย ช่วยกันกระพือโหมไฟเผาบ้านตัวเอง ประเด็นปัญหาที่ สสจ เกือบทุกแห่งกังวลใจคือ เมื่อ สสจ ไม่ได้เป็น ผอ สาขาจังหวัดของ. สปสช อำนวจในการดำเนินการ เรื่อง ม 41 จะเป็นอย่างไร ซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน. สปสช ต้องชัดเจน ไม่ใช้ปล่อยให้คนทำงานไปตายดาบหน้า. ข้อกังวลใจคือ
1. มีระเบียบรองรับ ในการให้ สสจ ดำเนินเรื่องตามมาตร 41. หรือไม่ หลัง 1 ตุลาคม ต่อนี้ไป
2. คณะกรรมการชุดเดิมระดับจังหวัดจะยังคงบทบาทเดิม หรือต้องต้ังใหม่ ใครแต่งตั้ง
3. เงินเยียวยาตามมาตรา41 จะเปิดบัญชีที่ สสจ หรือที่ เขต สปสช ขั้นตอนดำนินงาน ชัดเจนเพียงไร สำนักงบประมาณ สตง เห็นด้วยแล้วหรือ. หรือ สปสช ตัดสินใจเองได้ เขียนระเบียบ ประกาศใช้ เป็นทางการหรือไม่ หากการดำเนิงานไม่เป็นไปตามระเบียบ ใครรับผิดชอบ สสจ หรือ เขต สปสช

เอาให้ชัด อย่าอ้างประชาชน อย่างเดียว คนทำงานต้องการความชัดเจน ไม่ผิดระเบียบ สำนักงบประมาณ สตง หารือหน่วยงานดังกล่าวแล้วหรือยัง สสจ ทุกแห่งพร้อมทำงานเพื่อประชาชน ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็ทำมาแล้ว ถึง 13 ปี ทำไมผู้ให้สัมภาษณ์ ไม่กล่าวถึงคุณความดีในข้อนี้บ้าง เข้าตำราความดีรับไว้ ความชั่วใส่ไคร้คนอื่น หรือเปล่า

2. ตั้งเขตสุขภาพเพื่อดึงงบค่าหัวบริการหลักประกันสุขภาพมาบริหารเอง. ต้องขอเรียนว่า

