คณะราษฎรได้ใช้ธนาคารเอเซียฯ เป็นเครื่องมือในการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจของตนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ไปก่อตั้งบริษัทประกันคุ้มภัย จำกัด ปี พ.ศ. 2484 บริษัทนี้มีธนาคารเอเชียฯ เป็นผู้ทดรองจ่ายเงินล่วงหน้าในการดำเนินการจัดตั้งทั้งหมด และมีบุคคลใกล้ชิดกับสมาชิกของคณะราษฎรเป็นผู้บริหารงานคือ นายหลุย พนมยงค์, นายเดือน บุนนาค, หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ (สมโภชน์ อัศวนนท์) นายโล่วเต๊ะชวน บูลสุข, และนายตันจินเก่ง หวั่งหลี [27],[28]
นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2526 นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ยังได้เขียนวิเคราะห์ในเรื่องความสัมพันธ์ของธนาคารพาณิชย์กับนายทุนชาวจีนและกลุ่มการเมือง โดยการสัมภาษณ์ นายเสวต เปี่ยมพงศานต์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2522 และอ้างอิงการอภิปรายของ สุพัฒน์ สุคนธาภิรมย์ การอภิปรายเรื่องกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจหลังปี พ.ศ. 2475 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ความว่า
คณะราษฎรยังได้ใช้ธนาคารเอเชียฯ เป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่จะดึงพ่อค้าชาวจีนชั้นสูงที่จำเป็นต้องพึ่งพาสถาบันการเงินทุนของตนให้มาอยู่ภายใต้ร่มธงของคณะราษฎร เช่น นายโล่วเตี๊กชวน บูลสุข, นายจุลินทร์ ล่ำซำ, นายมา บูลกุล เป็นต้น และคณะราษฎรยังได้ใช้ธนาคารเอเชียฯ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นเครื่องมือหาความสนับสนุนทางการเมืองจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยการให้กู้ยืมเงินโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกัน[27],[29]
ในปี พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นระยะที่เปิดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเป็นระยะที่ความขัดแย้งภายในคณะราษฎรใกล้จะถึงจุดแตกหักแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำปีกซ้ายของคณะราษฎร ที่มีพรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ และพรรคอิสระสนับสนุน กับนายควง อภัยวงศ์ อดีตผู้ก่อการฯของฝ่ายอนุรักษ์นิยม (Conservative) พรรคประชาธิปัตย์ ได้ดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองกันอย่างจริงจัง เพราะว่ามีแนวคิดที่แตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง
23)
ในการเลือกตั้งคราวนั้นฝ่ายอนุรักษ์มีนายควง อภัยวงศ์ และพระยาศรีวิศาลวาจา เป็นแกนกลางโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะล้มอิทธิพลทางการเมืองของกลุ่มปีกซ้ายของคณะราษฎรและฟื้นฟูอิทธิพลของระบบเดิมบางส่วนให้กลับคืนมา[27],[30]
นายปรีดี พนมยงค์ ได้ตระหนักถึงความเข้มแข็งของพลังปฏิกิริยาเป็นอย่างดี และเกรงว่าสังคมจะถูกชุดรั้งให้เสื่อมทรามลงไปอีกวาระหนึ่ง ฉะนั้นจึงมีคำสั่งให้ธนาคารเอเชียฯสนับสนุนผู้สมัคร ส.ส.ของฝ่ายตน โดยให้กู้ยืมคนละ 2,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันแต่ประการใด[27],[30]
เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม, พลโทผิน ชุณหะวัณ, พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์, และคณะนายทหารร่วมกันทำตัวรัฐประหารสำเร็จ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 แล้ว จึงได้มอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศอยู่จนกระทั่งวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2491
ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะรัฐประหาร ได้บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีลาออกแล้วให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีชุดต่อมา [27],[31]
โดยในระหว่างที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีหม่อมเจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยยันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลได้มีคำสั่งปิดธนาคารเอเชียฯ และธนาคารศรีอยุธยา อยู่ชั่วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าธนาคารทั้งสองแห่งเป็นฐานอำนาจของกลุ่มนายปรีดี มาก่อน [27],[32]
และเพื่อที่จะบั่นทอนฐานอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ ลงไปให้ถึงที่สุด เผ่า ศรียานนท์ จึงได้จับ นายหลุย พนมยงค์ และนายเดือน บุนนาค ในข้อหาทางการเมือง
หลังจากที่นำตัวไปทรมานอยู่ระยะหนึ่งแล้ว เผ่า ศรียานนท์ จึงบังคับให้นายหลุย พนมยงค์ โอนหุ้นใน ธนาคารศรีอยุธยาให้แก่ตนและตระกูลชุณหะวัณ[27],[33] และบังคับให้นายเดือน บุนนาคให้โอนหุ้นทั้งหมดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในธนาคารเอเชียฯ ให้แก่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก[27],[34]
หลังจากที่นายปรีดี พนมยงค์ ประสบความล้มเหลวจากการก่อกบฏวังหลวง ในปี พ.ศ. 2492 แล้ว บุคคลที่ก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างรวดเร็วในฐานะผู้นำในการปราบกบฏก็คือ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ในระยะเวลาต่อมา สฤษดิ์ได้โอนหุ้นขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในธนาคารเอเชียเป็นของตน [27],[35] โดยถือในนามส่วนตัว และในนามของบริษัทบูรพาสากลเศรษฐกิจ [27],[36] ซึ่งเป็นบริษัทที่สฤษดิ์ เป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นประธานกรรมการบริษัทอยู่ในขณะนั้น[27],[37]
ฉะนั้นภายหลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2494 แล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารศรีอยุธยาจึงกลายเป็นกลุ่มซอยราชครู(จอมพลผิน ชุณหะวัณ-พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์) และธนาคารเอเชียฯ เป็นของกลุ่มสี่เสาเทเวศร์ (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) [27]
หลังสิ้นสุดอำนาจการปกครองของคณะราษฎรแล้ว ธุรกิจต่างๆ เกือบทั้งหมดที่คณะราษฎรก่อตั้งขึ้นก็ถูกแปรเป็นฐานอำนาจทางเศรษฐกิจของคณะรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 และปี พ.ศ. 2494 [27] ภายใต้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
หลังจากนั้นคณะรัฐประหารได้แตกเป็น 2 กลุ่ม อย่างเด่นชัด ในเวลาต่อมา คือกลุ่มของจอมพลผิน ชุณหะวัณ-พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ (กลุ่มซอยราชครู) และกลุ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (กลุ่มสี่เสาเทเวศร์) นายทหารทั้งสองกลุ่มต่างเข้าไปควบคุมสถาบันการเงินที่สำคัญของประเทศในขณะนั้นเอาไว้ กล่าวคือ
ขณะที่กลุ่มซอยราชครูเข้าควบคุมธนาคารศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพฯ และธนาคารไทยพาณิชย์นั้น กลุ่มสี่เสาเทเวศร์ก็มีธนาคารเอเซียฯ สหธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารแหลมทองฯ เป็นฐานของกำลังตนเช่นกัน ทหารทั้งสองกลุ่มต่างแข่งขันกันสร้างธุรกิจส่วนตัวของตนขึ้น [38]
X
ส่วนกลุ่มทุนของ ขุนนิรันดรชัย ซึ่งเป็นนายทุนที่ได้แสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ ก็ยังคงดำเนินธุรกิจ ธนาคารนครหลวงไทย ต่อไปได้ เพราะยังคงมีสถานภาพเป็นท่อน้ำเลี้ยงส่งผลประโยชน์ให้กับจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี แต่ก็ต้องจ่ายผลประโยชน์ให้กับ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ด้วย [14]
โดย ขุนนิรันดรชัย เป็นนักธุรกิจที่สามารถนำทุนตั้งต้นจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไปต่อยอดธุรกิจอีกจำนวนมาก โดยเป็นทั้งผู้ถือหุ้น ประธานกรรมการ และกรรมการในหลายบริษัท เช่น บริษัท ไทยนิยมพาณิชย์ จำกัด, บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด, บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด, บริษัท นครหลวงประกันภัย จำกัด, บริษัท สหประกันภัย จำกัด, บริษัท ไทยนิยมประกันภัย จำกัด, บริษัท ไทยพาณิชประกันภัย จำกัด, บริษัท ประกันสรรพภัยแห่งประเทศไทย จำกัด, บริษัท สหศินิมา จำกัด, บริษัท แองโกลไทย มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด,บริษัท ยูไนเต็ด มอเตอร์ จำกัด, บริษัท ศรีกรุง จำกัด, บริษัท สหอุปกรณ์ จำกัด,ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (เป็นกรรมการ) ฯลฯ [39]
ตำนานธนาคารพาณิชย์สาย พนมยงค์ จึงได้ปิดฉากลง ไปตามการหมดอำนาจทางการเมืองของนายปรีดี พนมยงค์
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
