ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์การปฏิรูปด้านสาธารณสุข-ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2545--ได้อะไรบ้าง  (อ่าน 5207 ครั้ง)

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกและภายใน ที่มีอิทธิพลต่อการสาธารณสุข อาทิเช่น การปฏิรูปทางการเมือง การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 การเกิดวิกฤต เศรษฐกิจ ของประเทศ การปฏิรูป ระบบราชการ การกระจาย อำนาจสู่ท้องถิ่น ปัญหาสุขภาพ และความต้องการ บริการสุขภาพ ที่มีความสลับซับซ้อนขึ้น เหล่านี้ล้วนเป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการปฏิรูปด้านสาธารณสุข ซึ่งจะไม่ได้จำกัดขอบเขต เพียงที่ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเท่านั้น แต่ยังมีการดำเนินงาน โดยหน่วยงานภายนอก ที่มีการผนึกกำลัง จากทุกภาคส่วน ของสังคมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ความเคลื่อนไหว ของการดำเนินงาน ด้านการปฏิรูป ด้านสาธารณสุข จึงเป็นผลการดำเนินงาน ของทุกหน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ด้านสาธารณสุข ดังนี้


การปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545

1.   อำนาจหน้าที่และส่วนราชการของกระทรวงสาธารณสุข
ตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2545  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้

1.1 มาตรา 42 กระทรวงสาธารณสุข  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

1.2 มาตรา 43 กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
         (1) สำนักงานรัฐมนตรี
         (2) สำนักงานปลัดกระทรวง
         (3) กรมการแพทย์
         (4) กรมควบคุมโรค
         (5) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
         (6) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
         (7) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
         (8) กรมสุขภาพจิต
         (9) กรมอนามัย
         (10) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2.   ภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขมี 3 กลุ่มภารกิจ(Cluster) ดังนี้

2.1   กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์  มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยการศึกษา วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนการจัดระบบความรู้และสร้างมาตรฐานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อนำไปใช้ในระบบบริการสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

2.2   กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดยการศึกษา วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค เพื่อนำไปใช้ในระบบบริการสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

2.3   กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ มีภารกิจเกี่ยวกับการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการสุขภาพ โดยพัฒนาระบบและกลไกที่เอื้อต่อการจัดบริการสุขภาพ  ระบบสุขภาพของประชาชน และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพและด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองและได้รับบริการจากหน่วยบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

สำหรับ สำนักงานปลัดกระทรวง  มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและแผนด้านสุขภาพ บริหารจัดการด้านแผนงาน คน และงบประมาณของกระทรวง การกำกับดูแลและประสานงานสาธารณสุขในพื้นที่ การพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ การผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ การพัฒนากฎหมายด้านสุขภาพและการพัฒนางานสาธารณสุขระหว่างประเทศ

3.   โครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข

3.1 โครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวง และอีก  3 กลุ่มภารกิจ (ภาพที่ 1 ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ดังนี้

3.1.1 สำนักงานปลัดกระทรวง  ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย 5 กอง/สำนัก คือ สำนักบริหารกลาง  ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันพระบรมราชชนก สำนักตรวจและประเมินผล และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

3.1.2 กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์ ประกอบด้วย 3 กรม ดังนี้
1) กรมการแพทย์ ประกอบด้วย 21 กอง/สำนัก โดยเป็นหน่วยงานสนับสนุน 4 หน่วยงาน และหน่วยงานวิชาการ 17 หน่วยงาน
2) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประกอบด้วย 3 กอง/สำนัก โดยจำแนกเป็นหน่วยงานสนับสนุน 1 หน่วยงาน และหน่วยงานวิชาการ 2 หน่วยงาน
3) กรมสุขภาพจิต ประกอบด้วย 10 กอง/สำนัก และ 12 ศูนย์สุขภาพจิต โดยจำแนกเป็น หน่วยงานสนับสนุน 4 หน่วยงาน หน่วยงานวิชาการ 6 หน่วยงาน และหน่วยงานที่อยู่ในส่วนภูมิภาค 12 แห่ง

