ผู้เขียน หัวข้อ: คสช.ผ่านร่างสิทธิการปฏิเสธรับการรักษา รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา  (อ่าน 3026 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
  คสช.เห็นชอบ ร่างไม่ประสงค์รับการรักษา เพื่อยืดการตาย เหตุยุติการทรมาน โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ด้านมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ รับมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน เพื่อเสนอ ครม.เหตุก่อให้เกิดมะเร็งปอด พร้อมลดภาษีนำเข้าสารทดแทน
       
       วันนี้ (25 ก.พ.) เวลา 09.30 น.ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก รัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 1/2554 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
       
       ที่ประชุม คสช.เห็นชอบร่างแนวทางการปฏิบัติงานของสถานบริการสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานบริการสาธารณสุข ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ ประสงค์จะรับบริการ สาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. .... มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ (พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ในมาตรา 12 ให้สิทธิแก่ประชาชนในการปฏิเสธการรักษาที่เป็นไปเพียงเพื่อ “ยืดการตาย” ในวาระสุดท้ายของชีวิตตนได้ โดยต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ) และมอบเลขาธิการ คสช.ออกประกาศกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามความในข้อ 7 ของกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับ บริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวารสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ต่อไป
       
       พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และยุทธศาสตร์ “การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการตามมติข้างต้นต่อไป โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมควบคุมแร่ใยหินที่เป็นวัตถุดิบ (ไครโซไทล์) ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อย่างเร่งด่วนภายในปี 2554 ซึ่งจะห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง รวมทั้งกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสินค้าที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหิน ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบประสานงานกับหน่วยงาน เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ “การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และให้กระทรวงมหาดไทยเป็นแกนกลางร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง ในการพัฒนามาตรการควบคุมการรื้อถอน ซ่อมแซม ต่อเติมอาคารหรือวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ และกำหนดมาตรการทิ้งขยะแร่ใยหินโดยเฉพาะในกิจการก่อสร้างและการบริการติด ตั้ง รวมถึงให้กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ และให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและประกาศรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบให้สังคมรับ รู้ และพิจารณาออกกฎ ระเบียบ หรือกฎหมาย ที่ควบคุมสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพิ่มภาษีนำเข้าแร่ใยหิน และลดภาษีนำเข้าสารทดแทนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และให้สำนักนายกรัฐมนตรีปรับเพิ่มเกณฑ์เรื่องการก่อสร้างอาคารส่วนราชการ ไม่ให้ใช้วัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ โดยให้หน่วยงานเกี่ยวข้องปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี 2554
       
       สำหรับแร่ใยหิน นั้น เป็นกลุ่มเส้นใยแร่ซิลิเกต อนุภาคสามารถฟุ้งกระจายสู่ปอด ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆที่เกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด มะเร็งเยื่อปุช่องท้อง ซึ่งในแวดวงนักวิชาการในองค์กรสากลทั่วไปยอมรับว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสาร ก่อมะเร็งในคน และมี 57 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกชนิดแล้ว เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เป็นต้น
       
       ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้ให้ความเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 จำนวน 5 เรื่อง เพื่อนำเสนอ ครม.พิจารณาและรับทราบต่อไป คือ เรื่อง “การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก” มติเรื่อง “นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ” มติเรื่อง “นโยบายการสนับสนุนพื้นที่การจัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ” และมติ “ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ” รวมทั้งมติ “การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม” เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป

ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 กุมภาพันธ์ 2554

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ใครเป็นใครใน คสช

นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ
เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

ดร.กาญจนา กาญจนสินิทธ์
ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา
ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

นายพิชัย ศรีใส
ที่ปรึกษาเลขาธิการ

นายแพทย์อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

นางปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

นางอรรพรรณ ศรีสุขวัฒนา
ผู้อำนวยการสำนักธรรมนูญสุขภาพและนโยบายสาธารณะ

นายวิสุทธิ บุญญะโสภิต
ผู้อำนวยการสำนักสมัชชาสุขภาพ

นางสาวฐิติพร คหัฎฐา
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นายอนุศักดิ์ สุภาพร
ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์แผนและประเมินผล

คณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ


ประธานกรรมการบริหาร

  นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน
  ผู้แทนจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

กรรมการบริหาร

  นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล
  ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข

  นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช
  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนโยบายและยุทธศาสตร์

  รองศาสตราจารย์อนุชาติ พวงสำลี
  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหาร

  นางสุภาวดี หาญเมธี
  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน

  นายพิชัย ศรีใส
  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

  รองศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เสนารัตน์
  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ

  นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ
  เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
  กรรมการและเลขานุการ