ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาเก่าที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข-แพทย์ในระบบราชการ  (อ่าน 3779 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
บทความเรื่อง สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ(5 ก.ย. 46)
โดย นายแพทย์สยาม พิเชฐสินธุ์ พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ทั่วไป)

การลาออกของแพทย์ที่รับราชการนั้น เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาจะพบว่าการลาออกของแพทย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนน่าวิตก และจำนวนไม่น้อยของแพทย์ที่ลาออกก็เป็นแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญด้วย โดยเฉพาะอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ แพทย์แต่ละคนที่ลาออกก็มีสาเหตุแตกต่างกันไป

ในอดีตการตื่นตัว เรื่องการลาออกของแพทย์ในระบบราชการยังมีไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันมีกระแสต่างๆที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานและชีวิตความ เป็นอยู่ของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิผู้ป่วย ปัญหาการฟ้องร้อง ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่มากขึ้น ความรู้และวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเรื่องของค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น จนทำให้บางครั้งแพทย์อาจปรับตัวรับกับสภาพต่างๆเหล่านี้ไม่ทัน บทความนี้จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันให้แพทย์ลาออก ดังต่อไปนี้

1. สาเหตุจากรายได้ไม่เพียงพอ (เงินเดือนต่ำ)

เนื่อง จากอัตราบัญชีเงินเดือนของแพทย์ที่รับราชการขึ้นกับอัตราบัญชีเงินเดือนของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งต่างกับอัตราบัญชีเงินเดือนของสาขาวิชาชีพอื่นที่มีความสำคัญไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่ากัน เช่น ผู้พิพากษา อัยการ

ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ที่มี ภาระต้องดูแลครอบครัว มีความจำเป็นที่จะต้องหารายได้เพิ่มเติม นอกจากการเปิดคลินิก ทำงานนอกเวลาเพิ่มในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจะทำให้เวลาพักผ่อนและเวลาของครอบครัวลดน้อยลง

การลาออกจาก ระบบราชการเพื่อมาทำงานเต็มเวลาในโรงพยาบาลเอกชน ( พบว่าแพทย์ที่จบใหม่มีค่าตอบแทนมากกว่าบุคลากรส่วนอื่นที่ทำงานมาแล้ว 10-20 ปี ) หรือเปิดคลินิกส่วนตัวเต็มเวลา ซึ่งจะทำให้มีรายได้มากกว่าการรับราชการ 5-10 เท่าขึ้นไป ก็เป็นทางเลือกวิธีหนึ่ง

ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจว่าแพทย์ร่ำรวย ซึ่งคงจริงถ้านำไปเปรียบเทียบกับกรรมกร แต่ในความเป็นจริงแล้ว แพทย์ที่รับราชการมีรายได้เพียงแค่อยู่ได้ ไม่อดอยาก แต่ก็ต้องทำงานเสริมนอกเวลาราชการด้วย ถ้าแพทย์จะรวย ก็จะต้องร่ำรวยมาจากมรดกของครอบครัว ทำธุรกิจส่วนตัว หรือลาออกไปเป็นนักการเมือง

คำว่ารายได้ไม่เพียงพอนั้น ยังมีความหมายในเชิงนามธรรมด้วย หมายความว่าไม่เหมาะสมต่อศักดิ์ศรีของวิชาชีพ วิชาชีพที่จะต้องรับผิดชอบชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ค่าตอบแทนในการทำงานควรจะแปรผันโดยตรงกับความรู้ ความสามารถ และที่สำคัญที่สุดคือความรับผิดชอบต่อสังคมและ เพื่อนมนุษย์ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทำหน้าที่ดูแลและตัดสินเกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม ก็ได้เงินเดือนระดับหนึ่ง นักการเมืองที่ทำหน้าที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ได้เงินเดือนในอีกระดับหนึ่ง

แต่แพทย์ซึ่งรับผิดชอบดูแลสุขภาพ และชีวิตของทุกชีวิตในสังคมกลับได้เงินเดือนในอีกระดับหนึ่ง โดยที่แพทย์จบใหม่ได้เงินเดือน 8,200 บาท จบมา 10 ปี ได้เงินเดือนประมาณ 13,500 บาท ส่วนเงินที่ไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวจำนวน 10,000 บาทนั้น ไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหา เพราะแพทย์ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่รับเพียง 10-15 % และที่รับก็มักจะเป็นแพทย์ใช้ทุนหรือเแพทย์เฉพาะทางที่ไม่ใช่สาขาหลัก เพราะไม่สามารถเปิดคลินิกได้ ไม่มีโรงพยาบาลเอกชนให้ทำนอกเวลา หรือไม่มีแรงจะทำงานเพิ่มอีก (เพราะงานในโรงพยาบาลทั้งในและนอกเวลาก็หนักพอแล้ว)

นอกจากเรื่อง เงินเดือนที่ต่ำแล้ว ค่าตอบแทนในการทำงานนอกเวลาราชการก็ยังต่ำกว่าในภาคเอกชน 10-20 เท่าอีกด้วย ( รัฐบังคับให้อยู่เวรนอกเวลาราชการด้วยค่าตอบแทน 400-900 บาท ต่อ 8 ชั่วโมง )

ดังนั้น ทางภาครัฐจึงควรจะแยกบัญชีเงินเดือนของแพทย์ที่รับราชการออกจากข้าราชการ ส่วนอื่น โดยมีการประชุมร่วมของทุกฝ่ายด้วยความจริงใจเพื่อหาฐานเงินเดือนที่เหมาะสม ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และร่วมกับการปรับเงินเดือนเพิ่มเป็นพิเศษตามความกันดารของท้องถิ่น (เพิ่มในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง หรือโรงพยาบาลจังหวัดที่อยู่ไกลมาก ไม่ใช่เงินค่าเบี้ยกันดาร 10,000-20,000 บาท ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ยั่งยืนและโรงพยาบาลที่อยู่ในข่ายก็มีจำนวนน้อย ไม่เป็นการแก้ปัญหาในภาพรวม) ซึ่งจะทำให้การกระจายตัวของแพทย์ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา


2. สาเหตุจากความรับผิดชอบที่หนักเกินไป โดยเฉพาะนอกเวลาราชการ

ใน ช่วงชีวิตของการเป็นแพทย์ ส่วนใหญ่จบการศึกษาเมื่ออายุได้ 23-24 ปี หลังจากนั้นก็ไปทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุน และส่วนใหญ่ก็จะไปศึกษาต่อเฉพาะทาง จนจบเมื่ออายุได้ประมาณ 30-31 ปี จากการศึกษาพบว่าแพทย์มีอายุเฉลี่ยประมาณ 59 ปี (ชาย 62 ปี หญิง 55 ปี) ซึ่งน้อยกว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยมาก (ประมาณ 70 ปี) ดังนั้นแพทย์จึงมีเวลาทำงานแค่ประมาณ 30 ปี หลังจบเฉพาะทาง จึงมีคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ช่วงชีวิต 30 ปี ที่เหลือนี้มีความสุขอย่างสมดุลได้มากที่สุด

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของ แพทย์ที่รับราชการคือ การอยู่เวร และที่สำคัญก็คือไม่มีการระบุไว้ในระเบียบของทางราชการว่าแพทย์จะต้องอยู่ เวรไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรืออายุเท่าไรจึงจะไม่ต้องอยู่เวร (ในเวลาราชการแพทย์ต้องมาทำงานทุกวันอยู่แล้ว)

นั่นหมายความว่า ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับจำนวนแพทย์ที่มีในแผนก เป็นสำคัญ เช่น ถ้ามีแพทย์ในแผนก 2 คนต้องทำงาน 108 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้ามีแพทย์ 3 คน ต้องทำงาน 85 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้ามีแพทย์ 4 คนจะต้องทำงาน 74 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้ามีแพทย์ 5 คน จะทำงาน 68 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งยังไม่รวมเวรห้องฉุกเฉิน เวรชันสูตรพลิกศพ และเวรอื่นๆอีก ซึ่งหมายความว่าถ้าไปทำงานในโรงพยาบาลที่มีแพทย์เป็นจำนวนมากเท่าใด คุณภาพชีวิตก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น มีอายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรงพอที่จะดูแลประชาชนได้นานขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้

2.1 แพทย์อาวุโส ซึ่งส่วนใหญ่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ที่ยังมีภาระต้องอยู่เวรนอกเวลาราชการ ไม่สามารถอยู่เวรนอกเวลาราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการทำงานหลังเที่ยงคืน ซึ่งจะทำให้สุขภาพกายและใจทรุดโทรม ตอนเช้าก็จะรู้สึกไม่สดชื่น ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะลดลง

ซึ่ง แพทย์อาวุโสเหล่านี้ถ้าทนอยู่ได้ก็อยู่ไป ถ้าอยู่ไม่ได้ก็อาจจะคุยกันในแผนกก่อน ถ้าแพทย์ในแผนกมีน้อยอยู่แล้วและจำเป็นต้องอยู่เวร ก็ลาออกจากราชการไป ซึ่งพบได้อยู่เรื่อยๆ และเป็นที่น่าเสียดายซึ่งแพทย์อาวุโสเหล่านี้เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์และ ยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาราชการ

2.2 เกิดผลกระทบแบบโดมิโน (Domino effect) ในการทำงานของแพทย์ จะเน้นการทำงานเป็นทีม มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับผู้ป่วย มีการช่วยกันทำงาน ช่วยกันอยู่เวรในแผนก ถ้าเกิดมีแพทย์ในทีมลาออกไป จะทำให้แพทย์ที่เหลือมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นทั้งในและนอกเวลาราชการ ถ้าทนได้ก็ทน ทนไม่ได้ก็ลาออกไป ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบไปเรื่อยๆจนหมดแผนก หรือจนกว่าจะรับแพทย์เข้ามาใหม่

นอกจากนั้น ในวันหยุดราชการ แพทย์ยังคงต้องมาดูแลผู้ป่วยประจำวันในตอนเช้า (ROUND) ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่เวร (จึงไม่ได้ค่าแรงที่มาทำงานนอกเวลาราชการ แต่แพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังคงทำอยู่ เพื่อผู้ป่วยและจรรยาบรรณของแพทย์) ซึ่งการทำงานนอกเวลาที่มากเกินพอดี ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย ขาดเวลาทำกิจกรรมที่ทำให้คลายความเครียดจากการทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แพทย์มีอายุเฉลี่ย 59 ปี

ในประเทศ ฝรั่งเศส มีกฎหมายห้ามแพทย์ทำงานเกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่แพทย์ส่วนใหญ่คิดว่าคงยังไม่ต้องถึงขนาดนั้น แต่ก็ควรจะมีการประชุมแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่น การเพิ่มค่าตอบแทนนอกเวลาราชการและพิจารณาชั่วโมงการทำงานของแพทย์ให้เหมาะ สม เพิ่มสวัสดิการเป็นพิเศษให้กับแพทย์อาวุโสที่จำเป็นต้องอยู่เวรนอกเวลา ราชการ เช่น อายุราชการทวีคูณ หรือผลประโยชน์อื่นๆที่เหมาะสม


