ผู้เขียน หัวข้อ: "หมอสรรธวัช" จวกยับเครือข่ายผู้ป่วย ปล่อยข้อมูลมั่ว !  (อ่าน 1495 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
 “หมอสรรธวัช”แจงกรณีเครือ ข่ายผู้เสียหายฯ แพร่ข้อมูลคนตายจากความผิดพลาดของแพทย์ เป็นเท็จ ถือว่าละเมิดสิทธิของตน ชี้ข้อมูลการศึกษายังไม่สิ้นสุดไม่ควรเผยแพร่ วอนหยุดเผยแพร่
       
       จากกรณีที่สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศุนย์โรงพยาบาลทั่วไป(สพศท.) ได้ประณามการกรทำของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ที่นำข้อมูลตัวเลขของผู้ เสียชีวิตโดยระบุว่า มีสาเหตุจากความผิดพลาดของแพทย์ โดยอ้างอิงชื่อ นพ.สรรธวัช อัศวเรืองชัย กระทั่งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีการสั่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น
       
       ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ คณะอนุกรรมการบริหารแพทยสภา นำโดย ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุศลานันท์ นายก แพทยสภา ได้เชิญ นพ.สรรธวัช ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพงานด้านความ ปลอดภัยและนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
       
       โดย นพ.สรรธวัช กล่าวว่า ข้อมูลที่เครือข่ายได้นำเสนอนั้นเป็นเท็จ โดยตนเองไม่เคยเห็นโปสเตอร์ชุดนี้มาก่อนและไม่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายแต่ อย่างใด นอกจากนี้ยังไม่มีการติดต่อขออนุญาตจากตนในการนำมาเผยแพร่ แม้ว่าตนจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและนำเสนอในการประชุมของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขอองค์การอนามัยโลก( WHO )ใน ปี 2549 แต่เป็นการเล่าข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟัง ว่ามีอัตราการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจริงสามารถลดลงได้ ด้วยการพัฒนาคุณภาพของสถานบริการ (HA) โดยวัตถุประสงค์จริงๆ เลย การที่ตนได้ศึกษากรณีดังกล่าวก็เพื่อที่จะนำเสนอให้เห็นว่า โรงพยาบาลควรมีการพัฒนาศักยภาพมากขึ้น ซึ่งภายหลังจากการศึกษา พบว่าโรงพยาบาลมีการพัฒนามากขึ้น ทั้งนี้สำหรับข้อมูลที่ได้รวบรวมนั้นเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นมีขีดจำกัด หลายประการในการทำวิจัยซึ่งเป็นการสุ่มตัวอย่างย้อนหลังจากเวชระเบียนคนไข้ ในเพียง 2,000 ชุด จากโรงพยาบาลเพียง 2 แห่ง โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 2,000 ราย แยกเป็น รพ.ละประมาณ 1,000 ราย ซึ่งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก็เทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ แต่จะนำไปใช้เปรียบเทียบทั้งประเทศไม่ได้
       
       “ การที่มีผู้นำงานวิจัยไปแปลผลโดยมีตัวเลขที่คลาดเคลื่อนอย่างมากเข้าข่าย เป็นเท็จโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง ไม่สัมพันธ์กับการวิจัย และเป็นการละเมิดสิทธิ์ของตนด้วย อีกทั้งงานวิจัยดังกล่าวเป็นการเก็บข้อมูลเพียงระยะเริ่มต้น ซึ่งต้องการการศึกษาเพิ่มเติมก่อนจะมีการทำการวิเคราะห์ข้อมูลและตีพิมพ์ต่อ ไป จึงไม่สามารถสรุปและนำมาอ้างอิงได้โดยตรง การนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด ทำให้สังคมตื่นตระหนกนั้นย่อมไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด หากแต่จะทำให้เกิดความแตกแยกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในเบื้องต้นคงไม่ถึงขั้นฟ้องร้องอะไร แต่อาจจะแจ้งข้อมูลในลักษณะของการเตือนผู้เผยแพร่เท่านั้นอย่างไรก็ตาม อยากขอวอนให้ผู้ใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องยุติการเผยแพร่ข้อมูลก่อนที่จะเกิด ความเข้าใจผิดในสังคม” นพ.สรรธวัช กล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วในการศึกษานั้นกำหนดคำนิยามของคำว่า เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไว้อย่างไร นพ.สรรธวัช กล่าวว่า เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลลัพธ์ถึงสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแพทย์ การรักษาพยาบาลและไม่ได้หมายความว่า สาเหตุเกิดจากแพทย์แต่เพียงผู้เดียว เพราะเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อาจเกิดจากผู้ป่วยเองก็ว่าได้ เช่น กรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยาบางอย่าง แต่ไม่บอกข้อมูลกับแพทย์ เมื่อแพทย์ให้ยาตัวที่แพ้ไปก็อาจเป็นอันตรายได้ เป็นต้น
       
       ต่อข้อถามว่า แล้วโดย ส่วนตัวนั้นคิดเห็นอย่างไรกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ...นพ.สรรธวัช กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรที่จะเรียกเก็บเงินจากแพทย์หรือโรงพยาบาล ในกรณีผิดพลาด เพราะไม่ได้มีสาเหตุจากแพทย์หรือโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ผู้ป่วยเองก็มีส่วนด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 กุมภาพันธ์ 2554