ผู้เขียน หัวข้อ: [เครือข่ายผู้เสียหาย]แถลงการณ์กรณีคนไข้ไทยตายจากความผิดพลาดที่ป้องกันได้ 65,000  (อ่าน 1690 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
แถลงการณ์กรณ๊คนไข้ไทยตายจากความผิดพลาดที่ป้องกันได้ 65,000 คนต่อปี
โดย ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา (อุ้ย) 
ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 8:18 น.

จาก กรณีที่สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ได้ออกแถลงการณ์ประณามเครือข่ายฯ ว่ามีการนำเสนอข้อมูลที่มีเจตนาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อสนับสนุนร่างพรบง คุ้มครองฯ รวมทั้งกรณีที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงกรณีที่มีการวางข้อมูลบน Face Book ว่าสถิติสาเหตุการตายของคนไทยปี 2549 เกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ 65,000 คน เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้นำเสนอข้อมูลนั้น
 
ดิฉันขอชี้แจงในนามของเครือข่ายฯ 4 ข้อดังต่อไปนี้
 
 
ข้อที่หนึ่ง
สี่รายการดังต่อไปนี้ดิฉันเป็นผู้จัดทำขึ้น
 
เฟสบุ๊ค ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา             
http://www.facebook.com/oui.preeyanan
 
แฟนเพจ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา (อุ้ย)
http://www.facebook.com/Preeyanan.Lorsermvattana
 
เฟสบุ๊ค มั่นใจคนไทยสนับสนุนให้รัฐบาลแก้ปัญหาหมอกับคนไข้
http://www.facebook.com/AgreeWithPatientInjuryAct?ref=ts
 
บล็อก เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์         
http://www.thai-medical-error.blogspot.com/
 
 
ข้อที่สอง
แฟนเพจ ปกป้องตัวคุณเองด้วย พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ http://www.facebook.com/patientrights เป็นกลุ่มคนในสังคมที่เห็นด้วยกับการผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ จัดทำขึ้น ดิฉันและเพื่อนผู้เสียหายนำมาเผยแพร่ต่อกันไป
 
 
ข้อที่สาม
ดิฉันเป็นผู้เขียนบันทึก
“คนไข้ไทยตายแบบป้องกันได้ 6 หมื่นคนต่อปีเป็นเรื่องจริง” http://www.facebook.com/oui.preeyanan#!/note.php?note_id=149461275096213 &id=606523805
โดยใช้วิธีการอนุมาน จากข้อมูลแหล่งต่าง ๆ มาประมวล
 
 
ข้อที่สี่
ในส่วนที่สนย.ชี้แจง 3 ข้อ ดิฉันขอชี้แจงกลับดังต่อไปนี้
 
1.ข้อมูล ที่นพ.สรรธวัชได้นำเสนอ ได้จากการทบทวนระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลใหญ่ 2 โรงพยาบาลเท่านั้น และเป็นข้อมูลก่อนปี2549 ซึ่งขณะนี้กระทรวงมีการดำเนินการเรื่องระบบคุณภาพตามมาตรฐาน HA ซึ่งในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกว่าร้อยละ 50 ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการพัฒนาและประเมินคุณภาพในชั้นต่างๆ  การใช้สถิติดังกล่าวกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงไม่ถูกต้อง
 
