ผู้เขียน หัวข้อ: ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ-วิพากษ์-ตอนที่ 3-4 (พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา)  (อ่าน 2020 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
วิพากษ์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ.....
(ฉบับร่างรัฐบาล) ตอนที่ 3 หมวด 1 การคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข


มาตรา 5 ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด

มาตรา 6 บทบัญญัติในมาตรา 5 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
(1)    ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น แม้มีการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ
(2)    ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ
(3)    ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจประกาศกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้

วิพากษ์ บทบัญญัติในมาตรา 5 บอกว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับทั้งเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด แต่ในมาตรา 6 กลับตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะไม่ได้รับเงินตามมาตรา 5 เป็น 3 ประเภทคือ โรคแทรกซ้อน อาการอันไม่พึงประสงค์ หรือผลอันร้ายแรงอื่นๆที่เกิดจากการให้บริการสาธารณสุขถ้าเป็นบริการที่ได้มาตรฐานแล้ว ซึ่งขัดแย้งกับมาตรา 5 อีกแง่หนึ่งที่ว่าไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด แต่ตามมาตรา 6(1) และ (2)นี้ ทำให้ต้องมีการพิสูจน์ว่าการให้บริการสาธารณสุขนั้น เป็นการกระทำตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ก่อน ผู้เสียหายจะได้รับเงินตามมาตรา 5 ต่อเมื่อ “ได้รับบริการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น”

และใน มาตรา 6 (3) ถ้าความเสียหายนั้นไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตตามปกติเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ รักษาแล้ว ก็จะไม่ได้รับเงินตามมาตรา 5 อันนี้น่าจะหมายความว่า ถ้าผู้เสียหายไม่เกิดการทุพลภาพจนเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตตามปกคิหลังการ สิ้นสุดการรักษาแล้ว ก็จะไม่ได้เงินตามมาตรา 5

ซึ่งการบัญญัติเช่นนี้ หมายความว่า ผู้ป่วยที่เคยได้รับการช่วยเหลือตามมาตรา 41ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 นั้น จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือและชดเชยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ฉบับร่างของรัฐบาลนี้ และรัฐบาลได้ขอแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 41 โดยให้โอนมารับเงินตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉะนั้นการช่วยเหลือตามมาตรา 41 ก็ถูกยกเลิกไป
ผู้ที่สมควรได้รับการช่วยเหลือตามมาตรา 41 ก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเลย จนกว่าจะพิสูจน์ว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 6
...
วิพากษ์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ.....
(ฉบับร่างรัฐบาล) ตอนที่ 4 คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข


มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข  ประกอบด้วยคณะกรรมการที่มาตามตำแหน่ง 13 คนคือ
(1)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
(2) และข้าราชการประจำอีก 5 คนคือ ปลัดกระทรวงอีก3 กระทรวงคือคือกระทรวงสาธารณสุข การคลัง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อีกคนมาจาก เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

วิพากษ์ น่าสงสัยว่าข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ จะมีเวลามาประชุมหรือไม่ และถ้าส่งผู้แทนมาประชุม จะสามารถออกความเห็นแทนได้หรือไม่

(3)กรรมการที่เหลือมาจากผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน

วิพากษ์ มีสถานพยาบาลหลายหมื่นแห่งในประเทศไทย จะเลือกกรรมการแบบไหนจึงจะเป็นผู้แทนที่สามารถเป็นผู้แทนที่เข้าใจสถานการณ์ของสถานพยาบาลส่วนใหญ่ของประเทศ และออกความเห็นแทนได้อย่างถูกต้องตรงกับความเห็นที่แท้จริงของสถานพยาบาลเหล่านั้น

(4) ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ 3 คน

วิพากษ์ กรรมการจากกลุ่มคนเหล่านี้ สามารถดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสารณสุขได้อีกหรือไม่หรือเป็นกรรมการไขว้กันไปมา ในกองทุนต่างๆได้ไม่จำกัดจำนวน เรียกว่าอาจเป็นพวกเดียวกัน หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน

(5)และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 คน ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน สิทธิมนุษยชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยด้านสาธารณสุข ด้านละ 1 คน

วิพากษ์ กรรมการเหล่านี้คงจะมากำหนดอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือและชดเชยเท่านั้น เพราะเขาเหล่านี้ คงไม่มีความรู้เกี่ยวกับ “มาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุข”

