ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.ขยายเครือข่าย ร.ร.-รพ.แก้ไขปัญหา"เกม-เพศ-ความรุนแรง-ยาเสพติด"  (อ่าน 694 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดสัมมนาสรุปโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ กทม. ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนารูปแบบความร่วมมือ ในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนในพื้นที่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นที่มาของการจับคู่ดำเนินการในรูปแบบของ "1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน" เพื่อนำไปขยายผลดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศ

นายสรวงศ์กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าขณะนี้ผลกระทบจากปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวที่มีความขัดแย้ง ส่งผลต่อการเรียนของเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจพบว่า เด็กนักเรียนไทยทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาประมาณ 1 ใน 5 หรือประมาณ 2 ล้านคน จากจำนวนเด็กที่มีทั้งหมดประมาณ 10 ล้านคน มีปัญหาทางพฤติกรรมอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ อีกทั้งผู้ปกครองส่วนใหญ่ต่างฝากความหวังไว้กับครูและระบบการศึกษาว่าจะสามารถพัฒนาลูกหลานของตนเองให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

"ปัญหาหลักที่พบในนักเรียนและวัยรุ่นไทยสมัยนี้ 4 เรื่องหลักได้แก่ การเล่นเกม การใช้สารเสพติด การใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาทแก้ปัญหาคับข้องใจและเรื่องเพศ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและเกิดการตั้งครรภ์ขณะที่ยังเรียน จึงต้องเร่งแก้ไข ป้องกัน เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาและสร้างเศรษฐกิจไทยในอนาคต" นายสรวงศ์กล่าว

นายสรวงศ์กล่าวว่า หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการร่วมกันมาเป็นเวลากว่า 3 ปีในโรงเรียน 24 แห่งใน 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ร้อยเอ็ด สระแก้ว สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช และ กทม. โดยพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 5 เรื่องหลัก เป็นผลสำเร็จได้แก่ 1.ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งระดับประถมและมัธยม 2.การสร้างเครือข่ายการดูแล 3.การพัฒนาระบบการแนะแนว 4.การศึกษารูปแบบนักจิตวิทยาโรงเรียน และ 5.พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าประสบความสำเร็จเห็นภาพการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียน

จึงเห็นว่าเป็นนโยบายสำคัญประกาศผลักดันเป็นนโยบายดำเนินการทั่วประเทศในโครงการ 1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic) แก่นักเรียน ในโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปเชื่อมดูแลกับโรงเรียนประจำอำเภอและสร้างนักจิตวิทยาโรงเรียนร่วมดูแลสุขภาพใจในเบื้องต้น คลายร้อนเป็นเย็น ฟังปัญหานักเรียนให้มาก พูดคุยด้วยเหตุผลและให้ความเมตตานักเรียน โดยจะขยายให้ครอบคลุมทุกอำเภอภายในปี 2557


มติชนออนไลน์   24 ตค 2556