แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 646 647 [648] 649 650 651
9706
“จุรินทร์”ขอร้อง เสื้อแดงอย่ายึดรถหวอ ชี้ทำให้หมอพยาบาลตระหนก เกรงกระทบหากเกิดเหตุฉุกเฉินจริง

เมื่อวันที่ 21 เม.ย. นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข   กล่าวถึงกรณีแกนนำคนเสื้อแดงประกาศจะยึดรถพยาบาลว่า   เราไม่มีนโยบายให้รถพยาบาลไปทำอย่างอื่น ชัดเจนว่า ที่ส่งไปในการดำเนินการโดยศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาตินั้น มีความปรารถนาที่ต้องการเข้าไปช่วยดูแลผู้ป่วย  หรือผู้ได้รับบาดเจ็บจริงๆ ถ้าเกิดกรณีเหตุฉุกเฉินขึ้น  เราไม่มีวัตถุประสงค์ให้ไปดำเนินการอย่างอื่น นอกจากวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และพยาบาล จึงเป็นที่มาที่ตนเคยร้องขอทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ชุมนุมไปก่อนหน้านี้ว่า  ขอความกรุณาให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กับรถพยาบาลที่จะเข้าไปดูแลผู้ ป่วย  หรือผู้บาดเจ็บถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นด้วย 
 “ผมไม่ทราบว่าจะยึด ไปเพื่อประโยชน์อะไร และจะทำไปเพื่ออะไร ไม่ควรที่จะทำ ถ้าคิดจะทำไม่อยากให้ไปทำอะไรไม่ถูกต้องต้องขอความกรุณาเพราะไม่เช่นนั้นจะ เกิดความตระหนกกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นแพทย์และพยาบาลซึ่งเขามีความปรารถนาดี ที่ตั้งใจจะเข้าไปดูแลผู้ป่วยจริงๆ  และถ้าเกิดกรณีเหตุฉุกเฉินขึ้นมามีผู้ป่วยผู้ได้รับบาดเจ็บที่สุดผลจะกระทบ กับผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บเอง” รมว.สธ.กล่าว

 นายจุรินทร์ กล่าวว่า  ขณะนี้ยังไม่ได้สั่งเปลี่ยนแปลงแผนดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุก เฉินระดับชาติ   และถ้ามีความจำเป็นรถพยาบาลจะไปจอดสำหรับเตรียมรับในกรณีฉุกเฉินใกล้ที่ ชุมนุม  ส่วนการปรับแผนหากเกิดความไม่ปลอดภัยกับแพทย์พยาบาลนั้น  จะปรับตามความเหมาะสมแล้วแต่ช่วงเวลา ซึ่งขณะนี้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์อยู่  24 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ชุมนุมมีการเปลี่ยนแผนตลอดเวลาและจะปรับแผนตามความเหมาะสม เพื่อเป้าหมายคือต้องการดูแลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บไม่มีอย่างอื่น 

 ด้านนพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล  เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (เลขาธิการสพฉ.) กล่าวว่า  ได้มอบหมายให้นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย  ผู้ช่วยเลขาธิการสพฉ.  เข้าไปเจรจาทำความเข้าใจกับนพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มนปช.  ว่า การปฏิบัติการทางการแพทย์ไม่เคยมีวัตถุประสงค์อื่นแม้แต่การขนอาวุธ  ได้สอบถามไปทางแกนนำก็ยืนยันไม่ได้ว่ารถคันไหนของรพ.ใด แต่การพูดอย่างนี้มีจะเกิดปัญหาในการทำงานของแพทย์ ทั้งที่เราเป็นกลางช่วยเหลือทุกฝ่าย  อย่างไรก็ตามรถพยาบาลทุกคันตอนนี้ยังไม่ถูกยึด และได้สั่งให้รถพยาบาลทุกคันถอยออกห่างจากพื้นที่ชุมนุมจากจุดเดิม  เช่นเคยอยู่ตรงแยกไหนก็ให้ถอยออกมา 2-3 แยก ให้พอได้รับคำสั่งแล้วเห็นจุดเข้าไปรับส่งได้ พร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังให้มากขึ้นแล้ว

