ผู้เขียน หัวข้อ: กสร.เร่งตรวจสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานประกอบการ  (อ่าน 1996 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
กสร. กำชับ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ ตรวจสถานประกอบการอย่างเข้มข้น เน้นตรวจใบประกอบวิชาชีพพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง
       
        วันนี้ (8 ก.ย.) นายพานิช จิตต์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่าสถานประกอบการขนาดใหญ่ ทีมีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ในจังหวัดสมุทรปราการ ใช้บริการพยาบาลที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ในการดูแลคนงานว่า ในวันนี้ได้มีการเรียกสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ รับทราบนโยบายและทิศทางการทำงาน ที่ จังหวัดเลย โดยกำชับให้มีการเน้นตรวจสถานประกอบการขนาดใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องใบประกอบวิชาชีพของพยาบาลที่ไปประจำในสถานประกอบการ เพื่อให้แรงงานได้รับการดูแลจากผู้ที่มีความรู้ พร้อมทั้งออกหนังสือเวียนในเรื่องนี้ด้วย ทั้งนี้ยังได้เน้นให้ทุกจังหวัดป้องกันและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ให้เข้มข้นขึ้น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยการสำรวจความต้องการในพื้นที่ว่าผู้ประกอบการต้องการแรงงานลักษณะใดบ้าง เพื่อนำมาวางมาตรการดูแล
       
        อธิบดี กสร. กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบสถานประกอบการในจ.สมุทรปราการพบว่า มีหลายแห่งที่ต้องจัดให้มีสถานพยาบาลและจัดให้มีพยาบาลประจำ เพราะมีลูกจ้างทำงาน 200 คนขึ้นไป จำนวน 457 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 366,035 คน จากสถานประกอบการทั้งหมด 10,860 แห่ง ลูกจ้างรวม 682,392 คน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 กันยายน 2557

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
กสร. เตรียมออกหนังสือเตือน บริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิร์ค จ.สมุทรปราการ หลังตรวจพบจ้างบุคคลไม่ใช่พยาบาลมาประจำสถานประกอบการ พร้อมสั่งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทั่วประเทศตรวจเข้มไม่ให้เกิดซ้ำ
       
       วันนี้ (5 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีที่ตรวจพบว่า บริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิร์ค จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ นำบุคคลที่ไม่ใช่พยาบาลมาประจำการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่า จากการตรวจสอบพบว่าสถานประกอบการดังกล่าวมีการจ้างบริษัทเอาต์ซอร์ส คือ บริษัท ปราการพยาบาล ให้จัดเจ้าหน้าที่พยาบาลมาประจำที่สถานประกอบกิจการ แต่บุคคลที่มาประจำนั้นไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล ดังนั้น กสร. จะออกหนังสือตักเตือนสถานประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายและเข้มงวดในการตรวจสอบพยาบาลที่มาประจำว่าเป็นผู้มีใบประกอบวิชาชีพจริงหรือไม่ ทั้งนี้ สาเหตุที่ยังไม่ลงโทษตามกฎหมายเนื่องจากสถานประกอบการดังกล่าวมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามกฎหมายแต่ด้วยความประมาท และไม่ได้มีการตรวจสอบจึงเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งในวันที่ 8 กันยายนนี้ ตนจะทำหนังสือเวียนไปยังสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศให้มีการตรวจสอบพยาบาลประจำสถานประกอบการอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีก
       
       นายพานิช กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่มีลูกจ้างจำนวน 200 คนขึ้นไป ซึ่งตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 ที่ออกตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ระบุว่า ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลระดับเทคนิคขึ้นไป ประจำที่สถานประกอบการอย่างน้อย 1 คน ในช่วงเวลาที่มีลูกจ้างทำงานพร้อมกัน 200 คนขึ้นไป จำนวน 6,365 แห่ง ทั่วประเทศ หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดฐานไม่จัดให้มีสวัสดิการตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กันยายน 2557