ดิฉันขอชี้แจงว่า
 
แม้จะเป็นเพียงข้อมูลสองโรงพยาบาล ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอาไปเทียบเคียงทั่วประเทศไม่ได้เลย เพราะแม้ในการศึกษาระยะแรกของมหาวิทยาลัยฮาร์วาด ก็ไม่ได้ทำทั่วประเทศ (ตำราแพทย์ patient safety in emergency medicine LIPPINCOTT WILLIAM & WILKINS 2009 หน้า 8 ) และการรับรองเอชเอในความเป็นจริงแล้วก็ยังสามารถเกิดความผิดพลาดได้อีก แม้กระทั่งโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ชื่อดังระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อปกิ้นและฮาร์วาดก็ยังมีกรณีที่ผิดพลาดได้ รวมทั้งในความเป็นจริงที่ดิฉันพบเจอมีรพ.เอกชนชื่อดังที่ผ่านการรับรองเอชเอ และไอเอสโอแล้ว ก็ยังเกิดเหตุการณ์ซ้ำกับกรณีที่ศาลพิพากษาจำคุกแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาล สมุย ทั้งที่เป็นข่าวรับรู้กันดีในวงการแพทย์มาแล้ว (มีหลักฐานเป็นคำพิพากษา และสำเนาเวชระเบียนยืนยัน)   ในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังปีค.ศ.1999 ที่สถาบันไอโอเอ็มรายงานสถิติคนไข้ตายจากความผิดพลาดทางการแพทย์ว่าเป็นสาเห ตุการตายอันดับต้น ๆ แล้ว ต่อมาเขาก็ยังรายงานก็ว่าความผิดพลาดก็ยังมีเหมือนเดิมhttp://www.consumersunion.org/pub/2009/05/011324print.html 
 
 
2.การนำตัวเลขมาคำนวนโดยใช้ตัวเลขผู้ป่วยใน 13 ล้านคน นั้น เป็นการเข้าใจผิดในข้อมูล เนื่องจากตัวเลข 13 ล้านครั้ง เป็นจำนวนรายโรคของผู้ป่วย ไม่ใช่ราย/ครั้งที่มารับบริการที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มารักษาเป็นผู้ป่วยใน 1 คน อาจมีหลายโรค ตัวเลขปี 2551 มีผู้ป่วยจำนวน 6.3 ล้านราย (ครั้ง) มีจำนวนโรค 13.4 (รายโรค) การคำนวนตัวเลขจึงมีความคลาดเคลื่อนไปมาก
 
ดิฉันขอชี้แจงว่า
 
เรื่องนี้อันนี้โทษดิฉันไม่ได้เนื่องจาก ท่านไม่ได้ให้รายละเอียดแบบนี้ในข้อมูลจริง
 
 
3.นพ.สรร ธวัช ใช้ข้อความว่า Preventable คือมีแนวทางการป้องกันได้ ซึ่งอาจแตกต่างจากความผิดพลาดทางการแพทย์ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจว่า หมายถึง ความผิดพลาดจากการรักษาพยาบาลของแพทย์ได้ และรายงานนั้นก็มีข้อความต่อมาว่าด้วยเรื่องการสนับสนุนให้ทำระบบคุณภาพที่โ รงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลส่วนมากดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และผ่านการรับรองแล้วจำนวนมาก   
 
การใช้ข้อมูลสถิติจากหลายๆแหล่ง โดยมิได้สอบทานกับเจ้าของข้อมูลให้เข้าใจถ่องแท้ และนำมาอนุมานไปสู่ข้อสรุปใดๆ ควรระมัดระวัง รวมถึงภาษาที่ใช้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหา ถูกต้อง แม่นยำ และสร้างสรรค์สมานฉันท์กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 
 
ดิฉันขอชี้แจงว่า
 
คำว่า “เกิดเหตุไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้” นั้นวิญญูชนทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่าคือความผิดพลาดทางการแพทย์ อีกทั้งการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการอนุมานดังกล่าว ถึงแม้จะไม่ใช่ข้อมูลจริงที่ยืนยันความเที่ยงตรงถูกต้องได้อย่างแม่นยำก็ตาม  แต่ก็เป็นวิธีการที่นักสังคมศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตนของคนในสังคมทั้ง ในวันนี้และอนาคต ดังเช่นในวงการเศรษฐศาสตร์ที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้ข้อมูลและแนวโน้มจากอดีตมาพย ากรณ์ปัจจุบันและอนาคต หรือในวงการการพยากรณ์ดินฟ้าอากาศที่ผู้พยากรณ์คาดการณ์จากข้อมูลเดิมโดยนำข ้อมูลดังกล่าวมาใส่ในสูตรคำนวณเพื่อคาดการณ์สภาพดินฟ้าอากาศในปัจจุบันและอน าคต ดังนั้น จะเห็นว่าวิธีการอนุมานดังกล่าว เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าใจระดับความรุนแรงของปัญหา ในสถานการณ์ที่ข้อมูลจริงไม่สามารถหาได้หรือถูกปิดบังไว้ ในทางกลับกัน หากคนในสังคมปฏิเสธข้อมูลที่ได้จากการอนุมานดังกล่าว สังคมอาจสูญเสียโอกาสหรือกระทั่งประสบกับภัยอันตรายอย่างกว้างขวาง เพียงเพราะว่าไม่มีใครออกมาชี้ให้เห็นโอกาสและระดับความรุนแรงที่ปัญหานั้นส ามารถเกิดขึ้นได้
 
ส่วนปฏิกิริยาต่อต้านของสมาพันธ์แพทย์นั้น เครือข่ายฯ เห็นว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่ประการใด เนื่องจากในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีแพทย์จำนวนพอสมควรที่ต่อต้านเรื่องความผิ ดพลาดทางการแพทย์ในสหรัฐ การบาดเจ็บทางการแพทย์น้อยครั้งที่แพทย์จะยอมรับต่อคนไข้  และแทบจะไม่เคยเอ่ยถึงในวารสารแพทย์ ไม่มีการถกในที่สาธารณะอย่างเปิดเผย  และยากมากที่จะได้รับว่ามีความสำคัญจากรัฐบาล
 
ทัศนะคติแบบนี้ดูได้จากจดหมายที่ส่งไปยังบรรณาธิการข่าว ถึงการถกของแพทย์ที่ถกกันในวารสารแพทย์เกี่ยวกับการขูดมดลูกที่ผิดพลาดที่แพ ทย์ไปขูดมดลูกในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยกล่าวว่าบทความแบบนี้ไม่ควรมาลงในวารสารแพทย์นิวอิงแลนด์เจอนัลออฟเมดิซี น “ความจริงที่ว่าคนไข้จำนวนหลายพันหรืออาจจะเป็นล้าน ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างไม่จำเป็นและสูญเสียเงินทองจำนวนมหาศาลเป็นความจริงที ่หลุดรอความสนใจของผู้คน จากความเข้าใจของเราในขณะนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลก มันดูเหมือนว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ระบาดไปทั่วประเทศโดยไม่มีใครสนใจหร ือพยายามจะตรวจสอบ (ตำราแพทย์ patient safety in emergency medicine LIPPINCOTT WILLIAM & WILKINS 2009 หน้า 8 )”
 
ดังนั้นเหตุการณ์ที่สมาพันธ์แพทย์ฯ ออกมาประณามเครือข่ายฯ ตลอดจนข่มขู่จะเอาคนไข้เป็นตัวประกันนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ  แต่เป็นไปเพื่อพยายามจะปกปิดความจริง  พยายามทำลายความน่าเชื่อถือของเครือข่ายฯ เพื่อให้ส่งผลไปถึง การล้มร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการับบริการสาธารณสุข ที่รัฐบาลยืนยันจะนำร่างพรบ.ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ในเดือนกุมภาพันธ์นี้
 
ในส่วนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงนั้น เครือข่ายฯ ยินดีเข้าชี้แจงหากได้รับโอกาส
 
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา 
ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์
 
 
ข้อมูลประกอบ
จาก การที่ดิฉันเป็นคนไข้ที่ได้รับความเสียหายเอง และแปดปีที่ก่อตั้งเครือข่ายฯ ได้เห็นคนไข้ที่ตายและพิการจำนวนมาก สาเหตุมักมาจากเหตุการณ์ที่ซ้ำ ๆ กัน ทุกปีมีการพูดถึงจำนวนคนตายจากอุบัติเหตุทางการจราจร, มะเร็ง, หัวใจและอื่น ๆ แต่ไม่เคยมีใครพูดถึงเรื่องความผิดพลาดทางการแพทย์แม้แต่ครั้งเดียว  จึงทำให้ดิฉันอยากทราบว่ามีคนไข้ไทยตายหรือพิการจากความผิดพลาดทางการแพทย์ ต ่อปีมากน้อยแค่ไหน
 
