ผู้เขียน หัวข้อ: ข้าราชการ อำนาจและจริยธรรม-อำนาจสายสัมพันธ์ระบบราชการกับนักการเมือง  (อ่าน 6099 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
อำนาจสายสัมพันธ์ระบบราชการกับนักการเมือง

             จากการศึกษาของศาสตราจารย์ เวเบอร์  (Max  Weber , 1958) ข้าราชการได้แยกบทบาทของตนอย่างชัดเจนจากนักการเมือง  กล่าวคือ  ข้าราชการต้องเป็นผู้มีความรู้  ความสามารถเฉพาะอย่าง  เข้ารับราชการโดยระบบคุณธรรมและทำหน้าที่ที่สอดคล้องกับงานวิชาชีพของตนอง  คือ  เป็นเสมือนผู้เชี่ยวชาญ  ขณะที่นักการเมืองเน้นการให้การบริการแก่ประชาชนและนักการเมืองต้องกำหนด นโยบาย  โดยมีข้าราชการประจำเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายเหล่านั้น

             ในปี  1981  นักวิชาการก็ได้พัฒนากรอบแนวความคิดของความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการประจำ กับนักการเมือง  ในรูปแบบการเปรียบเทียบบทบาทและสไตร์การทำงานจากประเทศสหรัฐ ฯ  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  เยอรมันนี  อิตาลี  เนเธอร์แลนด์  และสวีเดน  ผลการศึกษาปรากฏว่าบทบาทที่เด่นชัดและชี้  ให้เห็นความแตกแงของนักการเมืองกับข้าราชการประจำก็คือ  การสังกัดพรรค  การรณรงค์และวิพากษ์นโยบายทางการเมือง เพื่อกลุ่มผลประโยชน์และความเป็นผู้เชี่ยวชาญแน่นอนที่สุดว่า  นักการเมืองถูกจัดกลุ่มอยู่ในกลุ่มสังกัดพรรคกลุ่มผลประโยชน์  วิพากษ์และรณรงค์ทางการเมือง  ซึ่งข้าราชการมักจะไม่เกี่ยวข้องด้วย  (Joel D. Aberbach , Robert  D. Putnam  and  bert  A. Rockman , 1981 : 86-114)  บทบาทของข้าราชการจึงจำกัดตนเองในฐานะผู้เชี่ยวชาญ  และแก้ปัญหาโดยเน้นความรู้ความสามารถทางวิชาการเป็นหลัก

อำนาจข้าราชการกับกระบวนการนโยบายสาธารณะ

             ข้าราชการมีความสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมกล่าวคือ  ในประเทศที่มีโครงสร้างเป็นประชาธิปไตยข้าราชการจะร่วมกำหนดนโยบายทางอ้อม คือ ช่วยนักการเมืองและเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ  ในทางตรงกันข้ามในประเทศที่กำลังพัฒนาประชาธิปไตย  ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารประเทศแบบอำนาจนิยม  ข้าราชการจะมีบทบาทโดยตรงในการกำหนดนโยบายและมีอิทธิพลเหนือนักการเมือง

             นโยบายสาธารณะที่กำหนดออกมามีรูปแบบลักษณะแตกต่างกันแล้วแต่ผลกระทบของตัว นโยบายที่มีผลต่อสังคมซึ่งจำแนกกว้าง  ๆ  ได้ดังนี้

             1. นโยบายการบริหารทั่ว  ๆ  ไป  เป็นนโยบายรัฐบาลที่ญัตติไว้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือนโยบายที่รัฐบาลเข้ามารับผิดชอบโดยตรง  อาทิเช่นนโยบายความมั่นคง  นโยบายต่างประเทศ  นโยบายงบประมาณแผ่นดิน

             2. นโยบายสงเคราะห์ธุรกิจเอกชน  ในกรณีนี้รัฐบาลจะมุ่งสนับสนุน  ความพยายามของธุรกิจเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ กันเช่น  โครงการของรัฐหรือกฎหมายของรัฐที่เข้ามามีส่วนพัฒนาสาธารณูปโภคของกลุ่มคน เช่น  การสร้างคลอง  ถนน  เป็นอาทิ

