ผู้เขียน หัวข้อ: พิจารณ์"เมดิคัลฮับ"แค่พิธีกรรม  (อ่าน 1634 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
พิจารณ์"เมดิคัลฮับ"แค่พิธีกรรม
« เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2011, 08:08:31 »
"จุรินทร์" ส่งสัญญาณเดินหน้าเมดิคัลฮับ แม้จะจัดเวทีใหญ่ทำประชาพิจารณ์ แต่กลับระบุเป็นแค่การฟังข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เวทีประชุมเผยตัวเลขสัด ส่วนหมอกับคนไข้ไทยยังห่างกันสุดกู่ มีโอกาสประวัติศาสตร์ซ้ำรอย หมอไทยสมองไหลไปนอก หรือเทเข้า รพ.เอกชนใหญ่ๆ
     เมื่อวันที่ 31 ม.ค. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดเวทีทำประชาพิจารณ์ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (พ.ศ.2553-2557) หรือเมดิเคิลฮับครั้งแรก โดยมีเข้าร่วมกว่า 300 คน จากภาครัฐ เอกชน รพ.เอกชน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีตัวแทนจาก รพ.เอกชนขนาดใหญ่เข้าร่วมในเวทีดังกล่าวเลย
     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สธ.กล่าวว่า สธ.มีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ โดย แยก 4 เรื่อง คือ 1.การส่งเสริมบริการรักษาพยาบาล 2.การส่งเสริมบริการสุขภาพ และ 3.การให้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทาง เลือก และ 4.การสนับสนุนสมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งทั้ง 4 เรื่อง คือ เรื่องที่ 2-4 มีการตัดสินใจแล้วว่าจะต้องเดินหน้าแน่นอนเพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง การดูแลสุขภาพ แต่เรื่องบริการรักษาพยาบาลยังเป็นข้อถกเถียงกัน และยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ซึ่งตนให้แนวทางกว้างๆ ว่า หากจะส่งเสริมจะต้องทำเท่าที่ไม่กระทบต่อการรักษาพยาบาลคนไทย จึงเป็นที่มาของการให้ทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นเพื่อนำมาประกอบการ ตัดสินใจในการวางนโยบายผลักดัน แม้ว่าในทางปฏิบัติ รพ.เอกชนได้ดำเนินการไปไกลแล้วจนได้รับการยอมรับ
     "การทำประชาพิจารณ์เราจะพิจารณาเฉพาะด้านการบริการรักษาพยาบาลเท่านั้น เพราะเรื่องอื่นๆ เราตัดสินใจแล้วว่าจะเดินหน้า วันนี้จึงมาเพื่อฟังความคิดเห็นและนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจ เพราะผมเป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนตัดสินใจทั้งในระดับกระทรวงและในรัฐบาล" รมว.สาธารณสุขกล่าว
     นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ในการทำประชาพิจารณ์มีความเห็นอยากให้บริการสุขภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน ใกล้เคียงกัน ไม่ว่า รพ.ภาครัฐหรือเอกชน ตนตระหนักในเรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งไม่คิดว่าจะทำให้เท่าเทียมกันทั้งหมดได้ แต่อยากให้รับทราบว่าอย่างน้อย ก็มีความพยายามและตั้งใจที่จะทำ เช่น การพัฒนา รพ.สาธารณสุขยุคใหม่ (รพ. 3 ดี) ที่พัฒนางานบริการผู้ป่วยนอก ส่วนการเพิ่มค่าตอบแทนกันปัญหาสมองไหลนั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่
     ก่อนหน้านี้ ศ.กิตติคุณ นพ.จิตร สิทธิอมร ผอ.รพ.เซ็นหลุยส์ ที่ปรึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ดำเนินการประชาพิจารณ์ร่างแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ กล่าวว่า โดยรวมสรุปที่ ประชุมไม่คัดค้านให้ไทยเป็น "เมดิคัลฮับ" แต่มีข้อห่วงใยในผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงมีความเห็นให้มีการดำเนินการระวัง ดังนี้ 1.หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องดำเนินงานร่วมกันอย่างสมดุล โดยนำประโยชน์ของ ประชาชนเป็นตัวตั้ง 2.ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานการณ์ด้านการแพทย์ของประเทศที่ชัดเจนก่อนดำเนินนโยบายนี้ ทั้งด้านสุขภาพ ทรัพยากรสุขภาพ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุน ผลกระทบเชิงบวกและลบ ภายใต้ความมั่นคงด้านสุขภาพ 3.มุ่งเน้นศักยภาพพัฒนาสุขภาพให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ หากพัฒนาการแพทย์เป็นระดับสากลจะต้องพัฒนาให้คนไทยเข้ารับบริการในมาตรฐาน เดียวกันทั้งประเทศ ไม่ใช่แยกเป็น 2 มาตรฐาน โดยในส่วนการบริการของรัฐ ต้องอยู่บนงบประมาณสามารถจ่ายได้ อีกทั้งประชาชนไม่ควรได้รับการปฏิเสธการรักษาในระดับสากลหากสามารถจ่ายได้
     4.รัฐต้องทำให้บุคลากรด้านสุขภาพสามารถอยู่ในระบบภาครัฐได้อย่างมีความสุข และสมศักดิ์ศรี มีการสร้างแรงจูงใจบรรยากาศการทำงานอย่างเหมาะสม โดยภาครัฐ ต้องให้การดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ ขณะเดียวกันภาคเอกชนจะต้องไม่ดูดแพทย์เข้ามาในงานบริการเอกชน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบประเทศโดยรวม และ 5.การวางรูปแบบนโยบายที่สามารถนำรายได้เมดิคัลฮับมานำร่องบางโครงการเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันด้านบริการทางการแพทย์ของประเทศ เพื่อความต่อเนื่องยั่งยืน และ 6.นำมติสมัชชาสุขภาพมาประกอบการดำเนินนโยบายเมดิคัลฮับ เพื่อให้ทั้งประเทศสามารถผนึกพลังรวมกันเพื่อให้การดำเนินนโยบายเมดิคัลฮับ เป็นประโยชน์สูงสุด
     นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า การประชาพิจารณ์ครั้งนี้เป็นการประชาพิจารณ์ครั้งแรกเพื่อรับฟังความ เห็น และทาง สบส.จะทำประชาพิจารณาอีก 3 ครั้ง คือ ที่จังหวัดขอนแก่น ภูเก็ต และเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวบรวมความเห็นประชาชนกว่า 2,000 คน และจะมีการรวบรวมความเห็นทั้งหมดสรุปและเสนอต่อ รมว.สาธารณสุขต่อไป
     ขณะที่ในเวทีอภิปรายและแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นเมดิเคิลฮับ กลุ่มบริการรักษา พยาบาล ช่วงเช้าวันเดียวกัน นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ ที่ปรึกษาสมาคม รพ.เอกชนกล่าวว่า จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การรักษาพยาบาลอยู่ในระบบ มีจำนวน 37,000-38,000 คน โดยมีสัดส่วนของแพทย์ไทยที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน คือ แพทย์ 1 คนดูแลคนไข้ 1,900 คน หรือ 1 ต่อ 1,900 อย่างไรก็ตามการกระจายของแพทย์ยังกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง โดยใน กทม.มีสัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 500 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) คือ 1 ต่อ 3,600 คน ส่วนรายได้ของแพทย์ไทยต่อคนต่อปี อยู่ที่คนละ 4,000 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี
     ขณะที่แพทย์ในประเทศมาเลยเซียมีรายได้สูงกว่าแพทย์ไทยถึง 2.5 เท่า เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ สัดส่วนของแพทย์ต่อประชากรมีเพียง 1 ต่อ 600 คน และแพทย์มีรายได้สูงถึง 32,000 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งทั้งสองประเทศดังกล่าวกำลังดำเนินนโยบายเมดิเคิลฮับเช่นเดียวกัน นอกจาก นี้สัดส่วนของนักเรียนแพทย์ที่กำลังจะจบการศึกษาในปีนี้ มีจำนวน 2,500 คน เพิ่มขึ้นจากอดีตเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมามีการผลิตแพทย์ปีละ 1,900 คนต่อปี ส่วนในปี 2558 จะมีแพทย์จบใหม่ทั้งสิ้น 12,500 คน หรือ 1 ใน 3 ของจำนวนแพทย์ในปัจจุบัน มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า เมื่อกว่า 40 ปีที่ผ่านมา มีแพทย์ไทยไปทำงานที่สหรัฐอเมริกาจำนวนมากกว่า 3,000 คนไม่เดินทางกลับมาอีกเลย อีกส่วนหนึ่งเดินทางกลับมาจำนวน 400 คนก็ไปอยู่ใน รพ.เอกชนเกือบทั้งหมด.

ไทยโพสต์
1 กุมภาพันธ์ 2554