บริการสุขภาพ ประชาคมสาธารณสุข มีความเห็นร่วมกันว่า ควรต้องเกิดขึ้นอย่างหลึกเลี่ยงไม่ได้ สาเหตุมาจากปัญหาวิกฤตทางการเงิน ซึ่งสถานบริการ รพศ/รพท/รพช ประสบอยู่ ตั้งแต่ระดับวิกฤตทางการเงิน 1-7 จำนวน 300กว่าแห่งทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของสถานบริการ ที่ต้องใช้จ่าย ค่าสาธารณูปโภค ค่ายาเวชภัณฑ์ วัสดุการแพทย์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครุภัณฑ์จำเป็นในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย อุปกรณ์ห้องผ่าตัด ค่าเวรแพทย์พยาบาล ค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว ค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ต้องอาศัยเงินบำรุงทั้งสิ้น. หลายโรงพยาบาล บริษัทยา เริ่มส่งยาล่าช้า บ้างแห่งเริ่มไม่ส่งยาอุปกรณ์การแพทย์ให้ กับ รพ คนเดือดร้อนคือประชาชนและผู้ให้บริการ. ทุกแห่งพยายามประคองตัวเองปรับลดค่าใช้จ่าย จัดซื้อยาร่วมระดับเขตระดับจังหวัด เพื่อลดค่าใช้จ่าย บางแห่งเงินเบี้ยเลี้ยงไม่ได้ ค่าเวรแพทย์พยาบาลออกล่าช้าเพื่อให้มีงบบริหารโรงพยาบาล เพื่อบริการผู้ป่วย ไปก่อน สภาพอย่างนี้เป็นมาตั้งแต่เริ่มมี พรบ หลักประกันสุขภาพ ปี 2544 เริ่มแรกไม่กระทบกับฐานะทางการเงิน รพ เท่าไร. เนื่องจากมีเงินบำรุงก้อนเดิม อยู่ เมื่อนานเข้า ภาวะขาดทุนสะสมมากเข้า เงินบำรุงซึ่งเป็นบุญเก่าเริ่มลดลง ปัญหาวิกฤตการเงินจึงพอกพูนขึ้น โดยทางกระทรวง. พยายามสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา. การจ่ายงบค่าหัวลงสถานบริการซึ่ง จริงแล้ว ไม่สะท้อนภาพจริงๆ ของการบริการ งบขาขึ้น ที่ขอไว้กับสำนักงบ และรัฐสภา. มี่รายการ ที่ขอ ไม่เกิน10 รายการ แต่เวลาได้งบประมาณรายหัวแล้วกลับซอยงบขาลง ยิบย่อย มากกว่า20 รายการเป็นเบี้ยหัวแตก โดยเฉพาะพยายามขยายกองทุนต่างๆ ไว้บริหารเองที่ส่วนกลาง เงินที่ลงไปสถานบริการจึงลดลง ไม่เพียงพอในการบริหารงาน เงินรายหัวประชากร ทั้งหมด ถูกส่งลงสู่สถานบริการ ประมาณ 50 % ของงบรายหัวทั้งหมด ซ้ำร้ายวันดีคืนร้าย ใกล้สิ้นปีงบประมาณ เงินที่จ่ายล่วงหน้า (prepaid) กลับถูกเรียกคืนอ้างว่าทำงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งห่างเป้าหมายเท่าไรเรื่องอะไร บ้าง สถานบริการไม่รู้ถูกหักเงินหน้าตาเฉย เคยให้เจ้าหน้าที่งานประกันสุขภาพของโรงพยาบาลโทรไปถาม ที่ สปสช คนรับโทรศัพท์ก็ตอบไม่ได้หักเงินหัวข้ออะไร ทำไม่ต้องหัก คนแจ้งมาให้หัก ก็ไม่ได้บอกนักบัญชี โทรหลายครั้งติดต่อยากมาก คำตอบเดิมคือไม่รู้ งบรายหัวประชากรเพิ่มทุกปี ตั้งแต่ปี 2544 หัวละ1202 บาท จนปัจจุบัน หัวละ 2835 บาท ดูแลคนไทย 46 ล้านคนเป็นเงิน 1.4 แสนล้านบ้าน หักเป็นเงินเดือนข้าราชการ ประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท นอกนั้นจัดให้เป็นงบลงไปสู่ สถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ประมาณ50% ทั้งในรูปของงานแลกเงิน (qof) เงิน op. Ip. Pp. เงิน ip. ซึ่งเป็นglobal. Budget. ถูกจัดสรรลดลงทั้งที่จริงก้ไม่พอจัดให้กับสถานบริการ ซึ่งมีต้นทุน( unit. Cost) ชัดเจนอยู่แล้ว ถูกจัดให้จ่ายตามค่า adj. RW. ตามระดับสถานบริการ ซึ่งก็ไม่เพียงพอในแต่ละปี สรุปสถานบริการขาดทุน ควักเนื้อตัวเอง เป็นอย่างนี้มาโดยตลอด ต้องเป็นโรบินฮูนปล้นข้าราชการมาจ่าย uc. กองทุนโรค กองทุนทันตกรรม กองทุนเอดส์ และอีกหลายกองทุน เงินกองทุนแต่ละปีใช้หมดหรือไม่ไม่มีใครรู้ ถ้าไม่หมดเงินอยู่ที่ไหน กองทุนตำบล 40 บาทต่อหัวประชากร เป็นเงิน ส่งเสริมป้องกัน หรือ pp. วัตถุประสงค์เงินก้อนนี้ เพื่อจัดให้ถึงตรงกับประชาชน ผ่านสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ. แต่โอนให้ท้องถิ่น ซึ่งไม่มีสถานบริการสาธารณสุข การใช้เงินอาศัยมติคณะกรรมการ กองทุนตำบล เป็นงบที่จัดซื้อครุภัณฑ์ไม่ได้ บางแห่งใช้ผิดประเภท บางท้องถิ่นไม่นำไปใช้ เนื่องจากกลัวเรื่องระเบียบ การใช้เงินไม่ชัดเจนจะใช้ตามระเบียบการเงินของท้องถิ่น หรือใช้ตามแนวทางของ สปสช ที่ผ่านมติคณะกรรมการกองทุนตำบล หลายท้องถิ่นกลัวปัญหา จะตามมา ทราบว่า เงินกองทุนตำบลเหลือค้างท่อ อีก หลายพันล้านบาท (ประมาณ3900.ล้านบาท แยกเป็นเงินที่ ท้องถิ่นสมทบ 1400 ล้านบาท เหลืออีก 2500 ล้านบาทเปินเงินรายหัวประชาชน) ขอถามว่าจริงหรือไม่ครับ

