ผู้เขียน หัวข้อ: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  (อ่าน 18818 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2014, 14:00:57 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๘/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นางสุวรรณา ตาลเหล็ก
       ๒. นางพรพิมล ลุนดาพร
       ๓. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
       ๔. นางสาวอดาน้อย ห่อมารยาท
       ๕. นางสาวกริชสุดา คุณะแสน
       ๖. นายกวี วงศ์รัตนโสภณ
       ๗. นายนพพร พรหมขัติแก้ว
       ๘. นางอัมรา วัฒนกูล
       ๙. นายพรส เฉลิมแสน
       ๑๐. นายวิเชียรชนินทร์ สินธุไพร
       ๑๑. นางสาวภัทรจิต โชติกพนิช
       ๑๒. นางพรรณราย เมาลานนท์
       ๑๓. นายพงษ์เทพ ไชยศล
       ๑๔. นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์
       ๑๕. นายเกษมสันติ จำปาเลิศ
       ๑๖. นายเทียนสวัสดิ์ เทียนเงิน
       ๑๗. นางภัคจิรา ชุนฮะสี
       ๑๘. นายนิทัช ศรีสุวรรณ
       ๑๙. นายหาญศักดิ์ เบญจศรีพิทักษ์
       ๒๐. นายองอาจ ตันธนสิน
       ๒๑. นางสาวรจเรข วัฒนพาณิชย์
       ๒๒. นางสาวนุ่มนวล ยัพราช
       ๒๓. นายอุทัย มวงศรีเมืองดี
       ๒๔. นายอานนท์ กลิ่นแก้ว
       ๒๕. นายเจติศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ์
       ๒๖. นายศรายุทธ สังวาลย์ทอง
       ๒๗. นายธงชัย สุวรรณวิหค
       ๒๘. นายดนัย ทิพย์ยาน
       ๒๙. นายวิษณุ เกตุสุริยา
       ๓๐. นายสุเมธ ตระกูลวุ่นหนู
       ๓๑. นายสุขเสก พลตื้อ
       ๓๒. นายสุวิทย์ เม็นไธสง
       ๓๓. นายวิระศักดิ์ โตวังจร
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
       ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗
       เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ
       
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑. ให้ทุกภาคส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐโดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้
       
       ข้อ ๒. ในกรณีที่มีการกล่าวหาหรือพบเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ประกอบกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล โดยให้บังคับใช้มาตรการทางวินัย มาตรการทางปกครอง และมาตรการทางกฏหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
       
       ข้อ ๓. ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ อย่างเคร่งครัด
       
       ข้อ ๔. กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญาแล้วแต่กรณี
       
       ข้อ ๕. ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐดำเนินการแสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งติดตาม เร่งรัดผลการดำเนินงานตามข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ และรายงานผลการปฏิบัติพร้อมทั้งเสนอความเห็นให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2014, 14:01:43 »
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗
      เรื่อง การยื่นคำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘
       
       ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ที่กำหนดให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย นั้น เพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ตลอดจนการยื่นคำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอันจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑.ให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แล้วแต่กรณี โดยให้สอดคล้องและอยู่ภายใต้กรอบของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. ๒๕๕๗ - พ.ศ. ๒๕๖๐) รวมทั้งต้องเป็นไปตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด และเมื่อจัดทำเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อดำเนินการต่อไป
       
       ข้อ ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่จัดทำตามข้อ ๑ และให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้เสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ
       
       ข้อ ๓. เมื่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่เสนอตามข้อ ๒ แล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการส่งแผนปฏิบัติราชการดังกล่าวต่อสำนักงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณ
       
       การส่งแผนปฏิบัติราชการต่อสำนักงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้ยื่นคำขอของบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณแล้ว
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
       
       เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
       
       ๑.ให้ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๒.ให้ นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน มาปฏิบัติหน้าที่ อธิบดีกรมการจัดหางานอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๓.ให้ นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวมาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๔.ให้ นายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดชลบุรี มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗
      เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       
       เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยทั้ง ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมือง และความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ และการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างสอดคล้องและสัมพันธ์กัน จึงให้ดำเนินการดังนี้
       
       ๑. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นผู้บริหารงาน
       
       ๒.แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
       
       ๒.๑.คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
       
       ๒.๑.๑ รองหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       ๒.๑.๒ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       ๒.๑.๓ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       ๒.๑.๔ ปลัดกระทรวงกลาโหม รองประธานกรรมการ
       ๒.๑.๕ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ
       ๒.๑.๖ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
       ๒.๑.๗ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
       ๒.๑.๘ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
       ๒.๑.๙ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๒.๑.๑๐ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๒.๑.๑๑ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
       ๒.๑.๑๒ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
       ๒.๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๒.๑.๑๔ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๒.๑.๑๕ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       ๒.๑.๑๖ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
       ๒.๑.๑๗ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       ๒.๑.๑๘ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๒.๑.๑๙ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๒.๑.๒๐ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
       ๒.๑.๒๑ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       ๒.๑.๒๒ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
       ๒.๑.๒๓ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       ๒.๑.๒๔ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
       ๒.๑.๒๕ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
       ๒.๑.๒๖ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๒.๑.๒๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑.๒๘ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑.๒๙ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑.๓๐ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
       ๒.๑.๓๑ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการ
       ๒.๑.๓๒ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรรมการ
       ๒.๑.๓๓ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
       ๒.๑.๓๔ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
       ๒.๑.๓๕ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
       ๒.๑.๓๖ ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน กรรมการ
       ๒.๑.๓๗ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       ๒.๑.๓๘ เจ้ากรมยุทธการทหาร ผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๑.๓๙ อธิบดีกรมอาเซียน ผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒.๒ อำนาจหน้าที่
       
       ๒.๒.๑ บริหารงาน และกำกับดูแลศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้เป็นไปตามนโยบาย
       ๒.๒.๒ กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการเข้าร่วมกรอบความร่วมมืออาเซียน
       ๒.๒.๓ พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       ๒.๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ได้ตามความเหมาะสม โดยคณะอนุกรรมการหลักประกอบด้วย
       ๒.๒.๔.๑ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
       ๒.๒.๔.๒ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
       ๒.๒.๔.๓ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
       ๒.๒.๕ สามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุม ได้ตามความเหมาะสม
       ๒.๒.๖ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยังคงรับผิดชอบการดำเนินการ ไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
       ๒.๒.๗ รายงานผลการปฏิบัติ ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทราบอย่างต่อเนื่อง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดเป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2014, 14:02:06 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๒/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
       
       เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียนและข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       
       ๑.องค์ประกอบ
       
       ๑.๑หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย ประธานกรรมการ
       ๑.๒ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
       ๑.๓ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๑.๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๑.๕ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๑.๖ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๑.๗ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๑.๘ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๑.๙ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๑.๑๑ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       ๑.๑๓ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
       ๑.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๑.๑๕ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๖ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กรรมการ
       ๑.๑๗ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑.๑๘ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
       ๑.๑๙ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๒๐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒. อำนาจหน้าที่
       
       ๒.๑ พิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนร่างเผนแม่บท แผนงานหรือโครงการและแผนปฏิบัติการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติ
       ๒.๒ กำหนดแนวทางให้หน่วยงานถือปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรวมทั้งการส่งเสริมการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนหรือข้อตกลงภายใต้กรอบเศรษฐกิจอื่น หรือการค้าบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
       ๒.๓ กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ตลอดจนให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนแม่บท แผนงานหรือโครงการหรือแผนปฏิบัติการ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม
       ๒.๕ เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
       ๒.๖ ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งดังนี้
       ๒.๗ เสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้มีกฏระเบียบ หรือปรับปรุงแก้ไข กฏระเบียบที่จำเป็นต่อการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
       ๒.๘ ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
       ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนายความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายฯ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบาย ฯ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะกิจ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2014, 13:55:08 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๓/๒๕๕๗
      เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
       
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ และปัญหาการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๙/๒๕๕๗ และใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
       
       ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้านและการค้ามนุษย์ (กนร.) ประกอบด้วย
       ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       ๑.๒ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) รองประธานกรรมการ
       ๑.๓ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
       ๑.๔ ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองประธานกรรมการ
       ๑.๕ ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       ๑.๖ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๑.๗ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๑.๘ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๑.๙ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
       ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
       ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
       ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๑.๑๕ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๑.๑๖ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
       ๑.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๘ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๑.๑๙ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๑ เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการ
       ๑.๒๒ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๓ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กรรมการ
       ๑.๒๔ ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
       ๑.๒๕ ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
       ๑.๒๖ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
       ๑.๒๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๘ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
       ๑.๒๙ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
       ๑.๓๐ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๓๑ เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๓๒ อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒. คณะกรรมการมีอำนาจ ดังนี้
       ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็กต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๒ อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๔ พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
       ๒.๕ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
       ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
       ๓. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๔/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
       
       เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพ และเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๐/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (อกนร.)เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (กนร.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
       
