ผู้เขียน หัวข้อ: ปลัดสธ.ไฟเขียว หมอแต่งดำ ค้านพ.ร.บ.-7กพ  (อ่าน 1576 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปลัดสธ.ไฟเขียว หมอแต่งดำ ค้านพ.ร.บ.-7กพ
« เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2011, 07:55:19 »
ปลัด สธ.ไฟเขียว หมอแต่งดำ ค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง นัดถก ผอ.รพ.ชี้เป็นสิทธิส่วนบุคคล วิปฯ เตรียมยื่น 3 ร่างกฎหมาย 12 ประเด็น พร้อมแก้ไข ขณะที่กรม สบส เดินหน้าประชาพิจารณ์ถามความเห็นบุคลากรทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 31 มค. นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยกรณีที่บุคลากรด้านสาธารณสุขทั่วประเทศนัดแต่งดำ หรือใส่ปลอกแขนดำในวันที่ 7 กพ.นี้จากนั้นจะแต่งทุกวันเพื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...และจะตรวจรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน คนละ 15 นาที จากที่ปัจจุบันตรวจคนละ 3 นาทีทันทีที่สภาผู้แทนราษฎรหยิบยกร่างพ.ร.บ.นี้ขึ้นมาพิจารณาเพื่อจำลองให้เห็นภาพความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลหากร่างพ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ ว่าได้หารือกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่างๆชัดเจนแล้วถึงมาตรการที่จะแสดงออกเพื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯซึ่งการแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิที่บุคลากรสามารถดำเนินการได้ แต่มาตรการต่างๆต้องไม่กระทบกับผู้ป่วย และผู้ที่มาใช้บริการโรงพยาบาล เนื่องจากจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าแพทย์ใช้คนไข้เป็นเครื่องมือ และสร้างความเดือดร้อน

ด้านนพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข กล่าวว่าเข้าใจว่าการแต่งดำเป็นการคัดค้านร่างพ.ร.บ.ฉบับเดิมที่อยู่ในวาระการพิจารณาของสภาฯ แต่เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มค.ได้มีการหารือร่วมกันของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล สรุปว่าจะนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯจำนวน 3 ร่าง และ 12ประเด็นที่เป็นข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์ในระบบสาธารณสุขมาใช้ และเพิ่มเติมในกฎหมายเพื่อแห้ไขปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ใหม่ โดยในวันที่ 3 กพ. นี้จะมีการหารือกลุ่มย่อยระหว่างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตัวแทนแพทย์ และเครือข่ายผู้ป่วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับร่างใหม่ที่มีการแก้ไข ปรับปรุงแล้ว จากนั้นจึงจะสอบถามความคิดเห็นในวงกว้างหรือประชาพิจารณ์

การทำประชาพิจารณ์สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบนำร่างพ.ร.บ.เผยแพร่ผ่านเว็บไซด์กระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นการประชาพิจารณ์อย่างหนึ่ง หรือการให้ผู้ตรวจราชการสธ.ไปรวบรวมความคิดเห็นคนในพื้นที่ก็เป็นการประชาพิจารณ์อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งสบส.ได้รับมอบหมายให้ประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.ก็จะเร่งดำเนินการโดยเร็ว ส่วนการจะนำร่างพ.ร.บ.ที่มีการแก้ไขปรับปรุงแล้วเข้าสภาฯอย่างไร ช่องทางไหน เป็นหน้าที่ที่วิปรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ นพ.สมชัย กล่าว

ด้านนางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์กล่าวว่าสำหรับฝ่ายผู้ป่วยพร้อมที่จะเข้าร่วมประชุมมาตั้งแต่ต้น ส่วนเนื้อหาจะมีการปรับแก้อย่างไรนั้น ก็ต้องดูเหตุผล หากการปรับแก้อยู่บนหลักการเดิมก็รับได้ เพื่อให้ร่างพ.ร.บ.ที่จะนำเข้าสภาเกิดความพอใจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายคือ เมื่อผู้เสียหายรับเงินแล้วต้องไม่ฟ้องร้องต่อ แต่กรณีคดีอาญาต้องมีทางออกเพื่อไม่ให้การเขียนกฎหมายฉบับนั้ไปขัดต่อกฎหมายหลักตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามยังไม่ได้รับหนังสือเชิญจากกระทรวงสาธารณสุข แต่ฝ่ายผู้ป่วยยินดีเข้าร่วมประชุมร่วมกับฝ่ายยินดีเข้าประชุมร่วมกับฝ่ายแพทย์เพื่อให้ได้ข้อสรุปอยู่แล้ว

ไทยรัฐออนไลน์
1 กพ.2554