ต่อมาดิฉันไปร่วมงานสัมมนาแห่งหนึ่ง มีแพทย์ซึ่งเป็นนักวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอสถิติของประเทศอเมริ กาในปี 2543 ดังนี้
 
สถิติการตายโดยป้องกันได้ของอเมริกา ปี 2543 (Deaths per Year)
Medical Errors (ผิดพลาดทางการแพทย์)  : 98,000-190,000
Motor-vehicle accidents(อุบัติเหตุทางจราจร)    : 43,458
Breast Cancer(มะเร็งเต้านม)         : 42,297
AIDS (เอดส์)             : 16,516
ข้อมูลจาก Source: To Err Is Human. 2000. Kohn LT, Corrigan J, Donaldson MS, eds,. Washington, DC: National Academy, p.1. 
 
 เนื่องจากประเทศไทยไม่มีสถิติดังกล่าว ดิฉันจึงต้องอนุมานด้วยการนำเอาสี่หารตัวเลข 98,000-190,000 คน (ประชากรของสหรัฐอเมริกามากว่าประเทศไทยสี่เท่า) จะได้ตัวเลขว่า”คนไข้ไทยตายโดยป้องกันได้ประมาน 25,000-47,500 คนต่อปี” 
 
ดิฉันเปิดประเด็นนี้ต่อสังคมมานานหลายปีผ่านสื่อและเวทีต่าง ๆ มีแพทย์หลายท่านบอกดิฉันว่า หมอที่อเมริกาหมอตรวจคนไข้ 20 นาทีต่อคน บ้านเรา 2-3 นาทีต่อคน ดังนั้นจำนวนคนไข้ที่ตายน่าจะมากกว่าที่ดิฉันอนุมานเอาไว้ จึงทำให้ดิฉัน เสาะแสวงหาข้อมูลเรื่องนี้มาโดยตลอด
 
 การที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีคนไข้ตายจากความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ ป้องกันได้ จำนวนมากนั้น WHO ได้เล็งเห็นถึงมหันตภัยของความผิดพลาดที่ป้องกันได้  ว่าก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติอย่างมหาศาล ไม่นับรวมความสูญเสียทางจิตใจที่ประเมินค่ามิได้ WHO จึงประกาศนโยบาย”โครงการความปลอดภัยของคนไข้โดยคนไข้มีส่วนร่วม(Patient For Patient Safety- PFPS) ในปี 2545 ส่งเสริมให้นำความผิดพลาดมาเปิดเผยเป็นบทเรียนให้บุคคลากรทางการแพทย์ได้เรี ยนรู้เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ และให้ความรู้กับประชาชนเพื่อป้องกันความเสียหายลดการเกิดเหตุการณซ้ำ ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมงานในปี 2550 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ร่วมกับอดีตอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายกแพทยสภา นักวิชาการ และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเมื่อกลับมาประเทศไทยดิฉันก็ได้ดำเนินการตามนโยบายของ WHO ในการช่วยพัฒนระบบป้องกันความเสียหายด้วยการพาผู้เสียหายไปบรรยายตามที่ต่าง  ๆ แม้กระทั่งในโรงเรียนแพทย์บางแห่ง โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์และสามารถช่วยให้ชีวิตคนไข้ไทยปลอดภัยมากขึ้นhttp://www.who.int/patientsafety/patients_for_patient/en/
 
ต่อมาดิฉันรับทราบข่าวว่า เมื่อวันที่15 มิถุนายน 2552 ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ได้กล่าวในที่ประชุมสมาคมแพทย์อเมริกันว่า มีคนไข้อเมริกันตายปีละกว่า 100,000 คนโดยป้องกันได้  - The New York Times http://www.nytimes.com/2009/06/15/health/policy/15obama.text.html?_r=1&a mp;ref=policy
 
ดิฉันจึงเชื่อว่าตัวเลขที่ดิฉันอนุมานเอาไว้ว่า คนไข้ไทยตายโดยป้องกันได้ 65,000 ต่อปีนั้น ไม่น่าจะเกินความจริงแต่ประการใด แม้จะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการก็ตาม