อ้างอิง
[1] พรรณี บัวเล็ก, วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475-2516, สำนักพิมพ์สร้างสรรค์วิชาการจำกัด ร่วมกับ โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2529, จำนวน 1,000 เล่ม, ISBN 974-567-234-2, หน้า 32-40
[2] สังศิต พิริยะรังสรรค์, ทุนนิยมขุนนางไทย พ.ศ. 2475-2504, จัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ที่โรงพิมพ์เทพประทานพร, พ.ศ. 2526, หน้า 74-75
[3] หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์), เค้าโครงเศรษฐกิจ, จัดพิมพ์โดย โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่เกียรติคุณ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส สำหรับเด็กและเยาวชน, และร่วมจัดพิมพ์โดย สถาบันปรีดี พนมยงค์, ดำเนินการผลิตโดย สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก, พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน พ.ศ. 2542 จำนวน 2,000 เล่ม, ISBN 974-7833-11-5, หน้า 39
http://www.openbase.in.th/files/puey014.pdf[4] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยมฉะบับที่ 5, เรื่อง ให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่มีกำเนิดหรือทำขึ้นในประเทศไทย, เล่มที่ 56, วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482, หน้า 2359-2482
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/213651/SOP-DIP_P_810241_0001.pdf?sequence=1[5] ราชกิจจานุเบกษา, คำชักชวนของรัฐบาล ขอให้พี่น้องชาวไทยร่วมใจ พยายามปฏิบัติตามรัฐนิยม ฉะบับที่ 5 ด้วยดี, เล่มที่ 56, วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482, หน้า 5434-5436
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/3434.PDF[6] ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและการประกันภัย พุทธศักราช 2475, เล่มที่ 49, วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475, หน้า 239-252
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/13702/SOP-DIP_P_400881_0001.pdf?sequence=1[7] ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พุทธศักราช 2475, เล่ม 49, วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2475, หน้า 396-398
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/15035/SOP-DIP_P_400893_0001.pdf?sequence=1[8] ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475, เล่ม 49, วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2475, หน้า 461-465
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/15924/SOP-DIP_P_400901_0001.pdf?sequence=1[9] ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิจับสัตว์น้ำในเขตต์จับสัตว์น้ำสยาม พุทธศักราช 2477, เล่ม 51, วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2477, หน้า 795-802
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/14525/SOP-DIP_P_401081_0001.pdf?sequence=1[10] ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พุทธศักราช 2480, เล่ม 54, วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2480, หน้า 1230-1240
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/17124/SOP-DIP_P_401347_0001.pdf?sequence=1[11] ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติควบคุมกิจการธนาคาร พุทธศักราช 2480, เล่มที่ 54, วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2480, หน้า 1203-1210
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/17122/SOP-DIP_P_401346_0001.pdf?sequence=1[12] พรรณี บัวเล็ก, วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475-2516, สำนักพิมพ์สร้างสรรค์วิชาการจำกัด ร่วมกับ โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2529, จำนวน 1,000 เล่ม, ISBN 974-567-234-2, หน้า 42
[13] ผู้จัดการออนไลน์, ทายาท ขุนนิรันดรชัย ขอพระราชทานอภัยโทษแทนบิดากระทำมิบังควรสมัยร่วมคณะราษฎร 2475 เตือนเยาวชนศึกษาประวัติศาสตร์ อย่าเชื่อใครง่าย, เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2563 เวลา 13:43 น.
