ผู้เขียน หัวข้อ: อัมมาร สยามวาลา" กับแผนปฏิรูประบบรักษาพยาบาล สัมภาษณ์ พิเศษ-มติชน  (อ่าน 3943 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
อัมมาร สยามวาลา" กับแผนปฏิรูประบบรักษาพยาบาล

สัมภาษณ์ พิเศษ

*หมายเหตุ - "มติชน" ได้นำเสนอปัญหาเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ที่มีการร้องเรียนว่ามีการรอนสิทธิ ขณะที่รัฐบาลเริ่มวิตกกับปัญหารายจ่ายในส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปงบประมาณค่ารักษาพยาบาลสวัสดิการ และโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมีนายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นประธาน พร้อมเปิดโอกาสให้ "มติชน" ได้สัมภาษณ์พิเศษ มีสาระสำคัญดังนี้

สถานการณ์ปัญหาระบบการรักษาพยาบาลของ ประเทศไทยเป็นอย่างไร

อัมมาร - ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หากเปรียบเทียบ ระบบประกันสังคมมีโครงสร้างที่ดีที่สุด เพราะมีระบบการสมทบเงินที่ชัดเจนระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ มีการควบคุมด้วยค่าใช้จ่ายที่จัดสรรให้โรงพยาบาล ขณะที่ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล เป็นระบบที่มีลักษณะของปลายเปิด คือ คุณสามารถเบิกได้ไม่มีขีดจำกัด ถ้าคุณมีใบเสร็จ และนอกจากไม่มีข้อจำกัดในแง่ของตัวบุคคลแล้ว ยังไม่มีข้อจำกัดสำหรับวงเงินงบประมาณรวมด้วย เท่ากับว่าระบบนี้ไม่มีข้อจำกัดทั้งในระดับจุลภาค และมหภาค เป็นระบบค่อนข้างฟุ่มเฟือย ส่วนประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างขาดแคลน

ที่ผ่านมาเมื่อวง เงินงบประมาณยังไม่มากคนก็ยังไม่เห็นปัญหา แต่พอรายจ่ายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่เร่งตัวมากขึ้น โดยจะอยู่ในระดับเลข 2 หลักตลอด จึงได้เริ่มมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐโดยนำระบบไอทีเข้ามาจับเพื่อดูว่าใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการกันบ้าง

ตรง นี้จึงเป็นที่มาของการร้องเรียนว่ามีการรอนสิทธิ

อัมมาร - เรื่องนี้กฎหมายเขียนไว้ชัดเราไม่อาจปฏิเสธได้ กฎหมายเขียนไว้ว่า ถ้าใครมีสิทธิอื่นก่อนต้องไปใช้สิทธินั้น แต่ก็ไม่อยากให้กอดกฎหมายมาพูดกัน พราะต้องนึกถึงหัวอกข้าราชการบำนาญที่เสียสละทำงานเงินเดือนน้อยมาตลอด ชีวิต ก็เพราะหวังว่ารัฐจะเลี้ยงดูในยามป่วยไข้เมื่อชรา

แต่ตัวเลขที่น่า ตกใจ คือ งบประมาณรายจ่ายเพื่อค่ารักษาพยาบาลนั้นมีประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี แต่มีงบประมาณสำหรับตรวจสอบ เพียง 35 ล้านบาทต่อปี น้อยมากๆ ความจริงระบบการตรวจสอบการใช้เงินควรจะดีกว่านี้ และหากมองในแง่เศรษฐศาสตร์ ตลกมากที่ข้าราชการและครอบครัวที่มีสิทธิใช้สวัสดิการรักษาพยาบาล มีเพียง 4 ล้านคน แต่ใช้เงินงบประมาณการรักษาพยาบาล 40,000 ล้านบาทต่อปี ขณะคนที่อยู่ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มีจำนวน 48 ล้านคน ใช้เงินงบประมาณการรักษาพยาบาลเพียง 80,000 ล้านบาทต่อปี ตัวเลขค่ารักษาพยาบาลต่อหัวมันต่างกันมาก

มองว่ามีการรั่วไหล เพราะทุจริตหรือไม่

อัมมาร - ถามว่าทุจริตไหม ผมไม่สามารถตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นเงินที่หมุนเวียนอยู่นั้น เป็นเงินที่ออกจากรัฐบาล เข้าสู่โรงพยาบาลรัฐ และไม่ได้นำไปถ่ายเทไปที่ไหน ยังวนเวียนอยู่ในโรงพยาบาลเหล่านั้น แต่ถ้าถามว่ามีการโอนเงินจากส่วนหนึ่งไปอุดหนุน หรือชดเชยอีกส่วนหนึ่งหรือไม่นั้น อาจจะเป็นไปได้ เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่มีงบประมาณต่ำจึงทำให้การจ่ายเงินในโครงการสวัสดิการข้าราชการมีการจ่ายเกินจำเป็นไปบ้าง

ถ้า เราจะปฏิรูประบบรักษาพยาบาล ต้องการเรื่องความโปร่งใส โดยแบ่งเป็นกรณีของผู้ป่วยใน ต้องจ่ายเงินตามที่จำเป็นจริงๆ คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 30 บาทรักษาทุกโรคและผู้ที่มีสวัสดิการจะต้องไม่มีงบประมาณต่อหัวที่แตกต่างกันมากขนาดนี้ ถ้าเราจะปฏิรูปเราต้องทำทั้ง 2 ด้าน

ด้านการปฏิรูปในส่วนค่ารักษา พยาบาลสวัสดิการให้แก่ข้าราชการและครอบครัว ก็ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้สามารถควบคุมต้นทุน และงบประมาณได้ โดยไม่เป็นการรอนสิทธิข้าราชการ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างต้องมีใบเสร็จ เพราะทุกวันนี้ก็มีใบเสร็จอยู่แล้ว แต่ราคาที่อยู่ในใบเสร็จมันสมเหตุสมผลหรือไม่ ตรงนี้กระบวนการตรวจสอบเรื่องกิจกรรมการรักษาพยาบาลยังน้อยเกินไป การควบคุมค่าใช้จ่ายควรจะดูว่ารายจ่ายที่กำหนดขึ้นมานั้นถูกต้องไหม เหมาะสมไหม ทุกวันนี้มันเริ่มมีการนำระบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามโรค ทำให้คุมค่าใช้จายต่อหัวได้

ส่วนผู้ป่วยนอกยอมรับว่าคุมได้ยากกว่าและการปรับปรุงอาจจะกระทบความรู้สึกของข้าราชการ และ ครอบครัวมากกว่า เพราะค่าใช้จ่ายประมาณ 70% ของผู้ป่วยนอกนั้นจะอยู่ที่ค่ายา ดังนั้น หากไปปรับปรงุเปลี่ยนแปลงอะไรกับบัญชียาผู้ป่วยจะรู้ทันที อย่างไรก็ตามเท่าที่มีการศึกษาข้อมูลเราพบว่ามีการจ่ายยาที่แพงเกินความจำเป็นอยู่บ้าง ทั้งที่บางครั้งสามารถใช้ยาที่ถูกลงมาได้ และมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน หรือกรณีที่มีกฎระเบียบการจ่ายยานอกบัญชียาหลักได้ก็ต่อเมื่อมีแพทย์ 3 คนเซ็นรับรอง ก็พบว่ามีการเซ็นไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว จึงไม่มีได้มีความหมายอะไร

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่ปล่อยให้เบิกกันเต็มที่ เราต้องหาวิธีทำให้คนไข้นอกใช้ยาตามความจำเป็นมากที่สุด ถึงจะคุมเรื่องค่าใช้จ่ายได้

ส่วนเรื่องของ 30 บาทรักษาทุกโรค ก็ต้องแยกบัญชีการใช้จ่ายให้ชัดเจนว่าโครงการนี้ใช้เงินเท่าไหร่ ขาดทุนเท่าไหร่ ไม่พอจ่ายเท่าไหร่ ทำให้มีรายการทางบัญชีชัดเจน แม้ว่าจะไม่มีเรื่องของเงินที่จ่ายจริงๆ ก็ตาม เพราะโครงการนี้รักษาฟรี แต่เราก็ต้องทำรายการทางบัญชีให้ดี เพื่อให้รู้มูลค่าที่แท้จริง และไม่ต้องนำเงินจากโครงการอื่นๆ เข้าไปอุดหนุน

