ผู้เขียน หัวข้อ: ถึงเวลาปฏิรูประบบสาธารณสุขของประเทศไทยค่ะ!!!(Pornsuri)  (อ่าน 1874 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวาน ได้มีโอกาสพบปะกับรุ่นพี่ที่นับถือกันท่านหนึ่ง อย่างไม่เป็นทางการ หลังจากที่คุยกันไปคุยกันมา ก็ได้โจทย์ ให้มาเขียนแสดงความคิดเห็น เรื่อง "การปฏิรูประบบการสาธารณสุข"...

ตั้งแต่เมื่อวานได้มีโอกาสคิด และ ทบทวน "สิ่งที่เห็น"...จึงพบว่า...ปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการใช้ "ทรัพยากร" ที่เกี่ยวข้องกับ "การสาธารณสุข" อย่าง "คุ้มค่า"...หรือไม่???

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีองค์กรที่เกี่่ยวข้องกับการสาธารณสุขหลากหลายองค์กร เช่น กระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีหน่วยงานย่อย เป็นกรม กองต่างๆมากมาย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นต้น...

แต่ไม่ทราบว่า...ที่ผ่านมา... ภาครัฐมีการ "การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรหรือไม่"...

ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่อยู่ใน รูปงบประมาณ บุคลากร และ อุปกรณ์ต่างๆ...

โดยส่วนตัวอยากให้ภาครัฐมีการ วิเคราะห์ความคุ้มค่า และ ประเมินตัวชี้วิต และ ผลสำเร็จที่ได้จากการบริหารงานขององค์กรต่างๆเหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรม...

เพราะเท่าที่สังเกต...จะเห็นว่า...เรามีองค์กร ต่างๆที่ทำงานซ้อนทับกันเต็มไปหมด...

อย่างเช่น กลุ่มประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข กับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน คือ กลุ่มประกันสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ประสานการ ดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (จาก http://www.higthai.org/hig/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=37&Itemid=54)...

แล้วทำไมต้องแยกออกจากกัน???

ถ้า 2 องค์กรนี้ สามารถยุบรวมเป็นองค์กรเดียวได้หรือไม่...

เมื่อดูจากหน้าที่ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จะพบว่า
เมื่อพิจารณาภาพรวมของ 2 องค์กรนี้...ถ้าสามารถหลอมรวมเป็นองค์กรเดียวกันได้ น่าจะทำให้สามารถใช้ทรัพยากร อันได้แก่ งบประมาณ บุคลากร สถานที่ วัสดุและพัสดุ ให้เกิดความคุ้มค่าได้ และ น่าจะทำให้ระบบการทำงานคล่องตัวขึ้น เนื่องจากสามารถตัดขั้นตอนการประสานระหว่างหน่วยงานได้

หรือ ในกรณีของกระทรวงสาธารณสุข จะเห็นว่ามีกรมที่มีหน่วยงานย่อยที่แยกหน้าที่กันไม่ค่อยออก  ซ้อนทับกัน เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค (ดูรายชื่อหน่วยงานได้ที่ http://www.moph.go.th/moph-links-central-2.php) ต่างทำหน้าที่ที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างมีบุคลากรของตน เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมควบคุมโรค ต่างมีห้องปฏิบัติการตรวจแยกชนิดเชื้อโรคและมีบุคลากรของตนเอง เป็นต้น...

เป็นไปได้ไหม ที่จะแยก "อำนาจหน้าที่" ขององค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกันให้มีความชัดเจนมากขึ้น...

เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า...

นอกจากงานที่ซ้อนทับหรือคล้ายคลึงกันแล้ว...ยังมีหน่วยงานบางหน่วย งานที่ดูเหมือน...จะมีผลงานที่ "ไม่ชัดเจน" สักเท่าไร...

อย่างเช่นกรณี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน ประสานความร่วมมือเพื่อให้คนไทยริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยไม่จำกัดกรอบวิธีการ และยินดีเปิดรับแนวทางปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรม สร้าง เสริมสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง (จาก http://www.thaihealth.or.th/about/get-to-know) ที่มีผลงานที่เข้าตาประชาชน "ทางหน้าจอ" มากกว่า..

เมื่อมาพิจารณาว่า สำนัก งานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีรายได้จาก ภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี (จาก http://www.thaihealth.or.th/about/get-to-know) นั้น สสส. น่าจะมีการทำงานเชิงรุกมากกว่านี้ เช่น จัดโครงการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกำลังกาย ลดพุง ทั่วประเทศ ไม่ใช่จัดกิจกรรมแค่จุดๆ หรือ การให้ความรู้ทางด้านการรักษาสุขภาพและการตรวจสุขภาพประจำปีที่ถูกต้องแก่ ประชาชนทั้งประเทศ เช่น ควรจะตรวจมะเร็งเมื่ออายุเท่าไร กลุ่มเสี่ยงเป็นใคร เป็นต้น

โดยส่วนตัวสนับสนุน ให้รัฐบาลได้จัดทำ "ตัวชี้วัด" และ ประเมินการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม เพราะจะได้นำข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ไปวางแผนการทำงานในปีถัดไปได้...

และ สนับสนุนให้รัฐบาลจัดการ "re-organize" เพื่อให้การทำงานซ้อนทับกันน้อยลง หรือ ไม่ซ้อนทับกันเลย ซึ่งจะเป็นผลดี คือ จะเหลือทรัพยากรบางส่วน ไปทำงานและพัฒนาในด้านอื่นค่ะ

------------------------------------------------------------------------------------------------------

หลังจากที่มองในแง่การบริหาร แล้ว...ก็หันมามองในแง่การบริการสาธารณสุขบ้าง...

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่่า...แม้ว่า เราจะมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค)  การใช้สิทธิประกันสังคม แต่ก็สังเกตได้ว่า...เรายังได้ยินเสียง "พึมพำ" ถึงปัญหาทางด้านการรักษาพยาบาลอยู่...

ไม่ว่าจะเป็น "วิกฤตศรัทธา" ที่เกิดขึ้นกับโครงการ 30 บาท และ ประกันสังคมของบางคนที่รู้สึกว่ามีการรักษา "ที่มีมาตรฐาน" ที่แตกต่างกัน ระหว่างแต่ละโรงพยาบาล ระหว่างการจ่ายค่ารักษาเอง  การใช้สิทธิ์ในโครงการ 30 บาท และ การ ใช้สิทธิประกันสังคม...

โดยส่วนตัวมองเห็นว่าปัญหา...ไม่ได้อยู่ที่ "สิทธิการรักษาไหน ดีกว่ากัน" แต่อยู่ที่การ "ทำอย่างไรให้สิทธิ์การรักษาทุกสิทธิเท่าเทียมและมีมาตรฐานเดียวกัน"...จนนำ ไปสู่การมีสิทธิการรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐานอย่างเดียวกันทั้งประเทศ...

การตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาลที่มาตรฐานเดียวกันทั้งคนที่มีเงินจ่ายค่ารักษา คนที่มีเงินจ่ายแค่ 30 บาท และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...คนที่ไม่มีเงินจ่ายแม้กระทั่งเงิน 30 บาท...

เป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิทธิในการได้รับบริการทางด้านสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมี ประสิทธิภาพ...ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ค่ะ

------------------------------------------------------------------------------------------------------

นอกจากการรักษาและวินิจฉัย...ที่ มีความสำคัญแล้ว...ยังมีกระบวนการป้องกัน การเกิดโรคและกระบวนการส่งเสริมสุขภาพขั้นต้น ที่รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และ วงการแพทย์ทุกวิชาชีพ ควรจะให้ความสนใจและดำเนินการเชิงรุก...

เพราะการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพขั้นต้น และ การให้ความรู้ประชาชนเพื่อการป้องกันโรคนั้น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ช่วยลดงบประมาณของค่าใช้จ่ายในการรักษา และ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรบุคคลของชาติ...

กระทรวงสาธารณสุขควรมีการจัดตั้งเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาล องค์กรทางการแพทย์ และ บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด พยาบาล กับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อประสานความรู้และความร่วมมือในการให้ความรู้กับประชาชนในการรักษา สุขภาพ และ ออกตรวจประชาชนเบื้องต้นในพื้นที่ เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองผู้เป็นโรคเพื่อรักษาในขณะที่อาการของโรคยังไม่ รุนแรง และ เป็นการค้นหาเพื่อตรวจรักษาผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้ามาสู่กระบวนการการ รักษาที่โรงพยาบาลได้...

นอกจากนี้ ควรจะมีการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย ทั้งการวิจัยในระดับชุมชน การวิจัยที่เป็นการสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน และ งานวิจัยในระดับสูง เพื่อให้ได้รับความรู้ใหม่ในการส่งเสริมสุขภาพและรักษาโรค โดยพึ่งพาต่างชาติน้อยที่สุด

ด้วยเหตุนี้...จึงถึงเวลาปฏิรูประบบ สาธารณสุขของประเทศไทยค่ะ!!!

www.oknation.net/blog/pornsuri
6 มิถุนายน 2553