 นพ.ชาตรี กล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่กู้ชีพฉุกเฉินร้องขออุปกรณ์ในการเข้าปฏิบัติงานช่วง สลายการชุมนุมว่า ทราบว่ามีการร้องขอมาที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมการแพทย์ให้สนับสนุนแล้ว ส่วนสิ่งที่เจ้าหน้าที่กู้ชีพร้องขอ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันน้ำกรด อุปกรณ์ป้องกันแก๊สน้ำตา  ผ้าก๊อก ยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ   ซึ่งทราบว่าทางกรมการแพทย์พร้อมช่วยเหลือ

 ผู้สื่อข่าวรายงาน  เจ้าหน้าที่กู้ชีพฉุกเฉิน ได้ทำหนังสือมาถึงกระทรวงสาธารณสุข ขอสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันตัวเพิ่มเติมสำหรับใช้ปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดกรณีสลายการชุมนุมขึ้นอีก ซึ่งปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมพร้อมอนุมัติให้กรมการแพทย์ส่งอุปกรณ์ ต่างๆไปสนับสนุนตามที่มีการร้องขอเข้ามา

9707
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่อนุมัติอัตราการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนรายหัวตามโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ประจำปีงบประมาณ 2554 ว่า

สำหรับงบประมาณเหมาจ่าย รายหัวที่ไม่ลงตัว เนื่องจากสำนักงบประมาณเห็นว่าสูงเกินไป โดย สปสช.เสนอไปที่ 2,814.75 บาทต่อหัวประชากร แต่สำนักงบตัดเหลือ 2,525 บาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย เพราะตัวเลขน้อยไป ไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน จึงมอบหมายให้ไปเจรจาอีกครั้งและนำเข้าที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า (27 เม.ย.) ซึ่งขณะนี้ สปสช.ได้คำนวณอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวตัวเลขใหม่อยู่ที่ 2,600 บาท

 “สปสช.คำนวณตามความเป็นจริง เพราะอย่าลืมว่าแต่ละปีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งหลังจากใช้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าพบว่า อัตราการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายงานพบ ผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจากเดิมเข้ารักษาเพียง 1-2 ครั้งต่อปี เป็น 3 ครั้งต่อปี ตัวเลขการเข้าบริการที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าจำนวนงบประมาณการรักษาพยาบาล ย่อมสูงขึ้นด้วย” นพ.วินัยกล่าว

 อนึ่งงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวตั้งแต่ปี 2546 เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยปี 2546 อยู่ที่ 1,202.4 บาท ปี 2547 อยู่ที่ 1,308.5 บาท ปี 2548 อยู่ที่ 1,396.3 บาท ปี 2549 อยู่ที่ 1,659.2 บาท ปี 2550 อยู่ที่ 2,089.20 บาท ปี 2551 อยู่ที่ 2,100 บาท ปี 2552 อยู่ที่ 2,202 บาท และ ปี 2553 อยู่ที่ 2,401.33 บาท

9708
 เมื่อแพทย์ชนบทออกมาตี แผ่ว่าโครงการไทยเข้มแข็งของสธ.ในส่วนที่จะได้รับการจัดสรรตามพ.ร.บ.ให้ อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ จำนวน 7.5 หมื่นล้านบาท มีการส่อทุจริต แม้จะยังไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างเพราะเงินงบประมาณยังไม่ได้รับการจัดสรร เนื่องจากพ.ร.บ.ยังไม่ผ่านสภา แต่ก็มีการเตรียมการ ทั้งในประเด็นการจัดซื้อครุภัณฑ์หลายรายการและการตั้งค่าราคาประเมินสิ่งก่อสร้างสูงเกิน จนทำให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งของสธ. ที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ที่สรุปว่ามีการส่อเจตนาทุจริต และส่งผลให้นายวิทยา แก้วภราดัย ในฐานะรมว.สาธารณสุข ต้องลาออกจากตำแหน่ง

 ขณะที่ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดสธ. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาโครงการไทยเข้มแข็ง และมีคณะอนุกรรมการพิจารณาถึง 8 ชุด อาทิ คณะอนุกรรมการทบทวนรายการและราคาของครุภัณฑ์ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง, คณะอนุกรรมการกำหนดรายการสิ่งก่อสร้างของโรงพยาบาลชุมชนใหม่, คณะอนุกรรมการพิจารณาความเหมาะสม และทบทวนการจัดสรรของหน่วยบริการปฐมภูมิ, คณะอนุกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและทบทวนการจัดสรรของโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปหรือบริการตติยภูมิ

 แต่ดูเหมือนบรรดาหมอๆ จะเถียงกันไม่จบ โดยเฉพาะประเด็นราคาประเมินสิ่งก่อสร้าง เมื่อฝ่ายแพทย์ชนบทพยายามจี้ให้มีการลดระดับราคาลง ส่วนฝ่ายกระทรวงเห็นว่าราคาที่ตั้งและมีการลดลงมาบ้างแล้วนั้น ไม่สามารถลดต่ำลงได้อีก เนื่องจากอาจเป็นราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้สถานพยาบาลไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จนต้องสำรองเงินของสถานพยาบาล สมทบ จึงส่งเรื่องให้สำนักงบประมาณฟันธงราคา ระหว่างนั้นครม.ก็มีมติให้ทุกกระทรวงนำงบประมาณเดิมของไทยเข้มแข็งในส่วน พ.ร.บ. มารวมกับงบปกติประจำปี 2554 เพื่อเสนอในคราวเดียวกัน

 "ครม.ให้นำงบประมาณที่ตั้งไว้ในงบฯโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของพ.ร.บ.มา ปรับตั้งเป็นงบประมาณปกติประจำปี 2554 แทน ซึ่งในส่วนของสธ.จะพิจารณาคงโครงการที่มีความจำเป็นมากที่สุดไว้เพื่อดำเนินการในปี 2554" นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข กล่าว 

 ล่าสุด ในการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขที่มีนายจุรินทร์เป็นประธานเมื่อวัน ที่ 19 เมษายน 2553 เห็นชอบ โครงการไทยเข้มแข็งที่อยู่ในส่วนของพ.ร.บ. ปี 2554 เป็นจำนวน 19,295.728 ล้านบาท ประกอบด้วยงบประมาณก่อสร้าง 8,257 ล้านบาท งบครุภัณฑ์ 6,563 ล้านบาท งบในการผลิตและพัฒนาบุคลากร 1,112 ล้านบาท งบชายแดนภาคใต้ 531.73 ล้านบาท และงบกรมการแพทย์ 2,316.63 ล้านบาท ตัดทอนจากเดิมที่วางไว้ 7.5 หมื่นล้านบาทถึงกว่า 5 หมื่นล้านบาท

 ทั้งที่ หากเป็นไปตามแผนเดิมที่จะได้รับจัดสรรงบฯเต็มเม็ดเต็มหน่วย 7.5 หมื่นล้านบาท จะใช้เฉพาะส่วนการก่อสร้างปรับปรุงสถานพยาบาลทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ประมาณ 60% หรือกว่า 4 หมื่นล้านบาท, จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ 27% คิดเป็นราว 1.5 หมื่นล้านบาท จะเห็นว่าเฉพาะงบฯก่อสร้างถูกตัดหายไปถึง 3 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วนงบฯครุภัณฑ์หายไปเกือบ 1 หมื่นล้านบาท

 "ในการพิจาณางบฯ มีการตัดครุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมออกไป 7 รายการ อาทิ เครื่องตรวจชีวเคมีในเลือด หรือออโต้เมท เครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตระบบปิด หรือยูวีแฟน และมีการปรับราคาลง ทั้งงบฯ สิ่งก่อสร้าง และการจัดซื้อครุภัณฑ์ โดยงบฯ สิ่งก่อสร้างจะถือราคาของคณะกรรมการทบทวนฯ และสำนักงบประมาณเป็นหลัก ส่วนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ปรับราคาให้ต่ำลงจากเดิมราวร้อยละ 10-15 หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังให้มีการกระจายการใช้งบเพิ่ม จากเดิมกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ 11 จังหวัดเท่านั้น” นายจุรินทร์ กล่าว

 สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นผลจากใครหรืออะไร ท้ายที่สุด ผู้ที่เสียโอกาสและประโยชน์ที่จะได้ใช้บริการสาธารณสุขที่ดี ก็คือ ชาวบ้านตาดำๆ ที่ทุกวันนี้ยามไปโรงพยาบาลแทบจะไม่มีที่ให้นอน เตียงผู้ป่วยล้นถึงทางเดิน ไม่เว้นแม้แต่หน้าห้องน้ำ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งบางแห่งไร้การก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใหม่มานานนับสิบปี ขณะที่ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นภายหลังมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และใช้บริการในโรงพยาบาลเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นถึง 160%