       ๑. องค์ประกอบ
       ๑.๑ เสนาธิการทหาร ประธานอนุกรรมการ
       ๑.๒ อธิบดีกรมจัดหางาน รองประธานอนุกรรมการ
       ๑.๓ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รองประธานอนุกรรมการ
       ๑.๔ เสนาธิการทหารบก อนุกรรมการ
       ๑.๕ เสนาธิการทหารเรือ อนุกรรมการ
       ๑.๖ เสนาธิการทหารอากาศ อนุกรรมการ
       ๑.๗ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม อนุกรรมการ
       ๑.๘ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อนุกรรมการ
       ๑.๙ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๒ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อนุกรรมการ
       ๑.๑๐ อธิบดีกรมการปกครอง อนุกรรมการ
       ๑.๑๑ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุกรรมการ
       ๑.๑๒ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อนุกรรมการ
       ๑.๑๓ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุกรรมการ
       ๑.๑๔ อธิบดีกรมประมง อนุกรรมการ
       ๑.๑๕ อธิบดีกรมเจ้าท่า อนุกรรมการ
       ๑.๑๖ อธิบดีกรมควบคุมโรค อนุกรรมการ
       ๑.๑๗ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อนุกรรมการ
       ๑.๑๘ อธิบดีกรมอาเซียน อนุกรรมการ
       ๑.๑๙ อธิบดีกรมอนามัย อนุกรรมการ
       ๑.๒๐ ปลัดกรุงเทพมหานคร อนุกรรมการ
       ๑.๒๑ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ อนุกรรมการ
       ๑.๒๒ ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ อนุกรรมการ
       ๑.๒๓ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อนุกรรมการ
       ๑.๒๔ เจ้ากรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและเลขานุการ
       ๑.๒๕ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๑.๒๖ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒. อำนาจหน้าที่
       ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก ต่อคณะกรรมการ
       ๒.๒ ประสานงาน ติดตามการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการ การจัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
       ๒.๓ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
       ๒.๔ พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ก่อเสนอคณะกรรมการพิจารณา
       ๒.๕ กำกับการบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศ
       ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
       
       ๓. คณะอนุกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗
       เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
       
       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศ และการสร้างมาตรฐานในการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการและนายจ้างซึ่งประกอบกิจการบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างมาก และเพื่อขจัดการบังคับใช้แรงงานหรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานต่างด้าว คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงาน ในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดสุรินทร์ เพื่อดำเนินการพิจารณาออกใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่ประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก และปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้ศูนย์ดังกล่าวเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
       ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานมีหน้าที่ในการจัดทำทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
       
       ข้อ ๒ คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ไม่ว่าจะได้เคยทำงานในประเทศไทยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม ให้แจ้งความประสงค์ต่อศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงาน ภายในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว การเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาให้เป็นไปตามกฏหมายในเรื่องนั้นๆ
       ในกรณีที่มีนายจ้างยื่นแบบความต้องการแรงงานต่าวด้าว หรือบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวที่เคยทำงานในกิจกรรมของตนเองไว้กับศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานหากศูนย์ดังกล่าวตรวจสอบแล้วพบว่าคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่แจ้งความประสงค์ไว้เป็นผู้ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของนายจ้างหรือเมื่อมีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อของนายจ้างแล้วตรงกับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่แจ้งความประสงค์ไว้ให้แจ้งนายจ้างมารับตัวบุคคลนั้นเพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานชั่วคราวต่อไป
       ให้ศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานพิจารณาออกใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวแก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่นายจ้างมารับตัวตามวรรคสอง โดยให้ใบอนุญาตมีอายุหกสิบวันนับแต่วันที่ออก และให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวสามารถทำงานกับนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
       
       ข้อ ๓ เมื่อนายจ้างรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาตามข้อ ๒ มาแล้ว ให้นำบุคคลดังกล่าวไปขอรับใบอนุญาตทำงานชั่วคราว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จตามข้อ ๔ ในเขตจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการของนายจ้าง
       ใบอนุญาตทำงานชั่วคราวที่ออกตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุเท่าจำนวนวันที่เหลืออยู่ของใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราว
       
       ข้อ ๔ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวและจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก และปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในจังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรกและเริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ส่วนการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศกำหนด
       ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จมีหน้าที่ในการจัดทำทะเบียนประวัติ ออกบัตรประจำตัว และตรวจสุขภาพคนต่างด้าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
       
       ข้อ ๕ ให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายหรือการอนุญาตนั้นสิ้นสุดแล้ว หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมาย ไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ
       ในกรณีที่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งไปรายงานตัวพร้อมนายจ้างและแจ้งความประสงค์จะทำงานเป็นกรรมกร หรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกาย โดยไม่ได้อาศัยวิชาความรู้หรือการฝึกทางวิชาการ หรือทำงานอื่นอันมิได้เป็นการฝ่าฝืนกฏหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวให้ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแก่คนต่างด้าวนั้น โดยให้ใบอนุญาตมีอายุหกสิบวันนับแต่วันที่ออก และให้คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวสามารถทำงานกับนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
       
       ข้อ ๖ คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้แล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติเพื่อการออกใบอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานตามที่กฏหมายกำหนดต่อไป
       
       ข้อ ๗ ใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้สิ้นสุดลงเมื่อคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวหรือใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้มีกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
       (๑) วิกลจริตหรือเป็นโรคที่ต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานโดยดุลยพินิจของแพทย์
       (๒) ต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
       (๓) มีพฤติการณ์ที่เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ
       (๔) มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากรหรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
       
       ข้อ ๘ มิให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๒ (๓) มาตรา ๕๔ และมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวหรือใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้ ในระหว่างวันที่อายุของใบอนุญาตยังคงอยู่
       
       ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดในใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายแก่แรงงานต่างด้าวและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
       
       ข้อ ๑๐ ให้กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการผ่านเข้าออกประเทศตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวดและให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับขบวนการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยและอาญาแก่เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
       
       ข้อ ๑๑ ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดถือข้อกำหนดในประกาศนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานโดยทั่วกัน และให้พิจารณากำหนดมาตรการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือของผู้ประกอบการและนายจ้าง หรือมาตรการอื่นใดอันจะเป็นการส่งเสริมการดำเนินการตามประกาศนี้
       
       ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๓/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงาน ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อทราบอย่างต่อเนื่อง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2014, 13:55:39 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗
      เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
       
       เพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นเอกภาพ สามารถแก้ไขปํญหาต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมกองทุนในกิจการของรัฐ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย
       (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       (๒) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       (๓) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
       (๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       (๕) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       (๖) ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       (๗) ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       (๘) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       (๙) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       (๑๐) เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       (๑๑) นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการ
       (๑๒) นายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการ
       (๑๓) นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ
       (๑๔) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ
       (๑๕) นายรพี สุจริตกุล กรรมการ
       (๑๖) นายวิรไท สันติภาพ กรรมการ
       (๑๗) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการ
       
       ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการตาม ข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
       ๑.เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและมาตรการในการทำภารกิจต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด
       ๓.บูรณาการการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจให้มีความเป็นเอกภาพ
       ๔.เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจทั้งในด้านการบริหาร การดำเนินงาน และด้านการเงินต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๕.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
       ๖.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
       ๗.เชิญเจ้าหน้าที่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
       ๘.ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
       ข้อ ๓ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นให้เป็นไปตามระเบียบทางราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 71 /2557
      เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
       
       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งยังไม่มี เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบการเงินของแผ่นดินโดยรวม ให้สามารถทำหน้าที่ได้ตามกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 47/2557 เรื่อง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 6 มาตรา 8 มาตรา15(6) มาตรา 28 มาตรา 30 และมาตรา 31 หรือมาตราอื่นใดที่ขัดหรือแย้งต่อประกาศฉบับนี้
       
       ข้อ 3 ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
       บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
       ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
       
       ข้อ 4 ให้มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ทางด้านบัญชีและด้านกฎหมายด้านละสองคน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดินอีกด้านละหนึ่งคน โดยผู้ได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
       บุคคลที่สมควรได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
       (1) เคยเป็นข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า
       (2) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
       (3) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของธุรกิจ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยต้องดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าสิบปี
       บุคคลที่ได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่งต้องมีความชำนาญหรือประสบการณ์ทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินอย่างน้อยสองคน
       
       ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
       บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ และต้องไม่เป็นกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในขณะเดียวกัน
       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
       ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
       
       ข้อ 6 ให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ได้รับการสรรหาซึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีวุฒิการศึกษาในระดับตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และต้องเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่า หรือเป็น หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
       
       ข้อ 7 เมื่อดำเนินการสรรหาเสร็จแล้วให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป และให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
       
       ข้อ 8 ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปีนับตั้งแต่วันได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยไม่ให้นำบทบัญญัติที่ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเพียงวาระเดียวมาใช้บังคับ เว้นแต่ผู้นั้นได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินอีกวาระหนึ่ง ให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสามปี และให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสองปี
       
       ข้อ 9 ในระหว่างการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินรักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2014, 13:56:04 »
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 72/2557
      เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
       
       เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในส่วนของกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนุญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1. ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       “มาตรา 103/12 ในการแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งมีจำนวนห้าคน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ประกอบด้วย บุคคลดังต่อไปนี้
        (1) รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
        (2) อัยการจังหวัด
       (3) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
       (4) ผู้อำนวยการสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด
       (5) รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด(ฝ่ายทหาร)
       ในกรณีที่มีกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งไม่ครบจำนวนให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด
       ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด เป็นเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา”
       