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000131996[14] ผู้จัดการออนไลน์, คำสัมภาษณ์พิเศษเพิ่มเติมของพลโทสรภฏ นิรันดร, โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, สัมภาษณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรม INTERCONTINENTAL BANGKOK, สัมภาษณ์เพิ่มเติมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยเปิดเผยเฉพาะครั้งที่ 1, ส่วนครั้งที่ 2 ยังไม่เปิดเผยในเวลานี้รอเวลาอันเหมาะสม)
https://www.facebook.com/123613731031938/posts/3727071230686152/https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000133139[15] กรมทะเบียนการค้า, กระทรวงพาณิชย์, รายงานการประชุมวิสามัญของธนาคารไทยพาณิชย์ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482
[16] พรรณี บัวเล็ก, วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475-2516, สำนักพิมพ์สร้างสรรค์วิชาการจำกัด ร่วมกับ โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2529, จำนวน 1,000 เล่ม, ISBN 974-567-234-2, หน้า 51-52
[17] รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 12 กระทู้ถามเรื่อง ที่ดินของพระมหากษัตริย์ ของนายเลียง ไชยกาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถามนายกรัฐมนตรี วันที่ 27 กรกฎาคม 2480, หน้า 302
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/383977/12_24800727_wb.pdf?sequence=1[18] พรรณี บัวเล็ก, วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475-2516, สำนักพิมพ์สร้างสรรค์วิชาการจำกัด ร่วมกับ โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2529, จำนวน 1,000 เล่ม, ISBN 974-567-234-2, หน้า 49-50
[19] กรมทะเบียนการค้า, กระทรวงพาณิชย์, รายชื่อคณะกรรมการธนาคารนครหลวงแห่งประเทศไทยจำกัด เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2484
[20] กรมทะเบียนการค้า, กระทรวงพาณิชย์, รายชื่อคณะกรรมการธนาคารเอเชียฯ จำกัด เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2482
[21] เรื่องเดียวกัน, รายงานการประชุมจัดตั้งธนาคารเอเชียฯ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2482
[22] สังศิต พิริยะรังสรรค์, ทุนนิยมขุนนางไทย พ.ศ. 2475-2504, จัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ที่โรงพิมพ์เทพประทานพร, พ.ศ. 2526, หน้า 128-131
[23] กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์, รายงานการประชุมของธนาคารเอเชียฯ จำกัด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2491
[24] กรมทะเบียนการค้า, กระทรวงพาณิชย์, รายงานประชุมจัดตั้งธนาคารไทยจำกัด เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2485
[25] พรรณี บัวเล็ก, วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475-2516, สำนักพิมพ์สร้างสรรค์วิชาการจำกัด ร่วมกับ โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2529, จำนวน 1,000 เล่ม, ISBN 974-567-234-2, หน้า 50-51
[26] กรมทะเบียนการค้า, กระทรวงพาณิชย์, รายงานประชุมจัดตั้งธนาคารแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488
[27] สังศิต พิริยะรังสรรค์, ทุนนิยมขุนนางไทย พ.ศ. 2475-2504, จัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ที่โรงพิมพ์เทพประทานพร, พ.ศ. 2526, หน้า 129-133
[28] กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์, รายงานการประชุมก่อตั้งบริษัทประกันคุ้มภัย จำกัด, 8 กันยายน พ.ศ. 2488 ณ ธนาคารเอเชีย
[29] เสวต เปี่ยมพงศานต์, สัมภาษณ์, 22 กันยายน พ.ศ. 2522 และสุพัฒน์ สุคนธาภิรมย์ การอภิปรายเรื่องกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจหลังปี พ.ศ. 2475 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2522
[30] สุพัฒน์ สุคนธาภิรมย์, เรื่องเดียวกัน
[31] สุชิน ตันติกุล, รัฐประหาร พ.ศ. 2490 (กรุงเทพ:สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2515), หน้า 2, ; ประชัน รักพงษ์, การศึกษาบทบาททางการเมืองในระบบรัฐสภาของรัฐบาลทหารและรัฐบาลพลเรือนในประเทศไทย (พ.ศ. 2481-2500) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 หน้า 240-255