  การคัดเลือกกรรมการตาม (3) (4) (5) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
วิพากษ์ การที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดอะไรนั้น จะมีการประกาศให้ประชาชนทั่วไปทราบอย่างโปร่งใส และแสดงความเห็นได้หรือไม่
    ให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

วิพากษ์ อธิบดีกรมสนับสุนบริการสุขภาพมีหน้าที่ “สนับสนุน พัฒนา อำนวยความสะดวก และควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสุขภาพ” ของสถานพยาบาลทั่วประเทศอยู่แล้ว และมีผู้แทนเป็นข้าราชการประจำทำงานอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย มีหน้าที่พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันความเสียหายของประชาชนจากการรับบริการสุขภาพ และมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข ร่วมกับปลัดกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่ทั้งรัฐมนตรีและข้าราชการประจำไม่ทำหน้าที่นี้ แต่ต้องการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานแทนหน้าที่ความรับผิดชอบของกระทรวง สาธารณสุขและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

จึงสมควรจะยุบกระทรวงสาธารณสุขไปเสีย เพราะปัจจุบันนี้ กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้บริหารงบประมาณ (สปสช.ทำแทน) ไม่ได้บริหารบุคคล (ปล่อยให้กพ.กำหนดอัตรากำลังของบุคลากรแทน)  และ ตอนนี้ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ดำเนินการในการที่จะพัฒนาระบบบริการสาธารณ สุขให้มีคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่องให้ทันกับความก้าวหน้าของระบบบริการทาง การแพทย์เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก แต่ต้องการถ่ายโอนอำนาจไปให้ “คณะกรรมการตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการับบริการสาธารณสุข” เป็นผู้ “พัฒนาระบบความปลอดภัยในบริการสาธารณสุขแทน จึงสมควรถ่ายโอนอำนาจการบริหารทั้งหมด ออกไปจากกระทรวงสาธารณสุขด้วย

มาตรา 8 กรรมการตาม (3) (4) (5) มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับคัดเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม่ได้
(และรายละเอียดการคัดเลือกแต่งตั้งกรรมการและการพ้นวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ)

มาตรา9 กำหนดการพ้นวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ (เพิ่มเติมตามมาตรา 8)

มาตรา 10 เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
(1)    กำหนดนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้เสียหาย พัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย และการสนับสนุนการไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
(2)    กำหนดประกาศการจ่ายเงินตามมาตรา 21
(3)    กำหนดระเบียบการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการบริหารกองทุนตามมาตรา 23 รวมทั้งระเบียบเกี่ยวกับค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พักและค่าป่วยการตามมาตรา 18 วรรค 2
(4)    กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายตามมาตรา 25 ระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 29 และระเบียบการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา 12
(5)    กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และวิธีพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 28 และมาตรา 31
(6)    กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 33 และการดำเนินการไกล่เกลี่ย การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และค่าตอบแทนของผู้ไกล่เกลี่ยตมมาตรา 39
(7)    จัดประชุมรับฟังความเห็นของสถานพยาบาล และผู้รับบริการสาธารณสุข เพื่อรับทราบปัญหาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย รวมทั้งการไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
(8)    กำหนดนโยบายการบริหารงานและให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงาน
(9)    จัด ทำบัญชีรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 39 โดยคัดเลือกจากบุคคลผู้มีความรู้ความเข้าใจหรือมีประสบการณ์เหมาะสมกับการทำ หน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสาธารณสุข
(10)กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสนับสนุนการไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข และพิจารณาอนุมัติเงินกองทุนเพื่อใช้จ่ายในการสนับสนุนกิจกรรมตามมาตร 43
(11) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจมอบหมายหรือมอบอำนาจให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการแทนได้

วิพากษ์ ถ้ารัฐบาลต้องการให้มีคณะกรรมการตามพ.ร.บ.นี้ มาทำหน้าที่แทนกระทรวงสาธารณสุข ก็สมควรออกพ.ร.บ.ยุบกระทรวงสาธารณสุข และแยกการบริหารจัดการออกไปให้คณะกรรมการพิเศษแต่ละเรื่องไปได้เลย จะได้ไม่ต้องมีหน่วยงาน ที่มีภาระรับผิดชอบงานซ้ำซ้อนกัน เปลืองงบประมาณในการจ่ายเงินเดือน และผลประโยชน์ตอบแทนด้านเบี้ยประชุมและอื่นๆซ้ำซ้อนกัน