       ข้อ 2.ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/18 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       “มาตรา 103/18 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัดดังนี้
        (1) ส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยประสานความร่วมมือกับประชาชนและส่วนราชการเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนในทุกระดับได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการทุจริต โดยดำเนินการเพื่อการป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งดำเนินการให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลในทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
       (2) พิจารณาเสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
        (3) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
        กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด มีอำนาจลงนามในหนังสือเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ได้”
       
       ข้อ 3.การสรรหา คัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดที่ได้ดำเนินการไปแล้วเป็นอันใช้ได้ ส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ชะลอไว้ก่อนจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 73/2557
       เรื่อง การให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไปช่วยปฏิบัติงาน
       
       ในการแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น จำเป็นต้องนำความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐมาร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1. ในประกาศฉบับนี้
       "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
       "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งสังกัดหรือดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ และรวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
       
       ข้อ 2. ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีมีคำขอไปยังหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ไปช่วยปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลา บางเวลา หรือนอกเวลาก็ตาม ให้หน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือและถือว่าการไปช่วยปฏิบัติงานนั้นเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
       ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ คำสั่ง ประมวลจริยธรรม หรือมติคณะรัฐมนตรีใด กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม หรือกำหนดเงื่อนไขหรือข้อห้าม อันจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจมาปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งได้ มิให้นำบทบัญญัติหรือมตินั้นมาใช้บังคับกับผู้ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีมีคำขอตามวรรคหนึ่งและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องนั้น
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 76/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
       
       เพื่อให้การพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดเป็นไปอย่างเป็นระบบมีเอกภาพและบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
        องค์ประกอบ
       รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานกรรมการ
       ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
       ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
       ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
       ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
       เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
       รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ
       เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
        อำนาจหน้าที่
       เสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างยั่งยืน
       กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ
       เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
       ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2014, 14:21:44 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 77/2557
       เรื่องการกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
ข้อ 1 ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
(1) ตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม (อัตราจอมพล) ในกระทรวงกลาโหม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521
(2) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ชั้น 8 เทียบเท่าอัยการสูงสุด จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2553
(3) กำหนดตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนห้าตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

ข้อ 2 ให้ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ตามข้อ 1 (1) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 3 ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่ง อัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด ตามข้อ 1 (2) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 4 ให้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 5 ให้ นายธงทอง จันทรางศุ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 6 ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 7 ให้ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 8 ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 9 ให้ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม

ข้อ 10 ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค พ้นจาก รองอัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่ง อัยการสูงสุด

ข้อ 11 ให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ข้อ 12 ให้ นางเมธินี เทพมณี พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ข้อ 13 ให้ นายภานุ อุทัยรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

ข้อ 14 ให้ นายจเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ข้อ 15 ให้ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ข้อ 16 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป

ข้อ 17 ให้กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่า ตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม

ข้อ 18 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ข้อ 19 เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 78/2557
      เรื่องการกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้

ข้อ 1 ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
(1) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
(2) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
(3) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง

ข้อ 2 ให้ นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 1(1) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 3 ให้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์

ข้อ 4 ให้ พันตำรวจเอก ประเวศน์ มูลประมุข พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ 1(2) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 5 ให้ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

ข้อ 6 ให้ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ตามข้อ 1(3) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 7 ให้ นายสมชัย สัจพงษ์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และให้ตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร

ข้อ 8 ให้ นายกฤษฏา จีนะวิจารณะ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเศรษฐกิจการคลัง และให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง

ข้อ 9 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฎิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป

ข้อ 10 ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม

ข้อ 11 เมื่อมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ข้อ 12 เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตาม ข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 6 แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
......................................................................

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2014, 14:25:37 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๗๙/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนาชการต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังนี้

ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนสี่ตำแหน่ง โดยให้เป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อ ๒ ให้นายปรีชา กันธิยะ พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๓ ให้นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๔ ให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๕ ให้นายอภิชาต จีระวุฒิ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นรฐาน และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๖ ให้นายอภินันท์ โปษยานนท์ พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

ข้อ ๗ ให้นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน

ข้อ ๘ ให้นายกำจร ตติยกวี พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา

ข้อ ๙ ให้นายกมล รอดคล้าย พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อ ๑๐ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งเป็นต้นไป

ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม

ข้อ ๑๒ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ข้อ ๑๓ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕แล้วให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิกทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .........................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 74/2557
      เรื่องการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

       โดยที่เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้ผู้ร่วมประชุมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถปรึกษาหารือกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสะดวก แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ทั้งยังเป็นการประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการจัดการประชุมและการเดินทางไปร่วมประชุมด้วย และปัจจุบันมีการใช้วิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย แต่กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เปิดช่องให้ดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย สมควรมีกฎหมายกลางเพื่อกำหนดให้การประชุมบางอย่างที่กฎหมายต่างๆ บัญญัติให้ต้องประชุมสามารถกระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยมีผลบังคับใช้ตามกฏหมายได้อีกทางหนึ่งด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้
“การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประชุมที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุมที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ร่วมประชุมอย่างน้อยหนึ่งในสามขององค์ประชุม ต้องอยู่ในที่ประชุมแห่งเดียวกัน และผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการประชุม แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันและสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิส์
“ผู้ร่วมประชุม” หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขาธิการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ

ข้อ 2 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(1) การประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
(2) การประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
(3) การประชุมเพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
(4) การประชุมอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ข้อ 3 การประชุมตามที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุม นอกจากจะดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแต่ละฉบับแล้ว ผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมจะกำหนดให้จัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และให้มีผลเช่นเดียวกับการประชุมตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ห้ามมิให้ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องที่มีการกำหนดชั้นความลับตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ และเรื่องอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ข้อ 4 การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 5 การส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุม จะส่งโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในการนี้ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมไว้เป็นหลักฐาน โดยจะจัดเก็บในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ข้อ 6 ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้อง
(1) จัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตนเพื่อร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนร่วมการประชุม
(2) จัดทำรายงานการประชุมเป็นหนังสือ
(3) จัดให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณีของผู้ร่วมประชุมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มีการประชุมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เว้นแต่เป็นการประชุมลับ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุม

ข้อ 7 ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากมีกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประชุมให้แก่ผู้ร่วมประชุม ให้จ่ายเบี้ยประชุมแก่ผู้ร่วมประชุมซึ่งได้แสดงตนเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

ข้อ 8 ให้ถือว่าการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้เป็นการประชุมโดยชอบด้วยกฎหมาย และห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย ทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 9 การกำหนดมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 4 ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ใช้บังคับ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
............................................................................................
    
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มิถุนายน 2014, 14:28:21 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2014, 21:55:44 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม (อัตราจอมพล) ในกระทรวงกลาโหม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑
       (๒) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ชั้น ๘ เทียบเท่าอัยการสูงสุด จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
       (๓) กำหนดตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนห้าตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
       
       ข้อ ๒ ให้ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ตามข้อ ๑ (๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่ง อัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด ตามข้อ ๑ (๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๔ ให้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้ นายธงทอง จันทรางศุ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๖ ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๗ ให้ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๘ ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๙ ให้ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม
       
       ข้อ ๑๐ ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค พ้นจาก รองอัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่ง อัยการสูงสุด
       
       ข้อ ๑๑ ให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
       
       ข้อ ๑๒ ให้ นางเมธินี เทพมณี พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       
       ข้อ ๑๓ ให้ นายภานุ อุทัยรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
       
       ข้อ ๑๔ ให้ นายจเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
       
       ข้อ ๑๕ ให้ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
       
       ข้อ ๑๖ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๗ ให้กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่า ตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๘/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       (๒) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       (๓) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       
       ข้อ ๒ ให้ นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑(๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์
       
       ข้อ ๔ ให้ พันตำรวจเอก ประเวศน์ มูลประมุข พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ ๑(๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
       
       ข้อ ๖ ให้ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ตามข้อ ๑(๓) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๗ ให้ นายสมชัย สัจพงษ์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และให้ตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร
       
       ข้อ ๘ ให้ นายกฤษฏา จีนะวิจารณะ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเศรษฐกิจการคลัง และให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง
       
       ข้อ ๙ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฎิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๐ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๑ เมื่อมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๒ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตาม ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๖ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...................................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๙/๒๕๕๗
      เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวนสี่ตำแหน่ง โดยให้เป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
       
       ข้อ ๒ ให้นายปรีชา กันธิยะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๔ ให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้นายอภิชาต จีระวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๖ ให้ นายอภินันท์ โปษยานนท์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
       
       ข้อ ๗ ให้ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน
       
       ข้อ ๘ ให้ นายกำจร ตติยกวี พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
       
       ข้อ ๙ ให้ นายกมล รอดคล้าย พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       
       ข้อ ๑๐ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๒ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๓ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้วให้ตำแหน่งดังกล่าว เป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗
       เรื่อง ผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการขออนุมัติโครงการใหม่หรือการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท ของรัฐวิสาหกิจ
       
       ด้วยขณะนี้ปรากฎว่าตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้ว่างลง จนอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จึงจำเป็นต้องกำหนดผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ ให้มีความชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความต่อเนื่อง และเพื่อให้การขออนุมัติโครงการใหม่ หรือการทำธุรกรรมของรัฐวิสาหกิจ มีความรอบคอบอันจะอำนวยประโยชน์โดยรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑ ในประกาศนี้
       “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า
       (๑) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
       (๒) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
       