9709
มติ สปสช.สำรองยาที่มีอัตราการใช้ต่ำ โดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง กลุ่มยาต้านพิษ 6 รายการ ใช้งบ 5 ล้าน เป็นทุนหมุนเวียน หลังพบผู้ป่วยรับพิษจากนิคมอุตสาหกรรม-โรงงาน
       
       วันนี้ (19 เม.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรื่อง การเพิ่มการเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มต้านพิษในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ว่า
       
       “ยา กำพร้า” หมายถึง ยาที่มีอัตราการใช้ต่ำโดยไม่มียาอื่นมาใช้ทดแทนได้ และมีปัญหาการขาดแคลน แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อวินิจฉัย บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือรักษาโรคที่พบได้น้อย หรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรง หรือโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง
       
       โดยได้มีมติให้ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท เป็นทุนหมุนเวียน และเริ่มดำเนินการในยากลุ่มต้านพิษ 6 รายการ ในจำนวนยากำพร้ากลุ่มต้านพิษ 36 รายการ ซึ่งเป็นยาที่มีความจำเป็นต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินอย่างทันท่วงที โดยคาดว่าจะสามารถกระจายยาไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ภายใน 3-6 เดือน
       
       “ปัญหาที่ผ่านมา คือ ยากลุ่มดังกล่าวบริษัทผลิตยาได้กำไรน้อย จึงมีการทยอยเลิกผลิต แต่ยังมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ต้องการใช้ยาดังกล่าว หากไม่รับจะทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องมีการสำรองยา โดยให้องค์การเภสัชกรรมและสภากาชาดไทยเป็นผู้จัดหา โดยการผลิตหรือนำเข้าอย่างใดอย่างหนึ่งในงบประมาณที่กำหนด ซึ่งนอกจากผู้ป่วยบัตรทองแล้ว ยังเป็นการสำรองเผื่อให้ผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และข้าราชการได้ใช้ด้วย” นายจุรินทร์กล่าว
       
       นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ยังมีมติให้เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติพิจารณารายการยาดัง กล่าวเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ หมวดยากำพร้า เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงยา ส่งผลให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
       
       ผศ.สำลี ใจดี ประธานอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาการเข้าถึงยา กล่าวว่า ยากำพร้าที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน 6 รายการ ได้แก่
1.Dimercaprol inj (BAL)
2.Sodium nitrite inj
3.Sodium thiosulfate inj
4.Methylene blue inj
5.Glucagon inj
6.Succimer cap (DMSA)
ซึ่งจะใช้ในผู้ป่วยผู้ได้รับพิษในกรณีที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ประชาชนทั่วไป เช่น ในกรณีเกิดไฟไหม้ หรืออุบัติเหตุในครัวเรือน ประชาชนที่เกิดพิษ หรือเป็นโรคจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม และชุมชนในเขตนิคมอุตสาหกรรม และศูนย์อาชีวเวชศาสตร์และพิษวิทยา กระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งขึ้น เนื่องจากปัญหามาบตาพุด

9710
 “จุรินทร์” ตั้งงบพัฒนางาน สธ.ในปี 2554 จำนวนกว่า 1 แสนล้านล้านบาท โดยรวมงบไทยเข้มแข็งที่อยู่ในส่วนพรบ.หลังจากปรับลดราคาค่าก่อสร้าง ตัดรายการครุภัณฑ์ทิ้ง 7 รายการ คงการจัดซื้อรถพยาบาล เพราะมีความจำเป็น
       
       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร สธ.ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปการเสนอของบประมาณประจำปี 2554 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.งบปกติของปี 2554 จำนวนทั้งสิ้น 93,532.59 ล้านบาท และ 2.งบไทยเข้มแข็ง ที่ ครม.มีมติให้แต่ละกระทรวงนำงบในส่วนของ พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทาง ด้านเศรษฐกิจ พ.ศ. ... ไปรวมกับงบปกติประจำปี 2554 โดยเสนอของบ จำนวน 19,295.728 ล้านบาท แบ่งเป็นงบสิ่งก่อสร้างจำนวน 8,757 ล้านบาท ครุภัณฑ์ 6,563 ล้านบาท การผลิตและพัฒนาบุคลากร 1,112.168 ล้านบาท การลงทุนระดับชุมชนอย่างการช่วยเหลือชายแดนใต้ จำนวน 531.738 ล้านบาท และงบของกรมการแพทย์อีก 2,316.633 ล้านบาท
       
       นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า หลักในการพิจารณาตัดลดครุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมออกไป 7 รายการ ตามผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุด นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ได้แก่ เครื่องตรวจชีวเคมีในเลือด หรือ ออโต้เมท เครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตระบบปิด หรือยูวีแฟน เครื่องพ่นยุงติดรถยนต์ ฯลฯ โดยงบไทยเข้มแข็งมีการปรับราคาลง ทั้งงบสิ่งก่อสร้าง และการจัดซื้อครุภัณฑ์ โดยงบสิ่งก่อสร้างจะถือราคาที่คณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขปัญหา โครงการไทยเข้มแข็งที่มี ปลัด สธ.เป็นประธาน เป็นหลัก ซึ่งได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการทบทวนรายการและราคาของครุภัณฑ์ฯ โดย นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ เป็นผู้จัดทำ ประกอบกับราคาที่ขอให้สำนักงบประมาณ เป็นผู้กำหนดราคากลางในกรณีการก่อสร้างอาคารชุด ซึ่งเป็นอาคารที่มีรูปแบบเดียวกัน
       
       “สำหรับครุภัณฑ์ทางการแพทย์ปรับราคาให้ต่ำลงจากเดิมราวร้อยละ 10-15 หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังให้มีการกระจายการใช้งบเพิ่ม จากเดิมกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่ 11 จังหวัดเท่านั้น และยังให้ความสำคัญเพิ่มเติมโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ ที่จะต้องปรับศักยภาพขึ้นไปเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายของโรงพยาบาลชุมชน 25 แห่งอีกด้วย” นายจุรินทร์ กล่าวและว่า สำหรับรถพยาบาลจำนวน 829 คัน คันละ 1.85 ล้านบาท ยังไม่ได้ตัดทิ้ง เพราะผลการพิจารณาของคณะกรรมการทบทวน พบว่า เป็นเรื่องที่จำเป็น และจะต้องมีเครื่องมือทางการแพทย์ 2 รายการ ได้แก่ เครื่องช่วยหายใจและเครื่องกระตุกหัวใจ ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาแล้ว
       
     

9711
นพ.เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความร่วมมือกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ในการแก้ปัญหาค่ายาสวัสดิการข้าราชการสูงปีละกว่า 60,000 ล้านบาท ว่า ในส่วนของ สธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาสวัสดิการข้าราชการขึ้น 1 ชุด มีตนเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่ในการวางกรอบหาแนวทางการควบคุมค่ารักษาพยาบาลของสวัสดิการข้า ราชการ ในโรงพยาบาลสังกัด สธ.กว่า 880 แห่งให้มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายยาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะผู้ป่วยนอก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้ยาสูงเกินความจำเป็น ทั้งนี้ จะประชุมครั้งแรกในวันที่ 22 เมษายน ก่อนจะนำข้อสรุปเบื้องต้นเสนอต่อรัฐมนตรี สธ.และเสนอเข้าสู่คณะกรรมการชุดใหญ่ของกรมบัญชีกลางที่ถูกตั้งขึ้นตามมติคณะ รัฐมนตรี (ครม.) ให้ดำเนินการหาแนวทางควบคุมค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนออมเพื่อสุขภาพ หรือ เมดิเซฟ (Medisave) สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่
       
       “คณะกรรมการของ สธ.เป็นเพียงคณะกรรมการย่อยที่ทำงานตามกรอบของคณะกรรมการชุดใหญ่ระดับชาติ ของกรมบัญชีกลาง โดยเราจะเป็นเพียงผู้เสนอความเห็นในมุมของโรงพยาบาลสังกัด สธ.ทั้งหมด และนำแนวทางดังกล่าวมาปฏิบัติจริง แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจจะมีการทำงานควบคู่กันไปก่อน โดยจะหาแนวทางในการออกหลักเกณฑ์ข้อบ่งชี้การสั่งจ่ายยาของบุคลากรทางการ แพทย์ อาทิ การสั่งจ่ายยาให้ตรงกับระดับความรุนแรงของโรค ไม่ใช่เป็นไม่มาก แต่จ่ายยาให้เกินความจำเป็น ก็จะเป็นการสิ้นเปลือง ซึ่งการออกหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะมีแพทยสภา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์สาขาต่างๆ เข้าร่วม” นพ.เสรี กล่าว
       
