ผู้เขียน หัวข้อ: สาธารณสุข เป็นเหยื่อของ Junk Science  (อ่าน 3047 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
สาธารณสุข เป็นเหยื่อของ Junk Science
« เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2011, 10:10:51 »

สาธารณสุขของเราเป็นเหยื่อของกลุ่มบุคคลหนึ่งที่ใช้ Junk Science มาอ้างเพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้อน คือ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ หรืออื่นๆที่หน่วยงานบางหน่วยสรรสร้างข้อมูลมาให้นักการเมืองไปใช้ และตัดสินใจผิดพลาดชักนำให้ระบบสาธารณสุขของเราประสบปัญหาอย่างแสนสาหัสในปัจจุบัน แม้การพิพากษาคดีทางการแพทย์ก็มีการใช้ Junk Science มาอ้าง

ลองมาอ่านเรื่องราวของ Junk Science กันดู

วิทยาศาสตร์ที่เป็นขยะ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Junk Science หรือ Bunk Science เป็นคำที่ใช้เรียกการให้ข้อมูล ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ หรือความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ตรงกับความจริง หรือไม่เป็นจริง เพียงเพื่อหวังผลจากการกระทำดังกล่าว เช่น เพื่อได้ค่าจ้างหรือสิ่งตอบแทนอื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของนักการเมือง และรวมทั้งเพื่อการต่อสู้คดีในศาล

การใช้ข้อมูลและกระบวน การทางวิทยาศาสตร์มากล่าวอ้างในการโต้เถียงของนักการเมืองทางด้านปัญหาสิ่ง แวดล้อม ปัญหาสุขภาพของประชาชน ปัญหาการทำผิดกฎหมายของฝ่ายบริหารและการเติบโตของเศรษฐกิจ สร้างปัญหาให้กับวงการวิทยาศาสตร์มาก เพราะการโต้เถียงนั้นต่างฝ่ายก็ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลหรือผลการศึกษาของตน ผ่านสื่อมวลชน โดยไม่นำไปเผยแพร่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเดียวกันก่อน จึงขาดการตรวจสอบจากกลุ่มเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาในการยอมรับข้อมูลหรือผลงานที่นำมากล่าวอ้าง

การใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่เป็นจริง เชื่อถือไม่ได้ ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า วิทยาศาสตร์ที่เป็นขยะ หรือ Junk Science ในการสืบสวนถึงสาเหตุแห่งคดีความนั้นไม่สามารถเชื่อถือได้หรือยึดเอาเป็น หลักฐานสำคัญเหมือนอย่างการใช้นิติวิทยาศาสตร์หรือความรู้ทางด้านการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน เนื่องมาจากการต่อสู้คดีความกันในศาลนั้น คู่กรณีต่างฝ่ายต่างยกหลักฐานและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เพื่อต่อสู้กับอีกฝ่าย หนึ่งโดยอ้างว่าเป็นหลักฐาน ข้อมูล ความรู้ ความจริง ที่ได้มาจาก การวิจัยหรือใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การถูกสั่งสอนให้มี ความเชื่อถือในวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบกับการสร้างความเชื่อถือในเรื่องของ “เหตุและผล” รวมทั้งการใช้ “ตรรกศาสตร์” ทำให้คนทั่วไปยึดติดกับความคิดและความเชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก และจะต่อต้านหรือไม่เชื่อถือสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ ทดลอง ทำซ้ำแล้วได้ผลคงที่เที่ยงตรงทุกครั้งไปเหมือนอย่าง Sound Science ที่พิสูจน์ได้ ทดลองแล้วเป็นจริง ได้ผลคงที่ทุกครั้งไป

แต่อย่างไรก็ตาม ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่ถูกนำไปใช้แสวงหาประโยชน์ได้จากการนำ เสนอ และแสดงผลตามแบบอย่างของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น มีการศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องของประเด็นปัญหาแล้วตั้งเป็นสมมุติฐาน มีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมุติฐานด้วยวิธีการทางสถิติ และสรุปผล แต่ในการดำเนินการตามกระบวนการนั้นต้องมีการดำเนินการควบคุมอย่างเคร่งครัด และผู้ดำเนินการต้องมีความเป็นกลางและยึดมั่นตามแนวทางของการทำวิจัย

ดังนั้นบางครั้งการตั้งธงคำตอบไว้ก่อนคือ การตั้งสมมุติฐานนั้นอาจนำมาสู่การลำเอียงได้ เพราะมุ่งจะให้สมมุติฐานเป็นจริง และความลำเอียงอันเกิดจากตัวผู้วิจัยเองที่มีผลประโยชน์กับงานวิจัยนั้นด้วย นอกจากนั้นเมื่อมีการนำเสนอผลการวิจัยด้วย กราฟ ตาราง ตัวเลข ต่าง ๆ ให้สามารถมองเห็นและสร้างความรู้สึกคล้อยตามหรือโน้มน้าวผู้ที่รับข้อมูลให้ ไปในทิศทางที่ผู้วิจัยต้องการได้อีกเช่นกัน

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
Re: สาธารณสุข เป็นเหยื่อของ Junk Science
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2011, 09:19:01 »
First Regional Workshop on Patient Safety
A Report

New Delhi, 12-14 July 2006
Regional Office

Thailand

Dr Santawat Asavaroengchai, Bureau of Policy and Strategy, Ministry of
Public Health, who also participated in the Technical Discussions on Patient

Safety at the CCPDM in June 2006, described the patient safety situation in
Thailand. Based on an audit of medical records at two major hospitals, the
prevalence of hospital-related adverse events in Thailand is similar to that
prevailing in industrialized countries: 10% of inpatients developed adverse
events, 10% of adverse events led to death, and half of the events were
preventable.
..........................................................................