3. สาเหตุเนื่องจากสภาพครอบครัวและสังคม

โดย ที่แพทย์แต่ละคนมีสภาพพื้นฐานทางครอบครัวและสังคมแตกต่างกัน บางคนบิดา มารดา ต้องการให้กลับมาอยู่ด้วยกัน บางคนบิดา มารดา มีสุขภาพไม่แข็งแรงทำให้ต้องกลับไปดูแลใกล้ชิด บางคนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขในจังหวัดหรือโรงพยาบาลที่ไปทำ งานอยู่ บางคนต้องกลับไปอยู่กับบุตรและภรรยา บางคนต้องย้ายเพื่อไปหาสถานศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับครอบครัว ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่มีใครผิดและบางครั้งไม่สามารถกำหนดล่วงหน้าได้ ทำให้แพทย์ที่กลับไปทำงานในจังหวัดที่ไปรับทุนมาศึกษาต่อหรือโดยทุน ส่วนกลาง มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายข้ามโรงพยาบาลหรือย้ายข้ามจังหวัด

ซึ่ง บางครั้งวิสัยทัศน์ของผู้บริหารหรือระเบียบของทางราชการที่นำมาบังคับใช้กับ แพทย์ ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณค่า มีปัญหา เช่น ผู้บริหารไม่ยอมให้ย้าย ไม่มีเลขที่ตำแหน่งรองรับ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องมีความยืดหยุ่นและมีข้อยกเว้นสำหรับแพทย์ที่ ตั้งใจจะรับราชการต่อ

การแก้ปัญหาเหล่านี้ ควรจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เปิดโอกาสให้แพทย์ที่ต้องการย้ายเข้าไปคุยถึงเหตุผล สามารถเปิดตำแหน่งข้าราชการให้ได้ในโรงพยาบาลปลายทางที่ต้องการรับ แพทย์เป็นวิชาชีพที่มีทางออกในช่องทางการทำงาน เมื่อขอย้ายไปรับราชการต่อใกล้บ้าน แล้วถูกปฏิเสธ แต่มีความจำเป็นต้องย้าย แพทย์ส่วนมากจึงต้องใช้วิธีการลาออกเพื่อไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนหรือเปิด คลินิกส่วนตัว นอกจากนั้นยังอาจมีแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนอีกบางส่วนซึ่งมีความต้องการที่จะ กลับเข้ารับราชการ แต่ไม่มีตำแหน่งให้ ทั้งๆที่โรงพยาบาลของรัฐยังขาดแคลน

นอก จากนั้น รัฐยังต้องเร่งสร้างความเจริญให้ทั่วถึง โดยเฉพาะตามชนบทที่ห่างไกล และต้องเน้นในเรื่องระบบการศึกษา พัฒนาสถานศึกษาให้มีความเจริญทัดเทียมกัน ในทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจะทำให้แพทย์ส่วนหนึ่งมีความสุขเพียงพอที่จะรับราชการในจังหวัดเดิมหรือ ในจังหวัดที่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ


4. สาเหตุเนื่องจากความเสี่ยงในวิชาชีพมีมากขึ้น ได้แก่

4.1 ความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้อง ในปัจจุบันผู้ป่วยมีการฟ้องร้องเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์เพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่โดยเกือบจะทั้งหมดจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยต่างๆในการรักษา หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการรักษาซึ่งพบได้ในตำรารักษาโรค โดยที่ปัญหาต่างๆเหล่านี้ไม่มีแพทย์คนใดต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุของความเสี่ยงในการฟ้องร้อง ได้แก่

4.1.1 แพทย์มีเวลาดูแลรักษาผู้ป่วยน้อยลง เพราะจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐมีจำนวนมากขึ้น ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ต้องตรวจผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นตั้งแต่ 50-100 คนต่อแพทย์หนึ่งคนต่อวัน ในการตรวจและอธิบายถึงสาเหตุของโรค วิธีการรักษา ผลของการรักษา และภาวะแทรกซ้อนของการรักษาให้ผู้ป่วยเข้าใจ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15-20 นาที ขึ้นไปต่อผู้ป่วยหนึ่งคน (ซึ่งจะมีส่วนทำให้การฟ้องร้องลดน้อยลง) เพราะฉะนั้น ถ้าทำงานโดยไม่หยุดพักเลยใน 1 วันทำการ แพทย์จะรักษาผู้ป่วยได้ไม่เกิน 30 คนต่อวัน

แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้ที่แพทย์จะทำเช่นนั้น เพราะจะมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ต้องรอตรวจ จึงทำให้เกิดคำพูดที่ว่า “ตรวจผู้ป่วยมากถูกฟ้องมาก ตรวจผู้ป่วยน้อยถูกฟ้องน้อย ทำงานมากถูกฟ้องมาก ทำงานน้อยถูกฟ้องน้อย”

4.1.2 ผู้ป่วยมีความคาดหวังในการรักษาสูง ผู้ป่วยส่วนมากเข้าใจว่า เวลามาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา จะต้องได้รับการวินิจฉัยหรือการรักษาที่ถูกต้อง ต้องรักษาหายและไม่มีภาวะแทรกซ้อน แม้ว่าแพทย์จะได้อธิบายถึงความเสี่ยงของการรักษา (morbidity and mortality) แล้ว แต่บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่เข้าใจหรือไม่พยายามเข้าใจ

ใน ความจริงของการรักษาโรคนั้น อาการบางอาการหรือโรคบางโรคจะมีลักษณะที่คล้ายหรือใกล้เคียงกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ วินิจฉัยโรค หรือบางครั้งต้องรอดูอาการของโรคเพื่อหาคำตอบสุดท้าย

ซึ่งถ้าหาก ผู้ป่วยไม่เข้าใจคิดว่าแพทย์ที่ตนเองกำลังรักษาอยู่นั้นไม่เก่ง ก็จะย้ายโรงพยาบาลไปหาแพทย์คนอื่น ซึ่งก็อาจจะต้องตรวจหรือดูอาการต่อไปอีก และผู้ป่วยก็อาจจะย้ายไปอีกจนถึงแพทย์คนสุดท้าย ซึ่งก็อาจจะวินิจฉัยโรคได้เพราะได้ข้อมูลมาพร้อม ผู้ป่วยแสดงอาการของโรคที่ชัดเจนขึ้นจนตัดโรคอื่นๆได้หมด ถ้ารักษาจนหายก็อาจจะไม่มีเรื่อง (หรือแพทย์คนแรกๆอาจถูกต่อว่าหรือตำหนิได้) แต่ถ้ารักษาไม่หายหรือเสียชีวิต แพทย์ที่รักษาคนแรกก็อาจจะถูกฟ้องได้ว่ารักษาโดยไม่รอบคอบหรือประมาท ทั้งๆที่แพทย์คนแรกอาจจะเก่งและดูแลผู้ป่วยดี แต่เนื่องจากเป็นโรคที่ยากทำให้ต้องใช้เวลาในการวินิจฉัยหรือเป็นโรคที่มี ความเสี่ยงในการรักษาสูง ซึ่งลักษณะเช่นนี้พบได้อยู่บ่อยๆ จนหลายครั้งทำให้แพทย์หมดกำลังใจในการรักษาได้


4.1.3 ความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยและสังคมของแพทย์ โรคบางโรคมีความซับซ้อน มีความเสี่ยงและค่อนข้างยากต่อการรักษาหรือการผ่าตัด ถ้าแพทย์ทุกคนหรือแพทย์ส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะรักษาหรือกลัวที่จะถูกฟ้องร้อง ถ้าผลของการรักษาของแพทย์ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติ แพทย์จึงส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงเรียนแพทย์แทน ผู้ป่วยก็จะได้รับผลกระทบ ที่แน่นอนก็คือ จะได้รับการรักษาที่ช้าลง เนื่องจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะรับผู้ป่วยไว้รักษาเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องคอยคิวนานขึ้นในการรักษา อาการหรือความรุนแรงของโรคก็จะลุกลามมากขึ้น จนบางครั้งอาจช้าไปหรือเสียโอกาสในการรักษา ทั้งๆที่การรักษาอาจทำได้เหมือนกันในโรงพยาบาลทั่วไป แต่การรักษาก็ย่อมมีความเสี่ยง แพทย์ที่ทำการรักษาบางครั้งเหมือนยอมแบกรับความเสี่ยงด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสในการรักษาที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งถ้าผู้ป่วยและญาติไม่เข้าใจ และถ้ามีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนในการรักษาเกิดขึ้นมา แพทย์ก็อาจจะถูกฟ้องร้องได้ว่าไม่ยอมส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ขนาดใหญ่หรือรักษาโดยประมาท นอกจากนั้น การเดินทางเข้าโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงเรียนแพทย์ ก็ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการไปเยี่ยมไปเฝ้า ทำให้ต้องสูญเสียเงินทองตามมาอีกเป็นจำนวนมาก

นอกจากนั้น โรคบางโรคอาจต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ หรือการตรวจทางรังสีเพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ตามตำราที่แพทย์ได้ศึกษามา (มักจะเป็นตำราต่างประเทศ) ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูง แพทย์ส่วนใหญ่มีความเข้าใจถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวย ต้องนำเข้าเทคโนโลยีในการรักษาเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในบางครั้งแพทย์ก็ตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจทางรังสีไม่ครบ ตามตำราที่ได้ศึกษา (ตรวจตามความจำเป็น ไม่ใช่เป็นการประมาท) เนื่องมาจากงบประมาณอันมีจำกัด ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ถ้าผู้ป่วยไม่เข้าใจและเอาข้ออ้างต่างๆเหล่านี้มาฟ้องร้องแพทย์ ต่อไปแพทย์ก็คงจะต้องตรวจและอธิบายผู้ป่วยอย่างละเอียด ส่งผู้ป่วยตรวจทางห้องปฏิบัติการและทางรังสีทุกอย่างที่มีในตำรา จนบางครั้งอาจกลายเป็นการส่งตรวจเพื่อป้องกันตนเองในกรณีที่มีการฟ้องร้อง (protective medicine) ซึ่งแน่นอนจะทำให้ผู้ป่วยต้องรอคอยการรักษาที่ นานขึ้น (แพทย์ตรวจได้ไม่เกินวันละ 30 คน) และจะทำให้งบประมาณของระบบสาธารณสุขไทยจะต้องเพิ่มขึ้นและบานปลายมากกว่า ปัจจุบันอีกหลายเท่าตัว ซึ่งคงไม่มีรัฐบาลไหนอยากเจอสภาพเช่นนี้

4.1.4 การทำงานนอกเวลาราชการ (โดยเฉพาะหลังเที่ยงคืน) แพทย์ซึ่งทำงานมาแล้วทั้งวันในเวลาราชการ จะมีความอ่อนล้า อิดโรย การทำงานของสมองและการตัดสินใจเริ่มเฉื่อยลง แต่ผู้ป่วยที่มีอาการ หนักมักจะมาตอนกลางคืน ทำให้การรักษาอาจผิดพลาดได้ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ แต่เกิดจากความไม่พร้อมของร่างกายและจิตใจของแพทย์ ซึ่งมีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ

4.1.5 การขาดประสบการณ์ของแพทย์ใช้ทุนที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายจัดส่งแพทย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปทำงานในจังหวัด ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วย ซึ่งเรียกว่าไปเป็นแพทย์ใช้ทุน แต่ประชาชนทั่วไปกลับเข้าใจว่าแพทย์ที่ส่งไปนั้นมีความสามารถรอบด้าน