       เมื่อถามว่า คณะกรรมการชุดนี้จะทำหน้าที่ดูแลพฤติกรรมการสั่งจ่ายยาของแพทย์ที่ส่อไปใน ทางไม่เหมาะสมหรือไม่ รองปลัด สธ.กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้จะมีตัวแทนแพทยสภาร่วมด้วย ซึ่งหากมีข้อมูลพบการกระทำผิดจริงก็สามารถเอาผิดทางจริยธรรมได้ แต่เบื้องต้นยังไม่พบข้อมูลชัดเจน เพราะอย่าลืมว่าไม่ว่าสาขาวิชาใดย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

9712
ยาปลอมเป็นปัญหาที่อันตรายถึงแก่ชีวิต ยิ่งในสมัยนี้ ขบวนการค้ายาปลอมยิ่งทำมาค้าขึ้นโดยอาศัยช่องทางขายทางอินเตอร์เน็ต
วารสารเนเจอร์เมดิซิน ฉบับเดือน เม.ย. เผยว่าปัจจุบันยาปลอมในตลาดทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นถึง 25 ชนิดต่อปี

นางโรซานน์ คัมซิ บรรณาธิการวารสารดังกล่าวระบุว่าปัญหายาปลอมระบาดในประเทศที่กำลังพัฒนา ธนาคารโลกชี้ว่าในแต่ละปี มีเด็กเสียชีวิตราว 4 พันคน เนื่องจากยาปลอมที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้วประสบปัญหานี้เช่นกันจากการสั่งยาทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งการซื้อยาออนไลน์ จ่ายเงินน้อยกว่าเดินเข้าไปซื้อที่ร้านขายยา แต่ข้อเสียก็คือไม่รู้ว่ายาที่ได้นั้นเป็นยาจริงหรือยาปลอม เพราะมีผู้สั่งยาออนไลน์เสียชีวิต หลังจากกินยาที่มีส่วนผสมของยาเบื่อหนูเข้าไป

ประเทศต่างๆ มีแผนรับมือกับปัญหายาปลอมที่แตกต่างกัน เช่น ในจีน เจ้าหน้าที่ห้องทดลองเดินทางไปยังโรงงานผลิตยาทั่วประเทศเพื่อตรวจสอบยา ขณะที่กาน่า องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรกลุ่มหนึ่งขอให้ผู้บริโภคส่งรหัส 8 ตัว บนกล่องยามาทางโทรศัพท์มือถือเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของยานั้น ส่วนที่อินเดีย รัฐบาลให้ผู้ที่พบยาปลอมรีบส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตยาปลอมก็มีการปรับเปลี่ยนกลวิธีการให้แนบเนียนและตรวจสอบได้ยากขึ้น ประกอบกับขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานด้านการปราบปรามยาปลอมทั่วโลก แม้ตำรวจสากลตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ทำงานกันไม่กี่คน

ขณะนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของยา ปลอมกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างแข็งขันจริงจังจากทุก ประเทศ

9713
“หมอเกรียง” ร่อนแถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบทแสดงความเสียใจต่อผู้บาดเจ็บ และไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตจากกรณีความรุนแรงเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหานี้ตามแนวประชาคมโลก
       
       วันนี้ (16 เม.ย) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ในฐานะผู้ประสานงานชมรมแพทย์ชนบท ได้ส่งแถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท กรณีการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม นปช.และความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ความว่า “...ตามที่ได้มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ หรือ นปช.เพื่อเรียกร้องให้มีการยุบสภา ตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา และรัฐบาลโดยศูนย์อำนวยการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศฮฉ.) ได้ตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้า เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนับจนถึงขณะนี้ 24 ราย และบาดเจ็บเข้ารับการรักษาอีกจำนวนหนึ่งนั้น
       
