ผู้เขียน หัวข้อ: “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ”ความหวังดีแต่ประสงค์ร้ายของรัฐบาลที่ยื่นให้แก่ประชาชน  (อ่าน 1214 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
“พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....” ความหวังดีแต่ประสงค์ร้ายของรัฐบาลที่ยื่นให้แก่ประชาชน

 
รัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายที่จะผลักดันพ.ร.บ.ข้างต้นให้ออกมาเป็นกฎหมายอย่างเร่งด่วนให้ทันวาระการทำงานของรัฐบาลที่มีเวลาเหลือไม่มาก ท่านได้กล่าวในหลายวาระทั้งต่อที่ประชุมของบุคลากรทางการแพทย์ในเจตนารมณ์ดังกล่าวของรัฐบาลและท่านก็ได้ทำตามที่ได้พูดไว้จริง โดยในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการเสนอร่างพ.ร.บ.ดังก ล่าวของรัฐบาลในวาระที่ ๑ 
 
ในฐานะของแพทย์ด้านประสาทศัลยศาสตร์หรือแพทย์ผ่าตัดสมองที่ยังทำหน้า ที่รักษาผู้ป่วยต้องอยู่เวรรับปรึกษานอกเวลาราชการที่มีผู้ป่วยนอกเวลามากที่สุด คือผู้ป่วยทางสมองไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บที่ศีรษะ เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในสมองตีบตัน แม้จะทำงานรับราชการมากว่า 20 ปีแล้ว แม้จะเหนื่อยแต่ก็มีความสุขที่ได้มีโอกาสช่วยผู้ป่วย บางรายก็ช่วยให้รอดชีวิตมาได้ บางรายพิการ บางรายเสียชีวิตซึ่งการทำงานของแพทย์ทุกคนจะได้ความรู้และประสบการณ์จากผู้ป่วยแต่ละรายเพิ่มขึ้น เป็นลักษณะของการให้ซึ่งกันและกันกล่าวคือแพทย์ให้การรักษาอย่างดีตามมาตรฐานแก่ผู้ป่วย แพทย์ก็ได้ประสบการณ์และความรู้เพิ่มขึ้นเหมือนบทเรียนบททดสอบที่ทำให้แพทย์ เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น จนในปัจจุบันหากผ่าตัดรักษาผู้ป่วยแม้ไม่สามารถรักษาได้หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจนพิการหรือเสียชีวิต ญาติก็ไว้วางใจว่าได้รักษาถึงที่สุดแล้ว
 
พ.ร.บ.ดังกล่าวจะขัดขวางการได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างที่เป็นมา กล่าวคือเมื่อให้การรักษาแต่ละครั้งแล้วย่อมมีความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียนเ พื่อได้รับเงินเยียวยาหรือชดเชยตามพ.ร.บ.นี้แม้จะเขียนว่าให้โดยไม่พิสูจน์ถูกผิดซึ่งไม่ใช่การไม่ต้องถูกสอบสวน เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นเมื่อมีเงินเป็นสิ่งล่อใจและเป็นสิทธิที่รัฐหยิบยื่นให้ มีหรือใครจะไม่เอา และเมื่อได้แล้วก็ได้จากกองทุนคนที่ผู้ป่วยหรือญาติจะขอบคุณก็คือคณะกรรมการ ประจำจังหวัดที่เป็นผู้พิจารณาหากญาติยังติดใจว่าการรักษาที่ได้รับไม่เหมาะ สมก็ยังไม่พอใจแพทย์หรือโรงพยาบาลอยู่ดี ส่วนผู้ที่ทราบว่าโรงพยาบาลทำดีแล้วแต่หวังได้เงินแต่การได้เงินนั้นกลับเป็ นการทำร้ายผู้ให้การรักษาเพราะต้องถูกสอบสวนว่าได้ทำถูกต้องหรือไม่ ทางพุทธศาสนากล่าวไว้ว่าการกระทำใดทำให้ผู้อื่นไม่เป็นสุขคือการทำบาป และกฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ขัดต่อหลักของพุทธศาสนาในข้อที่ 1 ของสังคหวัตถุธรรมคือการให้ ที่ทุกคนควรให้ซึ่งกันและกัน 