ซึ่งในความเป็นจริงถึงแม้ว่าน้องๆแพทย์ใช้ทุนเหล่านี้จะจบแพทย์แล้ว แต่ยังขาดประสบการณ์ในการวิเคราะห์และรักษาโรค โดยเฉพาะในการทำหัตถการต่างๆ ทำให้เหมือนกับว่าส่งน้องๆแพทย์ใช้ทุนไปขึ้นเขียงรอวันผิดพลาด และอย่างที่ทราบว่าในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีความคาดหวังสูง ถ้าแพทย์ทำผิดพลาดเมื่อใด ก็จะต้องถูกฟ้องร้อง แม้ว่าจะเกิดจากสาเหตุสุดวิสัยหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆก็ตาม และที่สำคัญก็คือ การขาดประสบการณ์ในการดูแลและรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยเฉพาะภาวะฉุกเฉินในเรื่องการคลอด ซึ่งมารดาที่มาคลอดและญาติมาโรงพยาบาลด้วยความหวังที่จะมีสมาชิกใหม่เกิด ขึ้น ถ้าเกิดภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวกับการคลอดในการดูแลของแพทย์ใช้ทุน แล้วมีการสูญเสียขึ้น เรื่องคงจะไม่จบง่ายๆ ซึ่งพบได้เรื่อยๆ

ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขจึงควรปรึกษากับโรงเรียนแพทย์ให้เน้นในเรื่องภาว ะฉุกเฉินต่างๆก่อนที่จะจบการศึกษาประมาณ 1 เดือน และถ้าเป็นไปได้ให้ทุกคนอยู่ในโรงพยาบาลจังหวัด 1-2 เดือนก่อนที่จะส่งไปโรงพยาบาลชุมชน เพื่อเสริมทักษะในหัตถการต่างๆให้แน่น ความเสี่ยงต่างๆจะได้ลดลง (เนื่องจากพบว่า การฟ้องร้องแพทย์ใช้ทุนจะพบบ่อยที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เพราะเป็นช่วงที่แพทย์ใช้ทุนเริ่มไปทำงาน)

และกระทรวงสาธารณสุขควร ยอมรับความจริงและบอกกับประชาชนว่าแพทย์ใช้ทุนเหล่า นี้เป็นผู้เสียสละมาทำงานในชุมชน แต่ยังขาดประสบการณ์ จึงควรจะมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ซึ่งถ้าแพทย์ใช้ทุนเหล่านี้ลาออก ก็คงจะไม่มีแพทย์มาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เกี่ยวกับการฟ้องร้องแพทย์นั้น นอกจากแพทย์อาจจะต้องเสียเงิน เสียเวลา เสียชื่อเสียง ผลกระทบที่สำคัญที่สุดคือด้านจิตใจ แพทย์บางคนรักษาผู้ป่วยมาตลอดชีวิต ดูแลผู้ป่วยให้หายเป็นพันเป็นหมื่นคน แต่กลับมาถูกฟ้องร้องในเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจหรือเป็นเหตุสุดวิสัยที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้แพทย์หลายคนลาออกจากระบบราชการ เพราะไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ถูกฟ้องได้ มาอยู่ระบบเอกชนดีกว่า เพราะงานเบากว่า (หรืออาจจะพอๆกัน) แต่รายได้ดีกว่ามาก แพทย์บางคนถึงกับเลิกอาชีพแพทย์ไปประกอบอาชีพอื่น เช่น ไปประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจขายตรงต่างๆ เป็นตัวแทนขายประกัน ชีวิต ไปสอบเป็นผู้พิพากษา เป็นต้น ซึ่งนับวันก็จะมีแพทย์ลาออกจากราชการมากขึ้นเรื่อยๆ

และเป็นที่น่า สังเกตว่า ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้มีการผลิตแพทย์ขึ้นโดยตรง โดยไม่ได้ผ่านระบบโรงเรียนแพทย์เหมือนที่ผ่านมา ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่เริ่มตั้งข้อสังเกตและเป็นห่วงถึงมาตรฐานและคุณภาพของ แพทย์ที่จะจบออกมา ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้การฟ้องร้องเพิ่มขึ้นได้

4.2 ความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วย เชื้อที่พบบ่อยได้แก่ ไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์) ไวรัสตับอักเสบ เชื้อวัณโรค ซึ่งถ้าแพทย์ติดเชื้อมาจากผู้ป่วยก็จะทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเองและครอบครัว ซึ่งผลที่ตามมาจะหนักหรือเบาก็ขึ้นกับตัวเชื้อโรคที่ได้รับ

กระทรวง สาธารณสุขควรจะจัดอุปกรณ์และเครื่องมือที่ได้รับมาตรฐานและ เพียงพอแก่แพทย์และบุคลากรทาง การแพทย์เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และมีมาตรการชดเชย สวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อ จากผู้ป่วย

4.3 ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ บ่อยครั้งที่แพทย์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากการอยู่เวรนอกเวลาราชการในตอนกลางคืนจนถึงเช้า ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่พอเพียงกับความต้องการ หลังจากออกเวรในตอนเช้า อาจจะมีความจำเป็นต้องขับรถกลับบ้านหรือไปทำธุระส่วนตัว ทำให้อาจหลับในจนเกิดอุบัติเหตุ บางครั้งก็ร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

4.4 ความเสี่ยงของสถาบันครอบครัว เนื่องจากเงินเดือนของแพทย์ที่รับราชการไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ทำให้แพทย์ส่วนมากต้องทำงานเสริมนอกเวลาราชการ ไม่เปิดคลินิกก็ทำงานพิเศษในโรงพยาบาลเอกชน จนบางครั้งทำให้ไม่มีเวลาดูแล ให้ความอบอุ่นแก่ครอบครัว และอบรมสั่งสอนบุตร บางครั้งอาจก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ จนกลายเป็นปัญหาสังคม หรือแม้แต่ตัวของแพทย์เองที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 59 ปี ซึ่งเกิดจากการทำงานหนัก สะสมความเครียดในการดูแลรักษาผู้ป่วย ถ้าเกิดแพทย์ผู้นั้นมีอันเป็นไปก่อนวัยอันสมควร ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ จะทำให้ครอบครัวที่อยู่ข้างหลังลำบากที่จะต้องสู้ชีวิตต่อไปโดยลำพัง ซึ่งก็อาจจะเกิดปัญหาสังคมได้อีก ถ้าไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ


5. สาเหตุจากแพทย์ต้องการความก้าวหน้าทางการศึกษาต่อเนื่อง

โดย ส่วนใหญ่หลังจากแพทย์ใช้ทุนหมดพันธะการใช้ทุนกับรัฐแล้ว แพทย์ใช้ทุนบางส่วนจะเอาทุนจากรัฐไปศึกษาต่อเฉพาะทาง เพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่อไป (เกือบทั้งหมดจะเป็นทุนของโรงพยาบาลจังหวัด) บางส่วนก็จะลาออกจากราชการเพื่อไปสมัครศึกษาต่อเฉพาะทางเอง(free training) ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก

แต่ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาจะพบว่ามีการลาออกของแพทย์ใช้ทุนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทางกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้กำหนดทุนให้กับโรงพยาบาลต่างๆที่ เป็นของรัฐ ได้จัดสรรทุนโดยเน้นไปยังแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อสนองนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค และได้ลดจำนวนทุนแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นลงไปอย่างมาก

ซึ่งการจัดสรร ดังกล่าวไม่ตอบสนองต่อความต้องการของแพทย์ใช้ทุนส่วนใหญ่ซึ่งต้องการศึกษา ต่อเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่าเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จึงทำให้มีการลาออกของแพทย์ใช้ทุนเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากมีการเพิ่มขึ้นของการศึกษาต่อแบบ free training อย่างมากในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ

ซึ่งผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการ ที่รัฐคิดอยู่ฝ่ายเดียว ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆคือรัฐเป็นผู้กำหนดนโยบาย โดยไม่ปรึกษาหรือสอบถามความต้องการศึกษาต่อของแพทย์ใช้ทุน และคาดว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอีก 4-5 ปีข้างหน้า คือ ผู้ป่วยที่จะมารักษาต่อกับแพทย์เฉพาะทางจะต้องเข้าคิวรอนานขึ้นอย่างมาก เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางจะมีจำนวนลดลง แต่ความต้องการของผู้ป่วยที่จะมาพบแพทย์เฉพาะทางจะมีจำนวนมากขึ้น

ส่วนแพทย์เฉพาะทางที่จบแบบ free training และต้องการที่จะกลับเข้ารับราชการอีกก็ค่อนข้างลำบาก เพราะเลขที่ตำแหน่งของข้าราชการจะมีจำนวนลดน้อยลง ถึงแม้จะมีก็อาจจะไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลที่ต้องการ ทำให้พอมองเห็นภาพในอนาคตว่าคงจะเกิดวิกฤติขึ้นแน่

กระทรวงสาธารณสุข ควรจะเปิดศูนย์ศึกษาต่อเนื่องของแพทย์เฉพาะทาง (ให้แยกจำนวนทุนที่จัดสรรออกมาจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว) เพื่อให้แพทย์ใช้ทุนได้มาแจ้งความจำนงเกี่ยวกับสาขาและโรงพยาบาลที่ต้องการ แล้วจึงประสานงานกับโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจึงจัดสรรทุนออกมา ซึ่งจะทำให้แพทย์ใช้ทุนลาออกจากราชการน้อยลงอย่างมาก และกระทรวงสาธารณสุขควรจะเปิดตำแหน่งข้าราชการไว้พอสมควร ให้กับโรงพยาบาลที่ขอตำแหน่งสำหรับแพทย์ที่ต้องการจะกลับเข้ามารับราชการอีก ครั้ง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มิถุนายน 2014, 07:05:40 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
6. สาเหตุจากคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด (มักพบในแพทย์ที่สังกัดกระทรวงกลาโหม)
ส่วน ใหญ่มักจะต้องย้ายเพื่อไปติดยศ หรือย้ายหลังจากจบแพทย์เฉพาะทางซึ่งได้ทุนจากกองทัพ ทำให้แพทย์ที่มีครอบครัวหรือมีที่ทำงานนอกเวลาราชการลงตัวแล้ว มีความจำเป็นต้องลาออก บางกองทัพมีแพทย์ลาออกถึงปีละประมาณ 20-40 คน นอกจากนั้นยังพบได้ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้ทุนเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางแบบทุนส่วนกลาง ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำหนดโรงพยาบาลที่จะต้องไปปฏิบัติงานให้ เอง


7. สาเหตุจากปัจจัยเสริมอื่นๆ ได้แก่

7.1 ผู้บริหารโรงพยาบาลบางคนขาดวิสัยทัศน์ในการบริหารหรือบริหารแบบรวบอำนาจ ไม่รับฟังความคิดเห็นของแพทย์ด้วยกัน หาผลประโยชน์จากโรงพยาบาลมาใส่ตนเอง ทำให้แพทย์ที่ตั้งใจทำงานรับไม่ได้

7.2 ปัญหาในเรื่องพนักงานของรัฐ พนักงานของรัฐมีความแตกต่างกับข้าราชการค่อนข้างมากในเรื่องของความมั่นคงใน วิชาชีพ เพราะต้องถูกประเมินทุกปี (ทำให้บางครั้งไม่กล้าเสนอความคิดเห็น หรือเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นได้ เพราะอาจไปขัดใจผู้บังคับบัญชาได้) อำนาจในการสั่งการโดยตรงต่อข้าราชการก็ทำได้ไม่เต็มที่ กฎ ระเบียบต่างๆก็ยังไม่พร้อม ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ที่เป็นพนักงานของรัฐรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพการทำงาน

7.3 กฎหมายต่างๆที่ออกมาบังคับใช้กับแพทย์ เช่น

พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

พ.ร.บ.ยา (โดยเฉพาะมาตราที่ห้ามแพทย์ รวมถึงทันตแพทย์ สัตวแพทย์ จ่ายยาที่คลินิก แต่กลับไม่ห้ามร้านขายยาที่ขายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ เหมือนกับมี double standard ซึ่งถ้าต้องการให้เป็นมาตรฐานสากล ก็ควรห้ามเภสัชกรขายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้ดูเหมือนมีเงื่อนงำซ่อนอยู่ พบว่าใน สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แพทย์สามารถตรวจ วินิจฉัย และจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยได้ที่คลินิก และร้านขายยาห้ามขายยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ )

กฎหมายชันสูตร (โดยเฉพาะถ้าต้องไปชันสูตรในพื้นที่ที่เป็นป่าเขา หุบเหว หรือที่ห่างไกลความเจริญ และถ้าเป็นในเวลากลางคืน ทำให้เป็นห่วงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแพทย์ โดยเฉพาะถ้าเป็นแพทย์ผู้หญิง นอกจากนั้นยังเบียดบังเวลาที่จะไปดูแลผู้ป่วยที่รอตรวจและผู้ป่วยฉุกเฉินอีก ด้วย)

ซึ่งกฎหมายต่างๆที่ออกมาบังคับใช้กับแพทย์ ส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ที่ร่างกฎหมายแทบจะไม่มีส่วนในการถูกบังคับใช้กฎหมาย แต่แพทย์เกือบทั้งหมดที่ไม่ได้มีส่วนรับรู้มาก่อน กลับต้องมาถูกบังคับใช้โดยคนเพียงไม่กี่คน ไม่เคยมีการสอบถามความคิดเห็นหรือประชาพิจารณ์โดยแพทย์มาก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นมุมมองของรัฐกับแพทย์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ

7.4 จากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีส่วนทำให้

7.4.1 โรงพยาบาลบางแห่ง มีเงินบำรุงลดลง ทำให้การรับแพทย์เฉพาะทางเข้ามาช่วยงานและดูแลผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นเป็น ไปไม่ได้ หรือเป็นไปได้ยาก (เพราะเงินเดือนที่จะต้องจ่ายให้แพทย์รวม อยู่ในงบรายหัวของประชากร ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่รับจากกระทรวงการคลัง) ซึ่งมีผลทำให้แพทย์ที่มีอยู่เดิมทำงานหนักเกินไป จนมีการลาออกกันอย่างมาก และจากการที่มีเงินบำรุงลดลง พบว่า

โรงพยาบาลบางแห่งได้ตัดค่าเวรของ แพทย์ (รวมข้าราชการส่วนอื่นด้วย) บางแห่งตัดถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่าเวรของแพทย์ที่รับราชการก็ต่ำอยู่แล้ว ทำให้แพทย์ที่ต้องพบกับสภาพเช่นนี้หรือแพทย์ที่ได้ทราบข่าวหมดกำลังใจในการ ทำงาน ทั้งๆที่แพทย์ไม่ได้มีส่วนผิดเลยแม้แต่น้อย

7.4.2 ผู้ป่วยมีความคาดหวังกับรักษาสูงมากขึ้น มีการฟ้องร้องมากขึ้น ทั้งๆที่ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค แพทย์ก็รักษาผู้ป่วยเหมือนเดิม ไม่แตกต่างกัน ตามกำลัง ความรู้ความสามารถ และเงินบำรุงที่มีในโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยและรัฐกลับลืมคำว่า “ไม่มีของดี ราคาถูก บนโลกใบนี้ ”

และผู้ป่วยส่วนหนึ่งคิดว่าแพทย์จะต้องรักษา ให้ได้ทุกอย่าง โดยที่ไม่ยอมดูแลสุขภาพตนเองเลย ยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน ไม่ออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังมีเรื่องของอุบัติเหตุต่างๆ เมาแล้วขับ ทะเลาะวิวาท ซึ่งสาเหตุต่างๆเหล่านี้อาจทำให้การรักษาไม่เป็นไปดังความคาดหวัง ของผู้ป่วยและแพทย์ และผู้ป่วยบางคนไม่เข้าใจและต่อว่าหรือฟ้องร้องแพทย์ โดยที่ลืมไปว่าโรคภัยต่างๆที่เกิดขึ้นก็ล้วนแต่ทำตัวเองทั้งสิ้น

7.4.3 ภายหลังจากที่มีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค รัฐเอาใจใส่ ดูแลห่วงใยผู้รับบริการมากเป็นพิเศษ แต่รัฐกลับลืมฟันเฟืองตัวที่สำคัญที่สุดในระบบสาธารณสุข นั่นคือ ผู้ให้บริการ โดยเฉพาะแพทย์ รัฐขาดความเอาใจใส่ ดูแลแพทย์ด้วยความจริงใจ รัฐดูแลแพทย์เหมือนข้าราชการธรรมดาทั่วไป ซึ่งคงไม่ผิด ถ้าแพทย์ไม่ได้รับผิดชอบชีวิตเพื่อนมนุษย์

รัฐได้เพิ่มงานต่างๆให้ กับแพทย์ที่รับราชการ เช่น งานออกหน่วยปฐมภูมิ โดยที่แพทย์เกือบทั้งหมด ไม่ได้มีความต้องการที่จะทำ ซึ่งเป็นการใช้คนไม่ตรงกับงาน และงานในโรงพยาบาลก็มีมากพออยู่แล้ว และถ้ามองลึกลงไปในหน่วยงานราชการต่างๆของรัฐ จะพบว่าหน่วยงานที่มีภาคเอกชนให้การบริการคู่กับภาครัฐ นอกจากหน่วยงานการศึกษาแล้ว ก็ยังมีหน่วยงานทางสาธารณสุขนั่นเอง ซึ่งถ้ารัฐไม่ดูแลแพทย์ในระบบราชการให้ดีแล้ว ก็เหมือนเป็นการบังคับให้ย้ายไปอยู่ในภาคเอกชน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริการทางสาธารณสุขในภาครัฐ และ ก็ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐได้ไล่ ผู้ป่วยให้ไปสู่ระบบเอกชนโดยอ้อมนั่นเอง

จาก บทความทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทำให้มีการพูดถึง “สิทธิแพทย์” ซึ่งสิทธิแพทย์นี้ไม่ได้เป็นการต่อต้านหรือขัดแย้งกับสิทธิผู้ป่วย แต่เป็นการเสริมให้สิทธิผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น

“สิทธิแพทย์” คือ สิทธิ์ของแพทย์โดยชอบธรรมที่จะได้รับการดูแลตั้งแต่ในเรื่องของสภาพความเป็น อยู่ คุณภาพชีวิต สภาพการทำงานและความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับแพทย์ นั่นก็คือ การกำหนดเรื่องของเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เป็นธรรม กำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจ การป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับแพทย์และช่วยเหลือเมื่อมีความ เสี่ยงเกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งแพทย์ทุกคนมุ่งหวังที่จะให้มีสิทธิแพทย์เกิดขึ้น เพื่อผู้ป่วยและสิทธิผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและปฏิบัติอย่างดีที่สุด

สุด ท้ายผู้เขียนยังเชื่อในมาตรฐาน คุณภาพ และจรรยาบรรณของแพทย์ส่วนใหญ่ ที่เสียสละทำงานเพื่อผู้ป่วยทั้งกายและใจ ถึงแม้ว่าจะได้เงินเดือนหรือค่าตอบแทนน้อยเพียงใดก็ตาม และยังต้องแลกกับความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดตามมาด้วย เวลามีผลกระทบต่างๆเกิดขึ้นกับแพทย์ แพทย์ไม่เคยรวมกลุ่มกันประท้วงหยุดงาน ไม่เคยปฏิเสธผู้ป่วยเหมือนในบางประเทศ นั่นก็แสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยและสังคมของแพทย์ แต่แพทย์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะตัว เช่น ลาออกจากราชการหรือเลิกอาชีพแพทย์

จึงหวังว่าทางภาครัฐคงจะรับรู้ และเข้าใจความรู้สึกของแพทย์ แพทย์ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจะได้หาทางออกร่วมกันในอันที่จะรักษาจำนวนแพทย์ที่มีอยู่ในภาคราชการ ให้อยู่ต่อไปได้อย่างมีความสุขและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนที่ยากไร้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ตัว ผู้เขียนเองก็ยังมีความเสียใจจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ลาออกจากระบบราชการ แต่เพราะผู้บริหารไม่อนุมัติให้ย้ายมายังโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อกลับ มาดูแลครอบครัว ทำให้มีความจำเป็นต้องลาออกจากราชการ แต่ก็หวังว่าสักวันหนึ่งคงจะได้กลับเข้ารับราชการอีกตามที่ใจต้องการ

และ อยากจะขอให้แพทย์ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บริหารทุกท่าน ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว (หรือทำแต่น้อยมาก) หรือไม่ได้อยู่เวรต่างๆนอกเวลาราชการ ได้โปรดอย่าลืมสิ่งที่พวกท่านเคยผ่านมาตั้งแต่สมัยเป็นแพทย์จบใหม่ งานที่หนัก ค่าตอบแทนที่ต่ำ และที่สำคัญคือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของวิชาชีพแพทย์ ได้โปรดอย่าให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่แพทย์มาทำลายความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง มาทำลาย SENIORITY ของพวกเรา

และถ้าจะออกกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ มาใช้กับแพทย์ส่วนใหญ่ที่ยังประกอบวิชาชีพเวชกรรมอยู่ ก็ขอให้ได้สอบถามความเห็นของแพทย์หรือมีการทำประชาพิจารณ์โดยแพทย์ส่วนใหญ่ เสียก่อน

ซึ่งผลประโยชน์สุดท้ายจากการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับ แพทย์ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานก็จะเกิดกับประชาชนในที่สุด และผู้เขียนคิดว่าคงจะสายเกินแก้แน่ ถ้าทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจังและแก้ปัญหาด้วยความจริงใจ ตั้งแต่บัดนี้


ทุกครั้งที่แพทย์พูดเรื่องเกี่ยวกับเงินเดือน สวัสดิการ หรือชีวิตความเป็นอยู่ของแพทย์ มักจะถูกสื่อมวลชน ประชาชน หรือแม้แต่นักการเมือง ถามคำถามเหล่านี้

ถาม รัฐบาลออกเงินให้เรียนแพทย์จนจบ ได้เปรียบคนอื่นตั้งมาก ยังไม่พอใจอีกหรือ แล้วจะเอาอะไรอีก

ตอบ

1. ไม่ใช่วิชาชีพแพทย์อย่างเดียวที่เอาทุนไปเรียน วิชาชีพอื่นที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ รัฐบาลก็ให้เงินอุดหนุนการศึกษาด้วยเช่นกัน และการเรียนแพทย์ก็ยังคงต้องจ่ายค่าเล่าเรียนด้วยเช่นเดียวกัน