       ข้อ ๒ เมื่อตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจใดว่างลง นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นใหม่ ให้รองประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น
       ในกรณีที่มีรองประธานกรรมการหลายคน ให้กรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวเลือกรองประธานกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการ
       ในกรณีที่ไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการในคณะของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการ
       
       ข้อ ๓ กรณีที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าประธานกรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่นั้น หากตำแหน่งดังกล่าวว่างลงให้นำความในข้อ ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       
       ข้อ ๔ รัฐวิสาหกิจต้องได้รับอนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อน จึงจะดำเนินการต่อไปนี้ได้
       (๑) การลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
       (๒) การทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๖/๒๕๕๗
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗
       
       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้คุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       
       “ข้อ ๖ ให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ได้รับการสรรหาซึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีวุฒิการศึกษาในระดับตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีหรือเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน และต้องเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่า หรือเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒”
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ..............................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๑/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนสองตำแหน่ง
       (๒) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในกระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       (๓) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในกระทรวงแรงงาน จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       
       ข้อ ๒ ให้ นายสมชัย ศิริวัฒนโชค พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายโชติ ตราชู พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๔ ให้ นายสุทธิชัย สังขมณี พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้ นายประวิทย์ เคียงผล พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการจัดหางาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๖ ให้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงคมนาคม
       
       ข้อ ๗ ให้ นายมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๘ ให้ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส พ้นจากตำแหน่ง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๙ ให้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
       
       ข้อ ๑๐ ให้ นางสาวภาวิณี ปุณณกันต์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๑๑ ให้ นายสุพจน์ โตวิจักรชัยกุล พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๑๒ ให้ นายประสงค์ พูนธเนศ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร
       
       ข้อ ๑๓ ให้ นายกุลิศ สมบัติศิริ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
       
       ข้อ ๑๔ ให้ นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน
       
       ข้อ ๑๕ ให้ นายสุเมธ มโหสถ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการจัดหางาน
       
       ข้อ ๑๖ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     .............................................................................................. 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๔/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งผู้ตรวจราชการ เพิ่มขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       
       ข้อ ๒ ให้ พันตำรวจเอก สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายวิทยา สุริยะวงค์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมราชทัณฑ์
       
       ข้อ ๔ ให้ นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
       
       ข้อ ๕ ให้ พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และให้กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
       
       ข้อ ๖ ให้ นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
       
       ข้อ ๗ ให้ ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๙ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งและคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย
       
       ข้อ ๑๐ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2014, 22:01:35 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๕/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
      
       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตามประกาศ ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น
      
       เพื่อให้การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม รวมทั้งป้องกันภัยพิบัติให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง จึงออกคำสั่ง ดังนี้
      
       ข้อ ๑ ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๓ ฉบับ ได้แก่
       ๑.๑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์ เพื่อการพื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.๒๕๕๔
       ๑.๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ.๒๕๕๔
       ๑.๓ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ แต่ให้คง สำนักนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ในการประสานงานหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิอากาศ สภาพน้ำในลุ่มน้ำและเขื่อนหรือที่กักเก็บน้ำ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       ข้อ ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย
       ๒.๑ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานกรรมการ
       ๒.๒ เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       ๒.๓ พลโทศุภกร สงวนชาติศรไกร กรรมการ
       ๒.๔ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๒.๕ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๒.๖ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๒.๗ ปลัดกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       ๒.๘ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
       ๒.๙ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       ๒.๑๐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       ๒.๑๑ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๒.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา กรรมการ
       ๒.๑๓ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรรมการ
       ๒.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๒.๑๕ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก กรรมการ
       ๒.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการ
       ๒.๑๙ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรรมการ
       ๒.๒๐ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ กรรมการ
       ๒.๒๑ เจ้ากรมการทหารช่าง กรรมการ
       ๒.๒๒ อธิบดีกรมชลประทาน กรรมการและเลขานุการ
       ๒.๒๓ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๒๔ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๒๕ อธิบดีกรมเจ้าท่า กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๒ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       ๓.๑ กำหนดกรอบนโยบายและแผนงานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งและคุณภาพน้ำของประเทศ เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศเป็นไปอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ
       ๓.๒ เสนอแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
       ๓.๓ สนับสนุนการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
       ๓.๔ บูรณาการการสั่งงานด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยสั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามวิกฤติให้มีการประสานกับคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภช.) ซึ่งสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐
       ๓.๕ ติดตาม กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และมาตรการที่อนุมัติ
       ๓.๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
       ๓.๗ เชิญบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
       ๓.๘ ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
       ๓.๙ รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       .............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม และมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานเรือประมงในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล
      
       โดยที่ข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัด โดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใด และเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศกำหนด ประกอบกับเพื่อให้การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานเรือประมงในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพิ่มเติมใน ๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สงขลา สมุทรปราการ และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
      
       ข้อ ๒ ให้นายจ้างของคนต่างด้าวที่ทำงานในเรือประมงเพื่อจับสัตว์น้ำทางทะเล จัดทำบัญชีรายชื่อ สัญชาติ และจำนวนของคนต่างด้าวดังกล่าว และแจ้งต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดตามภูมิลำเนาที่จดทะเบียนเรือใน ๒๒ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
      
       การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ... ...................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๘/๒๕๕๗
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗
      
       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่องผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการขออนุมัติโครงการใหม่ หรือการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทของรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้การดำเนินการลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่และการทำธุรกรรมของรัฐวิสาหกิจที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทมีความคล่องตัวและเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่องผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการขออนุมัติโครงการใหม่ หรือการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทของรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “ข้อ ๔ การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจดังต่อไปนี้ ให้รายงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อทราบ
       (๑) การลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
       (๒) การทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งมิใช่การดำเนินกิจการทั่วไปหรือเพื่อการดำเนินการตามปกติของรัฐวิสาหกิจนั้น
       การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานแล้วเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อรวบรวมและเสนอความเห็นต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป
       หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานตามข้อนี้ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกำหนด”
      
       ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       .....................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๖/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
       ๒. นายวีระ สมความคิด
      
       สั่ง ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
      ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
      
       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
      
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานในกระทรวงพลังงาน จำนวนสี่ตำแหน่ง
       (๒) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนสองตำแหน่ง
      
       ข้อ ๒ ให้ นายชุมพล ฐิตยารักษ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงพลังงานและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๓ ให้ นายทรงภพ พลจันทร์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๔ ให้ นายสมนึก บำรุงสาลี พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๕ ให้ นายประมวล จันทร์พงษ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๖ ให้ นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงพลังงาน
      
       ข้อ ๗ ให้ นายคุรุจิต นาครทรรพ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงพลังงานและให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
      
       ข้อ ๘ ให้ นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
      
       ข้อ ๙ ให้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล พ้นจากตำแหน่ง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
      
       ข้อ ๑๐ ให้ นายชวลิต พิชาลัย พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
      
       ข้อ ๑๑ ให้ นายนพพล ศรีสุข พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๑๒ ให้ นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิกรมป่าไม้ และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๑๓ ให้ นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      
       ข้อ ๑๔ ให้ นายชลธิศ สุรัสวดี พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
      
       ข้อ ๑๕ ให้ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้
      
       ข้อ ๑๖ ให้ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      
       ข้อ ๑๗ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
      
       ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
      
       ข้อ ๑๙ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
      
       ข้อ ๒๐ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ แล้ว ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กรกฎาคม 2014, 02:15:06 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2014, 22:17:57 »
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๗๙/๒๕๕๗
      เรื่อง เงื่อนไขในการออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ

       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๖/๒๕๕๗ เรื่อง การออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการออกอากาศต่อไปได้ตามปกติ เมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามประกาศฉบับดังกล่าวเกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ และเพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนหรือก่อให้เกิดความแตกแยก อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ใช้เครื่องส่งที่ผ่านกาตรวจสอบและเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิค ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.๒๕๕๕ แล้ว ให้ออกอากาศต่อไปได้ตามปกติ

ข้อ ๒ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ใช้เครื่องส่งที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ ให้ออกอากาศได้เมื่อเครื่องส่งได้ผ่านการตรวจสอบและเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.๒๕๕๕ แล้ว

ข้อ ๓ ผู้ที่ได้ยื่นคำขออนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไว้ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.๒๕๕๕ แล้ว และคำขออยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ออกอากาศได้เมื่อได้รับอนุญาตและเครื่องส่งได้ผ่านการตรวจสอบและเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคตามประกาศดังกล่าวแล้ว

ข้อ ๔ สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ทดลองประกอบกิจการและถูกระงับการออกอากาศ เนื่องจากฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ระงับการออกอากาศไว้จนกว่าเหตุแห่งการระงับนั้นจะสิ้นสุดลงหรือคดีถึงที่สุด แล้วแต่กรณี

