หมวดหมู่ทั่วไป > ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์

ไทยสำเร็จตัดต่อพันธุกรรมไวรัส ทำวัคซีนไข้เลือดออกเป็นประเทศแรก

(1/1)

story:
นักวิจัยไทยเจ๋ง สำเร็จตัดต่อพันธุกรรมไวรัสเดงกี่ ผลิตวัคซีนรักษาไข้เลือดออก สำเร็จเป็นประเทศแรก คาดต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 10 ปี ...

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานแถลงข่าวความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก ชนิดเชื้อเป็นอ่อน ฤทธิ์แบบพันธุวิศวกรรม ว่า การพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันไข้เลือดออกไวรัสเดงกี่ ซึ่งเป็นต้นแบบวัคซีนลูกผสมเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ถือเป็นความสำเร็จของทีมนักวิจัย ประกอบด้วย ดร.พูลสุข กีแปง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.นพ.นพพร สิทธิสมบัติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และรศ.นพ.สุธี ยกส้าน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ร่วมกันสร้างและทดสอบวัคซีนเดงกี่ตัวเลือกชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ลูกผสม ได้ครบทั้ง 4 ซีโรทัยป์ หรือ 4 สายพันธุ์ โดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมมาใช้ตัดต่อยีน เพื่อสร้างไวรัสพันธุ์ผสมขึ้นมา ให้เชื้อไวรัสเดิมที่มีฤทธิ์รุนแรงเกิดการกลายพันธุ์และอ่อนฤทธิ์ลง เพื่อให้ได้วัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัสเดงกี่ทั้ง 4 ซีโรทัยป์ที่มีฤทธิ์รุนแรงได้ภายในเข็มเดียว รวมทั้งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของผู้ป่วยด้วย

ทั้งนี้ ความสำเร็จของทีมนักวิจัยในการพัฒนาวัคซีนในห้องทดลองถือว่ามีประสบความ สำเร็จ ซึ่งขั้นตอนจากนี้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แลพเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งให้การสนับสนุนทีมนักวิจัย ได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนของคนไทยที่ทำงานด้านวิจัยและพัฒนาด้านวัคซีนนำไป ต่อยอดและพัฒนา เพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป คาดว่าวัคซีนดังกล่าวจะสามารถพัฒนาได้สำเร็จภายใน 10 ปี

“ความ สำเร็จครั้งนี้ถือเป็นเบื้องต้น ต้องไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งยังไม่มีประเทศใดสามารถพัฒนาวัคซีนสำหรับรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ สำเร็จ ดังนั้นการต่อยอดครั้งนี้ จึงถือเป็นการท้าทาย และถ้าสำเร็จวัคซีนดังกล่าวถือเป็นไทยวัคซีน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความปลอดภัย เพราะวัคซีนใช้ฉีดเข้าร่างกายต่างจากยา ซึ่งเมื่อแพ้ยาก็แค่อาเจียนหรือป่วย แต่วัคซีนหมายถึงชีวิต” นายวีระชัยกล่าวและว่า สำหรับลิขสิทธิ์ในการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์แบบพันธุ วิศวกรรม หรือการตัดต่อยีนเป็นของ สวทช.

ด้าน  ศ.นพ.นพพร กล่าวว่า การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนได้ทำในสัตว์ทดลอง เช่น หนูและลิงได้ผลน่าพอใจ สัตว์ทดลองไม่เป็นโรคและยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วย ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย จะติดเชื้อเพียงร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด หรือในประชากร 600,000 คน และประมาณ 200,000 คนหรือ 1 ใน 5 จะมีอาการไข้ แต่ตลอดเวลา 30 ปีที่มีการแพร่เชื้อไข้เลือดออก พบว่าเชื้อไข้เลือดออกไม่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เลย โดยมีเชื้อรุนแรงที่ก่อให้เกิดอาการของโรค 4 สายพันธุ์ ทีมวิจัยได้พยายามหาวิธีในการผลิตวัควีนจนกระทั่งพบว่า การใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม หรือการตัดต่อยีนไข้เลือดออกเดงกี่ เพื่อให้อ่อนฤทธิ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดและประสบความสำเร็จที่สุด โดยเชื้อที่ตัดต่อยาก คือ เชื้อชนิดที่ 3 ทั้งนี้การพัฒนาเพื่อผลิตวัคซีนที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน 4 ชนิดภายใน 1 เข็ม เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน

ขณะที่ ศ.ดร.มรกต รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า โรคไข้เลือดออก มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ชนิด 1-4 ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทั้งนี้โรคดังกล่าวได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นในทวีปเอเชียและประเทศอื่นๆแถบอเมริกาเหนือและ ใต้ โดยมีจำนวนผู้ป่วยกว่า 10 ล้านรายต่อปีทั่วโลก และกว่า 500,000 รายในเด็กที่ป่วยหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล สำหรับประเทศไทย ในปี 2553 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 115,845 ราย เสียชีวิต 141 ราย เฉพาะเดือน ม.ค. 2554 มีผู้ป่วยแล้ว จำนวน 1,119 ราย.

thairath.co.th
21 กพ 2554

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version