เงินรายหัวประชาชน ตอนนี้แว่วข่าวว่ายังค้างท่อ ที่สปสช อีก ประมาณ 50000 ล้านบาท (สะสมตั้งแต่ปี 44-56)ยังไม่รวมดอกเบี้ย จริงหรือไม่. ช่วยตอบด้วยครับ เก็บไว้ทำไม ทำไมไม่จ่ายลงมาให้กับสถานบริการที่กำลังประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน 300 กว่าโรงพยาบาลในขณะนี้ (ตั้งคณะกรรมการ่วม แล้วช่วยกันแก้ปัญหา) งบรายหัวประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี. แต่สถานบริการสาธารณสุข กลับประสบภาวะขาดทุนเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นปฎิภาคผกผันกับเงินรายหัวที่เพิ่มขึ้น อย่างชัดเจน และน่าแปลกใจ เงินที่เพิ่มขึ้นหายไปไหน เป็นเพราะประสิทธิภาพการบริหารงบของ สปสช หรือเพราะ สถานบริการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใครตอบได้ แต่ที่แน่ๆ โรงพยาบาลใหญ่น้อย กำลังจะเจ๊ง 300 กว่าโรงทั่วประเทศ ทางออกที่กระทรวง พยายามทำในขณะนี้ คือ จัดกลุ่ม จังหวัด 6-8 จังหวัดรวมเป็น เขตบริารสุขภาพ12เขต ประชากรแต่ละเขตประมณ5-6 ล้านคน เพื่อช่วยกันแชร์ความเสี่ยง และใช้ทรัพยากรร่วมกัน พัฒนาศักยภาพสถานบริการในแต่ละ ระดับ ตามservice. Plan. เพื่อให้สถานบริการไม่ต้องแข่งขันกันพัฒนา จนเป็นภาระกับงบประมาณที่จำกัด ทิศทางการพัฒนาจะชัดเจนขึ้น และเป็นผลดีกับประชาชนในเขตนั้นๆที่สามารถไปใช้บริการทางการแพทย์ที่ครบทุกสาขา ตอบสนองความต้องการ ไม่ต้องเดินทางเข้ามาในกรุงเทพและปริมณฑล. ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เป็นการลดภาระ ทั้งของรัฐบาลและของประชาชน เข้าถึงบริการได้ง่าย.

เขตบริการสุขภาพจึงน่าจะเป็นคำตอบในการแก้ปัญหา ระบบบริการสอดรับความต้องการของประชาชน กระจาย ทรัพยากร คน เงิน สิ่งของ ร่วมกันภายในเขต เขตสุขภาพไม่ได้ถือเงิน เพียงแต่แจ้งยอดเงินที่ สปสช ถืออยู่ ชี้เป้าส่งลงไปให้สถานบริการ ตามที่คณะกรรมการเขต ที่ประกอบด้วยภาคราชการและประชาชน มีความเห็นร่วมกัน ตามมติเท่านั้น และเป็นไปข้อเท็จจริงตามสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ ซึ่ง สปสช เอง ก็มี สปสช เขตพื้นที่ นั้นๆอยู่แล้ว. นี่คือข้อเท็จจริง. ที่กลุ่มก๊วนเหล่านั้นพยายามบิดเบือน