3.1.3 กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข ประกอบด้วย 2 กรม ดังนี้
   1) กรมควบคุมโรค  ประกอบด้วย 12 กอง/สำนัก และ 12 สำนักงานป้องกันควบคุมโรค โดยจำแนกเป็น หน่วยงานสนับสนุน 4 หน่วยงาน หน่วยงานวิชาการ 8 หน่วยงาน และหน่วยงานที่อยู่ในส่วนภูมิภาค 12 แห่ง
   2) กรมอนามัย ประกอบด้วย 12 กอง/สำนัก และ 12 ศูนย์อนามัย โดยจำแนกเป็น หน่วยงานสนับสนุน 4 หน่วยงาน หน่วยงานวิชาการ 6 หน่วยงาน หน่วยงานที่บูรณาการงานจากกองวิชาการ 2 หน่วยงาน และหน่วยงานที่อยู่ในส่วนภูมิภาค 12 แห่ง

3.1.4 กลุ่มภารภิจด้านสนับสนุนบริการสุขภาพ ประกอบด้วย 3 กรม ดังนี้
   1) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประกอบด้วย 7 กอง/สำนัก โดยจำแนกเป็น หน่วยงานสนับสนุน 1 หน่วยงาน และหน่วยงานสนับสนุนบริการและวิชาการ 6 หน่วยงาน
   2) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วย 10 กอง/สำนัก และ 12 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยจำแนกเป็น หน่วยงานสนับสนุน 2 หน่วยงาน หน่วยงานสนับสนุนบริการและวิชาการ 8 หน่วยงาน และหน่วยงานที่อยู่ในส่วนภูมิภาค 12 แห่ง
   3) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  ประกอบด้วย 10 กอง/สำนัก โดยจำแนกเป็น หน่วยงานสนับสนุน 2 หน่วยงาน และหน่วยงานสนับสนุนวิชาการ 8 หน่วยงาน

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่ได้อยู่ภายใต้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่
1. หน่วยงานที่ปรับเปลี่ยนเป็นองค์การมหาชน 4 หน่วยงานคือ สถานบริการสุขภาพ(โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน/สถานอนามัย) สถาบันการแพทย์เฉพาะทาง(อยู่ระหว่างออก พรฎ.) สำนักงานจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(อยู่ระหว่างออก พรฎ.) และสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(อยู่ระหว่างออก พรฎ.)
2. หน่วยงานในกำกับ 5 หน่วยงาน คือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(มี พ.ร.บ. แล้ว) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(อยู่ระหว่างออก พ.ร.บ.) สถาบันพระบรมราชชนก(อยู่ระหว่างจัดทำ พ.ร.บ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข(อยู่ระหว่างออก พ.ร.บ.) และสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รับโอนจากสำนักนายกรัฐมนตรี (มี พ.ร.บ. แล้ว)
3. รัฐวิสาหกิจ คือ องค์การเภสัชกรรม

   3.2 โครงสร้างของหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
      3.2.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แบ่งงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 4 กลุ่มงาน  คือ ฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข กลุ่มสนับสนุนวิชาการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และกลุ่มงานประกันสุขภาพ
3.2.2 โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป  แบ่งงานภายในออกเป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มภารกิจด้านอำนวยการ กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล กลุ่มภารกิจด้านบริการตติยภูมิ และกลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิและทุติยภูมิ
3.2.3 โรงพยาบาลชุมชน  แบ่งงานภายในออกเป็น 3 กลุ่มภารกิจ คือ กลุ่มภารกิจด้านอำนวยการ กลุ่มภารกิจด้านบริการ และกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล
3.2.4 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/สำนักงานสาธารณสุขกิ่งอำเภอ
3.2.5 สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน
.......................................................................................

