ผู้เขียน หัวข้อ: อีก 5 ปีไทยได้ “ยาต้านมาลาเรีย” ตัวแรกที่ไม่ลอกจากคนอื่น  (อ่าน 615 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ชี้ไทยดื้อยาต้านมาลาเรียมากสุดตามชายแดนไทย-พม่า เผยความคืบหน้าพัฒนายาต้านเชื้อตัวใหม่ที่คาดว่าในอีก 5 ปีจะได้ตัวยาตัวแรกของไทยที่ไม่ใช่สมุนไพร และไม่ใช่ตัวยาที่ลอกจากคนอื่น พร้อมลงนามร่วมพัฒนายาตัวใหม่กับกองทุนวิจัยยามาลาเรียจากเจนีวา
       
       สำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานการประชุม (World Malaria Day Conference 2014) ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ เมื่อวันที่ 1 พ.ค.57 เพื่อสร้างความตระหนักของโรคมาลาเรีย โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. เผยว่า ประชากรโลกจำนวนหลายล้านคนต่อปีเสียชีวิตจากโรคนี้ อีกทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันเชื้อมาลาเรียมีแนวโน้มจะดื้อต่อยา อาร์เทมิซินิน (artemisinin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอยู่ในขณะนี้ และประเทศไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะติดตามเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาเหล่านี้ และจำกัดการแพร่ระบาด
       
       ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า การจัดการประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้นัก วิจัย วงการแพทย์และในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมศักยภาพนักวิจัยไทย เพื่อการศึกษาวิจัยต่อยอดเรื่องมาลาเรียให้สามารถตอบ โจทย์ที่สำคัญของประเทศ และเผยแพร่ความสำเร็จในเบื้องต้นของการพัฒนายาต้านมาลาเรีย P218 โดย ทีมนักวิจัยไทยที่มีการดำเนินงานร่วมกับ กองทุนยามาลาเรีย (Medicines for Malaria Venture: MMV) จากเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
       
       ทั้งนี้ ภายในงานได้มี“ พิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่าง สวทช. และกองทุนยามาลาเรียเจนีวา โดย MMV จะให้ทุนสนับสนุนร่วมกันกับประเทศไทยในการที่จะ พัฒนายา P218 ให้เป็นยารักษาโรคมาลาเรียตัวใหม่ ซึ่งคาดว่าอีก 5 ปีน่าจะได้ใช้ยาผลงานนักวิจัยไทย
       
       นอกจากนี้การประชุมยังมีหัวข้อบรรยายที่น่าสนใจจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่าง ประเทศ อาทิ นพ.โอภาส การย์ กวินวงศ์ รองอธิบดี กรมควบคุมโรค ในการบรรยายเกี่ยวกับสถานการณ์โรคมาลาเรียในประเทศไทย พร้อมทั้งนโยบายที่สำคัญในการควบคุมป้องกันโรคที่ประเทศไทยได้ ดำเนินการ ดร.ทิมโมธี เวลส์(Dr.Timothy Wells) MMVในหัวข้อการวิจัยและพัฒนายาต้าน มาลาเรียชนิดใหม่ ศ.พญ.ศรีวิชา ครุฑสูตร จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กับการบรรยายที่สะท้อนมุมมองของแพทย์ผู้รักษาต่อการใช้ยาในปัจจุบัน และ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ กับการบรรยายเรื่อง สาร P218 ซึ่งเป็นสารต้านมาลาเรีย ที่ออกแบบมาเพื่อยับยั้งเชื้อมาลาเรียดื้อยา
       
       ด้าน ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิจัย อาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านมาลาเรียในประเทศไทย  เปิดเผยว่า อีก 5 ปี ประเทศไทยน่าจะมียารักษามาลาเรียที่ต่อยอดจากการวิจัยพัฒนาค้นพบสารต้านมาลาเรีย P218 ซึ่ง การจะพัฒนาเป็นตัวยานั้น จะต้องใช้เวลานานกว่าสิบปี ขณะนี้ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. ได้มาครึ่งทางแล้ว ซึ่งต่อไปต้องพัฒนาสาร P218 ขึ้นมาเพื่อจะพิสูจน์ประสิทธิผล ความปลอดภัยในอาสาสมัคร ท้ายที่สุดแล้วเมื่อได้ผลดีจริง จะสามารถนำข้อมูลทั้งหมดไปขึ้นทะเบียนยาเพื่อให้ได้รับการรับรอง จึงจะเป็นยาตัวแรกของคนไทย ที่ไม่ได้มาจากสมุนไพรหรือไม่ได้มาจากการลอกเลียนแบบยาของคนอื่น แต่ได้มาจากสมองของนักวิจัยไทยอย่างแท้จริง
       
       “ปัจจุบันยาที่ใช้รักษา เช่น ยาที่ค้นพบในประเทศจีน ซึ่งใช้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ พบว่ามีปัญหาการดื้อยา จากผลสำรวจการดื้อยาที่พบมากสุดคือแถบชายแดนไทย-กัมพูชา และเริ่มแพร่หลายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องหายาใหม่ๆ เข้ามาทดแทนยาเดิม ยาต่างๆ อาจจะมีการดื้อยาเมื่อมีการนำมาใช้ประมาณ 5-10 ปี วัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียยังคงเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากยังไม่ได้ผลการทดสอบที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิสูจน์ในเด็ก หากได้วัคซีนที่ได้ผลดีจริงอาจจะทำให้ปัญหาโรคมาลาเรียลดลงได้อย่างมาก แต่ในปัจจุบันการพัฒนาวัคซีนยังไม่ถึงจุดนั้น” ศ.ดร.ยงยุทธ
       
       ศ.ดร.ยงยุทธ เผยอีกว่า การติดเชื้อมาลาเรียโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์จะต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ใช่เฉพาะแม่เท่านั้น แต่การป้องกันการติดเชื้อของทารกในครรภ์ก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน เนื่องจากเชื้อมาลาเรียสามารถเข้าไปสู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเชื้อมาลาเรียบางชนิดชอบไปอยู่บริเวณรก และสร้างปัญหาทำให้การคลอดลูกอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ และเด็กที่เกิดใหม่ภูมิต้านทานยังไม่มี จึงเกิดปัญหาได้มาก ฉะนั้นการให้ยาป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียในหญิงตั้งครรภ์ และทารกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
       
       “ยาป้องกันมาลาเรียที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันเกิดการดื้อยาในประเทศไทยแล้ว แต่ในแถบแอฟริกายังใช้ได้ผลเนื่องจากการดื้อยาไม่มากเท่าประเทศแถบนี้ เพราะฉะนั้นหากได้พัฒนายาประเภทที่ทีมนักวิจัยไทยกำลังดำเนินการนี้ขึ้นมาได้ หวังว่าจะกลับมาช่วยเรื่องการป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียในหญิงมีครรภ์และเด็กได้ อย่างไรก็ตาม เราควรต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงกัด หรือนอนกางมุ้ง เนื่องจากจากสถิติมาลาเรียที่ผ่านมา สามารถลดลงได้ จากสาเหตุกางมุ้งนอน โดยเฉพาะมุ้งสมัยที่เป็นมุ้งชุบยาที่จะฆ่ายุง” ศ.ดร.ยงยุทธ สรุป

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 พฤษภาคม 2557