3 โรงพยาบาลต่างจังหวัด คนไข้ล้น เหตุเพราะขยายบริการไม่ทัน เหมือน สธ ไม่ใส่ใจขยายบริการ ต้องขอเรียนว่า
เป็นเพราะกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรของกระทรวง ทำงานในการคัดกรอง กลุ่มโรค ncd. และขยายบริการการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ดี ต่างหากจึงทำให้ คนไข้สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น จากสถิติผู้มารับบริการทั่วประเทศเมื่อปี พศ.2546 มีจำนวน. 103.28 ล้านครั้งต่อปี. มีผู้ป่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์มากขึ้นเป็นลำดับ และข้อมูลล่าสุดเมื่อปี พศ.2555 จำนวนผู้ป่วยนอกทั้งประเทศ (รพ รัฐ. ) จำนวน182.59 ล้านครั้งต่อปี เฉลี่ยคนไทย 1 คนใช้บริการ 3 ครั้ง/คน/ปี. จะเห็นว่าช่วง10 ปี ที่ผ่านมานี้ เพิ่มขึ้น เกือบร้อยละ50 คราวนี้ลองมาดูงบประมาณรายหัวประชากร. UC. เพิ่มจาก. 1202 บาท/หัวประชากร. ในปี2544. เป็น2835บาทในปี2557 จะเห็นว่างบเพิ่มขึ้น ประมาณ 200% เศษ. เมื่อเทียบงบที่เพิ่มขึ้นกับ จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น แตกต่างกันอย่างมาก ดูแล้วงบที่เพิ่มมากกว่า จำนวนคนไข้ที่เพิ่ม. รพ. น่าจะบริหารสภาพคล่องทางการเงินได้ แต่ตรงกันข้ามโรงพยาบลกลับติดลบสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น มากกว่า300 โรง ทั่วประเทศคิดเป็นร้อยละ 44 ของโรงพยาบาลทั้งประเทศที่ประสบปัญวิกฤตสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งน่าจะบ่งบอกถึง ระบบการบริหารจัดการงบ UC. ของ สปสช ที่ไม่สามารถกระจายไปให้สถานบริการ สธ ได้ตามที่ขอไว้กับรัฐสภาและสำนักงบประมาณ สาเหตุอันเนื่องมาจาก ความไม่โปรงใสในการบริหารจัดการเงินทั้งระะบบ จัดโดยไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของ ระบบบริการ จัดตั้งกองทุน กันงบไว้ส่วนกลาง ทำให้งบไปที่สถานบริการลดลง(รายละเอียด ตามข้อ 2 ข้างต้น)การเรียกเงินprepaid. คืน. โดยอธิบายไม่ได้. เม็ดเงินที่จ่ายลงไปให้สถานบริการ กับเม็ดเงินที่รับมาจากรัฐบาลทั้งหมด มีใครได้ทราบไหมว่า จ่ายไปเท่าไร เหลือเท่าไร. เอาไปบริหารจัดการอะไรบ้าง บัญชีรับจ่ายไม่เคยเห็น กระทรวงสาธารณสุขเองก็ไม่ทราบว่า. เงินทั้งหมด จริงๆ ที่ สถานบริการสาธารณสุขในสังกัด ทั้งหมด( ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 80 ของสถานพยาบาลทั่วประเทศที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ) ตรวจสอบไม่ได้ว่า ที่ สปสช ส่งให้สถานบริการสาธารณสุข กับเงินที่สถานบริการสาธรณสุข รับจริงๆ ตรงกันหรือไม่ เงินที่เรียกคืน จาก การ prepaid. อยู่ไหน เงินกองทุนโรคต่างๆ ที่จัดไว้ แล้วใช้ไม่หมดในแต่ละปี อยู่ไหน