เกิด องค์กรใหม่ ขึ้นมาดังนี้
สำนักงานจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เกิดเป็น สผฉ.แทน
สถาบันพระบรมราชชนก
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช)
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มกราคม 2011, 08:48:09 โดย Meem »

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
การดำเนินงานตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ
    ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 ซึ่งจะมีการปฏิรูประบบบริหารใน 5 ด้าน คือ การปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจและวิธีบริหารงานของภาครัฐ การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ การปรับเปลี่ยนระบบบริหารบุคคล การปรับเปลี่ยนกฎหมาย และการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ดำเนินการปฏิรูประบบบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ใน 5 ด้านดังนี้

    1.1 การปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุข
       เพื่อให้ภาค รัฐจำกัดบทบาทและภารกิจของตน ให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น พร้อมทั้งกระตุ้นส่งเสริมและเกื้อหนุนให้เอกชนและประชาชน ได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งการบริหารงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์ ที่มีประชาชนเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน และมีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตั้งคณะทำงานการปรับบทบาทภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขณะนี้ได้จัดให้มีการศึกษาแนวทางการปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็นต่าง ๆ รวม 13 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ บทบาทในด้านการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพ การจัดบริการสุขภาพ การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก การควบคุมโรค การคุ้มครองผู้บริโภค การส่งเสริมสุขภาพ การกำหนดคุณภาพและมาตรฐานด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ สุขภาพกับการประกอบอาชีพ การส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพของประชาชน การพัฒนาบุคลากรในระบบสุขภาพ การเงินการคลังด้านสาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ซึ่งได้มีการประชุมเพื่อนำเสนอผลการศึกษาต่อคณะทำงานฯ และผู้ทรงคุณวุฒิ ไปเมื่อวันที่ 6 และ 26 ธันวาคม 2543 แล้ว และผลการศึกษาที่ได้ นำมาสังเคราะห์ในภาพรวมเพื่อจัดทำร่างข้อเสนอการปรับบทบาท ภารกิจและโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุข เสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขต่อไป คาดว่าจะได้ร่างข้อเสนอดังกล่าวภายในเดือนมกราคมนี้ ซึ่งจะได้มีการเตรียมกระบวนการนำเสนอร่างดังกล่าว เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้างต่อไป

    1.2 การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ เป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์
       กระทรวง สาธารณสุข เป็นโครงการนำร่องหน่วยงานหนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการงบประมาณจาก เดิม ที่เน้นการควบคุมการใช้ทรัพยากรเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ ของงาน มีการกำหนดเป้าหมายงานต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม มีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงาน สามารถวัดและประเมินผลการทำงานได้ รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณเน้นเป้าหมายเพื่อประชาชนเป็นหลัก มุ่งเน้นความรับผิดชอบของผู้บริหารแทนการควบคุมรายละเอียดดังเช่นการเบิก จ่ายในปัจจุบัน โดยขณะนี้ได้เริ่มใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ใน รพศ./รพท. 92 แห่ง ในปีงบประมาณ 2544 แล้ว พร้อมกันนี้จะต้องพัฒนามาตรฐานของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ใน 7 ด้าน คู่ขนานกันไป โดยมีความก้าวหน้าของในแต่ละด้านดังนี้
    1) การวางแผนงบประมาณ
       ได้ จัดทำคู่มือการวางแผนงบประมาณ เพื่อรองรับงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ ปีงบประมาณ 2544 - 2547 ให้ รพศ./รพท. ดำเนินการจัดทำแผนสามปีแล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผน
    2) การควบคุมงบประมาณ
       สำนัก งบประมาณดำเนินการควบคุมงบประมาณของ รพศ./รพท. ใน 3 ส่วนคือ งบบุคลากร งบดำเนินการ และงบลงทุน เพื่อให้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ โดยขณะนี้กระทรวงฯ ได้ออกหนังสือการควบคุมภายในกับการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์แล้ว
    3) การบริหารการจัดซื้อ
       อยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
    4) การรายงานทางการเงิน
       ได้ จัดทำคู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการเงิน จัดประชุมผู้รับผิดชอบการรายงานทางการเงิน ออกแบบระบบบัญชีโรงพยาบาล และอยู่ระหว่างพัฒนาระบบบัญชีใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์
    5) การบริหารสินทรัพย์
       ได้ ดำเนินการสำรวจข้อมูลครุภัณฑ์ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ของ รพศ./รพท. ทั้ง 92 แห่ง ประเมินครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และจะพัฒนาการจัดทำผังหลักในด้านการใช้พื้นที่ของโรงพยาบาล ในปีงบประมาณ 2544 ต่อไป
    6) การตรวจสอบภายใน
       ได้จัดระบบการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ รพศ./รพท. และมีการออกไปนิเทศ ตรวจสอบ ทุก 6 เดือน
    7) การประเมินผล
       มี การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ ทุก 4 เดือน และจะมีการศึกษาวิจัยความพร้อมในมาตรฐาน 7 ด้าน ของโรงพยาบาลด้วย

