ผู้เขียน หัวข้อ: นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไม่เข้าใจ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย  (อ่าน 1335 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
จากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวนายกรัฐมนตรี ตอบกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรว่า การที่กลุ่มแพทย์ยังพากันคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั้น เป็นเพราะแพทย์เข้าใจพ.ร.บ.คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะการฟ้องร้องแพทย์ซึ่งมีมาตั้งแต่ยังไม่มีพ.ร.บ.นี้ นายอภิสิทธิ์ ยังยืนยันอีกว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ทำลายผู้ประกอบวิชาชีพอย่างที่เข้าใจ และได้พูดอีกว่าพ.ร.บ.นี้มีหลักการ 2 ข้อคือ

1.ผู้เสียหายจะฟ้องจากกองทุนแทนฟ้องร้องจากแพทย์

2.เมื่อได้รับค่าเสียหายแล้วจะนำไปสู่การไกล่เกลี่ย

ส่วนข้อกังวลว่าจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ข้างต้น ก็สามารถนำไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการได้

  ข้อความทั้งหมดแสดงว่านายอภิสิทธิ์ ยังไม่เคยอ่านร่างพ.ร.บ.นี้ฉบับของรัฐบาลอย่างละเอียดและยังไม่เข้าใจบทบัญญัติในตัวพ.ร.บ.นี้ และนายอภิสิทธิ์เอง เป็นคนที่ไม่เข้าใจเรื่องราวของร่างพ.ร.บ.นี้เลย (ไม่ใช่เข้าใจคลาดเคลื่อน อย่างที่นายอภิสิทธิ์กล่าวหาพวกหมอที่ต่อต้านพ.ร.บ.นี้)

นายอภิสิทธิ์อ้างว่า พ.ร.บ.นี้ จะไม่ทำให้ประชาชนฟ้องหมอ แต่ไปฟ้องกองทุนแทน

ขออธิบายว่า เมื่อมีกองทุนอยู่แล้ว ประชาชนก็ต้องลองฟ้องดู เผื่อจะได้เงิน ถึงไม่ได้เงินก็ไม่เสียหายอะไร

  โดยขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า  ก่อนที่จะมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติการฟ้องร้องแพทย์มีน้อย พอมีม. 41 ประชาชนก็ฟ้องหมอมากขึ้นเรื่อยๆ (สถิติเพิ่มมากขึ้นทุกปี) เดี๋ยวนี้ตามใต้ถุนโรงพยาบาล พอมีคนตายในโรงพยาบาล ก็จะมีคนมาบอกญาติผู้ตายว่า จะฟ้องหมอหรือเปล่า? จะช่วยทำเรื่องให้  เมื่อได้เงินแล้วมาแบ่งกันคนละครึ่ง

  เพราะฉะนั้น ถ้ามีพ.ร.บ.นี้ออกมา การฟ้องร้องเรียกเงินจากกองทุนจะมากขึ้นแน่นอน  เมื่อมีการฟ้องร้องกองทุน กรรมการตามพ.ร.บ.นี้ก็จะต้องเรียกเอกสารเวชระเบียนและสั่งให้หมอเขียนรายงานและไปให้ปากคำ อย่างนี้แล้ว ไม่เรียกว่าฟ้องหมอมากขึ้นแล้วจะเรียกว่าอะไร

คณะกรรมการมีทั้งสอบสวนเบื้องต้น สอบสวนเพื่อชดเชย และอุทธรณ์ได้ทุกขั้นตอน และไกล่เกลี่ย แล้วยังไปฟ้องศาลได้อีกทั้ง แพ่งและอาญาถึงขั้นฎีกา

ส่วนพวกหมอ มีสิทธิ์ร้องขอความเป็นธรรมได้จากศาลปกครองอย่างเดียว

ส่วนการที่นายอภิสิทธิ์อ้างว่า  เมื่อได้รับค่าเสียหายแล้วจะนำไปสู่การไกล่เกลี่ย ขออธิบายว่า หมอไม่ได้มีข้อพิพาทกับผู้ป่วยและญาติ แต่หมอไม่ใช่เทวดา จึงไม่สามารถรักษาให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากความพิการหรือความตายได้ทุกคน

แต่เมื่อประชาชนไม่ยอมรับผลการรักษา ก็จึงมาเรียกร้อง ฉะนั้นไม่สมควรเรียกว่าเป็นการไกล่เกลี่ย

 เมื่อรัฐบาลอยากจะจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชน ก็ไปขยายมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนได้ ทำไมรัฐบาลเลือกปฏิบัติ และทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำแก่ประชาชน โดยให้สิทธิ์แก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคนเท่านั้น

 

 ถ้าพวกหมอจะร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริหารงานของรัฐบาลบ้าง โดยมีหลักการเดียวกันกับร่างพ.ร.บ.นี้ และมีรายละเอียดในมาตราต่างๆเหมือนกันทุกประการ เช่น รัฐบาลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้ประชาชน 10ล้านคนในกลุ่มผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินในการรักษาสุขภาพ ไม่ได้รับบริการฟรีเหมือนกลุ่มประชาชน 48 ล้านคน  และเมื่อประชานคิดว่าได้รับความเสียหาย ก็ให้ประชาชนไปฟ้องกองทุน แล้วกรรมการกองทุนให้เงินช่วยเหลือ เงินชดเชย อุทธรณ์ได้อีก ทั้ง 2 คณะ และฟ้องศาลแพ่ง ศาลอาญา โดยนายกรัฐมนตรีต้องส่งรายงาน  ไปให้ปากคำคณะกรรมการ  แล้วไปให้ปากคำตอนไกล่เกลี่ยอีกด้วย  และประชาชนไปฟ้องศาลอีก  แบบเดียวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯของรัฐบาลนี้

นายอภิสิทธิ์จะยอมรับร่างกฎหมายแบบนี้  แล้วไปคอยแก้ในชั้นกรรมาธิการ โดยที่นายอภิสิทธิ์ไม่ได้เป็นกรรมาธิการด้วย นายอภิสิทธิ์จะยอมรับร่างพ.ร.บ.คุ้ครองความเสียหายจากการบริหารงานของรัฐบาลหรือไม่?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ประธานสผพท.