ผู้เขียน หัวข้อ: “หุ่นจำลองฝึกใส่สายยางอาหารผู้ป่วย” ผลงานเด่นจาก ว.พยาบาลบรมราชชนนี  (อ่าน 3644 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราช ชนนี นพรัตน์วชิระ สร้างนวัตกรรมอำนวยความสะดวกการเรียนพยาบาล นำเสนอ “หุ่นจำลองยางพาราฝึกการใส่สายยางให้อาหารในผู้ป่วย” คว้ารางวัลวิจัยระดับดี ประจำปี 53
       
       ดร. กานดา ตัณฑพันธ์ และทีมงาน ซึ่งประกอบด้วย ดร. วนิดา วิสุทธิพานิช และ อาจารย์ทิวาวัน คำบันลือ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้าง นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยพัฒนาหุ่นยางพาราเสมือนจริงพร้อมคู่มือ เพื่อให้นักเรียนพยาบาลได้ใช้ในการเรียนและการฝึกปฏิบัติการใส่สายยางให้ อาหารผ่านทางจมูก ซึ่งเป็นหนึ่งทักษะการพยาบาลสำคัญที่นิสิตต้องฝึกปฏิบัติในห้องทดลองก่อนที่ จะไปให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยจริง โดยมีที่ปรึกษางานวิจัยคือ ดร.ละเอียด แจ่มจันทร์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ และ ศ.น.สพ.ดร. อภินันท์ สุประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหุ่นจำลองยางพารา
       
       ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลระดับดี สาขาศึกษาศาสตร์ การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 48 ประจำปี 2553 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับการประกาศเกียรติคุณในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 49 ประจำปี 2554 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย ศ.ดร. กำพล อดุลวิทย์ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้มอบรางวัล ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี

การสร้างหุ่นจำลอง (model) จากยางพาราให้เป็นหุ่นใส่สายยางให้อาหารโดยผ่านทางจมูกชิ้นนี้จัดเป็นสื่อ การเรียนการสอนประเภทวัสดุ 3 มิติ ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนก็สามารถเข้าใจได้ง่าย เนื่องจากได้เห็นภาพและกลไกในการทำงานอย่างชัดเจน โดยการสร้างหุ่นยางพาราแสดงแบบจำลองของมนุษย์ครึ่งตัวครึ่งหน้าและแสดงโพรง จมูก ช่องปาก คอหอย กล่องเสียงและส่วนของทางเดินอาหาร เปิดหน้าท้องให้เห็นกระเพาะอาหารสำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ โดยลักษณะของหุ่น ส่วนศีรษะ จะปิดส่วนกั้นระหว่างช่องจมูก 2 ข้าง (Nasal septum) เพื่อให้คล้ายกับจมูกของคนปกติ และให้ใส่สายยางผ่านเข้าสู่หลอดอาหารได้เช่นเดียวกับการใส่ในผู้ป่วยจริง บริเวณหน้าท้องของหุ่น (Anterior abdominal wall) ถอดออกได้เพื่อให้เห็นการทำงานข้างใน และทำช่องว่างในกระเพาะอาหารเพื่อใส่สารน้ำแทนน้ำในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้สายยางที่สอดผ่านเข้าสู่หลอดอาหารลงไปในกระเพาะเพื่อดูดน้ำย่อย ในกระเพาะได้เหมือนจริง นอกจากนี้ที่ส่วนบนของกระเพาะอาหารยังใส่กล่องเสียงเพื่อเตือนเมื่อสอดสาย ยางผิดและเสียงชมเมื่อสอดสายยางถูก ผนังหน้าท้อง จะใส่ลมเข้ากระเพาะอาหารเพื่อฝึกการเรียนการใช้หูฟังมาสัมผัสแล้วได้ยิน เสียงลมในกระเพาะอาหาร ซึ่งสัญญาณเสียงเตือนแต่ละจุดจะออกมาตามที่บันทึกไว้โดยติดตั้งตัวรับสัญญาณ เสียงไว้ในแต่ละจุด ทุกจุดจะมีสายไฟเชื่อมต่อไปที่ด้านหลังของหุ่นและไปเชื่อมต่อไว้กับตัวส่ง กระแสไฟฟ้า
       
       หุ่นจำลองการเรียนการสอนนี้ได้นำไปทดสอบการใช้งานจริงจากทั้งอาจารย์และนิสิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ พบ ว่าได้รับความพอใจในระดับมากไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างของหุ่น ซึ่งแสดงกายวิภาคของระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจอย่างชัดเจน รูปร่างลักษณะของหุ่นเสมือนผู้ป่วยจริงและการทดลองกับหุ่นทำให้เข้าใจขั้น ตอนและวิธีการใส่สายยางเพื่อให้อาหารกับผู้ป่วย นิสิตเกิดทักษะในการใส่สายยาง ด้านคู่มือการใช้มีเนื้อหาครอบคลุมกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับการใส่สายยางและเอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตน เอง นิสิตสามารถเตรียมเครื่องใช้สำหรับใส่สายยางเพื่อให้อาหารได้ถูกต้อง ทั้งยังสามารถอธิบายวีธีการให้อาหารทางสายยางและเข้าใจภาวะ แทรกซ้อนที่เกิดจากการให้อาหารทางสายยางได้อย่างชัดเจน

       ผลการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาหุ่นใส่สายยางให้อาหารโดยผ่านทางจมูก พร้อมคู่มือดังกล่าว จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้ทดลองฝึกปฏิบัติซ้ำ ๆ กันหลายครั้งเพื่อให้เกิดทักษะปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ช่วยลดปัญหาการปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง นอกจากนี้เป็นการต่อยอดงานวิจัยให้กับการสร้างหุ่นจำลองยาพาราในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าหุ่นจำลองจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงกว่า วัสดุจากยางพารา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดหาสื่อการสอนอย่างยิ่ง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 มีนาคม 2554