    1.3 การปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคล
       เป็นการปรับ เปลี่ยนเพื่อให้ภาครัฐมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานให้บรรลุผล มีอุดมการณ์ที่จะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต รวมทั้งปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างให้มีความหลากหลายและคล่องตัว ยึดความสามารถและผลงานเป็นหลัก การแต่งตั้งเป็นระบบเปิดตามหลักคุณธรรม จัดระบบผู้บริหารระดับสูงไว้เป็นการเฉพาะ มีสัญญาการทำงานเป็นวาระ สร้างผู้นำที่มีความสามารถสูงและมีระบบคุณธรรม สร้างความชัดเจนในบทบาทของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ปรับระบบเงินเดือนค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน เทียบเคียงได้กับภาคเอกชน และปรับระบบวินัยให้เข้มงวดและรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะอนุกรรมการปรับเปลี่ยนระบบบริหารบุคคล เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
       นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานของคณะกรรมการอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข คือ ได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบเงื่อนไขการทำงานและการจ้างงานให้มีความหลากหลาย อาทิเช่น ในปีงบประมาณ 2543 ได้ดำเนินการบรรจุนักเรียนทุนใหม่เป็นพนักงานของรัฐ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตามมติคณะรัฐมนตรี มีการทำสัญญาการจ้างงานตามการบริหารงานบุคคลแนวใหม่ รวมทั้งกรณีโรงพยาบาลบ้านแพ้วที่ได้มีการจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชน ซึ่งข้าราชการส่วนหนึ่งได้ลาออกจากการเป็นข้าราชการและดำรงตำแหน่งเป็น พนักงานของรัฐ และมีการทำสัญญาการจ้างงานเช่นกัน
       สำหรับการ สร้างระบบผู้บริหารระดับสูง เพื่อสร้างผู้นำที่มีคุณภาพสูงและมีคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุขได้สร้างกลไกเพื่อรองรับระบบการประเมินผลงานและประสิทธิภาพ ของบุคลากรสาธารณสุข โดยได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางพิจารณาประเมินบุคคลเข้าสู่ ตำแหน่ง และได้จัดทำหลักเกณฑ์การพิจารณาประเมินบุคคลสายบริหารระดับ 8 - 11 กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2543 เพื่อให้หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขถือปฏิบัติ

    1.4 การปรับเปลี่ยนกฎหมาย
       เพื่อให้ภาค รัฐดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเอื้อต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ รวมทั้งให้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในเรื่องกฎ ระเบียบ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ หรือการติดต่อราชการของประชาชน กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะอนุกรรมการด้านการปรับเปลี่ยนกฎหมาย ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของกรม/กอง ในสำนักงานปลัดกระทรวงฯ และจังหวัด เกี่ยวกับกฎหมายสาธารณสุข ที่เป็นอุปสรรคในการให้บริการแก่ประชาชน และข้อเสนอแนะที่ควรปรับปรุงแก้ไข ซึ่งขณะนี้ได้ประมวลความเห็นของกรม/กอง ในสำนักงานปลัดกระทรวงฯ และจังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว (มีจังหวัดแจ้งกลับมาเพียง 30 จังหวัด และกรมแจ้งกลับมา 4 กรม) และได้แยกเป็น 2 เรื่อง ที่จะดำเนินการคือ พระราชบัญญัติและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการให้บริการ ซึ่งขั้นต่อไปจะวิเคราะห์กฎหมายและเงื่อนไขทั้งในและระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อการให้บริการด้านสาธารณสุข

