ผู้เขียน หัวข้อ: หมอนัดแต่งดำ 7 ก.พ.อีกรอบ ค้าน กม.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  (อ่าน 1243 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
กลุ่มหมอเอาอีก นัดแต่งชุดดำหน้าโรงพยาบาลฯ 7 ก.พ. แสดงจุดยืนในการต่อต้าน กม.ผู้ป่วยฯ ยันไม่ยอมให้นำเข้าสภาฯ ลั่นหากสภาฯพิจารณา แพทย์รพศ./รพท.จะตรวจคนไข้ตามมาตรฐาน 30 คนต่อหมอ 1 คน
       
       นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ กรรมการ สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา ตัวแทนองค์กรแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) และเครือข่ายผู้ให้การรักษาทั่วประเทศได้ประชุมเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.....โดยในที่ประชุมมีมติให้มีการเคลื่อนไหวคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวใน 2 ส่วนสำคัญ คือ

1.บุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศพร้อมใจกันแต่งชุดดำ หรือสวมปลอกแขนสีดำ พร้อมป้ายผ้าแสดงการคัดค้าน แล้วชุมนุมกันบริเวณที่สำคัญของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง เช่น หน้าพระบรมรูปพระราชบิดา หน้าเสาธง พร้อมแถลงคัดค้าน ในวันที่ 7 ก.พ.2554 และจะมีการแต่งดำหรือสวมปลอกแขนสีดำ เพื่อไว้ทุกข์กับร่างพรบ.ฉบับนี้ทุกวัน จนกว่าจะมีการถอนร่าง หรือหยุดพิจารณาจากสภาผู้แทนฯ
             
2.ทันทีที่มีการพิจารณาร่างพรบ.นี้ในสภาผู้แทนฯ แพทย์ผู้ปฏิบัติรพศ./รพท.ทั่วประเทศ พร้อมใจกันตรวจผู้ป่วยนอกตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยจากเดิมตรวจคนไข้ท่านละ 3 นาที เป็นให้เวลาในการตรวจผู้ป่วยแต่ละท่าน 15 นาที หรือเทียบได้กับ ตรวจผู้ป่วย 30 คน ต่อแพทย์ 1 คนต่อเวลาราชการ 7 ชั่วโมง เว้นช่วงพักกลางวัน ต่อ 1 ห้องตรวจโรค โดยจะเริ่มจาก 1 ห้องตรวจในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จากนั้นจะขยายเวลาเพิ่มกระทั่งมีการถอนร่างพ.ร.บ.ออกจากสภาฯ ซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีแบบฟอร์มให้ผู้รับบริการกรอกด้วยว่าชอบมาตรการ นี้หรือไม่
       
       “ถ้ารัฐบาลเข้าใจผล กระทบที่จะเกิดขึ้น และมีสามัญสำนึกโดยปกติว่า การนำร่างกฎหมายใดๆ ที่ยังมีความขัดแย้งรุนแรง ไม่มีสภาพเร่งด่วน จึงยังไม่ควรนำเข้าพิจารณาให้สมกับคำขวัญวันเด็กปีนี้ที่ว่า รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชน ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการทำประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายดังกล่าวให้ครอบคลุมทั่ว ประเทศ โดยต้องตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในการดำเนินการ ซึ่งจะเป็นการยุติความขัดแย้งได้ เนื่องจากผลประชาพิจารณ์จะไม่มี" นพ.เพิ่มบุญ กล่าว
       
       กก.สพศท.กล่าวอีกด้วยว่า ทราบว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียกายฯขึ้นมาใหม่อีก 1 ฉบับ โดยเกิดขึ้นจากการนำร่างฉบับสภาทนายความ ฉบับแพทย์และฉบับรัฐบาลมารวมเข้าด้วยกัน จะไม่เกิดผลใดๆ เป็นเพียงการสร้างความสับสนเท่านั้น เนื่องจากยังไม่ผ่านกระบวนการยกร่างกฎหมายที่ถูกต้องและยังไม่ผ่านสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา หากกระทรวงยังดำเนินการต่อไป แสดงว่า ไม่มีความจริงใจ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 มกราคม 2554