มาดูที่บุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะยกตัวอย่างแพทย์ แพทย์ทั่วประเทศ มีประมาณ 4 หมื่นกว่าคน เป็นแพทย์ที่ทำงานในระบบบริการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 1 ใน3 อีก 1ใน3 เป็นแพทย์ รพ เอกชน และสถานพยาบาลเอกชน. และที่เหลืออีก1ใน3 เป็น แพทย์ในสังกัด กระทรวงอื่นๆ เช่น ทหาร ตำรวจ โรงเรียนแพทย์ แพทย์สายบริหาร ประกอบอาชีพส่วนตัว จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้ป่วยที่มารับบริการ ประมาณ 46. 28 ล้านครั้ง ที่โรงพยาบาลเอกชนละสถานพยาบาลเอกชน จากตัวเลขดังกล่าวคงเห็นชัดนะครับว่าแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข งานหนักกว่า ภาคเอกชน 4.5 เท่าตัว เมื่อเห็นภาพนี้ น่าจะชัดเจนนะครับว่า. ทำไม่คนไข้ล้น ทำไมบุคลากรสาธารณสุข จึงเกิดปัญหาสมองไหล ผู้ปฎิบัติงานงานหนัก งบไม่พอบริหารจัดการ แล้วจะขยายบริการได้อย่างไร ขวัญกำลังใจบุคลากร จะเป็นอย่างไร นี่ใช่ไหม. คือเหตุที่ต้องทำเขตบริการสุขภาพ และต้องปรับการบริหารงบ uc. ของสปสช มิเช่นนั้น ระบบการแทย์สาธารณสุขคงต้องล้มลง อย่างแน่นอน ฟันธง ครับ.

ผมเองในฐานะ แพทย์ที่ทำงานใน รพช อายุราชการ 33 ปี อีก6 ปีเกษียณ อายุราชการ เป็นแพทย์ที่ทำงานให้กับประชาชนในชนบท ไม่มีกลุ่มก๊วน รักบ้านคือกระทรวงสารณสุข ได้ตอบคำถาม 3 ข้อ ของ บทสัมภาษณ์ แกนนำอาวุโสชมรมแพทย์ชนบท. แล้ว เพื่อให้สังคมได้ตระหนักความจริง เสียที. วันนี้ได้เห็นการทำงานที่เป็นเครือข่ายถูกการวางแผนอย่างดี ผลัดกันรุก ผลัดกันรับ ทั้งอาจารย์แพทย์อาวุโส คนมีเชื่อเสียง กลุ่มผู้ป่วยที่อ้างว่าจะได้รับผลกระทบ ออกมาถล่ม กสธ โดยอ้างเอาประชาชนมาเป็นตัวประกัน. ไล่ถล่มและเผาบ้าน คือกระทรวงสาธารณสุข อันเป็นที่รักของพวกเราชาวสาธารณสุข. ขอเชิญพวกเราชาวสาธารณสุข ลุกขึ้นมาปกป้องบ้านของพวกเราเถอะครับ อย่าปล่อยให้มดมอด ชอนไช อยู่อีกเลยครับ พี่น้อง
สิ่งที่อยากเสนอให้ สปสช กับ กสธ ถึงอย่างไรก็ต้องทำงานร่วมกัน ควรวางแนวทาง ดังนี้

1. ก้าวข้าม ชมรมแพทย์ชนบท. และตระกูล ส ออกมา ทำงานให้กับประชาชน สร้างเสริมขวัญกำลังใจบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งงานหนักอยู่แล้ว ลดภาวะสมองไหล เชื่อมการทำงานแบบเครือข่ายสุขภาพ เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข

2.รายรับ/จ่าย ของ สปสช. เกี่ยวกับการโอนงบให้ สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ควรส่งข้อมูลให้ กสธ เพื่อใช้ในการกำกับงบ uc. ของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัด เพื่อการวางแผน ระบบบัญชีการเงินการคลัง ของสถานบริการทุกระดับ จะได้ไม่เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะยาว

3.ตั้งคณะกรรมการร่วม ลงมาช่วยสถานบริการที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน 300 กว่าโรง โดยอาจหางบค้างท่อที่มีอยู่ นำมาเยียวยา ไปพรางก่อน และวางแผนทางเงินระยะยาว ให้กับโรงพยาบาล เหล่านั้น

4. พูดกันตรงๆ อย่าผ่านสื่อมวลชน และควรเคารพในสายการบังคับบัญชา ของราชการ คือประสานงานผ่านหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง เท่านั้น ในเรื่องนโยบาย การประชุม หรือมากสุด ระดับเขตบริการสุขภาพ เพื่อความเป็น unity. ของระบบ

ขอขอบคุณที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้. ครับ จากแพทย์โรงพยาบาลชุมชน

captanls

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
อ่านเเล้วได้ประโยชน์มากเลยอ่าครับ

Llorentelibas

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ดีมากเลยครับ สามารถนำไปใช้ประดยชน์ได้จริงครับ