ข้อ ๕ การออกอากาศของผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ จะต้องใช้คลื่นความถี่และกำลังส่งที่ไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อกิจการวิทยุการบิน กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กิจการวิทยุคมนาคม หรือข่ายสื่อสารอื่นภายในประเทศหรือของประเทศเพื่อนบ้าน และต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมายและประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตลอดระยะเวลาการออกอากาศ ในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สั่งให้ระงับการกระทำหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใช้ในการกระทำนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เพิกถอนการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและให้ยุติการออกอากาศทันที

ข้อ ๖ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ได้ออกอากาศตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้ว จะต้องมายื่นคำขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะได้กำหนดต่อไป

ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เร่งดำเนินการเพื่อให้การพิจารณาคำขออนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเป็นไปโดยรวดเร็ว และจัดให้มีหน่วยรับตรวจสอบมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งอย่างเพียงพอและทั่วถึง

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ..........................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๘๐/๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และการบริหารเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อรัฐอย่างสูงสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๔๒ ให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑ โดยแยกเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งต้องชำระเมื่อได้รับใบอนุญาตและต้องชำระเป็นรายปี ในอัตราที่เหมาะสมกับประเภทของใบอนุญาตตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ ให้ถือว่าเงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ วรรคหก เป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งต้องชำระเมื่อได้รับใบอนุญาต และเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน"

ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ของมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ "(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนด้านงบประมาณให้กระทรวงการคลังสามารถยืมเงินกองทุน เพื่อนำไปใช้ในกิจการของรัฐอันเป็นประโยชน์สาธารณะ"

ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๒) ของมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๕๔ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

    (๑) ประธาน กสทช. เป็นประธานกรรมการ

    (๒) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการศุนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

    (๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสองคน ซึ่งกรรมการตาม (๑) และ (๒) เป็นผู้คัดเลือก

ให้เลขาธิการ กสทช.เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ กสทช.แต่งตั้งพนักงานของสำนักงาน กสทช.เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการตามวรรคหนึ่ง (๓) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) และ (๑๑) และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้

ให้นำมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม

ข้อ ๕ เงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากยังมิได้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ..........................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 88/2557
      เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558

       เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และเป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงออกคำสั่งดังนี้
1.แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
1.1 เสนาธิการทหาร เป็นประธานกรรมการ
1.2 รองเสนาธิการทหาร(2) รองประธานกรรมการ(1)
1.3 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา รองประธานกรรมการ(2)
1.4 อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรรมการ
1.5 ผู้อำนวยการสำนักจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 1 สำนักงบประมาณ กรรมการ
1.6 ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมบัญชีกลาง กรรมการ
1.7 หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ
1.8 ปลัดบัญชีทหาร กรรมการและเลขานุการ
2.ให้คณะกรรมการตามข้อ 1 มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1 พิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
2.2 กำกับดูแลการดำเนินการ การจัดทำและบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ให้เป็นไปตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
2.3 รายงานผลการดำเนินการและเสนอแนะความเห็นให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
2.4 เชิญข้าราชการ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือส่งเอกสารให้ตามความเหมาะสม
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฎิบัติการใดๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
      พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2014, 22:27:12 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๘๙/๒๕๕๗
       เรื่อง การให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยพ้นจากตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งให้ นายประภัสร์ จงสงวน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 81/2557
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521

       โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนดอันเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ดังต่อไปนี้

       ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 13 ) พ.ศ.2552และให้ใข้ความต่อไปนี้แทน
 
“มาตรา 4 นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ.แล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินเก้าพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ.ที่ได้รับหรือมีสิทธิ์ได้รับ

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป      
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 82/2557
       เรื่อง เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2557

       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม และเพื่อให้การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศนี้
“ข้าราชการทหาร” หมายความว่า ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
“โครงการ” หมายความว่า โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2561
“เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเดือนที่ได้เลื่อนครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการและเงินประจำตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท
“เงินประจำตำแหน่ง” หมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
“เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม
“เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาที่ข้าราชการทหารรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิ์ได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคุณ
“เวลาราชการที่เหลือ” หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการจนถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการทหารผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์

ข้อ 2 ข้าราชการทหารซึ่งจะเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ในวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ
(1) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ให้นับถึงวันก่อนวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
(2) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
(3) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบหาข้อเท็จจริง หรือถูกสอบสวนทางวินัย หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัยตามกฎหมายเกี่ยวกับวินัยทหาร หรือเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
(4) ไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
(5) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างปฎิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการและได้ปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยนั้น
วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของโครงการ

ข้อ 3 ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนปีของเวลาราชการที่เหลือบวกด้วยแปดและคูณด้วยเงินเดือนเดือนสุดท้าย แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
การนับเวลาราชการที่เหลือตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเป็นปี แต่ถ้ามีเศษของปีถึงครึ่งปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการทหารที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ

ข้อ 4 ในกรณีที่ข้าราชการทหารซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อ 5 ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ หากปรากฏว่าข้าราชการทหารซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามข้อ 2 ข้าราชการทหารผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืน โดยผู้นั้นต้องคืนเงินช่วยเหลือภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับเข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2 (3) หรือ (4) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนเงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ

ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 แล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหาร หรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีก ให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

ข้อ 7 ให้นำความในข้อ 6 มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 แล้ว และต่อมาได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่สัญญาจ้างมีระยะเวลาเกินหนึ่งปี โดยให้นับรวมระยะเวลาการต่ออายุสัญญาจ้างด้วย
เพื่อประโยชน์แห่งข้อนี้ “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นส่วนราชการและที่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยผู้นั้นได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถานศึกษาของรัฐนั้น”

ข้อ 8 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศนี้

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.....................
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 83/2557
       เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องเล่นเกมที่สามารถใช้หรือนำมาประกอบเพื่อใช้เล่นการพนัน

       ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 24/2557 เรื่อง ห้ามให้มีการเล่นการพนันที่ผิดกฏหมาย ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ซึ่งสั่งการให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มมาตรการและความเข้มข้นในการกำกับดูแลมิให้มีการเล่นพนันที่ผิดกฏหมายทุกประเภทในพื้นที่รับผิดชอบ นั้น โดยที่ได้มีการตรวจพบว่ามีเครื่องเล่นเกม ส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ประกอบของเครื่องเล่นเกมชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมากที่มีลักษณะหรืออยู่ในสภาพที่สามารถใช้หรือนำไปประกอบเพื่อใช้เล่นการพนันได้ ซึ่งกรณีเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนรวมทั้งเป็นเหตุในการมอมเมาเยาวชน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศนี้ "เครื่องเล่นเกม" หมายความว่า
(1) สล็อทแมชีน (Slot Machine) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(2) ตู้ม้าแข่งหรือสนามม้าแข่งจำลอง หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(3) ปาชิงโกะ (Pachinko) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(4) รูเล็ท (Roulette) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(5) เครื่องเล่นที่ทำงานโดยใช้เหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกัน หรือทำงานโดยวิธีการอื่นใด ที่มีวิธีการเล่นไม่ว่าจะอาศัยทักษะหรือความสามารถของผู้เล่นประกอบการเล่นหรือไม่ก็ตาม หากผู้เล่นชนะหรือสามารถทำได้ตามข้อกำหนดของเครื่องเล่นที่ระบุไว้จะมีเหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งอื่นใด ออกมาจากเครื่องเล่นเกมนั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเครื่องอุปกรณ์โบว์ลิ่ง
(6) ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบประเภทชิพ (chip) ที่ระบุตัวเลขใช้แทนเงินตราในการเล่นเกมกับเครื่องเล่นเกมตาม (1) ถึง (5) หรือ
(7) ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของเครื่องเล่นเกมตาม (1) ถึง (5)

ข้อ 2 ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจยึดและทำการตรวจสอบเครื่องเล่นเกม หากพบว่ามีลักษณะที่สามารถใช้หรือนำมาประกอบเพื่อใช้เล่นการพนันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเกมที่ผลิตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือผลิตในราชอาณาจักร ให้เครื่องเล่นเกมนั้นตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงตน และสามารถแสดงหลักฐานว่าเครื่องเล่นเกมที่ถูกยึดนั้นมีไว้โดยชอบด้วยกฏหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถูกยึด

ข้อ 3 เครื่องเล่นเกมที่ได้ถูกยึดไว้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงตนและสามารถแสดงหลักฐานว่าเครื่องเล่นเกมที่ถูกยึดนั้นมีไว้โดยชอบด้วยกฏหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ 4 ให้หัวหน้าส่วนราชการของเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจยึดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจอนุมัติให้ทำลายเครื่องเล่นเกมที่ตกเป็นของแผ่นดินตามข้อ 2 หรือ ข้อ 3 เว้นแต่พนักงานสอบสวนเห็นว่าเครื่องเล่นเกมนั้นมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในชั้นศาลกับผู้กระทำความผิดตามข้อ 5

ข้อ 5 การดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องเล่นเกมตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 84 / 2557
       เรื่อง ให้ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน เสื้อเกราะ หรือเครื่องยุทธภัณฑ์ ของราชการทหาร นำส่งมอบ

       ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อระหว่างวันที่ 10 เมษายน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พุทธศักราช 2553 ที่บริเวณพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สี่แยกคอกวัว ถนนดินสอ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ทำเนียบรัฐบาล สามเหลี่ยมดินแดง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารต้องใช้กำลังเข้าระงับยับยั้งจนถูกกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ายื้อยุดแย่งชิงเอาอาวุธปืนเล็กยาว เอ็ม 16 อาวุธปืนเล็กยาวแบบ 50 ทราโว่ อาวุธปืนลูกซอง อาวุธปืนพก ปพ.86 ขนาด 11 มม. เสื้อเกราะ และเครื่องยุทธภัณฑ์ ของทางราชการทหารไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาวุธปืน เสื้อเกราะ และเครื่องยุทธภัณฑ์ดังกล่าว หากผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายควบคุมยุทธภัณฑ์ มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงตลอดชีวิต เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน เสื้อเกราะ หรือเครื่องยุทธภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นนำส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

ข้อ 2 ให้ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อ 1 ไม่ต้องรับโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายควบคุมยุทธภัณฑ์

ข้อ 3 ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 ให้มีความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

ข้อ 4 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และบทบัญญัติกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกจับกุม หรือตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และอยู่ในระหว่างการสอบสวน หรือคดียังไม่ถึงที่สุด

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ................................................................................
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 85/2557
       เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว

       เนื่องจากในปัจจุบันมีสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นหลายแห่งที่ได้ครบวาระหรือว่างลงหรือมีกรณีสิ้นสุดสมาชิกภาพ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่บริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่โดยที่สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้โดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงโดยในระหว่างนี้ให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีสมาชิกสภาเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาที่เหลืออยู่นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกสภาเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง

ข้อ 2 เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามข้อ 1 ให้ใช้วิธีคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฎหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง หรือโครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร โดยอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมดต้องเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย

ข้อ 3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
(1) องค์การบริหารส่วนตำบลมีสมาชิกสภาจำนวนสิบคน
(2) เทศบาลทุกประเภทมีสมาชิกสภาจำนวนสิบสองคน
(3) องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งมีจำนวนสมาชิกสภากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ 4 สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันประกาศแต่งตั้ง
(3) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 45 (12 ) (13) และ ( 14) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาใช้บังคับ และ
(5) รับราชการในเขตจังหวัดในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ
(6) เคยรับราชการในเขตจังหวัดในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป และต้องพ้นหรือออกจากราชการแล้ว หรือ
(7) เป็นบุคคลในเขตจังหวัดนั้นและดำรงตำแหน่งประธานหรือหัวหน้าองค์กรภาคเอกชนหรือภาคประชาชนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจดทะเบียนไว้กับส่วนราชการหรือมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการ

ข้อ 5 เมื่อมีกรณีต้องเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลตามข้อ 2 ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัดคนหนึ่งซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ฝ่ายทหาร) และประธานสภาหอการค้าจังหวัดหรือประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือประธานสภาทนายความประจำจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคนเป็นกรรมการ
ให้ท้องถิ่นจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใด ให้กรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นมิได้

ข้อ 6 เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นภายในสามวัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแล้วนั้นเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง

ข้อ 7 ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้การมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามประกาศนี้เป็นเหตุให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องเสียสิทธิหรือเป็นข้อห้ามหรือเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติหรือเป็นลักษณะต้องห้าม มิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามประกาศนี้
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มิให้ถือว่าการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นของข้าราชการหรือผู้เคยเป็นข้าราชการเป็นการดำเนินกิจการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมหรือเป็นการกระทำอันอาจถูกกล่าวหาได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ข้อ 8 ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ดำรงตำแหน่งว่าจนกว่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ในระหว่างนี้มิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ

ข้อ 9 สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นหรือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกระทำ

ข้อ 10 ภายใต้บังคับข้อ 1 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง
ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง

ข้อ 11 ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระหรือว่างลง ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การบริหารงานบุคคลเรื่องใดเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่ตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการพนักงานเทศบาลหรือคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล แล้วแต่กรณีก่อน

ข้อ 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตามประกาศนี้

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กรกฎาคม 2014, 02:29:33 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2014, 22:40:44 »
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 86/2557
       เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว

       เนื่องจากในปัจจุบันมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตที่ได้ครบวาระหรือว่างลงหรือมีกรณีสิ้นสุดสมาชิกภาพ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเพื่อทำหน้าที่บริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร แต่โดยที่สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตได้โดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

1. ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตดำรงตำแหน่งครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง โดยในระหว่างนี้ให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

2. เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามข้อ 1 ให้ใช้วิธีการคัดเลือกบุคคลจำนวนสามสิบคน ประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฏหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง โครงสร้างพื้นฐาน หรือ ด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร โดยอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย

3. สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันประกาศแต่งตั้ง
(3) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 16 (7) (8) และ (9) และมาตรา (22) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาใช้บังคับ และ
(5) รับราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ (6) เคยรับราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไปและต้องพ้นหรือออกจากราชการแล้ว หรือ (7) เป็นบุคคลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และดำรงตำแหน่งประธานหรือหัวหน้าองค์กรภาคเอกชนหรือภาคประชาชนที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีการจดทะเบียนไว้กับส่วนราชการหรือมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการ

4. เมื่อมีกรณีที่ต้องเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลตามข้อ 2 ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรหรือผู้แทน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งคัดเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นกรรมการและเลขานุการ และ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฏหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใด ให้กรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมิได้

5. เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในสามวัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้นเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง

6. ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฏหมายใดกำหนดให้การมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามประกาศนี้เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องเสียสิทธิหรือเป็นข้อห้ามหรือเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติหรือเป็นลักษณะต้องห้าม มิให้นำบทบัญญัติแห่งกฏหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามประกาศนี้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะในกรุงเทพมหานคร มิให้ถือว่าการเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของข้าราชการหรือผู้เคยเป็นข้าราชการ เป็นการดำเนินกิจการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมหรือเป็นการกระทำอันอาจถูกกล่าวหาได้ตามกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกฏหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

7. ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ในระหว่างนี้มิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฏหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ

8. สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาที่กรุงเทพมหานครนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่กรุงเทพมหานครหรือที่กรุงเทพมหานครจะกระทำ

9. ภายใต้บังคับข้อ 1 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแทนตำแหน่งที่ว่าง

10. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประการนี้ และให้มีอำนาจออกกฏ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตามประการนี้

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดเป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...........
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ
      
       โดยที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับการดูแลความสงบเรียบร้อยในการควบคุมอาชญากรรม การจราจร การมีและใช้อาวุธปืนเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ ในระบบการปฏิบัติงานและในการบังคับใช้กฎหมาย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมกับค่าทำการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจกรรมอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
      
       ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานจราจร กับออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
      
       ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       "มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและเจ้าหน้าที่อื่น และออกกฏกระทรวงในเรื่องต่อไปนี้ คือ
      
       (๑) จำกัดชนิดและจำนวนอาวุธปืนของกระทรวงทบวงกรมอื่น นอกจากของราชการทหารและตำรวจหรือหน่วยราชการตามมาตรา ๕ วรรคสอง
       (๒) วางระเบียบการทะเบียน การขอและการออกใบอนุญาต
       (๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งต้องไม่เกิดอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
       (๔) กิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
       ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง (๑) ตามมาตรา ๕ วรรคสอง และตามมาตรา ๕๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงร่วมกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย"
      
       ข้อ ๔ ให้บรรดา กฎกระทรวง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่ออกตามพระราชบัญญัติตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 88/2557
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
      
       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติเพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวในการปฎิบัติหน้าที่มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านความมั่นคง และการอำนวยความยุติธรรม อันจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยส่วนรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา 17 ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย
      
       (1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
       (2) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
       (3) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
       (4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคน
      
       ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ประธานกรรมการโดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ”
      
       ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “(3) พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ”
      
       ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา 30 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ต.ร.” ประกอบด้วย
      
       (1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
       (2) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
       (3) เลขาธิการ ก.พ. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
       (4) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคน
      
       ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ เป็นเลขานุการ และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ”
      
       ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “(1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (1) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติหรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แล้วเสนอ ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง”
      
       ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา 54 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (5) ลงมา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
      
       (1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (5) และ (6) ให้ดำเนินการดังนี้
      
       (ก) ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
      
       (ข) ในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้นเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
      
       (2) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (7) และ (8) ให้ดำเนินการดังนี้
      
       (ก) ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกคำสั่งแต่งตั้ง
      
       (ข) ในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้นเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกคำสั่งแต่งตั้ง
      
       (3) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (9) ลงมา ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ส่วนในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
      
       ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งจากส่วนราชการหนึ่งไปอีกส่วนราชการหนึ่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการทำความตกลงกัน แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการที่จะประสงค์จะแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี”
      
       ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 33 ถึงมาตรา 41 มาตรา 55 และมาตรา 57 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
      
       ข้อ 7 ให้ ก.ต.ช. และ ก.ตร. ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ประกาศก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง
      
       ข้อ 8 ในระหว่างที่ยังไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17 (4) ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
      
       ข้อ 9 ในระหว่างที่ยังไม่มีกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30 (4) ให้ ก.ตร. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เลขาธิการ ก.พ. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
      
