ผู้เขียน หัวข้อ: แถลงการณ์ของบุคลากรโรงพยาบาลนครพิงค์  (อ่าน 2701 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
แถลงการณ์ของบุคลากรโรงพยาบาลนครพิงค์
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2011, 21:41:59 »


แถลงการณ์คัดค้าน

การพิจารณาร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ในสภาผู้แทนราษฎร

กราบเรียน ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาและประชาชนชาวไทย

ตามที่รัฐบาล โดยฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวว่า จะบรรจุร่าง พรบ.คุ้มตรองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เข้ารับการพิจารณาวาระที่ ๑ ในสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกุมภาพันธ์ศกนี้นั้น องค์กรแพทย์พร้อมด้วยสหสาขาวิชาชีพ ขอแสดงจุดยืนคัดค้านการนำร่าง พรบ.ดังกล่าวเข้ารับการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

เพราะแม้จะดูเหมือน ว่าร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ บริการ (ทั้งที่ปัจจุบันผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือตามมาตรา ๔๑ ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว) หากแต่เมื่อพิจารณารายละเอียดของ ร่าง พรบ.ฉบับนี้จะพบว่า ในหลายประเด็นยังไม่ถูกต้อง เหมาะสม และหมกเม็ด สมควรที่จะได้รับการทบทวน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะได้แถลงเหตุผลของการคัดค้านโดยสังเขป ต่อไปนี้

การนำร่างพร บ.ที่มีความละเอียดอ่อนซับซ้อนเข้าพิจารณาในเวลาที่จำกัด จะทำให้การพิจารณานั้นทำได้อย่างไม่ถ้วนถี่ เมื่อใดที่ร่าง พรบ.ได้รับการประกาศใช้โดยไม่ได้รับการปรับแก้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะเกิดผลกระทบด้านลบอย่างใหญ่หลวง ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ ต่อผู้ให้บริการ ต่อประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้รับบริการ และที่สำคัญที่สุดคือก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ใหม่อีกวงจรหนึ่งในสังคมไทย ที่ยากจะแก้ไขให้กลับคืนมาดังเดิมได้

ผลกระทบด้านลบจาก ร่าง พรบ.นี้ เริ่มจากผู้ให้บริการรู้สึกถึงความเสี่ยงของการให้บริการ ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงาน จะเกิดเหตุการณ์ส่งต่อความเสี่ยงให้แก่ผู้อื่น สถานีอนามัยจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชุมชนจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ก็จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่ความเจ็บป่วยนั้นสามารถรักษาได้ในแต่ละระดับของสถานบริการอยู่แล้ว สถานการณ์เช่นนี้จะทำให้ศักยภาพของแพทย์และทีมงานของโรงพยาบาลชุมชนลดลงไป เรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้ดูแลรักษาโรคที่เคยรักษาได้ ความชำนาญ ความมั่นใจที่ เคยมีย่อมหดหายไป เหมือนนักมวยที่เรื้อเวที รายได้ของโรงพยาบาลที่เคยได้รับจาก สปสช.ในส่วนที่ขึ้นกับจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็จะลดลง ทำให้สถานะทางการเงินของโรงพยาบาลลดลงไปอีก (ซึ่งทุกท่านคงได้ทราบจากข่าวแล้วว่าขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประสบกับปัญหาวิกฤติทางการเงินอยู่แล้ว) สภาพแบบนี้ก็จะเกิดกับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์เช่นกัน ในขณะที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยมากมายเกินศักยภาพ ได้จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยที่มารับบริการและญาติ

ประการแรก คือจะได้รับบริการที่ล่าช้า เนื่องจากความแออัดของผู้รับบริการที่มากขึ้นจากการส่งต่อผู้ป่วย และ แพทย์จะใช้เวลาในการตรวจวินิจฉัยโรคมากกว่าเดิมโดยไม่จำเป็นเ พื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง

ประการที่สอง จะได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ไกลบ้าน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ความล่าช้าในการรับการรักษาก็จะทวีคูณ เนื่องจากการถูกส่งต่อหลายทอด ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

ประการที่สาม เมื่อหันหน้าไปพึ่งบริการของโรงพยาบาลเอกชน ก็จะเผชิญกับค่ารักษา พยาบาล ที่แพงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการต้องส่งเงินสมทบ เข้ากองทุน และส่งตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่จำเป็น (ปฏิบัติแบบ Defensive Medicine)

ประการสุดท้าย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการก็จะตกต่ำลงเนื่องจาก เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่ได้กล่าวมาแล้ว

อาชีพผู้ให้บริการ สาธารณสุข เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด เป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนักและเสียสละอยู่แล้วหากต้องเผชิญกับความกดดันจาก สภาพแวดล้อมทางกฏหมายที่ไม่เป็นธรรม ก็จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรในอาชีพนี้ยิ่งขึ้นไปอีก เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์สาธารณสุขของไทยอย่างน่าเศร้าใจ

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดวงจรอุบาทว์ดังกล่าว เราจึงขอให้ถอนร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธาณสุข ออกจากการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรแล้วนำกลับมาประชาพิจารณ์ภายในระยะเวลาที่ เหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ปวงชนชาวไทย

แถลงการณ์ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
Re: แถลงการณ์ของบุคลากรโรงพยาบาลนครพิงค์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2011, 08:05:22 »
นครพิงค์ สู้ๆๆๆ