นี่ คือเหตุผลที่แพทย์กลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเช่นเดียวกับผู้เขียนที่แสดงข้อท้วงติงต่อรัฐบาล เมื่อไม่ได้ผลก็ต้องแสดงความไม่เห็นด้วยด้วยการแสดงสัญลักษณ์ได้แก่การแต่งชุดดำในวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ นี้ แพทยสภาในฐานะองค์กรวิชาชีพที่ต้องให้คำแนะนำแก่รัฐบาลได้เสนอต่อรัฐบาลว่าควรชลอการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ไว้ก่อนเพราะไม่มี่ความเร่งด่วนใดๆ ควรมีการศึกษาผลของการมีมาตรา ๔๑แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่กำหนดว่า  “ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกันเงินจํานวนไม่เกินร้อยละหนึ่งขอ งเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการ(โรงพยาบาล คลินิก สถานีอนามัย)ไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่ วยบริการ โดยหาผู้กระทําผิดมิได้หรือหาผู้กระทําผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนด” ซึ่งพ.ร.บ.นี้เป็นการนำเนื้อหาของมาตรา ๔๑ นี้ขึ้นมาเป็นพ.ร.บ.นั่นเอง 
 
รัฐบาลควรมีการศึกษาดูว่ามีการจ่ายเงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและ เงื่อนไ ขที่กำหนดหรือไม่ และลดการฟ้องร้องทางศาลหรือไม่ เรื่องการฟ้องร้องทางศาลนั้นขณะนี้ก็มีเรื่องล้นศาลอยู่แล้วนับตั้งแต่มีมาต รา 41 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผลของพ.ร.บ.กลับเป็นตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ คือจะเป็นการส่งเสริมการฟ้องร้องและสร้างความบาดหมางระหว่างผู้ให้และผู้รับ บริการ ที่สำคัญคือขัดขวางการเข้าถึงบริการของประชาชน และผลักไสให้ผู้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทางการเงินไปใช้บริการของโรงพยาบาล เอกชน เป็นสาเหตุของสมองไหลของบุคลากรจากภาครัฐไปเอกชน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด
 
พ.ร.บ.นี้จึงเป็นการหวังดีแต่ประสงค์ร้ายต่อประชาชน คือ การที่รัฐโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะประหยัดงบประมาณการใช้จ่ายในการรักษา เพราะประชาชนจะเข้าถึงบริการลดลง ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนักการเมือง องค์กรเอกชนได้บริหารกองทุนระดับพันล้านต่อปีและอาจเป็นหมื่นล้านในอนาคต ส่วนแพทย์ผู้รักษาเหนื่อยลดลงเนื่องจากโอกาสจะได้รักษาผู้ป่วยลดลงเพราะเมื่อประเมินความสามารถศักยภาพของโรงพยาบาลของทีมงานมีความไม่พร้อมก็ส่งต่อไปยั งที่พร้อมกว่ามากขึ้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่แพทย์ต้องการ แม้ต้องเหนื่อยแพทย์ก็ยินดีที่จะเหนื่อยเพื่อให้ได้รักษาได้ช่วยผู้ป่วยมากกว่า ท่านผู้อ่านซึ่งเป็นประชาชนผู้หนึ่งโปรดพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าฝ่ายไหนมีเป้าประสงค์ที่บริสุทธิ์บนพื้นฐานของสังคมที่เป็นสุขอย่างแท้จริง
                                                     
ด้วยความปรารถนาดีจาก
นายแพทย์สุกิจ  ทัศนสุนทรวงศ์

บทความทันโลกทันเหตุการณ์กับแพทยสภา วันเสาร์ที่ 5 กพ.54 นสพ.แนวหน้า