2. ไม่ใช่แพทย์เรียนฟรี เพราะหลังจากจบเป็นแพทย์แล้ว ต้องไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามหน่วยงานต่างๆที่เป็นของรัฐ เป็นเวลา 3 ปี ด้วยเงินเดือนเริ่มต้นเพียง 8,200 บาท และถ้าจะลาออกก็จะต้องชดใช้เงินจำนวน 400,000 บาท คืนแก่รัฐ สรุปได้ว่า แพทย์ไม่ได้เรียนฟรี ต้องชดใช้ในรูปแบบของการปฏิบัติงานหรือจำนวนเงิน (ถ้าลาออก)

3. ถ้ารัฐบาลไม่ให้เงินสนับสนุนในการศึกษา ก็จะมีแต่บุตร หลานของคนร่ำรวยมาเรียนแพทย์ ทำให้หลังจากจบเป็นแพทย์แล้ว โอกาสที่จะไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดก็จะลดน้อยลงด้วย เพราะฉะนั้นจึงยังมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องให้ทุนการศึกษาต่อไป

ถาม เป็นแพทย์ต้องรู้จักคำว่าเสียสละต่อสังคมและประชาชน

ตอบ แพทย์ ก็เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา มีอารมณ์ มีความรู้สึก มีความต้องการปัจจัย 4 เหมือนคนทั่วไป (ปัจจัย 4 ที่เหมาะสมกับฐานะและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ)และ ขอให้สังคมมองภาพในความเป็นจริงบ้าง ว่าที่ผ่านมาแพทย์ยังทำเพื่อสังคมไม่พออีกหรือ และจะต้องให้แพทย์ทำเพื่อสังคมอีกนานเท่าไร แพทย์ถึงจะทำเพื่อตนเองและครอบครัวได้บ้าง โดยเฉพาะแพทย์ที่ทำงานภาครัฐ
...

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ข้อสรุปการสัมมนาเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกของแพทย์จากระบบราชการ(11กย2546)

ความเป็นมา
สืบเนื่องจากการลาออกของแพทย์จากระบบราชการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ดังตารางจำนวนแพทย์ที่ลาออกจากราชการ ปี 2542 – 2546 รวบรวมโดยสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา

หน่วยราชการ           2542 2543 2544 2545 2546(ถึงเดือนเมษายน)

กระทรวงสาธารณสุข    210    221  329   599    177
ส่วนราชการอื่น ๆ ( ทบวงมหา-วิทยาลัย, กระทรวงกลาโหม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร )
                            140    161  188   203    157
รวม ( 2,385 )         350    382  517   802    334

ซึ่งแพทย์ที่ลาออกเป็นจำนวนมากเช่นนี้ เกือบครึ่งหนึ่งจะเป็นแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นตัวบ่มเพาะ ถึงแม้ว่าจะมีแพทย์จบใหม่ปีละ 1,200 – 1,300 คน แต่ก็เป็นเพียงตัวเลขที่มาทดแทนเท่านั้น

ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ของแพทย์ที่จบใหม่ ไม่อาจเทียบได้กับแพทย์ที่ลาออกไป ด้วยเหตุดังกล่าว ทางแพทยสภา ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ (HUMAN RESOURCE) ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของระบบสาธารณสุข จึงได้ทำการจัดสัมมนาเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกของแพทย์จากระบบราชการ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2546 ที่โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งผลของการสัมมนาทางแพทยสภาได้สรุปสาเหตุ ปัญหา และแนวทางการแก้ไข รวมทั้งหมด 11 ข้อ ดังต่อไปนี้

สาเหตุ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการลาออกของแพทย์จากระบบราชการ

สาเหตุการลาออก รายละเอียดปัญหา

1. ปริมาณงานและชั่วโมงการทำงานมากเกินไป (Workload and Workhour)

1. การทำงานของวิชาชีพแพทย์มีความรับผิดชอบสูงเมื่อเทียบกับข้าราชการสายงาน อื่น เพราะต้องรับผิดชอบชีวิตของเพื่อนมนุษย์ซึ่งไม่สามารถจะหาสิ่งใดมาทดแทนได้
2. ปริมาณผู้ป่วยมีมาก
แพทย์ 1 คน ต้องตรวจคนไข้ ประมาณ 100-200 คน ในหนึ่งวัน(ตามมาตรฐาน ประกันสังคม 12 คน/1 ชม.)
3. อยู่เวรติดต่อกันโดยไม่มีเวลาพักผ่อน และวันรุ่งขึ้นต้องทำงานต่อตามปกติ
4. ต้องดูแลคนไข้นอกเวลาทำการในวันหยุด (คนไข้ใน) และวันหยุดนักขัตฤกษ์
5. แพทย์ต้องดูแลผู้ป่วยจนกระทั่งหาย หากไม่หายต้องดูแลตลอดไป เช่น แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง หรือแพทย์เฉพาะทางบางสาขาในโรงพยาบาลของรัฐมีแพทย์เพียงท่านเดียวต้องรับ ภาระอยู่เวรและรับปรึกษาทั้งในและนอกเวลาราชการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

แนวทางการแก้ไข

1. เสนอให้แพทย์มีเวลาทำงานเหมือนข้าราชการทั่วไป 8 ชม.x22 วัน ใน 1 เดือน


2. การปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการควรเป็นงาน ล่วงเวลา (OT) ซึ่งควรมีค่าตอบแทนต่างห่างทั้งนี้ ใน 1 เดือน ไม่ควรเกิน 10 เวร และควรได้หยุดพักหลังการอยู่เวร เพื่อประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย ในกรณีโรงพยาบาลที่ขาดแคลนแพทย์และแพทย์มีความจำเป็นต้องอยู่เวรมากกว่า 10 เวร/ 1 เดือน ส่วนที่เกินจาก 10 เวร นั่นควรได้รับค่าตอบแทนเป็นทวีคูณ

3. กรณีโรงพยาบาลที่ขาดแคลนแพทย์และแพทย์มีความจำเป็นต้องอยู่เวรมากกว่า 10 เวร/ 1 เดือน ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในสภาพนี้เป็นเวลานาน ควรเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์เพื่อลดประมาณการอยู่เวรของแพทย์

4. แพทย์ 1 ท่าน ควรตรวจคนไข้ไม่เกิน 12 คน/1 ชั่วโมง (ตามมาตรฐานของ ประกันสังคม)

5. การดูแลผู้ป่วยในนอกเวลาราชการเวรเช้า วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (Round Ward) ต้องมีค่าตอบแทนแยกต่างหากไม่ควรนับเป็นภาระหน้าที่ของแพทย์ ซึ่งรวมอยู่ในเงินเดือนปกติ

6. ควรมีการดำเนินการวิเคราะห์ดรรชนีชี้วัดความอ่อนล้าจากการทำงานของแพทย์ (Fatigue Index)


2. เงินเดือนที่ได้รับน้อยเกินไปไม่เหมาะสมกับภาระและความรับผิดชอบที่แพทย์ต้องดูแลรักษาชีวิตและป้องกันความพิการของผู้ป่วย

1. เงินเดือนของแพทย์เริ่มต้นที่ 8,190 บาท ทำงาน 10 ปี จะมีเงินเดือนประมาณ 15,000 บาท
2. อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่รับผิดชอบต่อความเสี่ยงของชีวิตผู้ป่วย ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ และมีความเสี่ยงต่อการฟ้องร้องสูง
• ในโครงการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (30 บาท) ได้นำเงินเดือนของแพทย์ไปรวมอยู่ในค่ารายหัว (UC)


แนวทางการแก้ไข
1. ควรจัดทำร่าง พรบ. ข้าราชการสายแพทย์แยกออกจาก พรบ.ข้าราชการพลเรือนอื่นๆ เช่นเดียวกับผู้พิพากษาและอัยการ
2. แยกเงินเดือนเดิมออกจากค่ารายหัวในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(UC)

3. ค่าตอบแทนน้อย

1. ค่าตอบแทนของแพทย์ที่ทำงานนอกเวลาราชการไม่เหมาะสมกับความรับผิดชอบของแพทย์ ที่ต้องดูแลชีวิตของผู้ป่วยซึ่งบ่อยครั้งอยู่ในภาวะฉุกเฉิน
2. แพทย์อยู่เวรอุบัติเหตุฉุกเฉินได้ค่าเวร 900 บาท ต่อ 8 ชม. (16.00-24.00, 24.00 – 8.00 น.) ฯลฯ และหลายโรงพยาบาลได้หักค่าตอบแทนตที่แพทย์ควรจะได้รับลงอีก 20-25% เนื่องจากเงินบำรุงไม่เพียงพออันเนื่องมาจากโครงการ 30 บาท

แนวทางการแก้ไข

1. ค่าตอบแทนเวรนอกเวลาราชการ เช่น เวรห้องฉุกเฉิน เวรดูแลผู้ป่วยในและให้คำปรึกษาต่างแผนก เวรผ่าตัดฉุกเฉิน ควรเพิ่มจากค่าอยู่เวรเดิมเป็น 2 – 3 เท่า
2. ควรกำหนดค่าตอบแทนตามภาระงาน เช่น งานบริหาร, งานบริการ, งานวิชาการเพิ่มขึ้นจากเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นๆ
3. ค่าตอบแทนเวรชันสูตรพลิกศพ ควรให้กระทรวงยุติธรรมตั้งงบประมาณเพื่อรองรับ
โดยมีค่าตอบแทนอยู่เวรระบบ On Call แยกออกจากค่าชันสูตรพลิกศพแต่ละราย
4. แหล่งที่มาของเงินค่าตอบแทน ในข้อ 1 – 2
รัฐต้องจัดเป็นงบประมาณต่างหาก ไม่ใช่ใช้จากเงินบำรุงโรงพยาบาล หรือเงินรายหัวในโครงการหลักประกันสุขภาพ (UC)


4. พนักงานของรัฐ
แนวทางการแก้ไข

- แพทย์จบใหม่ทุกคนได้รับการบรรจุเป็นเพียงพนักงานของรัฐ ไม่ได้เป็นข้าราชการไม่ได้รับสิทธิต่างๆ เทียบเท่าข้าราชการทั่วไป - ยกเลิกระบบพนักงานของรัฐ
ให้ปรับเป็นข้าราชการเหมือนเดิม

5. กฎหมายที่เพิ่มภาระให้แก่แพทย

1. ปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับทำให้แพทย์ต้องทำงานมากขึ้น นอกเหนือจากการดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นภาระที่หนักอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อชีวิต เช่น กรณีแพทย์ตกเหว ขณะเดินทางไปชันสูตรพลิกศพ หรือ กรณีแพทย์พลิกศพแล้วเกิดระเบิดทำให้แพทย์ได้รับบาดเจ็บสาหัส (เอกสารประกอบชุด 1)

2. ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขยังเพิ่มภาระความรับผิดชอบของแพทย์ให้แพทย์เป็นผู้ออกใบสันนิษฐานการตาย (ทร. 4 ตอนหลัง) โดยไม่เห็นศพ


