ผู้เขียน หัวข้อ: โรงพยาบาลพารา  (อ่าน 1585 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
โรงพยาบาลพารา
« เมื่อ: 18 มกราคม 2011, 15:00:41 »
โรงพยาบาลพารา
 
มาตรฐานการแพทย์ที่รัฐบาลจัดให้กับประชาชน
 
แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา
 
  เดี๋ยวนี้ รัฐบาลไทยที่มีหัวหน้ารัฐบาลคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีบิดาเป็นครูแพทย์คนสำคัญคนหนึ่งคือศจ.เกียรติคุณนพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังจะทำให้มาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขไทยล่มสลาย เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการ “สั่งยา”ให้ผู้ป่วยเอง แทนที่จะปล่อยให้แพทย์เป็นผู้ใช้ดุลพินิจตามความรู้ ในหลักวิชาการที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าตามทันโลกที่เจริญแล้ว แต่รัฐบาลโดยกรมบัญชีกลางซึ่งไม่มีผู้เชี่ยวชาญในทางการแพทย์ครบทุกสาขา กำลังทำหน้าที่ “เป็นหัวหน้าแพทย์ทั้งประเทศ” ในการพิจารณาว่าจะให้ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการ ใช้ยาอะไรได้บ้าง โดยมีข้อบ่งชี้ในการเลือกสั่งยาให้ผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว คือ “ประหยัดเงินให้ได้มากที่สุด” ส่วนสุขภาพของประชาชนที่เป็นข้าราชการและเคยเป็นข้าราชการรับใช้ชาติจนปลดระ วางแล้ว นั้นจะเป็นอย่างไรก็ “ช่างหัวมัน”
 
   ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้มอบอำนาจให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้รับงบประมาณจากรัฐบาลมาเพื่อ “จ่ายค่าบริการสาธารณสุข”แทนประชาชน แต่รัฐบาลไม่ดูแลควบคุมการทำงานของสปสช. ปล่อยให้สปสช.ทำผิดพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพมากมายหลายมาตรา จนถึงกับมีอำนาจในการกำหนดว่า แพทย์จะสั่งยาอื่นใดนอกเหนือจากการกำหนดข้อบังคับของสปสช.ไม่ได้ เพราะถ้าแพทย์จ่ายยา “นอกเหนือ” จากที่สปสช.กำหนดแล้ว สปสช.จะไม่ยอม “จ่ายเงินค่ายาหรือค่าบริการสาธารณสุข” ตามหน้าที่ที่สปสช.จะต้องปฏิบัติ

แต่เมื่อแพทย์มีจรรยาบรรณของแพทย์ที่จะต้องรักษาผู้ป่วยตาม มาตรฐานที่มีเหตุ ผลทางวิทยาการรองรับ สปสช.ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตาม “ราคาต้นทุนที่แท้จริง” ของการรักษาตามมาตรฐานที่แพทย์และโรงพยาบาลได้ทำการรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่ว ยไปแล้ว สปสช.บอกว่าจะจ่าย “เงินค่าบริการสาธารณสุข” ตามราคากลาง  (DRG Diseases Related Group)  ซึ่งสปสช.เป็นผู้กำหนด แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายจริง สปสช.ก็ไม่ได้จ่ายเงินตาม “ราคากลาง” ที่ได้กำหนดไว้ แต่จ่ายไม่เต็มจำนวน อ้างว่า “มีเงินงบประมาณแค่นั้น”

    การกระทำของสปสช.เช่นนี้ คือสาเหตุหลักในการที่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนหลายร้อยโรงพยาบาล 
   นอกจากนั้นยารักษาโรคบางอย่างที่มีราคาสูง เป็นยาใหม่ที่มีคุณภาพดีในการรักษาโรคมะเร็ง หรือยารักษาโรคเลือดบางอย่าง สปสช.ก็เอาเงินไปซื้อยาเอง ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ไม่ยอมรับ เพราะเป็นยาที่รักษาไปแล้ว จะทำให้อาการป่วยของผู้ป่วยนั้น มี “การดื้อยา” และเมื่อต้องเปลี่ยนยาใหม่ ก็ทำให้ไม่สามารถรักษาอาการป่วยและรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้

ซึ่งในการจัดการซื้อยาราคาสูงของสปสช. นั้น บังคับให้โรงพยาบาลต้องลงทะเบียนผู้ป่วย เพื่อรอการอนุมัติก่อน จึงจะได้ยามารักษาผู้ป่วย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้าออกไปอีก เป็นผลร้ายที่ทำให้อาการป่วยทรุดหนักลง จนถึงกับบางรายรักษาไม่ได้
 
  ทั้งนี้ก็เพราะว่าสปสช.ยึดนโยบายแบบที่รัฐบาลกำหนดมา คือ “ใช้จำนวนเงิน” ในการกำหนดมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วย 
 
สปสช.ประหยัดเงิน “ค่าบริการสาธารณสุข” ที่เป็นหน้าที่สำคัญของสปสช. 
 