       ข้อ 10 การใดอยู่ระหว่างการดำเนินการตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่การดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ ให้ ก.ต.ช. ตามข้อ 1 หรือ ก.ตร. ตามข้อ 3 แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการตามสมควร
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 89/2557
       เรื่องหลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
      
       เพื่อให้การแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1 เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งและโยกย้าย ให้จัดลำดับอาวุโส ดังต่อไปนี้
      
       (1) ผู้มียศสูงกว่า (ไม่รวมถึงยศที่ได้รับจากการแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ) เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       (2) ถ้ามียศเท่ากัน ให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับนั้นในกรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาตินานกว่า เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       (3) ถ้าดำรงตำแหน่งตาม (2) นานเท่ากัน ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปนานกว่าตามลำดับจนถึงตำแหน่งระดับรองสารวัตร เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       ตำแหน่งถัดลงไปให้หมายความรวมถึงตำแหน่งระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการและสารวัตรใหญ่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 ด้วย
      
       (4) ถ้าดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปตาม (3) นานเท่ากัน ให้ผู้ที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรนานกว่า เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       (5) ถ้ามีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรนานเท่ากัน ให้ผู้ที่มีอายุมากกว่าเป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       สำหรับข้าราชการตำรวจที่ถูกประจำ หรือสำรองราชการในระดับตำแหน่งใด ให้ถือว่ายังคงดำรงตำแหน่งระดับนั้นตลอดระยะเวลาที่ประจำหรือสำรองราชการ
      
       ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งให้หมายความรวมถึงระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 4/2553 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ในระดับตำแหน่งนั้นๆ ด้วย
      
       ข้อ 2 การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามประกาศนี้ มิให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมตั้งแต่ระดับรองสารวัตรตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ สารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.ตร. หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๐/๒๕๕๗
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม
      
       โดยที่ข้อ 4 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัด โดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศกำหนด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตราการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพิ่มเติมในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๖ แห่ง ณ สถานที่ตั้ง ดังนี้
      
       (๑) ศูนย์กีฬารามอินทรา เขตบางเขน
       (๒) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
       (๓) ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง เขตมีนบุรี
       (๔) ศูนย์เยาวชนลุมพินี เขตปทุมวัน
       (๕) ศูนย์เยาวชนทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
       (๖) ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา (บางบอน) เขตบางบอน
       ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
      
       ข้อ ๒ ให้กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครมีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จที่จัดตั้งตามข้อ ๑ โดยปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กรกฎาคม 2014, 02:30:08 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2014, 02:03:51 »
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 91/2557
       เรื่อง การก่อสร้างอาคารตาม “โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

       เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีความจำเป็นต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารตาม "โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์พร้อมระบบสาธารณูปโภค" ซึ่งเป็นอาคารศูนย์การแพทย์ จำนวน 1 หลัง เพื่อใช้เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาและการบริการผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 อนุมัติในหลักการโครงการและสนับสนุนด้านงบประมาณให้โครงการแล้ว แต่โดยที่พื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารมีอย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องสร้างอาคารสูงเพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างเพียงพอ กรณีจึงมีความจำเป็นต้องยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งเป็นข้อจำกัดบางประการ เพื่อให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ต่อไปได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงได้มีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้การดำเนินการก่อสร้างอาคารตาม “โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ขนาดพื้นที่โครงการ 3,017 ตารางเมตร หรือประมาณ 1.88 ไร่ ประกอบด้วยอาคารศูนย์การแพทย์ จำนวน 1 หลัง ขนาดความสูง 25 ชั้น และชั้นใต้ดินสองชั้น ได้รับการยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติดังต่อไปนี้

(1) หมวด 1 ลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างของภายนอกอาคารและแนวอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

(2) ข้อ 31 แห่งกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556

(3) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ในท้องที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2535

(4) หมวด 5 แนวเขตอาคาร และระยะต่างๆ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544

ข้อ 2 การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม "โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เว้นแต่การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกระบวนการหรือขั้นตอนใดไม่สามารถดำเนินการได้ และจะทำให้การดำเนินการโครงการต้องล่าช้าออกไปโดยไม่ได้เกิดจากการดำเนินการของโครงการ ให้โครงการได้รับการยกเว้นขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  .............................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 91/ 2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.)

       เพื่อให้การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

๑. องค์ประกอบ

    ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ประธานกรรมการ

    ๑.๒ หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รองประธานกรรมการ

    ๑.๓ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ

    ๑.๔ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ

    ๑.๕ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ

    ๑.๖ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ

    ๑.๗ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ

    ๑.๘ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ

    ๑.๙ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ

    ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ

    ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ

    ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ

    ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ

    ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ

    ๑.๑๕ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ

    ๑.๑๖ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ

    ๑.๑๗ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ

    ๑.๑๘ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ

    ๑.๑๙ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กรรมการ

    ๑.๒๐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ

    ๑.๒๑ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๒. อำนาจหน้าที่

    ๒.๑ ให้ความเห็นหรือเสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

    ๒.๒ กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

    ๒.๓ เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

    ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

    ๒.๕ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

       ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...........................................

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 92/ 2557
       เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้

ข้อ 1. ให้ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมคุมประพฤติ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมบังคับคดี
ข้อ 2. ให้ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมบังคับคดี และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
ข้อ 3. ให้ นางกรรณิการ์ แสงทอง พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมคุมประพฤติ
ข้อ 4 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
ข้อ 5 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๙๒ / ๒๕๕๗

       เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาเห็นเป็นการสมควรลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นการผลักดันและกระตุ้นกลไกทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีกำลังในการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอันจะทำให้เศรษฐกิจของ ประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง จึงให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๔๙) พ.ศ.๒๕๕๕

ข้อ ๒ ให้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๐ แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้
       (๑) ร้อยละหกจุดสาม สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘
       (๒) ร้อยละเก้า สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ประกาศคณะรักษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๐ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ.๒๕๓๔

ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้

ข้อ ๕ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอกประยุทธ์  จันทโอชา                                                                                                           
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.............................

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 94/2557
       เรื่อง การระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

       เพื่อให้การดำเนินการของ กสทช. ในการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจกรรมโทรคมนาคม เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปอย่างรอบคอบ เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัดในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านการสิ้นสุดการสัมปทานและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ กสทช. ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อกิจการโทรคมนาคม ออกไปเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำสั่งนี้
ในระหว่างชะลอการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาติหรือสัมปทาน ให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัด โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556

ข้อ 2 ให้ กสทช. ดำเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ออกกฎ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง หรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการดำเนินการให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ อันจะทำให้การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุดและสอดคล้องกับแนวนโยบายการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     .................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 94/2557
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม

       โดยที่ข้อ 4 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่องมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัด โดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศกำหนด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

       ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ 4 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เพิ่มเติมใน 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง สตูล และสมุทรสงคราม ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ..................................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 95/2557
       เรื่อง การให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

       เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้นายกวิน ทังสุพานิช พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ข้อ 2 ให้กรรมการกำกับกิจการพลังงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง

ข้อ 3 บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหาตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 มิให้นำมาใช้บังคับกับการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามประกาศนี้

ข้อ 4 ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประกอบด้วย
(1) นายไกรสีห์ กรรณสูต กรรมการ
(2) นางดวงมณี โกมารทัต กรรมการ
(3) นางปัจฉิมา ธนสันติ กรรมการ
(4) นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย กรรมการ
(5) นายวัชระ คุณาวัฒนาวุฒิ กรรมการ
(6) นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ กรรมการ
(7) นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการ
ให้กรรมการตามวรรคหนึ่ง ประชุมร่วมกันเพื่อเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ

ข้อ 5 ให้คณะกรรมการตามข้อ 4 เป็นคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550

ข้อ 6 ให้คณะกรรมการตามข้อ 4 ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป

ข้อ 7 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 4 เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    .......................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 96/2557
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม

       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานระดับจังหวัดและให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการในจังหวัดสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเสมอภาค มีคุณภาพ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและประชาชนได้รับความพึงพอใจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นในจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษา รับเรื่องปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน และทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการร่วมตามมาตรา 32 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 โดยจัดตั้งขึ้น ณ ศาลากลางจังหวัดหรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ

ข้อ 2 ให้ทุกกระทรวง กรม ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรมทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์ และบุคลากร ให้สามารถบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

ข้อ 3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการบริหารจัดการร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และวางแนวทางการปฏิบัติภายในศูนย์ดำรงธรรม

ข้อ 4 ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ

ข้อ 5 ในกรณีที่จำเป็นจะต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ดำรงธรรมให้สามารถแก้ไขปัญาของประชาชนให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนาจังหวัดตามนโยบายของรัฐบาลการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าและทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์การคุ้มครองป้องกันหรือช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับความเป็นธรรม และการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตามนโยบายของรัฐบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งการ บังคับบัญชา กำกับ ดูแล บรรดาข้าราชการและพนักงานของรัฐในเขตจังหวัด ยกเว้นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และข้าราชการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด

ข้อ 6 ให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่กำกับดูแลและอำนวยการให้การบริหารงานของศูนย์ดำรงธรรมและการบริหารงานจังหวัดดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 97/2557
       เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ

       เพื่อให้การปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปได้ความเรียบร้อย และเพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนและความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557 เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
(2) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2557 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ข้อ 2 ห้ามมิให้บุคคลใด รวมทั้งบรรณาธิการ พิธีกร สื่อมวลชน และเจ้าของกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ รายการวิทยุโทรทัศน์ และรายการวิทยุกระจายเสียง เชิญบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นนักวิชาการ หรือผู้ที่เคยเป็นข้าราชการ รวมทั้งผู้ที่เคยปฏิบัติงานในศาลและกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนองค์กรอิสระ มาให้สัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดหรือขยายความขัดแย้ง บิดเบือน และสร้างความสับสนให้กับสังคม รวมทั้งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

ข้อ 3 ผู้ประกอบกิจการและผู้ให้บริการด้านสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งที่เป็นของราชการและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอลและโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วารสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งผู้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทอันรวมถึงการสื่อสารทางสังคมสื่อออนไลน์ มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามที่ได้รับแจ้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้บุคคลดังกล่าวรวมทั้งบุคคลอื่นใดงดเว้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
(2) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
(3) การวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(4) ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ
(5) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
(6) การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(7) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน

ข้อ 4 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ระงับการชุมนุมหรือกิจกรรมที่ต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในโอกาสแรก ทั้งนี้ หากเกินขีดความสามารถให้รายงานให้ผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงทราบเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ข้อ 5 ในกรณีที่ปรากฎว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 ให้ระงับการจำหน่าย จ่าย แจก หรือเผยแพร่สื่อพิมพ์ รวมทั้งการออกอากาศของรายการดังกล่าวโดยทันที และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดความผิดฐานนั้นดำเนินการตามกฎหมาย

ข้อ 6 การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557 เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2557 เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและยังคงอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงเป็นความผิดและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กรกฎาคม 2014, 02:47:59 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2014, 16:56:38 »
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๕/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ เป็นได้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบจึงมีคำสั่ง ดังนี้

ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
(๑) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
(๒) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ในกระทรวงพาณิชย์
จำนวนหนึ่งตำแหน่ง

ข้อ ๒ ให้ นายสุรศักดิ์  เรืองเครือ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ (๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๓ ให้ นายสมชาติ  สร้อยทอง พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวาจราชการกระทรวงพาณิชย์ ตามข้อ ๑ (๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๔ ให้ นางดวงพร  รอดพยาธิ์ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ ทรงคุณวุฒิ) และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

ข้อ ๕ ให้ นางจินตนา  ชัยยวรรณาการ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าภายใน

ข้อ ๖ ให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่
วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป

ข้อ ๗ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว
ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่ง
อยู่เดิม

ข้อ ๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย

ข้อ ๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง  ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗
       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .....................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๖/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงการบริหารจัดการปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยให้มีการดำเนินการแบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับหน่วยปฏิบัติ และโดยที่ในระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้น ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
      ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ประกอบด้วย
                              ๑. รองผู้บัญชาการทหารบก                                                            ประธานกรรมการ
                              ๒. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                                            กรรมการ
                              ๓. ปลัดกระทรวงกลาโหม                                                               กรรมการ
                              ๔. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                                                       กรรมการ
                              ๕. ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                                             กรรมการ
                              ๖. ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                                                กรรมการ
                              ๗. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                                                            กรรมการ
                              ๘. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน                                       กรรมการ
                              ๙. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ               กรรมการ
                              ๑๐. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ                                    กรรมการ
                              ๑๑. ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ                                             กรรมการ
                              ๑๒. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                                                     กรรมการ
                              ๑๓. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                                        กรรมการ
                              ๑๔. เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  กรรมการ
                              ๑๕. อธิบดีกรมบัญชีกลาง                                                              กรรมการ
                              ๑๖. ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔                                   กรรมการ
                              ๑๗. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                                 กรรมการและเลขานุการ
                              ๑๘. เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้    กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
             
                              ๑๙. รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                            กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                                    ที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย
                              ๒๐. ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๕                           กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                                    กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่  ๒๑ กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๙๘ / ๒๕๕๗
      เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

                               โดยที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีปัญหาความมั่นคงของชาติและความไม่สงบในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้านอย่างกว้างขวาง  ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีการปฏิบัติงานอย่างบูรณาการและเป็นเอกภาพ โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ อันจะทำให้สามารถบรรลุผลในการขจัดหรือลดปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดความสงบสุขในพื้นที่ ความปลอดภัยในชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ตลอดจนมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                    ข้อ ๑ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง นำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๗ ซึ่งจัดทำขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาใช้ในการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ จนกว่าจะมีนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่
                                    ข้อ ๒ ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้แบ่งการบริหารงานเป็น ๓ ระดับ
ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับหน่วยปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                                    (๑) ระดับนโยบาย ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ให้คำปรึกษา
                                    (๒) ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังต่อไปนี้
                                          (ก) ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกย่อว่า “คปต.” ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการบูรณาการงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐๗/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                         (ข) ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกันในการบูรณาการแผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนสร้างความประสานสอดคล้องในทุกมิติ
                                    (๓) ระดับหน่วยปฏิบัติ ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า เป็นหน่วยงานหลัก มีหน้าที่รับผิดชอบขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งปวงในพื้นที่ และให้ศูนย์อำนายการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดให้มีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า
                                    ข้อ ๓  ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งรัดการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๗  ทั้งนี้ สำหรับการปฏิบัติงานตั้งแต่ปลายปีงบประมาณ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป และให้จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการปฏิบัติงานตามแนวทางดังต่อไปนี้
                                    (๑) ให้กองอำนวนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานด้านความมั่นคง เสริมสร้างศักยภาพ ขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่เป้าหมาย เร่งรัดการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแทรกซ้อน ดำเนินการลดพื้นทีเขตอิทธิพลของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง และคุ้มครองหรือเผ้าระวังความปลอดภัยของประชาชนและเป้าหมายอ่อนแอ เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากการก่อเหตุการณ์รุนแรง  ทั้งนี้ โดยต้องมีการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและหมู่บ้าน
                                    (๒) ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบในการประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนขบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  อันเป็นการสร้างหลักประกันความต่อเนื่องและความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกกลุ่มในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุย  โดยในแผนดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของเขตในเชิงหลักการของกระบวนการ กลไกในการขับเคลื่อนในระดับต่าง ๆ การเชื่อมโยงกับบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมและการสนับสนุนจากส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ทางด้านเครื่องมือ ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และเรื่องอื่น ๆ ที่จำเป็น
                                   (๓) ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทุกหน่วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนโดยการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตระหนักในการปฏิบัติตามกฎหมายและเคารพหลักสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
                                   (๔) ให้ศูนย์อำนวยการบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกด้านและทุกมิติโดยเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่อย่างแท้จริงและเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน  ตลอดจนสอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของประชาชน และลักษณะพิเศษเฉพาะของแต่ละพื้นที่ด้วย
                                   ข้อ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการบูรณาการงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อ ๒ (๒) (ก)  ให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการดังนี้
                                   (๑) พิจารณาให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ
และการจัดตั้งงบประมาณ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งแนวทางและมาตรการการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ได้มีการพิจารณาของหน่วยงานหรือองค์กรตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่ออนุมัติ
                                   (๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดพื้นที่พิเศษ เขตพัฒนาพิเศษ กรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่พิเศษ และการบริหารและการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษ หลังจากที่ได้มีการพิจารณาของหน่วยงานหรือองค์กรตามทีกฎหมายกำหนด แล้วเสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่ออนุมัติ
                                   (๓) กำหนดกรอบและแนวทางการจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ในการแก้ปัญหาความมั่นคงและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งบูรณาการการดำเนินงานของกระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และแผนปฏิบัติการที่กำหนดขึ้น
                                   (๔) กำกับ เร่งรัด ติดตาม และบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและแผนปฏิบัติการที่กำหนดขึ้น โดยต้องสอดคล้องกับการบริหารราชการและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงาน รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
                                   (๕) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   (๖) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มอบหมาย
                                   ข้อ ๕ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ประธานกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจพิจารณาเรื่องใดกับกรรมการที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสามคน เพื่อมีมติของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องนั้น และเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีปกติ ให้ประธานกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้แจ้งให้ที่ประชุมทราบมติดังกล่าวด้วย
                                   ข้อ ๖ ให้ที่ปรึกษา กรรมการ อนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามระเบียบของทางราชการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการโดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                                   ข้อ ๗ ให้มีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
                                   (๑) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
                                   (๒) ประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลและการสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                   (๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบหมาย
                                   ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                    ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามอำนาจหน้าที่นของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติอาจร้องขอต่อส่วนราชการเพื่อจัดส่งข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐไปช่วยปฏิบัติงานของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามปกติ แล้วแต่กรณี และจะให้ไปช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลา บางเวลา หรือนอกเวลาก็ได้
                                    ข้อ ๙ ข้อสั่งการของประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องใดหรือการดำเนินการใด ๆ ตามข้อสั่งการดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นก่อนวันที่มีประกาศนี้ ให้ถือว่าข้อสั่งการหรือการดำเนินการนั้นเป็นมติหรือการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามประกาศนี้ ต่อเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวมีมติรับรองหรือให้ความเห็นชอบ

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    .................................................................................