หมวดหมู่ทั่วไป > ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์

ตั้งทีมสอบรพ.เบิกจ่ายยาขรก.เกินจริง

(1/1)

story:
กรมบัญชีกลาง ตั้งทีมแพทย์สอบโรงพยาบาลรัฐสั่งจ่ายยานอกบัญชียาหลักให้ข้าราชการโดยไม่ได้ รับอนุญาต จนเป็นเหตุให้ต้องจ่ายงบประมาณเพิ่ม

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้ว่าจ้างทีมแพทย์ไปดำเนินการสุ่มตรวจเวชระเบียนของโรงพยาบาล รัฐว่า มีแห่งใดที่สั่งจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติโดยไม่ได้รับการอนุมัติบ้าง ซึ่งพบว่า มีบางโรงพยาบาลที่กระทำการเช่นนั้น โดยกรมบัญชีกลางก็ได้ดำเนินการเรียกเงินดังกล่าวคืนจากโรงพยาบาล แต่เป็นจำนวนเงินไม่มากนักหรือประมาณ 50 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม โดยหลักของการสั่งจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อทำการรักษาแก่ข้าราชการ และบุคคลในครอบครัวโดยแพทย์ของโรงพยาบาลนั้น สามารถกระทำได้ แต่ต้องมีกรรมการแพทย์ประมาณ 2-3 คนที่ลงความเห็นให้สั่งจ่ายได้ หากกรมบัญชีกลางตรวจพบว่า ไม่มีการลงความเห็นตามข้อกำหนด ก็จะสั่งเรียกเงินคืนจากโรงพยาบาล โดยจะใช้วิธีไม่จ่ายเงินที่จะเบิกในงวดต่อไป

"เราตั้งทีมตรวจสอบเรื่อง นี้มานานแล้ว เพราะตรวจพบว่า มีการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณส่วนนี้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการยาแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดว่ายาประเภทใดเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ"นายรังสรรค์ กล่าว

นายรังสรรค์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา มีการร้องเรียนว่า ราคายาที่จ่ายโดยโรงพยาบาลนั้น มีราคาที่แพงเกินกว่าราคายาที่ซื้อจากภายนอกมาก เรื่องดังกล่าว ทางกรมบัญชีกลางจะทำการศึกษาเพื่อกำหนดราคายาที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้เป็นราคาอ้างอิงแก่โรงพยาบาลในการคิดราคาค่ายา ซึ่งเรื่องดังกล่าว อาจต้องใช้เวลา เพราะมีประเภทของยาเป็นจำนวนมาก

สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัวในปีงบ ประมาณ 2553 อยู่ที่ 63,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 20,000 ล้านบาทจากปี 2552 ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่ายาที่เกิดเบิกจ่ายจากยานนอกบัญชียาหลักถึง 8 พันล้านบาท ทำให้กรมบัญชีกลางต้องเข้าไปพิจารณาควบคุมการเบิกจ่ายยาส่วนนี้ และ รณรงค์ให้ข้าราชการและบุคคลในครอบครัวตระหนักถึงประสิทธิภาพของยาในบัญชียา หลักที่ใช้ทดแทนกันได้ เพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ

ทั้งนี้ หลังจากกรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิก จ่ายยาแล้ว ทำให้ยอดเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 ลดลงประมาณ 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โพสต์ทูเดย์
23 กุมภาพันธ์ 2554

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version