ผู้เขียน หัวข้อ: เจ็ดพันล้านคน-สารคดี(เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก)  (อ่าน 2023 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
ขณะที่จำนวนประชากรโลก กำลังถึงหมุดหมายสำคัญที่เจ็ดพันล้านคนในปีนี้  ถึง เวลาแล้วที่เราต้องใคร่ครวญกันอย่างจริงจัง อีกหลายสิบปีข้างหน้า แม้อัตราการเกิดจะลดลง แต่ประชากรยังจะคงเพิ่มขึ้นต่อไป และส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน หากคนหลายพันล้านคนเหล่านั้นต้องการดิ้นรนให้หลุดพ้นจากความยากจนและดำเนิน รอยตามคนในประเทศร่ำรวยแล้ว พวกเขาคงไม่พ้นต้องเค้นเอาทรัพยากรของโลกมาใช้อย่างหนักหน่วงเช่นกัน

แม้ อัตราการเพิ่มของประชากรจะเริ่มชะลอตัวลง แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนิ่ง เพราะนอกจากคนเราจะอายุยืนขึ้นแล้ว ขณะนี้ทั่วโลกยังมีสตรีวัยเจริญพันธุ์อยู่มากถึง 1,800 ล้าน คน ซึ่งนั่นจะทำให้ประชาชากรโลกเพิ่มขึ้นต่อไปอีกอย่างน้อยสองถึงสามทศวรรษ แม้ว่าผู้หญิงทุกวันนี้จะมีลูกน้อยกว่าผู้หญิงในช่วงอายุคนก่อนก็ตาม เมื่อถึงปี 2050 โลกอาจมีประชากรถึง 10,500 ล้าน คน หรืออาจหยุดอยู่ที่ 8,000 ล้านคน หากผู้หญิงแต่ละคนมีบุตรเพียงคนเดียว    ขณะที่นักประชากรศาสตร์ของสหประชาชาติมองว่า การประเมินแนวโน้มแบบเดินสายกลางน่าจะเหมาะสมกว่า พวกเขาคาดว่าเมื่อถึงปี 2045 โลกน่าจะมีประชากร 9,000 ล้านคน

ด้วยอัตราการเพิ่มของประชากรราว 80 ล้าน คนต่อปีอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ไม่ยาก ที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความวิตก ขณะนี้ระดับน้ำใต้ดินทั่วโลกกำลังลดลง หน้าดินถูกกัดเซาะ ธารน้ำแข็งละลาย และปลากำลังหมดไป ทุกวันที่ผ่านไปผู้คนเกือบ 1,000 ล้านคนต้องหิวโหย และในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า โลกต้องเลี้ยงปากท้องผู้คนเพิ่มอีก 2,000 ล้านชีวิต โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน เช่นนี้แล้วโลกจะเป็นอย่างไร

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสืบเนื่องมาจากความเจริญทางการแพทย์   หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศกำลังพัฒนาได้รับการถ่ายทอดวิทยาการด้านการป้องกันโรค ด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ องค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ  ทั้ง ยาปฏิชีวนะ วัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ดีดีที (แม้ภายหลังจะเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวาง แต่ก็ช่วยชีวิตผู้คนจากโรคมาลาเรียได้หลายล้านคน) ล้วนมาถึงในคราเดียวกัน ในอินเดียอายุขัยเฉลี่ยของคนเพิ่มจาก 38 ปีเมื่อปี 1952 เป็น 64 ปีในปัจจุบัน ส่วนในจีนเพิ่มจาก 41 ปีเป็น 73 ปี ประชากรหลายล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งอาจจบชีวิตลงตั้งแต่ยังเด็กกลับมี ชีวิตยืนยาวจนมีบุตรของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ประชากรจึงเพิ่มขึ้นอย่างทบทวีทั่วโลก เพราะมีชีวิตมากมายเหลือเกินที่รอดพ้นจากเงื้อมมือมัจจุราช

อีก ทั้งยังเป็นเพราะช่วงหนึ่งสตรีให้กำเนิดบุตรมาก ในยุโรปสมัยศตวรรษที่สิบแปด และต้นศตวรรษที่ยี่สิบในเอเชีย เฉลี่ยแล้วผู้หญิงคนหนึ่งมีลูกหกคน ซึ่งเท่ากับเป็นการทดแทนชีวิตของพ่อแม่ เพราะเด็กส่วนใหญ่เหล่านี้มักอยู่ไม่ถึงวัยผู้ใหญ่ เมื่ออัตราการเสียชีวิตของเด็กลดลง ในที่สุดพ่อแม่จึงมีลูกกันน้อยลง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วอายุคน ปัจจุบันในประเทศที่พัฒนาแล้ว การมีบุตรเฉลี่ย 2.1 คน ต่อสตรีหนึ่งคนจะทำให้จำนวนประชากรอยู่ในระดับคงที่ แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาแล้ว อัตรา “ภาวะเจริญพันธุ์ทดแทน” (replacement fertility) จะสูงกว่า ในระยะของการปรับให้เกิดสมดุลใหม่ระหว่างอัตราการเกิดกับอัตราการตายนี้เองเป็นช่วงที่ประชากรจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว

นักประชากรศาสตร์เรียกวิวัฒนาการนี้ว่า ช่วงการเปลี่ยนสภาพทางประชากร (demographic transition) ซึ่งแต่ละประเทศจะมีเวลาช่วงนี้แตกต่างกันออกไป แต่ผลข้างเคียงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ถึงขนาดที่บางคนเกรงว่าอารยธรรมของเราอาจล่มสลายลง กระนั้น อัตราการเพิ่มของประชากรก็ดูเหมือนจะถึงจุดสูงสุดแล้ว ครั้นล่วงถึงต้นทศวรรษ 1970 อัตราการเกิดทั่วโลก เริ่มลดลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด และนับจากนั้นเป็นต้นมา อัตราการเพิ่มของประชากรก็ลดลงมากกว่าร้อยละ 40

การ ลดลงนี้เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในแต่ละประเทศทั่วโลก ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ตอนต้นศตวรรษที่สิบแปด สตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักฝรั่งเศสรู้จักวิธีหาความสุขโดยไม่ต้องมีลูกเกินสอง คน พวกเธอใช้วิธีที่เรียกกันว่า การหลั่งภายนอก (coistus interruptus) ต่อ มาวิธีนี้จึงแพร่หลายไปสู่สามัญชนและคนทั่วไปในปลายศตวรรษที่สิบแปด เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่สิบเก้า อัตราการเกิดในฝรั่งเศสลดลงเหลือบุตรสามคนต่อสตรีหนึ่งคนโดยไม่ต้องพึ่งวิธี คุมกำเนิด

 ใน ที่สุดประเทศอื่นๆในซีกโลกตะวันตกก็ดำเนินรอยตามฝรั่งเศส เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเปิดฉากขึ้น อัตราการเกิดในหลายพื้นที่ของยุโรปและสหรัฐฯลดลงจนใกล้ระดับทดแทน แต่แล้วก็กลับเพิ่มขึ้นอีกอย่างน่าแปลกใจในยุคที่เรียกกันว่า   เบบี้บูม (baby boom)      ก่อนจะดิ่งลงอีกครั้ง ความเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมานี้สร้างความงงงวยให้นักประชากรศาสตร์อย่างมาก จนพวกเขาคิดว่าสัญชาตญาณบางอย่างน่าจะผลักดันให้สตรีมีบุตรมากพอที่จะดำรง เผ่าพันธุ์มนุษย์ต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว ดูเหมือนจะเป็นตรงกันข้าม เพราะอัตราการเกิดลดลงต่ำกว่าระดับทดแทน เมื่อถึงปลายทศวรรษ 1990 อัตรา การเกิดในยุโรปก็ลดลงเหลือ 1.4

การสิ้นสุดยุคเบบี้บูมอาจส่งผลกระทบสำคัญสองประการต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประการแรกคือสิ่งที่เรียกว่า “การปันผลทางประชากร” (demographic dividend) หรือภาวะวันชื่นคืนสุขที่กินเวลาไม่กี่สิบปี เนื่องจากคนที่เกิดในยุคนี้   ทำ ให้แรงงานของประเทศขยายตัว ขณะที่กลุ่มประชากรซึ่งไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเด็กและผู้สูงอายุ มีค่อนข้างน้อย ประเทศจึงมีเงินเหลือเฟือสำหรับใช้กิจการด้านอื่นๆ จากนั้น ผลกระทบประการที่สองก็ตามมา เมื่อคนในยุคเบบี้บูมเริ่มเกษียณ สิ่งที่เคยคิดว่าเป็นเสถียรภาพอันยั่งยืนทางประชากรกลับกลายเป็นงานเลี้ยง ที่กำลังเลิกรา การอภิปรายเรื่องประกันสังคมอย่างเผ็ดร้อนในสหรัฐฯและการนัดหยุดงานเมื่อปี ที่แล้วในฝรั่งเศสเพื่อประท้วงการยืดอายุวัยเกษียณออกไป เป็นการตอบสนองต่อปัญหาที่พบได้ทั่วไปในประเทศพัฒนาแล้ว นั่นคือจะดูแลประชากรสูงอายุอย่างไร