[32] สุพัฒน์ สุคนธาภิรมย์, การอภิปรายเรื่องกลุ่มอิทธิพลทางเศรษฐกิจหลังปี พ.ศ. 2475
[33] เรื่องเดียวกัน, เผ่า ศรียานนท์ เข้าเป็นกรรมการของธนาคารศรีอยุธยาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2491 กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์, หนังสือรับรองรายนามกรรมการธนาคารศรีอยุธยา 13 ตุลาคม พ.ศ. 2491 กรรมการส่วนหนึ่งของธนาคารศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2499 ได้แก่ พล.ต.หลวงชำนาญศิลป์, พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ, พ.ท.ประกอบ ประยูรโภคลาภ, พ.ต.ต.ชลิต ปราณีประชาชน ฯลฯ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์, หนังสือขอเลื่อนการจดทะเบียนกรรมการธนาคารศรีอยุธยา 18 กันยายน พ.ศ. 2499
[34] สุพัฒน์ สุคนธาภิรมย์, เรื่องเดิม; ดูเอกสารอ้างอิงลำดับที่ [36] ประกอบด้วย
[35] สุพัฒน์ สุคนธาภิรมย์, สัมภาษณ์ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ; เสวต เปี่ยมพงศานต์, สัมภาษณ์ 19 กันยายน พ.ศ.2522
[36] สุพัฒน์ สุคนธาภิรมย์, สัมภาษณ์, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้าถือหุ้นธนาคารเอเชียฯ เมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2494 จนกระทั่งถึงปี 2508 ในขั้นแรก (29 มีนาคม 2494) ถือหุ้นจำนวน 50 หุ้น หมายเลข 5961-6010 และตั้งแต่ 3 มิถุนายน 2507 จนถึงปี 2508 ถือหุ้นจำนวน 3,435 หมายเลข 1-3435
หุ้นหมายเลข 5961-6010 จำนวน 50 หุ้นนั้น เดิมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นผู้ถือหุ้น (ก่อนมาเป็นของจอมพลสฤษดิ์) ต่อมาปรากฏชื่อขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นผู้ถือ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 บริษัทบูรพาสากลเศรษฐกิจ จำกัด เป็นผู้ถือ
หุ้นหมายเลข 1-3435 จำนวน 3435 หุ้นนั้น เดิมองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นผู้ถือ (ตอนที่จอมพลสฤษดิ์เร่ิมเข้าเป็นผู้ถือหุ้น) ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2495 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทบูรพาสากลเศรษฐกิจ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2503 (หลักฐานระหว่าง 23 มีนาคม 2503 จนถึงก่อน 3 มิถุนายน 2507 ไม่ปรากฏ) แล้วจึงปรากฏว่าเป็นชื่อของจอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 มิถุนายน 2507 จนถึงปี 2509. กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์, จดหมายรยงานเรื่องการอายัดหุ้นของธนาคารเอเชียฯ ของนายสมจิตต์ จรณี หัวหน้ากองหุ้นส่วนและบริษัท ทูลท่านอธิบดี 22 มกราคม 2508
จากหลักฐาน จดหมายรายงานเรื่องอายัดหุ้น... ระบุว่าในปี 2494 สฤษดิ์ ถือหุ้นอยู่ในธนาคารเอเชียฯ ในนามส่วนตัวจำนวน 50 หุ้น ปี 2495 สฤษดิ์โอนหุ้นขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจำนวน 3,435 หุ้น มาเป็นของตนโดยถือเอาไว้ในนามบริษัทบูรพาสากลเศรษฐกิจ ปี 2496 บริษัทบูรพาสากลเศรษฐกิจ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารเอเชียฯ โดยถือหุ้นจำนวน 6,110 หุ้น จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 10,000 หุ้น กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานการประชุมของธนาคารเอเชียฯ 22 ธันวาคม 2496
[37] กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์, เอกสารการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทบูรพาสากลเศรษฐกิจ จำกัด 3 มกราคม 2492
[38] สังศิต พิริยะรังสรรค์, ทุนนิยมขุนนางไทย พ.ศ. 2475-2504, จัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ที่โรงพิมพ์เทพประทานพร, พ.ศ. 2526, หน้า 282-283
[39] ประวัติ พันตรี สเหวก นิรันดร, หนังสือปาฐกถาเรื่องจิตต์ เพื่อบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตรี สเหวก นิรันดร ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ, วันที่ 22 พฤษภาคม 2499, หน้า (20)
22 ม.ค. 2564 17:12 โดย: ผู้จัดการออนไลน์