แนวทางการแก้ไข


1. กฎหมายชันสูตรพลิกศพ ยืนยันตามมติของ
แพทย สภา คือ ให้แพทย์ออกชันสูตรพลิกศพในกรณีการตายเฉพาะสองกรณี เหมือนพนักงานอัยการในกรณีการตายโดยวิสามัญฆาตรกรรม และการตายในระหว่างที่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนการตายผิดธรรมชาติ 5 ประเภท ให้นำศพมาชันสูตรพลิกศพที่โรงพยาบาลในกรณีที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ก่อนตั้ง เรียบร้อยแล้วให้โอนหน้าที่ของการชันสูตรพลิกศพทั้งหมด ให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทั้งหมดโดยให้สถาบลันนิติวิทยาศาสตร์จัดหลักสูตร ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์เพื่อการดังกล่าว

2. ให้ยกเลิกใบสันนิษฐานสาเหตุการตาย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ทร.4 ตอนหลัง) เนื่องจากเป็นการผลักภาระความรับผิดชอบมาให้กับแพทย์ ซึ่งมีภาระกิจหนักอยู่แล้ว



6. ร่าง พรบ.ยา

1. หากร่าง พรบ.ยามีผลบังคับใช้โดยไม่สนใจตามขช้อเสนอที่แพทยสภาเรียกร้อง จะทำให้แพทย์ที่ดำเนินกิจการคลินิกส่วนตัว ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของการรักษาพยาบาล มีลักษณะเป็น ONE – STOP SERVICE ไม่มีสิทธิจ่ายยาที่คลินิกได้ดังเดิม ทำให้แพทย์ในภาครัฐที่มีเงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำอยู่แล้วตัดสินใจลาออก จากราชการเพื่อไปเข้าสู่ภาคเอกชนหรือประกอบอาชีพส่วนตัวทำให้ภาครัฐขาดแคลน แพทย์เป็นทวีคูณ

แนวทางการแก้ไข


1. ยืนยันตามมติของแพทยสภา เสนอให้มีการแก้ไขร่าง พรบ.ยา 4 มาตรา (ตามเอกสาร
ประกอบชุด 2 )



7. ความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพของแพทย์เพิ่มขึ้นเนื่องจากกฎหมายต่างๆ และการฟ้องร้องจากผู้ป่วย

1. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การแก้กฏหมาย เพื่อที่จะเอาผิดกับแพทย์ทำได้ต่อเมื่อแพทย์จงใจทำผิดหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง ความเสียหายหรือความผิดพลาดที่อาจ

2. การฟ้องร้องทางแพ่งและอาญาต่อความรับผิดชอบของแพทย์ต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อนจากการรักษาผู้ป่วยจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วย
ทุ พลภาพ หรือเสียชีวิต ทำให้แพทย์เกิดความท้อแท้หมดกำลังใจในการทำงาน การประกันการฟ้องร้องไม่รวมค่าทนาย แพทย์ปฏิบัติงานด้วยความหวาดระแวง ไม่มีความสุข


แนวทางการแก้ไข

1.ใน ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พิจารณามาตรา 41 ใหม่ และให้ตัดมาตรา 42 ออก

2. ผู้ที่ทำงานให้แก่รัฐ รัฐจะต้องจัดหาทนายให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

3. การเรียกร้องค่าเสียหายควรมีการกำหนดเพดานการจ่ายเงินค่าเสียหายเป็นสัดส่วน กี่เท่าของค่ารักษาพยาบาล เช่นค่ารักษา 100 บาท แต่เรียกร้องค่าเสียหาย 20 ล้านบาท ถึงแม้ว่าศาลจะไม่พิจารณาให้ตามจำนวนที่เรียกร้อง แต่ทนายความคิดค่าจ้างตามจำนวนเงินที่ฟ้องร้อง

4. ในกรณีที่ศาลตัดสินให้แพทย์ต้องจ่ายเงินชดเชย ควรมีการกำหนดเพดานว่าไม่เกินจำนวนเท่าใด การคาดเดาเกี่ยวกับการขาดรายได้ในอนาคตและความเสียหายที่เป็นลักษณะความ รู้สึกของผู้ป่วยไม่ควรนำมาคิดเป็นเงิน

5. การให้แพทย์ชดใช้ค่าเสียหายควรจะเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไม่ใช่เป็นการ สร้างความร่ำรวย เพราะผู้ป่วยจะได้รับค่าชดเชยจากที่อื่นมาแล้ว เช่นจากประกันสังคม จากบริษัทประกัน จากกองทุนทดแทน ฉะนั้นจึงต้องนำมาหักออก

6. ผู้ป่วยที่พิการบางส่วนทำงานไม่ได้เต็มที่ จะต้องคิดเป็นรัอยละของประสิทธิภาพที่ลดลงจากปกติ แขนซ้ายพิการจะต้องคิดว่าทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปร้อยละเท่าไร ชดเชยเฉพาะส่วนที่ลดลง

7. การจ่ายเงินช่วยเหลือ เงินชดเชย จะต้องให้เป็นรายเดือน ไม่ใช่เป็นเงินก้อนบวกดอกเบี้ย เมื่อได้เงินก้อนมาก็เอาไปใช้จนหมดในเวลาอันสั้น ไม่ได้เก็บไว้ใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระยะยาว

8. ควรแก้ไขค่าธรรมเนียมศาลให้มีความเหมาะสม ในปัจจุบันถ้าฟ้องห้าล้าน สิบล้าน ร้อยล้าน หรือพันล้านก็วางเงินให้ศาลสองแสนบาทเท่ากัน เพราะฉะนั้นทุกคนก็จะฟ้องเรียกค่าเสียหายให้สูงเพราะเสียเงินเท่าเดิม และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองได้มากขึ้น

9. ควรห้ามทนายได้รับส่วนแบ่งจากการฟ้องร้อง ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรม เช่นเดียวกับในประเทศยุโรป

10. ถ้าฟ้องแพทย์โดยที่แพทย์ไม่มีความผิด จะต้องมีการจ่ายค่าเสียหายให้แก่แพทย์ตามความเป็นจริง

ในต่างประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกาเมื่อ 40 ปีที่แล้วได้ใช้กฏหมายนี้ และอีกหลายประเทศ
ซึ่งขณะนี้ทุกประเทศที่มีการฟ้องร้องได้ออกกฏหมายป้องกันและแก้ไขแล้ว ประเทศไทยควรดำเนินการปรับแก้ไขด้วย


8. สถานภาพและความจำเป็นของครอบครัวในสังคมปัจจุบัน

1. แพทย์คือ ปุถุชนธรรมดาทั่วไปที่มีครอบครัวและมีความปารถนาที่จะให้ครอบครัวมีความสุข บุตรหลานมีความเจริญก้าวหน้าทาง
วิชาการตามสมควร และได้ตอบแทนพระคุณของบุพการี


2. แพทย์มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ซึ่งต่ำกว่าอายุเฉลี่ยประชากรไทยมาก


แนวทางการแก้ไข



1. เปิดโอกาสให้แพทย์ได้โยกย้ายสถานที่ทำงานได้ในโอกาสที่เหมาะสม และตามความจำเป็น
ของครอบครัว โดยมีหน่วยงานในกระทรวงรับเรื่องโดยตรง

2. กำหนดอายุที่จะไม่ต้องอยู่เวรให้ชัดเจน เช่น อายุมากกว่า 50 หรือ 55 ปี ไม่ต้องอยู่เวรนอกเวลาราชการ


9. โอกาสการศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทาง


- ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขมุ่งให้ทุนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหลักเพื่อสนองตอบ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ต้องลดทุนต้นสังกัดแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ทำให้แพทย์ที่ประสงค์จะศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นๆ ตัดสินใจลาออก เพื่อศึกษาต่อในสาขาที่ตนต้องการด้วนทุนส่วนตัว (Free Training) ซึ่งพบว่าในปีที่ผ่านมามีถึง 400 คน และแน่นอนที่ระบบราชการจะเป็นตัวเลือกสุดท้าย หรือไม่ใช่ตัวเลือกเลยหลังจากแพทย์เหล่านี้จบการศึกษา



แนวทางการแก้ไข

- เปิดโอกาสให้มีทุนต้นสังกัดแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น


10. ความคาดหวังถึงผลการรักษาพยาบาลของประชาชนสูง

1. ประชาชนมุ่งหวังให้แพทย์ให้การรักษาพยาบาลโดยทันทีที่มาถึงโรงพยาบาล

2. รัฐบาลผลักดันนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ในขณะที่ระบบยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร


แนวทางการแก้ไข

1. รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลต่อประชาชน ตามความเป็นจริง และตามศักยภาพของโรงพยาบาล และแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลแต่ละระดับ


11. การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บริหาร

1. แพทย์บางท่านต้องลาออกจากราชการ เนื่องจาทนแรงบีบคั้นอันไม่เป็นธรรมจากผู้บริหารในระดับต่างๆ ไม่ได้ และไม่มีโอกาสที่จะร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรม


2. ถูกกลั่นแกล้ง ปัญหาการโยกย้าย ความก้าวหน้าในการทำงาน


แนวทางการแก้ไข

- มีหน่วยงานรับเรื่องราวร้องทุกข์โดยตรง และผู้บริหารระดับสูงพิจารณาตัดสินอย่างมีระบบ
และด้วยความเป็นธรรม


จาก ปัญหาและแนวทางการแก้ไข ที่แพทยสภาได้สรุปจากการสัมมนาในครั้งนี้ ทางแพทยสภาหวังว่าข้อมูลทั้งหมด คงจะมีส่วนที่ทำให้รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น และผลักดันแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เพราะแพทยสภาเชื่อมั่นว่าไม่มีทรัพยากรใด หรือเทคโนโลยีใด ที่จะดูแลผู้ป่วยหรือประชาชนได้ดีเท่าทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง
คณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหาการขาดแคลนแพทย์





story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปัญหา แพทย์ลาออกสะท้อนวิกฤตปฏิรูประบบสุขภาพ หมอปรับตัวไม่ทันสังคมยุคใหม่ บวกคุณภาพชีวิตย่ำแย่ ค่าตอบแทนต่ำ สุดท้ายคนไข้และหมอเสี่ยงทั้งคู่ เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์ ยอมรับต้องคิดใหม่กับระบบคัดคนเก่งเรียนแพทย์เพราะมีปัญหา คณะทำงานร่วมสธ.- แพทยสภา เตรียมเวิร์กชอปสางทั้งระบบ เสนอนายกรัฐมนตรีช่วยแก้ไข

“น้องที่เป็นหมอจบใหม่ ออกไปชันสูตรพลิกศพกลางดึก กลางป่าเขา ขากลับประสบอุบัติเหตุรถตกเหว มีปัญหาทางสมอง ....

“ตำรวจเขารู้ว่ามันเสี่ยง เขาให้หมอเป็นคนพลิกศพ เจอระเบิดอยู่ใต้ศพ...”

“ทำงานแทบไม่มีเวลาพัก ยิ่งกว่ากรรมกร แพทย์ถูกตามได้ตลอดเวลา ผมเคยถูกตามคืนเดียว 14 ครั้ง พอรุ่งเช้าต้องตรวจคนไข้ในต่อ พอตอนสายออกตรวจคนไข้นอก ตกบ่ายผ่าตัด .....”

“ตอนนี้หมอเจอคดี 10 คดี มูลฟ้อง 120 ล้าน ไม่มีใครยื่นมือเข้ามาช่วย หมอต้องเทียววิ่งขึ้นโรงขึ้นศาล แก้ต่างคดี ....”