             3. นโยบายเพื่อสร้างความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนนโยบายแบบนี้จะเน้นที่ การควบคุมและการใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อดูแลกิจกรรมต่าง ๆ  ของเอกชน  บริษัท  และกลุ่มต่าง ๆ ในทุก ๆ ส่วนของสังคมรัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงกิจการสำคัญ ๆ ในสังคมเพื่อป้องกันการผูกขาดจากกลุ่มบุคคล  ตัวอย่างเช่น  การประกันราคาข้าว  การคุ้มกันผู้บริโภค  การใช้มาตรการรักษาและดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนในรูปของโครงการควบคุมสิ่ง แวดล้อมเป็นพิษ มลภาวะต่าง ๆ

             4. นโยบายการกระจายทรัพยากรสู่สังคม  ในความเป็นจริงกิจกรรมส่วนใหญ่ของรัฐจะเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรที่มี อยู่ให้แก่ประชาชนในสังคม เพราะฉะนั้นนโยบายนี้จะนำมาซึ่งการโยกย้ายเปลี่ยนแปลง  ทรัพย์สิน  ความมั่นคง  สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลหรือผลประโยชน์อย่างอื่นระหว่างคนกลุ่มในสังคม นโยบายนี้ก่อให้มีระบบผู้ได้ผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders) เกิดขึ้นในรูปของใครได้รับและในความสูญเสียของใครประเด็นเหล่านี้คือปัญหา ข้อโต้แย้งในสังคมปัจจุบันตัวอย่างเช่น นโยบายภาษีอากรและสวัสดิการสังคมเป็นอาทิ (Carl P . Chelf ,   1981 : 13-15 )

ผลกระทบของการใช้อำนาจดุลพินิจบริหารนโยบาย

              การใช้อำนาจดุลยพินิจมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน กลุ่มผลประโยชน์และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ผลกระทบของการใช้อำนาจนั้นอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะของการใช้อำนาจนั้น ๆอำนาจดุลยพินิจที่เกิดจากการใช้กฎหมายมาบังคับโดยทันที เพื่อมิให้ป้องกันมิให้ปัจเจกชน  กลุ่มคณะบุคคลกระทำผิดกฎหมาย  รัฐจะใช้อำนาจกฎหมายบังคับมิให้ผู้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ทำผิดกฎหมาย เช่น ขายยาต้องห้าม  การป้องกัน เรื่องมลภาวะต่าง ๆ  (Pollution) ทั้งในน้ำ  บนบก  ในอากาศ  หรือการออกกฎหมายบังคับใช้เรื่องการคุมกำเนิด  การทำแท้ง  การหย่าร้าง  และความสัมพันธ์ทางเพศ  เป็นต้น

              ในสหรัฐฯ ตัวอย่างกฎหมายที่ใช้ป้องกันและควบคุมพฤติกรรมของประชาชนจะเห็นได้จากกรณี หน่วย FBI ทำหน้าที่เป็นตำรวจแห่งชาติปราบปรามพลเมืองที่ทำผิดกฎหมายหน่วยตรวจคนเข้า เมือง ตรวจสอบคนต่างด้าวที่จะเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หน่วยตรวจสอบอาหารและยา หรือควบคุมด้วยยาเสพติด ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนหรือกรณีรัฐเข้าไป เกี่ยวข้องกับการป้องกันการผูกขาดทางธุรกิจ เช่น ธุรกิจประเภทคมนาคมขนส่งทางอากาศ การประกัน อุตสาหกรรมการเดินเรือและขนส่ง