    1.5 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
       เป็นการ รณรงค์ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประพฤติตามค่านิยมและจรรยาบรรณที่รัฐกำหนดขึ้น ให้มีทัศนคติการทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชน มีความสุจริต ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบ มีความเป็นธรรม และมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้บรรลุผล รวมทั้งรู้จักทำงานร่วมกับประชาชน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการด้านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่า นิยม ซึ่งได้จัดทำโครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมการทำงานของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 หาบรรทัดฐานของวัฒนธรรมองค์กร ระยะที่ 2 รณรงค์ให้ใช้บรรทัดฐานวัฒนธรรมการทำงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะที่ 1 คือ การร่างเกณฑ์จริยธรรมและแนวทางฟื้นฟูวัฒนธรรมองค์กรเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการนำร่างเกณฑ์ดังกล่าวเสนอในเวทีระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญและ ตัวแทนจากประชาคมสาธารณสุข ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ก่อนที่จะนำเสนอในการประชุมระดับชาติเรื่อง การฟื้นฟูและพัฒนาวัฒนธรรมการทำงานของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ประมาณเดือนมีนาคม 2544 เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้และมีผลในทางปฏิบัติต่อไป

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และมีการตั้งคณะกรรมการกระจายอำนาจ จำนวน 36 คน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และองค์ประกอบของคณะกรรมการมาจาก 3 ส่วน จำนวนเท่า ๆ กัน โดยมาจากราชการบริหารส่วนกลาง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการการกระจายอำนาจ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 และภายใต้คณะกรรมการฯ มีคณะอนุกรรมการอีก 4 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านการจัดทำแผน คณะอนุกรรมการด้านการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมาย คณะอนุกรรมการด้านการเงินงบประมาณ การคลังและบุคลากร และคณะอนุกรรมการด้านติดตามประเมินผล

    กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการให้มีการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอรูปแบบของระบบบริการ ภายใต้การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข โดยผ่านกระบวนการประชุมระดมสมองและรับฟังความคิดเห็นจากชมรม/ประชาคมด้าน สาธารณสุขต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนในที่สุดคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการกระจายอำนาจฯ ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 และได้ข้อเสนอเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ โดยให้กระจายอำนาจไปที่คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ซึ่งจะเป็นกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับต่าง ๆ มาร่วมกันดูแลและจัดการกับปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ โดยมีสถานบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ รวมเป็นพวงบริการ เพื่อให้บริการอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งสำนักงานสนับสนุนและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนารูปแบบและประสานงานการเตรียมการเพื่อกระจายอำนาจให้ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านสุขภาพ ซึ่งมีความคืบหน้าในการดำเนินงานคือ การเตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติการกระจายอำนาจและคัดเลือกจังหวัดกลุ่มแรก ที่มีความพร้อมที่จะดำเนินการกระจายอำนาจด้านสุขภาพเต็มรูปแบบ จำนวน 17 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ มหาสารคาม ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร นครสวรรค์ พิจิตร แพร่ เชียงใหม่ พะเยา ภูเก็ต สงขลา และปัตตานี เพื่อดำเนินการต่อไป

Meem

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2576
    • ดูรายละเอียด
การปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ
    เนื่องจากระบบสุขภาพแห่งชาติในปัจจุบัน ยังไม่สามารถช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีพอ ปัญหาโรคและภยันตรายหลายประการ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ระบบการบริหารจัดการด้านสุขภาพยังขาดประสิทธิภาพไม่ทั่วถึง จึงเห็นควรมีการปฏิรูประบบสุขภาพ เพื่อสร้างระบบสุขภาพให้มีมาตรฐานคุณภาพและค่าใช้จ่ายที่ยุติธรรม และดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิรูป ระบบสุขภาพ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี จึงได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2543 กำหนดให้มีคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีกรรมการโดยตำแหน่ง 17 คน โดยมีสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ซึ่งตั้งขึ้นภายในสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เป็นสำนักงานเลขานุการ มีเวลาทำงานภายใน 3 ปี

