ผู้เขียน หัวข้อ: รพ.ศิริราช เผย 3 อันดับ คนไข้ฟ้อง “สูตินรีแพทย์”  (อ่าน 3411 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
รพ.ศิริราช เผย 3 อันดับ คนไข้ฟ้องกรณีผิดพลาดระหว่างทำคลอดของ “สูตินรีแพทย์” รกเกาะต่ำ-ตกเลือดหลังคลอด-คลอดติดไหล่ เสนอทางออกลดปัญหาหมอถูกฟ้อง ด้วยการรักษาคนไข้ ด้วยความรู้ ด้วยสติ และศาสตร์แห่งการสื่อสาร
       
       วันนี้(25 ก.พ.) รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ หนึ่ง ในคณะอนุกรรมการจริยธรรม ด้วยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานประชุมวิชาการ สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ปี 2554 คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลเรื่อง “สุดยอดสูติศาสตร์แห่งการฟ้องร้อง” ว่า จากการที่แพทย์ถูกฟ้องร้องในด้านสูติศาสตร์มากทุสุดนั้นพบว่าส่วนมากฟ้องในกรณี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เข้าทำคลอดในประเด็นรกเกาะต่ำ การตกเลือดหลังคลอด และคลอดติดไหล่หรือเด็กติดไหล่ ตามลำดับ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากแพทย์เท่านั้น แต่มีหลายๆ ปัจจัยทั้งจากพฤติกรรมของผู้ป่วย ปัญหาเรื่องสุขภาพที่มีมาก่อนตั้งครรภ์ด้วย เช่น กรณีที่เด็กคลอดติดไหล่นั้น อาจเป็นเพราะแม่มีพฤติกรรมการกินอาหารแบบตะวันตก คือ กินอาหารประเภทจังก์ฟู้ดมาก (Junk food)เกินไป ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องอ้วน ความดัน เด็กในท้องก็อาจจะมีขนาดร่างกายโตขึ้นด้วย ก็เกิดปัญหาการคลอดติดไหล่ แพทย์ต้องผ่าคลอดแทนการคลอดปกติ แต่เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นแพทย์ยิ่งจำเป็นต้องกระตุ้นความรู้และความ เข้าใจในการรักษาคนไข้ให้ดีเพราะอาชีพแพทย์นั้นเป็นที่รู้ดีกว่า คือ อาชีพที่ต้องอยูกับคนซึ่งสุขภาพไม่ปกติ โอกาสพลาดก็อาจมีบ้าง แต่หากรู้มากและแก้ปัญหาเป็น เวลามีการฟ้องร้องต่อศาลก็จะช่วยให้ปัญหาทุเลาลงได้
       
       ด้าน ผศ.นพ.กุศล รัศมีเจริญ แพทย์ ประจำหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ รพ.ศิริราช กล่าวว่า การเกิดภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) เป็นภาวะที่รกเกาะต่ำลงจากปกติที่อยู่สูงขึ้นไปในมดลูก บางครั้ง เกาะต่ำลงมาถึงปากช่องคลอด และทำให้เกิดปัญหา คือเลือดออกในช่วงที่ปากช่องคลอดขยายตัว คือช่วง 18 สัปดาห์ถึง 35 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ และถ้าเป็นมาก อาจทำให้ตกเลือด เด็กไม่สามารถคลอดตามปกติ ต้องผ่า เพราะมีรกขวางอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเลือดมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหานี้แพทย์ที่รับฝากครรภ์ต้องพยายามนัดผู้ป่วยมาอัล ตร้าซาวน์ต่อเนื่องเพื่อดูตำแหน่งของรกโดยในอายุครรภ์ 18-19 สัปดาห์นั้น หากพบความผิดปกติของตำแหน่งรก โอกาสเกิดภาวะรกเกาะต่ำนั้นเป็นไปได้ราว 12 % แต่ถ้าตรวจพบในอายุครรภ์ 32-35 สัปดาห์ ก็วินิจฉัยได้เลยว่า 73-90 % หากพบแล้วแพทย์ต้องรีบชี้แจงต่อผู้ป่วยและญาติว่าควรผ่าตัดคลอดและรักษาตัว โดยให้เลือดอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ต้องทำให้ได้อย่างช้าภายใน 3-4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยขาดเลือดอย่างรุนแรง เนื่องจากหากสมองของผู้ป่วยมีเลือดเลี้ยงไม่พอ ก็ทำให้สมองไม่ทำงานและถึงขั้นเสียชีวิต
       
       อ.นพ.ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ อาจารย์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า สำหรับปัญหาเด็กคลอดติดไหล่นั้น กรณีนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินและเป็นกรณีพิเศษที่แพทย์ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้า ได้และหากแก้ไม่ได้อันตรายจะเกิดกับเด็ก คือ อาจพิการได้ การ ป้องกันความผิดพลาดระหว่างการเข้ามาฝากครรภ์และตรวจรักษาแพทย์ควรซัก ประวัติการบริโภคอาหารด้วย พร้อมทั้งถามโรคส่วนตัวของแม่เช่นกัน เนื่องจากเด็กที่คลอดติดไหล่มักจะมีน้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 4 กก. ด้วยเหตุนี้เวลาทำคลอดจึงต้องมีพยาบาล แพทย์เตรียมในห้องคลอดราว 4-5 คน เผื่อภาวะฉุกเฉินพบเด็กติดไหล่จะได้ช่วยกันแก้ปัญหา กรณีนี้แพทย์จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการขยายช่องคลอด ผ่าตัดและการเปลี่ยนท่าคลอดให้ผู้ป่วย และบางครั้งใช้สลิงเกี่ยวไหล่เด็กที่ติดแล้วดึงออกมาอย่างระมัดระวัง โดยหากพบเด็กคลอดออกมาเพียงศีรษะแล้วไม่สามารถทำคลอดต่อได้ ก็แสดงว่าเด็กมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวและติดไหล่ แพทย์ต้องเร่งทำคลอดให้ทารกออกมาทั้งตัวภายใน 5 นาที เท่านั้น ซึ่ง มีความเสี่ยงมากสำหรับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน เพราะมีแพทย์อยู่จำนวนน้อย ดังนั้นการดูแลสุขภาพของมารดาเองเป็นเรื่องสำคัญแพทย์ควรสื่อสารให้ผู้ป่วย เข้าใจด้วย โดยเฉพาะในรายที่มีครรภ์แรก

ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 กุมภาพันธ์ 2554