ผู้เขียน หัวข้อ: อย.ดันร่างเกณฑ์ปลูก "กัญชง" - คาดอีกสัปดาห์น่าจะได้ความชัดเจน "กระท่อม"  (อ่าน 1442 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม  ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  กล่าวถึงมาตรการควบคุมพืชเสพติดให้โทษ ว่า ที่ผ่านมามีการพูดถึงพืชกัญชงกันมาก เนื่องจากพบว่ามีการนำเส้นใยของกัญชงมาถักทอเป็นเสื้อ เนื่องจากมีคุณสมบัติของเส้นใยที่เหนียว แต่ปัญหาคือ กัญชง จัดเป็นพืชเสพติดกลุ่มเดียวกับกัญชา โดยอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 5  เนื่องจากส่วนประกอบของพืชชนิดนี้มีสารที่ทำให้เสพติดได้ จึงต้องมีการควบคุม โดยกองควบคุมวัตถุเสพติด ของ อย.อยู่ระหว่างออกหลักเกณฑ์ในการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ   ซึ่งจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย   คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2556 นี้  หลังจากนั้นจะส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมาย ก่อนเสนอคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เพื่อนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอีกครั้ง 
     
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระทรวงยุติธรรมเสนอให้มีการพิจารณาใบกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษ เนื่องจากอาจมีคุณสมบัติทางการรักษา   ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ต้องรอรายละเอียดต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรม คาดว่าอีก 1 สัปดาห์น่าจะส่งมายังกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)   เบื้องต้นรัฐมนตรีว่าการ สธ. ได้มอบหมายให้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพิจารณาคุณสมบัติทางการรักษาโรคว่ามีอะไรบ้าง และมีผลการศึกษาและงานวิจัยอย่างไร ก่อนจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดฯ ต่อไป
     
"ในเรื่องของใบกระท่อมนั้น หากให้ยกเว้นโดยระบุให้พืชกระท่อมไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ก็ต้องไปแก้กฎหมายถอนพืชกระท่อมให้ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522  ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องใช้เวลา" โฆษก อย. กล่าว


มติชนออนไลน์  23 ตค 2556

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
รู้ไว้ใช่เสียหาย "กัญชง" ต่างจาก "กัญชา" อย่างไร?


วานนี้ (7พ.ค.) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

สำหรับกัญชงแล้ว ปัจจุบันเป็นพืช ที่ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษก่อน   
     
จะว่าไปแล้ว "กัญชง" กับ "กัญชา" มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก หรือมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชา แทบจะแยกไม่ออกว่าอันไหนคือ "กัญชง" หรือ "กัญชา"

และต่อไปนี้ จะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง "กัญชง" กับ "กัญชา" เพื่อความกระจ่าง และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูล หรือความรู้รอบตัวได้

สถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด เคยศึกษาเปรียบเทียบ "กัญชา" กับ "กัญชง" เมื่อปี พ.ศ.2537 โดยได้รับการสนับสนุนตัวอย่างจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ภาคเหนือ โดยทำการศึกษาทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทำการเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ของส่วนต่างๆ

พบว่า สารออกฤทธิ์สำคัญที่มีอยู่ในกัญชา และกัญชง เหมือนกัน ได้แก่ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol , THC) แคนนาบิไดออล (Cannabidiol,CBD) และแคนนาบินอล (Cannabinol,CBN)
 
ลักษณะทางกายภาพ พบว่า กัญชาและกัญชง มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ส่วนของยอด-ช่อดอก ช่อใบของกัญชา มีลักษณะเป็นพุ่ม ส่วนกัญชง มีลักษณะเรียว เล็ก

2. ลักษณะใบ พบว่า กัญชามีใบใหญ่ กว้าง ส่วนกัญชง ใบจะเรียวและเล็กกว่า

3. ส่วนของกิ่งและลำต้นของกัญชา มีลำต้นเตี้ย เป็นพุ่ม ระยะห่างของข้อ-ปล้อง จะสั้น สำหรับกัญชงแล้ว ลำต้นจะสูง ชะลูด ระยะห่างของข้อ-ปล้อง จะยาว และท่อน้ำเลี้ยงก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ กัญชา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำเลี้ยง ใหญ่กว่า ของกัญชง

4. ในส่วนของราก ไม่มีลักษณะที่แตกต่างกันเด่นชัดเท่าใดนัก

โดยสรุปก็คือ

ทางด้านกายภาพ มีความแตกต่างกันในส่วนต่างๆ ค่อนข้างชัดเจน เช่น ลักษณะใบ ลำต้น รวมถึงท่อน้ำเลี้ยงเส้นผ่าศูนย์กลางของกัญชงเล็กกว่ากัญชา เป็นต้น

ส่วนทางด้านองค์ประกอบทางเคมี กัญชา และกัญชง มีสารออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน 3 ชนิด คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล, แคนนาบิไดออล และแคนนาบินอล แต่มีปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ "กัญชา" มีปริมาณเตตราไฮโดรแคนนาบินอลมากกว่า กัญชง ส่วน "กัญชง" จะมีปริมาณแคนนาบิไดออลมากกว่ากัญชา

มติชนออนไลน์ 8 พค 2556

kpimcha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด