ผู้เขียน หัวข้อ: ข้าราชการ อำนาจและจริยธรรม-คอร์รัปชั่น จริยธรรม อำนาจและนโยบายสาธารณะ  (อ่าน 3235 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
คอร์รัปชั่น : วัฒนธรรมอำนาจนิยม

             นับแต่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่มีความหวังว่าวันหนึ่งความเจริญรุ่งเรืองที่เคยมีจะกลับมา อีกครั้งหนึ่ง การมีความหวังเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากวิเคราะห์กลยุทธ์การแก้ปัญหาสังคมไทยเป็นองค์กรวมแล้วจะมองเห็นชัด ว่าปัญหาความล่มสลายของสังคมที่มีมายังไม่ได้รับการแก้ไข นั่นคือชนชั้นนำไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการและนักธุรกิจยังนิยมชม ชอบกับพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นและดูเหมือนว่าจะมีมากขึ้น

             ในปี พ.ศ. 2542 ดร.เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และคณะ รายงานผลการวิจัยเรื่องสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและทัศนะของผู้ประกอบการต่อการ ให้บริการของภาครัฐว่าคอรัปชั่นเป็นอุปสรรคของการบริหารธุรกิจ การจ่ายเงินพิเศษเป็นสินบนให้ข้าราชการของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกกลายเป็น วัฒนธรรมการบริหารราชการ จากตัวเลขที่วิจัย เงินสินบนถูกจ่ายให้กรมศุลกากรสูงสุด รองลงมาคือหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ กรมสรรพากร การไพฟ้าแน่นอนที่สุดหน่วยงานและกลุ่มข้าราชการที่กล่าวถึงได้ใช้อำนาจ ดุลพินิจเพื่อประโยชน์ส่วนตนทั้งสิ้น การคอร์รัปชั่นในวงราชการจึงเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ภาคธุรกิจ นักธุรกิจยินดีเสียภาษีเพิ่มเพื่อให้มีการกำจัดคอร์รัปชั่น หน่วยธุรกิจยินดีจ่ายภาษีเพิ่ม 12.5 % เพื่อให้คอร์รัปชั่นถูกกำจัดไปคิดเป็นร้อยละสูงสุดเมื่อเทียบกับการยินดี จ่ายภาษีเพิ่ม เพื่อกำจัดกฎระเบียบปฏิบัติที่ยุ่งยาก (ยินดีจ่ายเพิ่ม 11.3 %) และการกำจัดอาชญากรรม (ยินดีจ่ายเพิ่ม 10 % )

             ในปี พ.ศ. 2549 หลังจากการปฏิวัติยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลฯ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ( คตส.) ตามหลักฐานจากกรมที่ดินหวังใช้ตรวจสอบเอาผิดคุณหญิงพจมานและผู้ที่เกี่ยว ข้องเป็นเอกสารหนังสือยินยอมคู่สมรสในการซื้อขายที่ดินรัชดา  คตส. เปิดเผยว่าประเด็นที่ คตส. เร่งตรวจสอบเกี่ยวกับกรณีการซื้อที่ดินของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ บริเวณข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนเทียมร่วมมิตร จำนวน 33 ไร่เศษ เป็นจำนวนเงิน 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คือ หนังสือยินยอมจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากการทำธุรกรรมในลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่ สมรสด้วย

             “การซื้อที่ดินนั้นหากเป็นผู้ที่แต่งงานและทำการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แล้ว การทำ   ธุรกรรมใด ๆ ถือเป็นเรื่องที่ต้องผูกพันกันระหว่างคน 2 คน และถือเป็นสินสมรสด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการเซ็นยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ ซึ่งหลักฐานดังกล่าวจะเป็นหลักฐานที่สำคัญที่จะพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่มี ส่วนรู้เห็นในการทุจริตหรือไม่ได้ โดยหากกรมที่ดินไม่มีหนังสือยินยอม ก็จะทำให้ คตส. เอาผิดได้ง่ายขึ้น ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนที่กฎหมายระบุไว้ เพราะมีการอนุญาตให้ซื้อขายที่ดินและเป็นการทำงานแบบลูบหน้าปากจมูกของเจ้า หน้าที่ทุกส่วน”

             คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ในฐานะคณะกรรมการ คตส. เปิดเผยการรายงานความคืบหน้าของแต่ละอนุฯ ว่างานที่รับผิดชอบคืบหน้าไปถึงไหนแล้วเช่น คณะอนุกรรมการโครงการการซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษกของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากกองทุนฟื้นฟู กับโครงการการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 จะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่าจะสาวไปถึงผู้ที่อยู่เบื้อง หลังหรือไม่

             นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะอนุกรรมการตรวจสอบการจัดซื้อกล้ายาง กล่าวว่า อนุฯ กล้ายางจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงน่าจะมีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น และขณะนี้บุคคลที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้ต่างก็ไหวตัวทัน กำลังพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อไม่ให้สาวไปถึงตนหรืออาจจะเรียกได้ว่าขณะนี้ มีการกลบเกลื่อนหลักฐานที่สามารถเอาผิดไปจนถึงผู้อยู่เบื้องหลังก็ว่าได้

             “พวกที่ทำการทุจริตในเรื่องนี้ทำงานละเอียดรอบคอบมาก ทางอนุฯกล้ายางกเกรงว่าตัวละครที่ติดร่างแห จะเป็นแค่ ปลาซิว ปลาสร้อยเท่านั้น ทาง อนุฯจึงพยายามเรียกพยานแวดล้อมมาให้ข้อมูลก่อน เพื่อจะโยงไปหาตัวใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีที่เซ็นให้ผ่านการกลั่นกรองให้เข้า ครม.หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่อธิบดีที่รู้เห็นเป็นใจ ด้วย”

             จากประเด็นปัญหาดังกล่าวมากรณีการทุจริตที่ คตส. ดำเนินการตรวจสอบอยู่ที่มีทั้งหมด 12 เรื่อง ประกอบด้วย 1.กรณีการขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่นที่ไม่ต้องเสียภาษี 2.การซื้อที่ดินของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ บริเวณข้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 3.การให้เงินกู้ซื้อเครื่องจักรและพัฒนาประเทศของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำ เข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) 4. การจัดซื้อกล้ายางของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5.โครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 6. การก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

             โครงการจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ของท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ 8. โครงการการจัดซื้อจัดจ้างท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 9. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) 10. โครงการบ้านเอื้ออาทร 11. เรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวหากรรมการบริหารและพนักงานของธนาคารของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ในการปล่อย สินเชื่อให้กับบริษัทจัดสรรที่ดินรายใหญ่มูลค่าหลายพันล้านบาท และ12.การทุจริตการซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร (กทม.)

             การป้องกันการทุจริตเป็นกลยุทธ์ของรัฐบาลแทบทุกยุคสมัย มีการจัดตั้งองค์กรระบบราชการและองค์กรอิสระเพื่อแก้ไขปัญหา มีการส่งเสริมด้านจริยธรรมและแนวทางในการวางโครงสร้างและระบบย่อยต่าง ๆ เพื่อรองรับการทำงานเพื่อป้องกันการทุจริต ที่เกิดขึ้นในระบบราชการ รวมไปถึงสังคมไทย รวมไปถึงการสร้างสังคมที่ดี ปราศจากการทุจริตมิชอบ และการสร้างความรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหาร กลยุทธ์เหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้การทุจริตมิชอบในระบบราชการและการเมืองลดลง

             การแก้ปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติ ประเด็นที่สำคัญคือการมีผู้นำที่มีคุณธรรมเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหา จริง ๆ แล้วแนวคิดการสร้างผู้นำทางจริยธรรม นับเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนตามนโยบายรัฐบาล ที่ประกาศสงครามกับคอร์รัปชั่น อีกทั้งเป็นการดำเนินงานตามแนวการปฏิรูประบบราชการที่ต้องการสร้างระบบ คุณธรรมและประสิทธิภาพในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สาธารณะ

             สาเหตุของคอร์รัปชั่นมาจากสภาพสังคมปัจจุบันกำลังประสบปัญหาวิกฤต 3 ประการคือ ความยากจน ยากเสพติด และคอร์รัปชั่น ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการ มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน อีกทั้งยังมีต้นเหตุสำคัญของปัญหาเหมือนกัน 3 ประเด็นคือ สภาพแวดล้อมเอื้อให้เกิดช่องทางการกระทำผิด จริยธรรมและมโนธรรมของข้าราชการหย่อนยาน และบทลงโทษไม่รุนแรงและเด็ดขาดเพียงพอ

             ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ควรมาจากทุกส่วนของสังคมและจะต้องมีความจริงใจในการแก้ปัญหา (โดยเฉพาะผู้นำรัฐบาล) และต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ทั้งนี้ผู้นำในการแก้ปัญหาในภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคการเมืองรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ระบบราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม กระบวนการยุติธรรม ภาคธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม ภาคศีลธรรมและระบบค่านิยมกรอบจรรยาบรรณของสังคม

             แนวทางดำเนินการ คือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่ไม่ใช่ระบบอำนาจนิยม มีการส่งเสริมให้มีค่านิยม ความคิดใหม่ในหมู่คนทุกระดับของสังคมเมื่อเห็นอะไรผิด อะไรไม่ดี ต้องเปิดเผยออกมา โดยจะต้องสร้างจิตสำนึกในการดูแลสังคมของเราร่วมกันดูแลส่วนรวม เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ให้ทุกส่วนราชการเริ่มต้นดูแลหน่วยงานของตนเองก่อน เพราะส่วนราชการมีช่องทางการทำผิดมาก