    สำหรับความก้าวหน้าของ การดำเนินงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ สรุปได้ว่า คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 4 ประการคือ ยุทธศาสตร์การสร้างองค์ความรู้ ยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือทางสังคม ยุทธศาสตร์การสื่อสารสร้างพลัง และยุทธศาสตร์การจัดการ และได้ตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวดัง นี้

    - คณะอนุกรรมการวิชาการ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ รวมทั้งนำสาระหลักที่สำคัญไปสู่การยกร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสังเคราะห์องค์ความรู้และพิจารณาข้อเสนอทางวิชาการ ที่เกี่ยวกับระบบสุขภาพ

    - คณะอนุกรรมการสร้างความร่วมมือทางสังคม เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ องค์กร ประชาคม ในการผลักดัน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการซ่อมสุขภาพเสีย ไปเป็นการสร้างสุขภาพดี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญคือ เตรียมโครงสร้างการทำงานร่วมกับภาคี จัดเวทีระดมความคิด สำรวจความคิดเห็นผ่านโพลล์ รณรงค์ปฏิรูประบบสุขภาพเครือข่ายวิทยุชุมชน และเตรียมการประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.

    - คณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเข้าใจแนวคิดเรื่องสุขภาพ ตลอดจนร่วมผลักดัน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในหลายรูปแบบ การจัดทำจดหมายข่าวเวทีปฏิรูป และกำลังแสวงหาและสร้างความร่วมมือกับภาคีสื่อและภาคีอื่น ๆ

    - คณะอนุกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เพื่อยกร่างและผลักดัน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้กำลังจัดทำกรอบความคิดของการยกร่าง พ.ร.บ. และคาดว่าจะยกร่าง พ.ร.บ. พร้อมเริ่มประชาพิจารณ์ภายในตุลาคม 2544

การดำเนินงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข
    เป้าหมายของโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข คือ การพัฒนาชุดข้อเสนอทางนโยบายสำหรับการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย E Q E Sa (Equity, Quality, Efficiency, Social Accountability) และผลักดันให้เกิดนโยบายตามชุดข้อเสนอดังกล่าว โดยการสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมต่อกระบวนการพัฒนาทางนโยบาย โดยมีองค์ประกอบของกิจกรรมที่สำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ

    1) การวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางนโยบาย (Policy Research)

    2) การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบในพื้นที่ (Field Model Development)

    3) การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (Training or Capacity Building)

    4) การระดมการมีส่วนรวมของชุมชน ประชาสังคม และสถาบันองค์กรต่าง ๆ ในสังคม (Institutional Linkages and Community Participation)

    ผลการดำเนินโครงการปฏิรูประบบบริการ สาธารณสุข ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันมีโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินงานตามองค์ประกอบ ของกิจกรรมหลัก ๆ ดังนี้คือ

    1) การวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางนโยบาย (Policy Research) มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 20 โครงการ แบ่งเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอทางนโยบาย ใน 4 ด้านคือ การวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การวิจัยเพื่อพัฒนาทางเลือกเครือข่ายสถานพยาบาลปฐมภูมิรูปแบบต่าง ๆ การวิจัยเพื่อพัฒนากลไกการจัดสรรทรัพยากร/กลไกการจ่ายเงินสถานพยาบาล และการวิจัยในประเด็นอื่น ๆ

    2) การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบในพื้นที่ (Field Model Development) มีการดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัดดำเนินการในประเด็นที่สำคัญ 4 ด้านคือ การพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิและเครือข่ายของสถานพยาบาลปฐมภูมิในเขตเมืองและ ชนบท การพัฒนารูปแบบระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการปฏิรูป และการพัฒนารูปแบบอื่น ๆ

