ผู้เขียน หัวข้อ: การอภิปราย-มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์-ของข้าราชการ-ตอนที่2  (อ่าน 2587 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
..........ต่อจากตอนที่1
รศ.ดร.ชมนาท  รัตนมณี อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต:
o   เมื่อเริ่มตกลงใจที่จะรับราชการ เพราะทราบว่าสิทธิที่ได้รับคือ บำเหน็จบำนาญและค่ารักษาพยาบาล เป็นสิ่งที่ข้าราชการทั้งหมดต้องการ ทั้งสิทธิในการรับยาจากแพทย์ หรือสิทธิในการรับการรักษาจากโรงพยาบาลอย่างเต็มที่ของความรู้ความสามารถที่แพทย์พึงมี หากรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการ จะต้องใช้แต่เฉพาะกับบุคคลใหม่ที่ยังไม่ได้เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
o   ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาลต้องมีคุณธรรม เจ้าของงบคือรัฐบาล และกรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ของรัฐให้มากที่สุด แต่ก็ต้องให้สิทธิแก่ข้าราชการมากที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้ ข้าราชการและอดีตข้าราชการทั้งหลาย เราก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ต้องมีจริยธรรม และสุดท้ายคือแพทย์และโรงพยาบาล ต้องมีคุณธรรม ไม่สั่งยาผิด หรือราคาสูงโดยไม่จำเป็น ทุกฝ่ายควรเชื่อมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพซึ่งกันและกัน
o   ไม่ควรนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อหาเสียงจากประชาชนให้ไม่พอใจสิทธิ์ที่พึงได้ของข้าราชการ

   นายณัฐจักร  ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา รองอธิบดีอัยการฝ่ายที่ปรึกษา สำนักงานอัยการสูงสุด:
o   การเป็นข้าราชการ สิ่งที่หวังมากที่สุดก็คือ ยามเจ็บป่วยมีคนมาดูแลเพราะข้าราชการเงินเดือนน้อยกว่ารัฐวิสาหกิจและเอกชน แต่ปัจจุบันที่ข้าราชการกำลังถูกลิดรอนสิทธิไปเรื่อยๆ ไม่ควรมีกานำค่าใช้จ่ายของข้าราชการมาเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ เพราะมีความแตกต่างกัน ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งใช้เงินต่อหัวต่ำสุดได้ ผลักภาระค่าใช้จ่ายจริงเข้าไปสู่โรงพยาบาลเกือบทุกแห่ง โรงพยาบาลจึงต้องหาทางอยู่รอดโดยการเพิ่มค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น ผลก็คือการผลักภาระเข้ามาสู่ระบบสวัสดิการข้าราชการ ปัญหาในปัจจุบันคือการผลักภาระจากระบบหนึ่งเข้ามาสู่อีกระบบหนึ่งและมากระทบกับสิทธิข้าราชการซึ่งน้อยอยู่แล้ว
o   พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาลปี 2523 กำหนดสิทธิไว้ชัดเจนเลยว่า สิทธิพื้นฐานของข้าราชการทั้งหลายมีถึงขนาดแค่ไหน เพียงใด สิทธิที่จะให้ได้กับบิดา มารดา คู่สมรส เขียนไว้ชัด ในตัวพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ หากรัฐจะมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อลิดรอนสิทธิตรงนั้น สามารถฟ้องร้องได้ทั้งศาลปกครองและศาลอาญา
o   การรั่วไหลของระบบ เช่นการใช้สิทธิ์ฟุ่มเฟือยไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แล้วไม่พอใจก็ไปอีกแห่งหนึ่ง หรือทำการเบิกค่ารักษาโดยไม่จำเป็นคือพวกทุจริต ต้องดำเนินการตามกฎหมาย
o   ยกตัวอย่าง ข้าราชการที่จบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง หมดสติล้มลงบนพื้นในห้องน้ำ จากสาเหตุเนื้องอกในสมอง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง แต่การเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิ์มีจำกัด ต้องจ่ายเงินเพิ่มเองจำนวนมากและในที่สุดก็เสียชีวิต บุคคลนี้หากเลือกทำงานที่รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชน ด้วยความรู้ความสามารถถึงขนาดนี้น่าจะได้รับสวัสดิการที่ดีกว่านี้ นี่คือสิ่งที่เราต้องแก้ไข เพื่อให้มีข้าราชการที่มีคุณภาพ ไม่ควรมองว่าจะตัดงบประมาณหรือสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลไปอีก
o   กรมบัญชีกลางควรไปตรวจสอบว่าบัญชียาหลักมีปัญหาอะไร ทำไมแพทย์ที่มีคุณวุฒิและจรรยาบรรณทั้งหลายไม่ใช้ยาบัญชีหลัก และหากทางรัฐควรยึดมั่นในหลักการเพื่อให้มีข้าราชการที่มีสวัสดิการดี มีสุขภาพสมบูรณ์ และขวัญกำลังใจดี เพื่อรับใช้ประเทศชาติต่อไป
...........จบตอนที่2