             ที่สำคัญควรมีการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันทุจริตคอร์รัปชั่น มีการให้การศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด วิธีการ ความรู้และพัฒนาให้สังคมสุจริตขึ้น โดยเริ่มต้นจากการสร้างเครือข่ายเล็ก ๆ จากบุคคลต่อบุคคล เป็นหน่วยงานต่อหน่วยงาน และขยายต่อ ๆ ไปจนกลายเป็น “พลังของแผ่นดิน” ที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย

             ดำเนินการสร้างวาระแห่งชาติ เรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เช่นเดียวกับการปฏิรูประบบราชการ และกระบวนการตุลาการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ระบบราชการและกระบวนการยุติธรรมในสังคม ต้องเข้าถึงปัญหาด้วยกระบวนการที่สั้นและไม่ซับซ้อน ควรแก้ไขกฎกระทรวงบางฉบับที่ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่เอื้อให้เกิดประโยชน์ต่อการทุจริตและเอื้อประโยชน์ต่อผู้รักษากฎหมายใน การใช้ดุลยพินิจ

             สังคมไทยป่วยมานานแล้ว ขาดการดูแลรักษาจากประชาชนในสังคมเนื่องจาก ประชาชนมิได้รวมตัวกันเป็นพลังของแผ่นดิน ดังนั้น การแก้ปัญหาสังคมจึงอยู่ในมือของชนชั้นนำที่เป็นข้าราชการและนักธุรกิจการ เมืองเป็นส่วนใหญ่ ถึงเวลาแล้วที่พลังของแผ่นดินที่เกิดจากการเมืองภาคประชาชนจะลุกขึ้นมาดูแล สังคมของตนเองให้ดี โดยเป็นผู้นำคุณธรรมในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเมืองและระบบราชการเชิง อำนาจนิยมเป็นวัฒนธรรมธรรมาภิบาลเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตบ้านเมืองที่เป็น มะเร็งร้ายกัดกร่อนสังคมไทยมาอย่างยาวนาน

จริยธรรม อำนาจและนโยบายสาธารณะ

             ภายใต้บริบทของสังคมไทยที่มีพุทธศาสนาเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนคุณธรรมของ ประชาชน นโยบายสาธารณะจึงแยกออกเป็นสองส่วนคือ นโยบายและสาธารณะ  นโยบายคือกฎหมายที่รัฐบาลประกาศใช้บังคับและมีผลต่อประชาชนทุกคน มากน้อยแตกต่างกัน  นโยบายที่เป็นกฎหมายทุกฉบับผ่านกระบวนการนิติบัญญัติถือว่าทุกคนต้องปฏิบัติ ตาม เรียกว่ากรอบของศีลธรรม ไม่ว่ากฎหมายฉบับนั้นจะสอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมของประเทศหรือไม่ก็ตาม

             ส่วนคำว่าสาธารณะหมายความถึงทุกๆคนในสังคมที่ได้รับผลจากการออกกฎหมายของ รัฐบาล และหมายความรวมถึงสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นหลักสำคัญของการอยู่ร่วมกันของ ประชาชนทั้งประเทศ  ความเป็นสาธารณะจึงเป็นประเด็นด้านจริยธรรมที่หมายถึงความดี  ความงามของวัฒนธรรม ความถูกต้อง สิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้กรอบของกฎหมาย หลักธรรมในการปกครองของผู้นำทุกคนในสังคม เช่นหลักทศพิศราชธรรมของผู้ปกครองที่ดีเป็นต้น

             ความสัมพันธ์ของจริยธรรม ศีลธรรมและนโยบายสาธารณะจึงเป็นประเด็นสำคัญของกระบวนการนโยบายสาธารณะที่ดี ในสังคมไทยและภายใต้บริบทของสังคม  นโยบายที่ดีจึงต้องเป็นนโยบายสาธารณะที่กระบวนการนโยบายถูกขับเคลื่อน จากกระบวนการของความรู้ปัญญา ศีลธรรมและจริยธรรมจากกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และขับเคลื่อนเป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม เป็นกฎหมายที่ดี

             นโยบายสาธารณะที่ดีจึงเป็นกระบวนการภาคประชาชนมีการขับเคลื่อนประเด็นปัญหา จากรากแก้ว คำนึงถึงผลกระทบในการแก้ปัญหาจากประชาชนทุกคน นโยบายมาจากการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาของประชาชนเป็นการขับเคลื่อนในแนวนอน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนส่วนใหญ่ จึงแตกต่างจากนโยบายของรัฐบาลเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลส่วนใหญ่ขับเคลื่อน นโยบายในแนวดิ่งผ่านแกนนำของแต่ละระดับกลุ่มชนชั้นนำในระบบการเมือง ระบบราชการและกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มีอิทธิพลภายนอกระบบ

ดร. บวร ประพฤติดี*