“รพ.ชุมชนต่อไปจะเหลือเพียงผอ.กับแพทย์ผู้ใช้ทุน ระบบกำลังจะล้ม ....”

“ภรรยาผมจะคลอดในเดือนหน้า ผมขอย้ายกลับเพื่อดูแลครอบครัว เขาไม่มีที่ลงให้ สุดท้ายผมต้องลาออกไปอยู่รพ.เอกชน....”

“จากเดิมที่สังคมมองหมอเป็นเทวดา ตอนนี้หมอคือปุถุชน คือข้าราชการที่ต้องให้บริการ คือจำเลยของสังคม หมอต้องปรับตัวมากขึ้น ลดอัตตา ลดความถือดี...”

นั่นคือ สภาพความจริงที่ถ่ายทอดจากแพทย์ ผู้ช่วยเหลือชีวิตทุกชีวิตในสังคม ในงานสัมมนาเรื่องปัญหาแพทย์ลาออกและแนวทางแก้ไข เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา


เตือนระวังเรือกำลังจะจม

การเพิ่มขึ้นของแพทย์ที่ลาออก เป็นสัญญาณบอกถึงความไม่ปกติของระบบ นายแพทย์คนหนึ่งจากรพ.เวียงพิงค์ ถึงกับชี้ว่า “เรือกำลังจะจม” โดยตัวเลขที่แพทยสภา รวบรวม ระบุว่าปี 2545 และปี 2546 (มี.ค.) มีหมอลาออก รวม 1,136 คน โดยเฉลี่ย 67% เป็นแพทย์ทั่วไป และลาออกโดยใช้ทุนไม่ครบสูงถึง 70%

นพ.ทักษพล ธรรมรังสี สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ให้ข้อมูลว่า แม้ความสามารถในการผลิตแพทย์ของไทยจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วงเวลาเพียง 10 ปี มีแพทย์เข้าสู่ระบบราชการของกระทรวงสาธารณสุข 2 เท่า แต่ดูเหมือนว่าการขาดแคลนแพทย์จะไม่ได้ลดลง

ยิ่งพิจารณาการกระจายกำลังแพทย์ยิ่งมีปัญหาหนัก เพราะขณะที่มีแพทย์เพิ่มขึ้น 9,473 คนในเวลา 10 ปี (2536-2545) กลับมีแพทย์ที่รพ.ชุมชนเพิ่มขึ้นเพียง 681 คน และที่จังหวัดหนองบัวลำภู แพทย์หนึ่งคนต้องดูแลประชากร 27,817 คน ซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพฯ กว่า 40 เท่า


จากเทวดาสู่จำเลยของสังคม

นพ.วราวุธ สุรพฤกษ์ แพทย์อิสระ อดีตหมอชนบทที่ทำงานในรพ.ชุมชน มากกว่า 20 ปี กล่าวว่า มุมมองของประชาชนต่อแพทย์ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มองหมอเป็นเทวดาเปลี่ยนมาเป็นปุถุชนทั่วไป เป็นข้าราชการ ประชาชนคิดว่าเขามีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับบริการ และเป็นบริการในยุคสังคมบริโภคนิยมที่มีแนวคิดว่าลูกค้าถูกต้องเสมอ

ขณะเดียวกัน หมอต้องอยู่ในกระบวนการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ทั้ง HA , ISO ฯลฯ สารพัด ท่ามกลางสภาพภาระงานที่หนัก ทั้งงานในเวลาและนอกเวลาราชการ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้หมอปรับตัวไม่ทัน สับสน เป็นเหตุให้หมอลาออกเพิ่มสูงขึ้น

ประเด็นที่นพ.วราวุธ เป็นห่วงจากภาพที่เกิดขึ้นก็คือ การที่หมอลาออกยังดีกว่าหมอที่อยู่แบบขอไปที หาทางหลีกเลี่ยง ซึ่งทำให้คุณภาพหมอลดลง คนไข้เสี่ยงมากขึ้น


วิเคราะห์เหตุปัญหาลาออก

ทางด้าน นพ.สยาม พิเชษสินธุ์ แพทย์อิสระ วิเคราะห์สาเหตุ 7 ประการที่ทำให้หมอลาออกว่า เป็นเพราะ

หนึ่ง รายได้ไม่เพียงพอ (เงินเดือนต่ำ)

แพทย์จบใหม่ ได้เงินเดือน 8,200 บาท ทำงาน 10 ปี ได้เงินเดือนประมาณ 13,500 บาท ส่วนเงินที่ไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว 10,000 บาทนั้น มีแพทย์เพียง 10-15% ที่รับระดับเงินเดือนดังกล่าว ต่ำกว่ารพ.เอกชน ที่พบว่าแพทย์จบใหม่มีค่าตอบแทนมากกว่าบุคลากรส่วนอื่นที่ทำงานมาแล้ว 10-20 ปี ขณะที่ค่าตอบแทนในการทำงานนอกเวลาราชการ ยังต่ำกว่าภาคเอกชน 10-20 เท่า ทั้งนี้ รัฐบังคับให้อยู่เวรนอกเวลาราชการด้วยค่าตอบแทน 400-900 บาทต่อ 8 ชั่วโมง

สอง ความรับผิดชอบที่หนักเกินไป

โดยเฉพาะนอกเวลาราชการ หรือ การอยู่เวร ซึ่งไม่มีการระบุชัดว่า แพทย์ต้องอยู่เวรไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อายุเท่าไหร่จึงไม่ต้องอยู่เวร เหตุนี้แพทย์อายุ 50 ปี ยังต้องเข้าเวร ตื่นตีสองตีสามผ่าตัดคนไข้

ชั่วโมงการทำงานจึงขึ้นอยู่กับจำนวนแพทย์ในแผนกเป็นสำคัญ เช่น ถ้าแพทย์ในแผนกมีสองคน ต้องทำงาน108 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไม่นับรวมเวรห้องฉุกเฉิน เวรชันสูตรพลิกศพ และเวรอื่นๆ อีก ทำให้สุขภาพกายและใจทรุดโทรม และเป็นเหตุให้แพทย์อาวุโสที่มีประสบการณ์ ลาออกจากราชการ

สาม สภาพครอบครัวและสังคม

เช่น การขอย้ายไปรับราชการต่อใกล้บ้านแล้วถูกปฏิเสธ แต่จำเป็นต้องย้าย จึงใช้วิธีลาออกเพื่อไปทำงานในรพ.เอกชนหรือเปิดคลีนิคส่วนตัว

สี่ ความเสี่ยงในวิชาชีพมากขึ้น

ทั้งความเสี่ยงจากถูกฟ้องร้อง ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพราะแพทย์มีเวลาดูแลรักษาผู้ป่วยน้อยลงเนื่องจากต้องตรวจผู้ป่วยมากขึ้น ตั้งแต่ 50-100 คนต่อวัน หากตรวจและอธิบายละเอียดต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15-20 นาที/คน จะรักษาผู้ป่วยได้ไม่เกิน 30 คน/วัน ซึ่งความจริงเป็นไปไม่ได้ ทำให้เกิดคำพูดที่ว่า
“ตรวจผู้ป่วยมากถูกฟ้องมาก ตรวจผู้ป่วยน้อยถูกฟ้องน้อย ทำงานมากถูกฟ้องมาก ทำงานน้อยถูกฟ้องน้อย”

ขณะที่ผู้ป่วยต่างคาดหวังในการรักษาสูง การฟ้องร้องแพทย์ยังพบบ่อยที่สุดในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.เพราะแพทย์ใช้ทุนซึ่ง ยังไม่มีประสบการณ์เริ่มไปทำงาน

นอกจากนั้น ยังมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากผู้ป่วย เสี่ยงจากอุบัติเหตุ บ่อยครั้งที่แพทย์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ เพราะการอยู่เวรนอกเวลาราชการกลางคืนถึงเช้า เกิดอาการหลับใน สถาบันครอบครัวมีความเสี่ยงตามมา

ห้า การลาออกเพื่อศึกษาต่อเนื่อง

หก คำสั่งย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัด (มักพบในแพทย์ที่สังกัดกระทรวงกลาโหม)

ประการ สุดท้าย เหตุจากปัญหาเรื่องพนักงานของรัฐ

ที่แตกต่างกับข้าราชการค่อนข้างมากในเรื่องความมั่นคงในวิชาชีพเพราะต้องถูก ประเมินทุกปี, เหตุจากกฎหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้กับแพทย์ เช่น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, พ.ร.บ.ยา โดยเฉพาะมาตราที่ห้ามแพทย์ ทัณฑแพทย์ สัตวแพทย์ จ่ายยาที่คลีนิก, กฎหมายชันสูตร โดยเฉพาะกรณีที่ต้องไปชันสูตรในพื้นที่ป่าเขา ในเวลากลางคืน ทำให้เกิดปัญหาสวัสดิภาพโดยเฉพาะแพทย์หญิง อีกทั้งเป็นการทิ้งผู้ป่วยที่รอตรวจและผู้ป่วยฉุกเฉินอีกด้วย

ขณะเดียวกัน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค มีส่วนทำให้โรงพยาบาลบางแห่งมีเงินบำรุงลดลง ทำให้รับแพทย์เฉพาะทางเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นเป็นไปไม่ได้ เพราะเงินเดือนแพทย์รวมอยู่ในงบรายหัวของประชากร

“นโยบาย 30 บาท รัฐดูแลห่วงใยผู้รับบริการมากเป็นพิเศษ แต่กลับลืมฟันเฟืองตัวสำคัญที่สุดในระบบสาธารณสุขคือ ผู้ให้บริการ โดยเฉพาะแพทย์

“การพูดถึงสิทธิแพทย์ ไม่ได้เป็นการต่อต้านหรือขัดแย้งกับสิทธิผู้ป่วย แต่เป็นการเสริมให้สิทธิผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น สิทธิแพทย์คือสิทธิของแพทย์โดยชอบธรรมที่จะได้รับการดูแลตั้งแต่สภาพความ เป็นอยู่ คุณภาพชีวิต สภาพการทำงานและความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับแพทย์นั่นคือ การกำหนดเรื่องเงินเดือน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม กำหนดชั่วโมงที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจ”

ปรับระบบคัดเลือกเรียนแพทย์

ด้าน นพ.อาวุธ ศรีศุกรี เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ฯ กล่าวถึงระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ว่า เน้นการสอนทางวิชาการมากเกินไป ไม่ได้เรียนรู้ชีวิต สังคม ไม่ได้ฝึกอบรมให้รู้ว่าเมื่อจบไปแล้วจะเจออะไร เมื่อมีปัญหาร้อยแปดปรับตัวไม่ได้ก็ลาออกในที่สุด

“เราดึงครีม ดึงคนเก่งมาเรียนหมอหมด ไม่เหลือครีมไว้ให้วงการอื่น ทำให้สังคมมีปัญหาแล้วกระทบแพทย์ในที่สุด เราต้องมาคิดว่าจะเอาคนอยากเป็นแพทย์มากกว่าดึงคนเกรดสูงจะดีไหม การปรับหลักสูตรให้เรียนรู้สังคมไม่ใช่สอนวิชาแพทย์ล้วนๆ ส่วนการเรียนสาขาวิชาเฉพาะเรียนหลังจากจบแพทย์ทั่วไปได้หรือไม่” นพ.อาวุธ กล่าว

