ผู้เขียน หัวข้อ: 'หมอประดิษฐ'เดินหน้าปฏิรูปโครงสร้าง'สธ.'  (อ่าน 809 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
'หมอประดิษฐ' เดินหน้าปฏิรูปโครงสร้าง 'สธ.' ตั้ง 4 สำนักงานใหม่ เตรียมรื้อกฎหมายให้สอดคล้อง พร้อมหารือ 'นายกฯ' แก้ปัญหาต่างด้าว
 
                        5 ก.ย.56 นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังจากการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า วันนี้มีการประชุมเรื่องการวางแผนการบริหาร ปฏิรูปโครงสร้าง สธ. ทั้งในส่วนของกรมต่างๆ และปฏิรูปการบริหารงานของสำนักงานปลัด สธ. เพื่อสนับสนุนการจัดพื้นที่เขตบริการ 12 เขต จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยจะมีการจัดตั้งสำนักงานใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับ เช่น การตั้งสำนักนโยบายด้านการเงินการคลัง ,สำนักนโยบายด้านสุขภาพ ,สำนักพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และสำนักนโยบายด้านยา โดยเฉพาะการบริหารบัญชียาหลักให้มียาครอบคลุมสุขภาพของประชาชนโดยที่รัฐบาล สามารถดูแลค่าใช้จ่ายได้ รวมถึงปัญหาการดื้อยาในโรงพยาบาลของรัฐซึ่งได้ประเมินความเสียหายอยู่ 1 แสนล้านบาท จากการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
                        นอกจากนี้ยังมีการหารือถึงการแก้ไขระเบียบ กฎหมายต่างๆ เพื่อให้ทันกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายบางฉบับที่ให้อยู่ขณะนี้ใช้มานานมากกว่า 40-50 ปี หรือบางกฎหมายทีอาจจะกำหนดขึ้นมาใหม่ เช่น กฎหมายด้านบุคลากรสาธารณสุข ขณะเดียวกันที่ประชุมการวางแผนการใช้งบประมาณปี 2557 ซึ่งทีมงานมั่นใจว่าภายในเดือน ธ.ค.2556 จะสามารถใช้งบลงทุนได้ 100% สำหรับการจัดซื้อครุภัณฑ์และการก่อสร้าง ซึ่ง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้จ่าย
 
'หมอประดิษฐ' หารือ 'นายกฯ' แก้ปัญหาต่างด้าว
 
                        นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในการหารือร่วมกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงกลาโหม ถึงการดำเนินการดูแลแรงงานต่างด้าว ผู้ติดตามและบุตร (Migrant) ที่เหมาะสมของประเทศ นั้นเนื่องจากรัฐบาลยอมรับว่าคนเหล่านี้คือคนที่เข้าช่วยในการพัฒนาประเทศ ให้รุ่งเรือง แต่การเข้ามาด้วยการหลบหนีเข้าเมืองนั้นก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ทั้งปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาการแย่งใช้ทรัพยากรในประเทศที่ใช้ดูแลคนไทย ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด
                        ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการดูแลคนเหล่านี้อย่างเป็นระบบ โดยมาตรการระยะสั้นคือร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ (พม.) ให้คนเหล่านี้มาขึ้นทะเบียนถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ ซึ่งระหว่างที่มีการตรวจสอบสัญชาติจะไม่ถือว่าบุคลเหล่านี้เป็นผู้เข้าเมือง ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือกับ พม. ในการจัดหาที่อยู่อาศัยอย่างเป็นสัดส่วน หรือเป็นนิคม โดยใช้พื้นที่การเคหะ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลทำตามที่ได้ปฏิญาณกับองค์การสหประชาชาติเรื่องสิทธิ มนุษยชน
                        อย่างไรก็ตามจะมีเงื่อนไขว่ากลุ่มคนเหล่านี้ต้องซื้อบริการสุขภาพ ในราคาที่เหมาะสมคือเด็กวันละ 1 บาท ผู้ใหญ่คนละ 2,200 บาท ต่อปีรวมค่าตรวจสุขภาพ 600 ต่อปี ซึ่งจะได้รับสิทธิในการรักษาโรคเอดส์ อนามัยแม่และเด็ก โดยคำนวณไว้ 5% จากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หรือ 15 บาทต่อวัน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ นอกจากนี้ยังให้การศึกษา เพราะหวังว่าเมื่อคนเหล่านี้อยู่ในประเทศก็จะต้องเติบโตเป็นคนที่ดีของประเทศ ไม่สร้างปัญหา หรือเมื่อกลับประเทศไปแล้วก็จะได้นึกถึงประเทศไทย
                        นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยประมาณ 2-3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะโครงการการลงทุนต่างๆ ของประเทศไทยกำลังขยายตัว ซึ่งต้องใช้แรงงานจำนวนมาก การแก้ปัญหาในระยะยาวคือต้องทำให้ประชากรไทยมีอัตราการเจริญพันธุ์มากขึ้นจาก 1.5-1.6 % เป็น 2.1 % เพราะขณะนี้อัตราการ เกิดอยู่ที่ 800,000 คนเท่านั้น ตัวเลขยังน้อยอยู่ ตรงนี้นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สธ. จะเป็นผู้ดูแลโดยร่วมมือกับพม. ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานานเป็น 10 ปี
                        นอกจากนี้ยังต้องหารือกับกระทรวงศึกษาธิการในการปรับปรุงระบบการศึกษาให้ ผลิตบุคลากรระดับอาชีวะมากขึ้นเพื่อเพิ่มคนทำงานในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม มีการปรับค่าแรงให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน รวมถึงการนำเทคโลยีมาลดการใช้แรงงานจากคน
                        ด้านนายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สธ. กล่าวว่า ขณะนี้คนไทยมีการวางแผนครอบครัวน้อยลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้น และแต่งงานเมื่ออายุมาก ทำให้บางรายมีลูกยาก ประกอบกับบางครอบครัวคาดหวังให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีๆ จึงมีลูกเมื่อพร้อม บวกกับค่าครองชีพในปัจจุบัน ส่งผลอัตราการเกิดของเด็กไทยน้อย ดังนั้นตรงนี้จึงได้ร่วมมือกับ พม. ในการรณรงค์เปลี่ยนคนความคิดของคนไทยกันใหม่ ซึ่งส่วนตัวแล้วเห็นว่าอย่างน้อยผู้หญิงน่าจะแต่งงานมีครอบครัวในช่วงอายุประมาณ 20 กว่าๆ หลังเรียนจบและทำงานมาแล้วประมาณ 2-3 ปี และใน 1 ครอบครัวอย่างน้อยน่าจะมีลูก 2 คน