ผู้เขียน หัวข้อ: แฉรพ.เอกชนเตรียมไม่รับคนไข้สปส.  (อ่าน 1186 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
แฉรพ.เอกชนเตรียมไม่รับคนไข้สปส.
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 08:26:21 »
"หมอเอื้อชาติ" เผย รพ.เอกชนเตรียมไม่รับคนไข้ระบบประกันสังคม เหตุค่าหัวไม่ขยับ 3 ปีแล้ว ขณะที่ต้นทุนค่ารักษากลับสูงขึ้น พบคนป่วยประกันสังคมเข้า รพ.เอกชนมากขึ้น จี้ผู้ประกันตนจ่ายเงินทุกเดือนทวงถามได้สิทธิพิเศษกว่าบัตรทองหรือไม่
     นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และผู้บริหารโรงพยาบาลรามคำแหง กล่าวถึงกรณีที่มีการเปิดข้อมูลกำไรของโรงพยาบาลเอกชนที่ได้จากการเข้าร่วม รักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมว่า โดยส่วนตัวไม่คิดว่าโรงพยาบาลเอกชนจะได้ กำไรมากมายจากการรับรักษาผู้ป่วยในระบบนี้ เนื่องจากที่ผ่านมามีโรงพยาบาล เอกชนจำนวนไม่น้อยที่ทยอยถอนตัวออกจากระบบประกันสังคมนี้ โดยเฉพาะในกลุ่ม โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนาศักยภาพการรักษาพยาบาล เนื่องจากขาดทุนเพราะค่าใช้จ่ายต้นทุนการรักษาที่สูง ขณะที่งบประมาณที่ได้รับนั้นจำกัด จะเห็นได้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีโรงพยาบาลที่รับดูแลผู้ประกันตนกว่า 200,000 คน ประกาศออกจากระบบ ส่วนโรงพยาบาลที่เข้าร่วมแทนเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ดูแลเพียงแค่ 25,000 คนเท่านั้น ซึ่งมีต้นทุนการบริหารไม่มาก จึงอยากให้กลับไปดูข้อมูล ย้อนดูประวัตินี้ด้วย
     "ผมไม่รู้รายละเอียดข้อมูลส่วนต่างกำไรขาดทุนจากการดูแลผู้ประกันตนของโรง พยาบาลที่เข้าร่วม แต่โรงพยาบาลรามคำแหงของผมไม่รับทั้งกลุ่มผู้ป่วยประกันสังคมและผู้ป่วยหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพราะไม่คุ้มทุน เนื่องจากการบริการของเรามีคุณภาพ ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง"
     นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนกล่าว และว่า เท่าที่ทราบขณะนี้มีหลายโรงพยาบาลที่เตรียมออกจากระบบประกันสังคม เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายรายหัวไม่ขยับขึ้นมาเป็นปีที่ 3 แล้ว จากที่ระเบียบกำหนดต้องมีการปรับทุก 2 ปี ทำให้โรงพยาบาลเอกชนต้องแบกรับภาระ แต่บางโรงพยาบาลยังติดสัญญาที่ต้องดำเนินการให้ครบปีก่อน
     นพ.เอื้อชาติกล่าวว่า ส่วนที่มีการระบุว่ามีจำนวนผู้ประกันตนที่เข้ารับ บริการรักษาไม่มาก เพราะเป็นกลุ่มแรงงานที่ยังแข็งแรงนั้น ข้อมูลนี้ถูกต้อง แต่เป็นแค่ช่วงการ เริ่มต้นการรักษาพยาบาลในกองทุนประกันสังคมเท่านั้น แต่ขณะนี้เวลาผ่านมา 20 ปีแล้ว กลุ่มคนที่เคยแข็งแรงก็เริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุเช่นกัน มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน เช่นเดียวกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้นควรมีการจัดทำข้อมูลนี้ใหม่ด้วย
     นพ.เอื้อชาติกล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการเสนอให้นำการจัดการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมไปบริหารร่วม กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น เรื่องนี้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ผู้ประกัน ตน 9.4 ล้านคนต้องออกมาทักท้วง และถามจากทาง สปสช.ว่า เมื่อนำไปบริหารร่วมกัน กลุ่มประกันสังคมจะมีสิทธิการรักษาพยาบาลใดที่พิเศษกว่าระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าหรือไม่ในฐานะที่ต้องเป็นผู้ร่วมจ่าย ขณะที่ผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ ทั้งสิ้น แต่ก็ได้รับบริการเท่ากัน แบบนี้ถือว่าเป็นธรรมหรือไม่ แต่หากเป็นการนำไปรวมโดยรัฐบาลเป็นผู้ออกงบค่า รักษาพยาบาลให้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและสนับสนุน.

ไทยโพสต์
4 กุมภาพันธ์ 2554