ผู้เขียน หัวข้อ: การอภิปราย-มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ในการของข้าราชการ-ตอนที่3  (อ่าน 2157 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
.................ต่อจากตอนที่2
ความเห็นจากผู้เข้าร่วมงานสัมมนา
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดที่ 15 แพทยสภา
o   สาเหตุที่ค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการใช้งบประมาณสูงขึ้นมากเป็นเพราะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเหตุุุ คือ (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่ให้บริการน้อยเกินไป และกันเงินส่วนหนึ่งไว้ที่สปสช. เพื่อบริหารจัดการเอง ทำให้โรงพยาบาลได้รับงบประมาณในการให้บริการทางการแพทย์แบบขาดทุน  โดยโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุุุดทั่วประเทศคือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุุุขซึ่งมีโรงพยาบาลในสังกัดมากที่สุดที่ต้องรับงบประมาณจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้ทำการปรับเพิ่มราคาค่าบริการทั้งหมดของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุุุขซึ่งได้รับงบประมาณไม่ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย
o    เนื่องจากแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลเหล่านี้ได้รับงบประมาณน้อย ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็สามารถคิดค่ารักษาพยาบาลจากผูู้ป่วยได้ในราคาถูก เพื่อเป็นสวัสดิการให้ประชาชน และเป็นรายได้อีกทางหนึ่งในการดำเนินการของโรงพยาบาล แต่เมื่อมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว โรงพยาบาลไม่สามารถเก็บเงินจากผู้ป่วยที่มีสิทธิ์บัตรทองได้  และงบประมาณรายหัวจากสปสช.ก็มีน้อย(ขาดดุลหรือขาดทุน)และกระทรวงสาธารณสุขเองก็ไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการโดยตรง แม้แต่งบประมาณเงินเดือนส่วนหนึ่งของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ก็ต้องเอามาจากงบประมาณรายหัวจากสปสช. โรงพยาบาลเหล่านี้ จึงต้องนำเงินบำรุงโรงพยาบาลที่เหลืออยู่มาใช้และพยายามหารายได้เพิ่ม โดยปรับขึ้นราคาค่าบริการตรวจรักษาพยาบาลและค่าบริการอื่นๆของโรงพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งค่าห้องพิเศษ ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่ารักษา ค่าผ่าตัดฯลฯทุกชนิดในอัตราเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 30-100 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าบริการต่างๆของโรงพยาบาลนี้ จะเก็บจากประชาชนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ไม่ได้ เพราะเป็นงบประมาณจำกัด( Fixed cost)  ฉะนั้นค่าใช้จ่ายต่างๆในการรับบริการทางการแพทย์ตามอัตราใหม่นี้ จึงมาเพิ่มขึ้นมากที่ระบบสวัสดิการข้าราชการ เพราะเป็นงบประมาณแบบปลายเปิด กล่าวคือโรงพยาบาลสามารถเรียกเก็บเงินได้ตามอัตราเพิ่มใหม่นี้ จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ตัวเลขค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอยู่ระบบเดียว
o   ทั้งนี้เนื่องจากระบบอื่นเป็นงบประมาณตายตัว(ปลายปิด—ขอเพิ่มไม่ได้) ขอเพิ่มไม่ได้(เพิ่มเท่าที่รัฐบาลให้ก็ไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายจริง) โรงพยาบาลที่ขาดทุนจากระบบหลักประกันสุขภาพ จึงมีรายได้จากระบบสวัสดิการข้าราชการและรายได้จากค่าห้องพิเศษ (ตามอัตราเพิ่มใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546) มาช่วย “เกลี่ย”งบประมาณค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาลไม่ล้มละลายจากงบประมาณขาดดุุลจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยการคิดค่าใช้จ่ายกับข้าราชการที่มารักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น ทำให้งบประมาณสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจำนวนสูงขึ้นไปด้วย
o   หากต้องการความเสมอภาค ความเป็นธรรม รัฐบาลต้องแก้ไขในระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบ ไม่ใช่หันมาลงโทษลดสิทธิ์ข้าราชการ ซึ่งเป็นผลกระทบปลายทาง

นายจาดุร  อภิชาตบุตร นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
   สรุปได้ว่า  สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อข้าราชการ ข้าราชการแต่ละท่านมีความรูู้ความสามารถผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามาโดยความยากลำบาก ตกลงที่จะได้รับเงินเดือนน้อย โดยคาดหวังถึงสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ดีแก่ตัวเองและครอบครัว ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งการใช้สวัสดิการในทางที่ผิดของข้าราชการบางกลุุ่ม หรืองบประมาณที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ควรแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุโดยตรง ไม่ใช่การแก้ไขได้ด้วยวิธีการลิดรอนสิทธิ์อันพึงมีของข้าราชการ