              รัฐบาลยังเขามาเกี่ยวข้องกับกิจการต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะของสังคมหรือสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ในกรณีนี้รัฐจะเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของประชาชนในสังคม ในการที่จะอนุญาตให้ธุรกิจเข้ามาทำผลประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนรวมในสังคม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กิจการสาธารณูปโภคทั้งหลาย ไฟฟ้า ประปา การคมนาคมขนส่ง โรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่รัฐเข้ามาควบคุมกิจการเหล่านี้ก็เสี่ยงกับปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพ ทางการบริหารมากพอสมควร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รัฐวิสาหกิจไทยที่ส่วนใหญ่ประสบกับการขาดทุน การดำเนินกิจการของรัฐวิสาหกิจเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชนแล้ว เห็นได้อย่างเด่นชัดว่าหย่อนประสิทธิภาพ  ข้าราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือในด้านให้ความปลอดภัยและดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยของประชาชน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้กฎหมายเรื่องเหล่านี้ได้แก่ การควบคุมเรื่องอุปโภค บริโภคเรื่องการใช้ยารักษาประชาชน เป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศไทยได้แก่ การที่รัฐบาลไทยเข้มงวดเกี่ยวกับการใช้สารต่าง ๆ ที่อาจเป็นพิษในอาหาร เช่น ไส้กรอกหรืออาหารประเภทที่คล้ายคลึงกันหรือกรณีเภสัชกรกับร้านขายยา กรณีแอปเปิลที่มีสารพิษผสมอยู่ และกรณีนมรังสีที่กระทรวงสาธารณสุขเข้ามาควบคุมอย่างเด็ดขาด เป็นต้น

              การใช้ดุลยพินิจและบังคับใช้กฎหมายที่มิได้มีผลกระทบโดยตรงหรือทันทีต่อ ประชาชน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การใช้ดุลยพินิจเรื่องการเก็บภาษีอากรจากประชาชน การเก็บภาษีอากรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารของรัฐบาลที่จะช่วยให้ ทรัพยากรทางการเงินของรัฐมีผลต่อการให้บริการต่อสังคม  การเก็บภาษีอากรที่สำคัญคือ ภาษีทางตรง คือภาษีรายได้ที่เก็บโดยตรงจากประชาชนผู้เสียภาษี ภาษีชนิดนี้เก็บได้ง่ายกว่าภาษีโดยอ้อม

              ข้าราชการอาจใช้ดุลยพินิจในทางที่ไม่สนองตอบต่อนโยบายหรือเป้าหมายของรัฐโดย ตรง เช่นการละเลยหรือเพิกเฉยต่อโครงการหรือนโยบายที่เสนอมาโดยฝ่ายการเมือง เช่น เก็บโครงการใส่ลิ้นชักไว้หรือหาวิธีการโยกโย้โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา พิจารณาใหม่ด้วยการใช้เทคนิคในการจัดตั้งกรรมการมาก ๆ และไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่เสนอมา  นอกจากนั้นข้าราชการอาจต่อต้านหรือแสดงตนเป็นปรปักษ์ต่อนโยบายของรัฐที่ตน เองไม่พอใจใรูปแบบต่างๆเช่นการออกข่าวต่อต้าน การออกใบปลิวเพื่อต่อต้านการโยกย้าย สับเปลี่ยนตำแหน่งทางการบริหารเป็นต้น

   โดยสรุปข้า ราชการมีความผูกพันแบบสายเลือดกับการใช้อำนาจดุลยพินิจในการตัดสินใจวาง นโยบายการนำนโยบายไปใช้ปฏิบัติและการประเมินผล ส่วนผลของการใช้ดุลยพินิจอย่างไม่มีขอบเขตและขาดคุณธรรมนั้นย่อมมีผลกระทบ โดยตรงต่อประชาชนและในรูปแบบแตกต่างกัน  ข้าราชการในประเทศที่กำลังพัฒนาจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการจัดสรร อำนาจและทรัพยากรที่มีผลกระทบต่อสังคมทั้งมวล ข้าราชการเข้ามามีบทบาทในการใช้อำนาจดุลยพินิจแทนนักการเมืองในเรื่องการ กำหนดนโยบาย ซึ่งผ่านระบบคณะที่ปรึกษาหรือเข้ามามีบทบาทโดยตรงในฐานะรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ข้าราชการประจำรับผิดชอบโดยตรงต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลอีกด้วยส่งผลให้เกิดการใช้ อำนาจดุลพินิจที่นำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่นอย่างมากมายในสังคม

ดร. บวร ประพฤติดี*