ขอวกกลับมายังโจทย์ ที่ได้มอบมอบหมายมา คือ เรื่องงบประมาณค่ารักษาพยาบาลโดยให้หาทางที่จะควบคุมมันให้ได้ แต่ก็ต้องไม่ไปลิดรอนสิทธิของข้าราชการ เรื่องนี้ค่อนข้างอ่อนไหวมาก เพราะข้าราชการถือเป็นกลุ่มคนที่น่าเห็นใจ เขาทำงานเงินเดือนน้อย โดยเฉพาะพวกข้าราชการบำนาญ หรือคนที่สูงอายุใกล้เกษียณที่ทำงานอย่างเสียสละมาตลอดชีวิตราชการ โดยหวังพึ่งพารัฐในยามเจ็บป่วย ดังนั้น การที่เราจะคุุุมค่าใช้จ่ายต้องทำให้เขาไม่รู้สึกว่ารัฐไปเบี้ยวหนี้เขา

ส่วน โจทย์ของ 30 บาทรักษาทุกโรค ก็ต้องพยายามที่จะทำให้ทราบว่าระบบนี้ต้องการงบประมาณอย่างไร และเราต้องการผลการดำเนินงานอย่างไรจาก สปสช. และมีรูปแบบการประเมินการวัดผลอย่างไร ที่ตรวจสอบได้

เรื่องทั้งหมด นี้ทุกฝ่ายก็พยายามที่จะช่วยหาทางแก้ไขปัญหากันอยู่ ได้รับความร่วมมือทั้งกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และโรงพยาบาลของรัฐต่างๆ ที่ให้ข้อมูล เพราะทุกคนก็เห็นว่าหากปล่อยให้ระบบมันเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มันอยู่ไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้ทางออกดีที่สุด

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เราเป็นแพทย์อยู่ในรพ.รัฐ ทำงานเงินเดือนน้อย ทำงานอย่างเสียสละมาตลอดชีวิตราชการ ก็หวังพึ่งพารัฐในยามเจ็บป่วยเหมือนกัน ดังนั้น การที่รัฐจะคุุุมค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาล ก็เป็นการเอาเปรียบข้าราชการอย่างเรา

rabb

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 157
    • ดูรายละเอียด
การลิดรอนสิทธิของข้าราชการเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะ (เีดี๋ยวนี้ คนใช้สิทธิ 30 บาท ดีกว่าข้าราชการในหลายกรณี) แต่การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลก็พุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจเหมือนกัน (อีกหน่อยก็บานปลายเหมือนอเมริกาที่ประสบอยู่) ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบริหารจัดการประเด็นนี้ แต่ก็ไม่ควรมักง่าย ทำร้ายข้าราชการส่วนใหญ่ ต้องอาศัยคนฉลาดๆมาแก้ปัญหานี้ (ไม่รู้มีหรือเปล่า?คนมีอำนาจที่ฉลาดๆ)

หมอธรรมดาๆ

  • Verified User
  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 36
    • ดูรายละเอียด
 ;D มีอำนาจและฉลาดๆก็มีครับ  แต่เพิ่งถูกยึดทรัพย์ไป46000ล้านบาท....ฮา   ไม่พอหลอกครับแค่นั้นดูจะเป็นอันตรายเสียมากกว่า  คุณสมบัติที่แท้จริงต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนหรือพวกพ้องตน  และที่สำคัญต้องมีความเข้าใจรากเหง้าของปัญหาในระบบที่แท้จริงหรือมีความสามารถที่จะเข้าใจปัญหานี่อย่างแท้จริงและตรงไปตรงมาโดยไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาแอบแฝง 

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 12 มีค นี้ แพทยสภาจัดสัมมนา แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผมดูหัวข้อการสัมนาแล้วน่าสนใจดี (แต่จะเกิดมรรคผลอะไรหรือเปล่าก็ไม่รู้)

ชวนเืพื่อนๆ(คนฉลาดๆแต่ไม่มีอำนาจ)ไปร่วมการสัมมนาครั้งนี้ด้วย ไปช่วยกันบอกเล่าประสบการณ์ และเสนอความคิดเห็น
เผื่อผู้มีอำนาจ(แต่ไม่....)จะทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองจริงๆ เปลี่ยนแปลงอะไรๆให้มันดีขึ้นบ้าง

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ไม่ทราบว่า งานนี้แพทยสภาเชิญผู้ป่วยและNGO ที่ทั้งฉลาดและมีอำนาจกว่าใครๆ แต่ไม่ค่อยเข้าใจอะไร เข้าร่วมประชุมหรือเปล่า