วิกฤตปัญหาหมอลาออก กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่แพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งคณะกรรมการร่วมและเวิร์คชอปเพื่อสังเคราะห์ปัญหาและทางออกทั้งระบบ เพื่อนำเสนอต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ก.ย. ที่จะถึงนี้



ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา

ภาพรวม

• ทบทวนระบบการตอบแทนแพทย์ทั้งในรูปตัวเงิน
- เพิ่มเงินเดือนขึ้น2/3หรือใกล้เคียงเอกชน หรือตามชั่วโมงทำงาน
- แยกบัญชีเงินเดือนออกจาก กพ.เหมือนศาล(อัยการ)
- รายได้เฉลี่ย(รวมเงินเดือนและค่าตอบแทน) ที่เหมาะสม ประมาณ 30,000 - 100,000 บาท หรือเฉลี่ย 50,000 บาท

• ปรับปรุงระบบความก้าวหน้า เลิกระบบเส้นสาย, พิจารณาขั้นควรกระจายไม่ใช่กระจุกที่ส่วนกลาง

• ปรับปรุงการศึกษาต่อ มีทุนให้ เลื่อนขั้นตามปกติ ไม่กีดกั้นสาขาที่แพทย์ต้องการเรียน

• ทบทวนมาตรการทำสัญญาของแพทย์ให้สอดคล้องกับต้นทุนจริง

•สร้างวาระแห่งชาติเรื่องกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อเป็นแผนแม่บทด้านกำลังคน เป็นเวทีที่ทุกฝ่ายมาพูดคุย เรียนรู้และหาทางออกร่วมกัน

• ผลิตแพทย์ให้สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุขของประเทศ

• กระจายอำนาจเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

• ปรับปรุงภาระงาน พิจารณาชั่วโมงการทำงาน-การอยู่เวรให้เหมาะสม-ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

• ยกเลิกกฎหมายที่ล้าหลังไม่ทันสมัยและบีบคั้นแพทย์ เช่น พ.ร.บ.เวชกรรม และกม.ชันสูตรพลิกศพ โดยจัดประชาพิจารณ์


แพทย์

• ปรับตัว เข้าใจและยอมรับมุมมองที่เปลี่ยนไปของประชาชน

• ลดอัตตา ถือดี เชื่อมั่นในความเท่าเทียม

• ให้บริการอย่างรอบคอบ ถูกหลักวิชา ทันเวลา ปรับตัวก่อนออกสู่ชุมชน

• หลีกเลี่ยงประโยชน์มิชอบ

• อดออมวางแผนอนาคตไว้หลายๆ ทางเลือก


ผู้บริหาร


•มุ่งเน้นกระจายบุคลากร, ออกเยี่ยมผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง, ออกรับเชิงแก้ไขปัญหา

• ไม่เพิ่มงานตามกระแส สร้างภาพ เป็นภาระแต่ไม่คุ้มค่า

• คัดเลือกผู้บริหารด้วยความโปร่งใส

• สธ.เป็นเจ้าภาพแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เช่น กม.ชันสูตรศพ

ASTVผู้จัดการออนไลน์
3กย2546

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สถานการณ์ การลาออกของแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อที่จะวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐและสร้าง โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ที่สามารถอธิบายปัจจัยอิทธิพลต่อการลาออก โดยใช้โปรแกรม LISRAL

สมมติฐานการวิจัย ได้แก่

ประการแรก สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น เพศ อายุ ภูมิลำเนา รายได้ และครอบครัวส่งผลต่อการลาออก

ประการที่สอง ลักษณะงาน เช่น ภาระงานหนัก ความจำเจ ส่งผลต่อการลาออก

ประการที่สาม การขาดกระตุ้นขวัญและกำลังใจในส่วนที่เกี่ยวกับงาน เช่น ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม การขาดโอกาสก้าวหน้า และการลาศึกษาต่อมีความสัมพันธ์กับการลาออก

ประการที่สี่ นโยบายและระบบบริหารเกี่ยวข้องกับการทำให้แพทย์ลาออก

ประการที่ห้า ความพึงพอใจในงาน ส่งผลลบกับการลาออก

และประการสุสดท้าย ความผูกพันกับองค์กร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลาออก

สถิติที่ใช้วิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน ได่แก่ ไค-สแควร์ t-test multiple regression การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและ LISRAL กลุ่มตัวอย่างได้แก่แพทย์ที่ลาออกจากราชการในช่วง 1 มาราคม 2544 ถึง 15 มีนาคม 2546 จำนวน 1105 คน แบบสอบถามจำนวน 958 ชุด ถูกส่งไปยังแพทย์ที่ลาออกทุกคน ตามที่สามารถหาที่อยู่ได้จากแพทยสภา แบบสอบถามจำนวนได้รัรบการตอบกลับมา 312 ชุด คิดเป็นร้อยละ 32.57 ซึ่ง 278 ชุด (ร้อยละ 29.02) มีข้อมูลเพียงพอ ที่จะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยด้านนโยบาย ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการลาออกอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน การขาดขวัญและกำลังใจ ความพึงพอใจในงาน ตลอดจนความผูกพันกับองค์กร ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก

การวิเคราะห์ปัจจัยอิทธิพลของแพทย์ผู้ลาออก โดยโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISRAL พบว่า โมเดลแสดงให้เห็นถึงปัจจัยอิทธิพลต่าง ๆส่วนมากส่งผลในเชิงบวกต่อการลาออกของแพทย์ ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 2.218 (p=0.330, df=2, GFI=0.998) แสดงว่ามีความสอดคล้องของโมเดลและข้อมูลเชิงประจักษ์

ปัจจัยความผูกพันกับองค์กรส่งผลสูงสุดต่อการลาออก (0.698)
ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลในทางลบต่อความผูกพันกับองค์กร (-0.049)
ขณะที่ปัจจัยด้านขวัญและกำลังใจ (0.515) และ ด้านความพึงพอใจในงาน (0.112) ส่งผลในทางบวก
ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคม (0.275) และขวัญกำลังใจ (0.185) มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน
แต่ลักษณะงาน (-0.28) และนโยบาย (-0.039) ส่งผลลบต่อความพึงพอใจ

ผลของการศึกษานี้สรุปได้ว่า ปัจจัยเรื่องความพึงพอใจในงาน และความผูกพันกับองค์กรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการลาออกของแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากคำถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์ แพทย์ที่ลาออกจากภาครัฐ

Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของแพทย์ในภาครัฐ
Authors: กำธร พฤกษานานนท์ วิรุฬห์ พรพัฒนกุล เกริกยศ ชลายนเดชะ ลักษนันท์ รัตนคูหา กมลทิพย์ ดุลยเกษม Author's
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2552
...

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
การหมุนเวียนของบุคลากรที่ให้บริการในสถานพยาบาลภาครัฐ : รายงานวิจัยเล่มที่5
วิโรจน์ ณ ระนอง; Viroj Na Ranong; อัญชนา ณ ระนอง; Onchana Na Ranong


บทคัดย่อ:
ชื่องานวิจัย การหมุนเวียนของบุคลากรที่ให้บริการในสถานพยาบาลภาครัฐชื่อผู้วิจัย วิโรจน์ ณ ระนอง, อัญชนา ณ ระนองแหล่งทุน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขปีที่พิมพ์ 2548 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหมุนเวียนของบุคลากรในระบบบริการโดยเน้นในส่วนของภาครัฐบาลรวมทั้งประเด็นเรื่องการลาออกจากราชการของแพทย์ การศึกษาครอบคลุมบุคลากรสี่กลุ่มคือ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล โดยมีจุดเน้นที่แพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลนมากเป็นพิเศษ ผลการศึกษาพบว่าในแต่ละกลุ่มมีปัญหาแตกต่างกัน อันได้แก่ กลุ่มแพทย์ การศึกษาเรื่องการลาออกของแพทย์ที่ผ่านมาสามารถประมวลผลและอาจกล่าวได้ว่า การลาออกของแพทย์ไม่ได้เกิดจากไม่ได้มีเพียงสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดที่ทำให้ลาออก สาเหตุพื้นฐานที่สำคัญได้แก่ ภาระงาน ค่าตอบแทน และโอกาสในการศึกษาต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่ต่างจากในอดีตมากนัก ปัจจัยเรื่องค่าตอบแทนในลักษณะสัมพันธ์มีส่วนกำหนดการตัดสินใจในการลาออกและกลับเข้ารับราชการ และปัจจัยเหล่านี้มักจะผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและประชากร ก็มีส่วนทำให้มีการลาออกมากขึ้นหรือเร็วขึ้น ทันตแพทย์เป็นอีกสาขาที่มีปัญหาขาดแคลนและยังมีข้อมูลและการศึกษาในเรื่องกำลังคนด้านทันตแพทย์น้อยมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจำนวนการผลิตทันตแพทย์แต่ละสถาบันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักในช่วง 11 ปี ที่ผ่านมา จำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจาการที่สถาบันใหม่ๆ เปิดสอนมากกว่าที่จะเป็นการเพิ่มการผลิตของสถาบันเดิม โดยที่ผ่านมาสาธารณะและฝ่ายการเมืองเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์มากเท่ากับการขาดแคลนแพทย์ ทางด้านเภสัชกรในภาพรวมแล้ว จำนวนเภสัชกรในภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด โดยไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก จึงพอจะกล่าวได้ว่าที่ผ่านมายังไม่มีปัญหาการลาออกจากราชการของเภสัชกรที่รุนแรงไม่ว่าจะก่อนหรือหลังโครงการ 30 บาท และทางด้านกลุ่มของพยาบาลนั้น เคยเป็นสาขาที่ขาดแคลนและมีการทำสัญญาใช้ทุนเช่นเดียวกัน แต่ก็ยกเลิกไปก่อนเภสัชกรเสียอีก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาภาระทางด้านการเงินของรัฐบาลและนโยบายลดจำนวนข้าราชการสรุปผลการศึกษาได้ว่าปัญหาความพอเพียงของบุคลากรในระดับที่สามารถให้บริการที่มีคุณภาพได้ ย่อมมีความสำคัญมากกว่าปัญหาการลาออกจากราชการ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่บุคลากรสาขาอาชีพหลักๆยังขาดแคลนอยู่ และโครงการ 30 บาทฯ ยังคงใช้วิธีการจ่ายเงินที่ทำให้สถานพยาบาลเอกชนในต่างจังหวัดมีแนวโน้มถอนตัวออกจากโครงการมากกว่าจะเข้าร่วมโครงการนั้น การลาออกจากราชการของบุคลากรเหล่านี้ก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายเกี่ยวข้อง ควรต้องให้ความสนใจแก้ไขเป็นลำดับต้นๆ
...

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เห็นด้วยอย่างยิ่ง

Absolute power

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
    • ดูรายละเอียด
ตรงเลย แต่ที่ผ่านมา ทุกรัฐบาล ปลัดกระทรวงและผู้มีอำนาจ ไม่เคยจริงจังจริงใจ ในการแก้ปัญหา แต่ละคนมาแล้วไป ปัญหายังอยู่เหมือนเดิม คนทำงานเค้ารู้ปัญหา แต่ตอนแก้แก้ปัญหา ดันใช้คนไม่ทำงานมาเป็นกรรมการ ทุกที เซ็งเลย