    3) การพัฒนากำลังด้านสุขภาพ (Training or Capacity Building) มีการดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเตรียมการสำหรับระบบบริการสาธารณสุขใน อนาคต ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิ (primary care provider) กลุ่มผู้บริหารระบบประกันสุขภาพ กลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาลในรูปแบบใหม่ โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ และกลุ่มนักวิชาการ/นักวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพและอื่น ๆ

    4) การระดมการมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาสังคมและสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (Institutional Linkages and Community Participation) มีการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสื่อสารกับสังคมและบุคลากรในระบบ การจัดเวทีวิชาการ/เครือข่ายนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ การสนับสนุนกลุ่มองค์กร ประชาคมต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข และการสนับสนุนองค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในระดับรากหญ้า

การดำเนินการเกี่ยวกับพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
    เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล ในการปรับบทบาทภารกิจ และประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ และการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพื่อให้มีความเข้มแข็ง สามารถให้บริการประชาชนในท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุขโดยมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2543 ได้รับนักศึกษาทุนรัฐบาลและนักเรียนทุนกระทรวงสาธารณสุข ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2542 และผู้ที่กำลังศึกษาที่มีสัญญาผูกพันไว้แล้ว ให้ปฏิบัติการเป็นพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้รับนักเรียนทุนที่จบการศึกษาปี 2542 เป็นพนักงานของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2543 ทั้งหมดจำนวน 8,766 อัตรา

    กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน รวม 3 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการประสานงาน คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ และคณะทำงานกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อดูแลและสนับสนุนพนักงานของรัฐ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องของงบประมาณ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับพนักงานของรัฐ และเป็นศูนย์กลางเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการเกี่ยวกับพนักงานของรัฐ

    สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินงาน สรุปได้ 4 ด้าน ดังนี้

    1) การเบิกจ่ายเงินประเภทต่าง ๆ ของพนักงานรัฐฯ ใน 4 ประเภท อันได้แก่ (1) เงินเดือน เงินเบี้ยกันดาร เงินประจำตำแหน่ง และเงินเลื่อนขั้น (2) เงินเพิ่มพิเศษรวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งในด้านสาธารณสุข (3) ค่าใช้จ่ายลักษณะค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และ (4) เงินสวัสดิการและเงินช่วยเหลือพิเศษ ซึ่งขณะนี้พนักงานของรัฐเบิกจ่ายเงินทั้ง 4 ประเภทได้เหมือนข้าราชการแล้ว สำหรับเงินสวัสดิการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 เป็นต้นไป สำนักงบประมาณจะกำหนดงบกลางให้ครอบคลุมถึงพนักงานของรัฐด้วย จึงทำให้พนักงานของรัฐฯ สามารถเบิกจ่ายเงินสวัสดิการได้เช่นเดียวกับข้าราชการ

    2) ด้านกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ได้นำเสนอประเด็นที่เป็นปัญหาทางด้านกฎหมายที่กระทบต่อพนักงานของรัฐ เสนอไปยังสำนักงาน ก.พ. และสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหาร การมีบัตรประจำตัวพนักงานของรัฐ พ.ร.บ. ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข และ พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบพัสดุฯ นั้น สำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งแล้วว่า พนักงานของรัฐสามารถที่จะปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ได้

    3) สิทธิประโยชน์
       เดิมมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 กำหนดให้พนักงานของรัฐฯ เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขทำหนังสือทบทวนให้พนักงานของรัฐ ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเหมือนข้า ราชการ เสนอไปยังคณะรัฐมนตรี และมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

    4) การแก้ปัญหาระยะยาว
       คณะรัฐมนตรีได้แต่ง ตั้งคณะอนุกรรมการบริหารงานพนักงานของรัฐฯ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับพนักงานของรัฐฯ ในระยะยาว อาทิเช่น การกระจายบุคลากร ระบบการประเมินผล ระบบแรงจูงใจ การมีกฎหมายรองรับและสถานภาพ