ใน ประเทศอุตสาหกรรม กว่าอัตราการเกิดจะลดลงถึงระดับทดแทนหรือต่ำกว่าต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคน แต่ในประเทศอื่นๆทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเร็วกว่ามากจนนักประชากรศาสตร์พากันแปลกใจ เช่นในจีนซึ่งเป็นบ้านของประชากรถึงหนึ่งในห้าของโลก แม้จำนวนประชากรยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  แต่อัตราการเกิดก็ยังต่ำกว่าระดับทดแทน และเป็นเช่นนี้มาเกือบ 20 ปีแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายลูกคนเดียวที่บังคับใช้เมื่อปี 1979 สตรีชาวจีนซึ่งมีบุตรเฉลี่ยหกคนย้อนหลังไปเพียงแค่ปี 1965 ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 1.5 คน ขณะที่ในอิหร่านอัตราการเกิดลดลงกว่าร้อยละ  70   มาตั้งแต่ต้นทศวรรษ  1980    ซึ่ง เป็นผลมาจากการสนับสนุนของรัฐบาลอิสลามอิหร่าน ส่วนบราซิลซึ่งเป็นประเทศคาทอลิกและปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อัตราการเกิดลดลงครึ่งหนึ่งในช่วง 25 ปีนี้เช่นกัน

ทว่า ในภูมิภาคซับสะฮาราของแอฟริกา อัตราการเกิดยังคงสูงถึงห้าคนต่อแม่หนึ่งคน (ที่ประเทศไนเจอร์อัตราการเกิดพุ่งขึ้นไปถึงเจ็ดคน) แต่ขณะเดียวกัน ในภูมิภาคแถบนี้มีอยู่ถึง 17 ประเทศที่อายุขัยเฉลี่ยของประชากรอยู่ที่ 50 ปี หรือน้อยกว่า และเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนสภาพทางประชากร อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกครอบครัว ก็มีขนาดเล็กลงมาก องค์การสหประชาชาติคาดว่าโลกจะมีอัตราการเกิดถึงระดับทดแทนภายในปี 2030

แต่ข่าวร้ายก็คือกว่าจะถึงปี 2030 หรือ อีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรในช่วงวัยรุ่นซึ่งปัจจุบันมีมากที่สุดในประวัติศาสตร์จะเข้าสู่วัยมี บุตร แม้สตรีคนหนึ่งจะมีบุตรเพียงสองคน ประชากรก็จะยังเพิ่มอย่างรวดเร็วตามแรงขับเคลื่อนไปอีก 25 ปี คำถามก็คือ เมื่อถึงตอนนั้นเราจะอยู่อย่างเห็นอกเห็นใจกันและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมได้หรือไม่

แน่ นอนว่าจำนวนประชากรเป็นเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือวิธีการบริโภคทรัพยากรของผู้คน ความท้าทาย อันใหญ่หลวงสำหรับอนาคตของเราและโลกก็คือ ทำอย่างไรจึงจะดึงคนให้พ้นจากความยากจนได้มากขึ้น อย่างชาวสลัม   ในกรุงนิวเดลี และชาวไร่ชาวนาที่ประทังชีวิตไปวันๆในรวันดา พร้อมไปกับการลดผลกระทบของเราแต่ละคนที่มีต่อโลกใบนี้ด้วย

ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม “ชนชั้นกลางระดับโลก” (global middle class) ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคนเมื่อปี 2005 นี่ ถือเป็นเรื่องดี แต่อาจกลายเป็นภาระหนักหนาสาหัสสำหรับโลก ถ้าคนเหล่านั้นพากันรับประทานเนื้อสัตว์และขับรถซดน้ำมันอย่างที่ ชาวอเมริกันทำในปัจจุบัน แม้อาจสายเกินไปแล้วที่จะห้ามชนชั้นกลางรุ่นใหม่ในปี 2030 ให้ลืมตาดูโลก แต่ยังไม่สายที่จะเปลี่ยนวิธีการที่พวกเขาและพวกเราทุกคนผลิตและบริโภคอาหารและพลังงาน
                นัก ประชากรศาสตร์ที่มองโลกในแง่ร้ายออกมาเตือนพวกที่มองโลกในแง่ดีถึงเรื่องวัน สิ้นโลกมาหลายศตวรรษแล้ว แต่พวกหลังกลับมั่นใจว่ามนุษยชาติจะหาทางรับมือกับเรื่องนี้ได้และอาจปรับ ปรุงให้ดีขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้ว คงต้องยอมรับว่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาดูจะเข้าข้างพวกมองโลกในแง่ดีเสีย ด้วย แต่ประวัติศาสตร์ก็ไม่ใช่เครื่องชี้ชะตาอนาคต วิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน เราจึงไม่สามารถทำนายผลแพ้ชนะของการเดิมพันระหว่างมนุษย์กับดาวเคราะห์ดวง นี้ได้ ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงทั้งหมดของปัญหาที่ว่าถึงตอนนั้นจะมีพลโลกเท่าไรและ จะอยู่กันอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับแนวทางที่เราทุกคนต้องเลือกและมีส่วนรับผิดชอบ

มกราคม 2554