แต่สปสช.มีเงินไปจัดทำโครงการต่างๆเช่น โครงการ “บริการปฐมภูมิ” ต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย(ฯลฯ) โดยไม่ใช่หน้าที่ที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 

 นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณของทีดีอาร์ไอ (Thailand  Development Research Institute TDRI) ได้เคยกล่าวในที่ประชุมนานาชาติจัดโดยมูลนิธิรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล  (Prince Mahidol Awards Foundation)เมื่อไม่นานมานี้ว่า ตัวเขาเองไม่กล้าไปรับการตรวจรักษาโรคที่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขไม่ว่ าระดับใด ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ทั้งนี้ เพราะไม่เชื่อว่า โรงพยาบาลเหล่านั้นไม่มีมาตรฐานในทางการแพทย์
 
 ทั้งนี้นายอัมมาร์ สยามวาลา เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในการคิดวางแผนการจัดการงบประมาณ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่เขาไม่กล้าไปใช้บริการของโรงพยาบาลที่เขาวางแผนเรื่องบประมาณ  ในระบบนี้ ที่ใช้ “เงิน” เป็นหลักสำคัญในการคิดแผนงบประมาณ แต่มิได้คำนึงถึงความพอเพียงของงบประมาณ ที่จะทำให้มาตรฐานของการบริการทางการแพทย์ไม่ด้อยลงไป ปล่อยให้ประชาชนไปรับแค่ยาพารา จากโรงพยาบาลที่ผู้วางแผนการงบประมาณไม่เชื่อถือในมาตรฐาน 

 

นอกจากนี้ กลุ่มแพทย์ที่อยู่เบื้องหลังและเบื้องหน้าในการวางแผนและบริหารจัดการงบประม าณในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำลังอ้างว่า กลุ่มข้าราชการใช้เงินงบประมาณสูงขึ้นทุกปี โดยอ้างผลการวิจัยขิงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ว่า งบประมาณสวัสดิการข้าราชการสูงมากเมื่อเทียบกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเสนอรัฐบาลให้ตัดงบประมาณการรักษาในระบบสวัสดิการข้าราชการ และเสนอให้รวมกองทุนมาให้สปสช. บริหาร
 แต่ในขณะที่สปสช.ที่อ้างว่าจัดการงบประมาณดี ประหยัดได้ กลับเป็นต้นเหตุแห่งการขาดทุน ของโรงพยาบาลที่ได้รับงบประมาณค่ารักษาพยาบาลจากสปสช.
 
  อันที่จริงแล้วสวรส. ไม่ได้ทำการวิจัยอย่างแท้จริง เอาแต่เพียง “ราคา”ของการรักษาของแต่ละระบบมาเปรียบเทียบกันเท่านั้น 
 
ถ้าสวรส.ได้ทำการวิเคราะห์วิจัยอย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีการวิจัยแล้ว ก็จะได้ผลวิจัยออกมาว่า เหตุที่จำนวนเงินค่ารักษาของข้าราชการสูงมากขึ้นทุกๆปีนั้น เป็นเพราะว่า โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับขึ้นราคายา เวชภัณฑ์ การตรวจพิเศษทางเอ็กซเรย์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ค่าห้องพิเศษ และอื่นๆ(ฯลฯ) 
 
ทั้งนี้เพื่อที่โรงพยาบาลเหล่านี้จะสามารถเรียกเก็บเงินจากกรมบัญชีกลางที่จ่ายเงินแทนข้าราชการ ซึ่งประจักษ์พยานก็คือ โรงพยาบาลระดับสูงที่มีศักยภาพในการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน เช่นโรงพยาบาลศุนย์การแพทย์ (รพ.ศ.)  จะมีการขาดทุนน้อยกว่า โรงพยาบาลทั่วไป (รพ.ท.)  และโรงพยาบาลชุมชน (รพ.ช.)
 
(อ้างอิง จากรายงานของกลุ่มประกันสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ทั้งนี้ เพราะกลุ่มโรงพยาบาลเหล่านี้ เป็นกลุ่มที่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ

แต่ในปี 2553 หลังจากที่กรมบัญชีกลางได้เริ่มกำหนดการจ่ายเงินค่ารักษาข้าราชการตาม DRG พบว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่(โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์) มีการขาดทุนมากขึ้น โดยพบว่าแต่ละโรงพยาบาลนั้นขาดทุนทุกระดับ ได้แก่
 
รพช. ขาดทุนเฉลี่ยแห่งละ 1,780,054 บาท
 
รพท. ขาดทุนเฉลี่ย แห่งละ 3,778,859 บาท 
 
รพ.ศ. ขาดทุนเฉลี่ยห่งละ 13,104,927 บาท
 
  ฉะนั้น ถ้ารัฐบาลยังหูหนวกตาบอด ไม่รับฟังข้อมูลเชิงประจักษ์จากกระทรวงสาธารณสุข เอาแต่ฟังรายงานจากสวรส.ว่าเป็นผลการวิจัยแท้จริง
 
ทั้งๆที่มันเป็นเพียงรายงานค่าใช้จ่าย ไม่ได้เป็นผลการวิจัยแต่อย่างใด
 
ประชาชนก็เตรียมตัว เตรียมใจว่า จะได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลพาราเท่านั้น


รัฐบาลจัดให้ โรงพยาบาลพาราทั่วไทย