ผู้เขียน หัวข้อ: จดหมายจากสมาพันธ์ฯถึงสมาชิก ฉบับที่ ๑๐ / ๒๕๕๖  (อ่าน 1482 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด


๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
สวัสดี เพื่อนแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทุกท่าน

   เพื่อนแพทย์และสมาชิกสหวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป หลายท่านคงได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับ พรบ.นิรโทษกรรมตามที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ สมาพันธ์ฯ ได้รวบรวมภาพ บรรยากาศการแสดงความคิดเห็นไว้ใน www.thaihospital.org  ถ้าโรงพยาบาลของเพื่อนแพทย์ท่านใด ไม่มีรูปใน website สมาพันธ์ฯ ก็สามารถนำรูปมาลงกันได้

   คดีเขาพระวิหาร ในศาลโลก ก็ลงเอย ด้วยการเจรจา ระหว่างไทยและกัมพูชา ซึ่งจบหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่นเดียวกับ ความร่วมมือระหว่างสมาพันธ์ฯและแพทยสภา ในการสร้างความสามัคคี การติดต่อสื่อสารระหว่างแพทย์ รพช. รพท./รพศ. และแพทย์ที่ทำงานรพ.ภาคเอกชน หรือเปิดคลินิก เริ่มเป็นรูปร่างมากขึ้น โดยแพทยสภาจะการประชุมองค์กรแพทย์ทั่วประเทศ ในวันศุกร์ที่๑๗ มกราคม ๒๕๕๗ ในเบื้องต้น จะเน้นแพทย์รพท./รพศ.ซึ่งจะเป็นพี่เลี้ยงชักนำ แพทย์ใน รพช. และภาคเอกชน  มาร่วมสร้างความสามัคคี ในฐานะตัวแทนแพทยสภาประจำจังหวัด  

   งานประชุมของแพทยสภา ช่วงเช้า จะเป็น เรื่อง ตัวแทนแพทยสภาประจำจังหวัด ในช่วงบ่าย จะมีการพูดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา P4P ของแต่ละจังหวัด เราจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางของแต่ละ รพ. การยอมรับแต้มของแต่ละแผนก ค่าตอบแทนที่ได้รับมากกว่าหรือน้อยกว่า ฉ.๗ อย่างไรกันบ้าง และอีกช่วงของภาคบ่าย จะพูดถึง การริดรอนสิทธิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ที่จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของแพทย์  ถ้ากรมบัญชีกลางต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านยา ทำไมต้องให้แพทย์ทั่วประเทศเดือนร้อน บันทึกเหตุผลการให้ยาตามกรมบัญชีกลางกำหนด(ABCD) แพทย์ให้ยาตามหลักวิชาการไม่ได้หรือ??  ทำไม ไม่ยุติการเบิกตรง หรือจำกัดสิทธิเบิกตรงไม่เกินราคา...บาท แทน  ถ้าคิดว่าแพทย์บางคนมีพฤติกรรม “ยิงยา” ก็ควรมีมาตรการจัดการเฉพาะ ไม่ใช่ออกมาตรการคลุมแพทย์ทั้งประเทศ หรือ กรมบัญชีกลางมีความคิดว่า แพทย์ทุกคน “ยิงยา” ถ้าในงานประชุมสามารถช่วยกันคิดหาหลักฐานได้ ต้องมีการฟ้องกรมบัญชีกลางกันหน่อย และจะมอบเป็นผลงานชิ้นแรกของ ตัวแทนแพทยสภาประจำจังหวัด

   บทบาทของตัวแทนแพทยสภาประจำจังหวัด ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของตัวแทนแต่ละจังหวัดด้วย แต่ที่แน่นอนคือ บทบาทตัวแทนแพทย์ของจังหวัด ที่เชื่อมโยงกับตัวแทนวิชาชีพแพทย์อย่างแพทยสภา แต่ในแง่การทำงานของ รพศ./รพท. จะเป็นตัวแทนแพทย์ เสนอปัญหาการทำงานของแพทย์ซึ่งเกิดจากการพูดคุยกันเองในจังหวัด ไม่ต้องพูดคุยผ่านผ่านผู้บริหารซึ่งบางท่านไม่เข้าใจหรือไม่สนใจการทำงานของแพทย์

      จาก... สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย (สพศท.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤศจิกายน 2013, 04:33:43 โดย story »