       ชมรมแพทย์ชนบทขอแสดงความเสียใจและขอร่วมไว้อาลัยต่อความสูญเสียที่ เกิดขึ้น ทั้งชีวิตของทหารและประชาชน ซึ่งล้วนแต่เป็นพี่น้องร่วมชาติด้วยกันทั้งสิ้น และขอแสดงความเห็นดังนี้
       
       1) ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ เป็นความขัดแย้งต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 ของประชาชนและแนวร่วม 2 กลุ่ม ซึ่งเกี่ยวโยงมาจากปัญหารากเหง้าเชิงโครงสร้างในสังคมไทยที่ดำรงอยู่มาอย่าง ยาวนาน และไม่อาจปฏิเสธการมองปรากฏการณ์โดยไม่คำนึงถึงสาเหตุที่แท้จริงได้ว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม ทุจริตคอร์รัปชัน และความเป็นธรรม มีส่วนสำคัญที่ชวนให้ประชาชนมาร่วมชุมนุม ดังนั้น การวิเคราะห์ปัญหาโดยละเลย ซึ่งปัญหาเชิงโครงสร้าง ย่อมไม่อาจแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน จึงขอร่วมสนับสนุนทุกฝ่ายที่พยายามเรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศไป พร้อมกันด้วย โดยชมรมแพทย์ชนบทพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในเวทีของการปฏิรูป
       
       2) การแก้ปัญหาต้องหลีกเลี่ยงความรุนแรงให้ได้ และคงไม่สามารถยุติได้โดยใช้กำลังเข้าทำลายล้างกัน สภาวการณ์ปัจจุบันนับว่าอันตรายและน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 เมษายน 2553 และความรุนแรงที่เกิดขึ้นรายวันทั้งกรณีการยิง หรือการวางระเบิด ตลอดจนการใช้วาจายั่วยุให้เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนา ของทุกฝ่ายก็ตาม รัฐบาลควรต้องแสวงหาความร่วมมือของทุกฝ่าย เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและขจัดความรุนแรง ทั้งนี้ ทุกฝ่ายต้องเป็นไปภายใต้กรอบของกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน
       
       3) หนทางของการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาโดยยึดแนวทางสันติวิธี เป็นหนทางที่ทุกฝ่ายพึงเรียกร้อง ซึ่งสอดคล้องกับประชาคมโลก ที่ต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบ สันติ มีอารยวิถี โดยยึดแนวทางประชาธิปไตย เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและประชาชนคนไทยทุกคนที่จักต้องดำเนินการให้เกิดขึ้น ให้จงได้ ชมรมแพทย์ชนบทจึงใคร่ขอเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายลดทิฐิมานะลง และกลับสู่หนทางแห่งสันติ โดยการเจรจาที่ลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคให้เร็วที่สุด และขอชมเชยและให้กำลังใจทุกฝ่ายที่ร่วมกันปฏิบัติการเพื่อให้เกิดสันติขึ้น ในบ้านเมืองนี้
       
       เชื่อว่า ทั้ง 3 ความเห็นนี้ น่าจะสอดคล้องกับเจตจำนงของสังคม แม้นว่าขณะนี้เสมือนยังไม่มี ความเคลื่อนไหวตอบรับจากทั้ง 2 ฝ่าย แต่เชื่อมั่นในพลังของทุกฝ่ายที่จักนำพาความสุข สงบ สันติ และความเป็นธรรม มาสู่สังคมไทยให้จงได้
       
       เชื่อมั่นและศรัทธา
       ชมรมแพทย์ชนบท
       16 เมษายน 2553”

9714
 “จุรินทร์” ลงนามระเบียบให้สิทธิรักษาฟรี ผู้นำศาสนา และผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศชาติ พร้อมลดค่าห้องพิเศษ อาหารพิเศษร้อยละ 50 ขณะนี้อยู่ระหว่างรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
       
       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ลงนามออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลฉบับที่ 5 พ.ศ.2553 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา เพื่อให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลแก่กรรมการอิสลามประจำจังหวัด กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น พระภิกษุ และสามเณร รวมทั้งบุคคลที่ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า และหากอยู่ห้องพิเศษจะได้รับสิทธิส่วนลดค่าห้องพิเศษและอาหารพิเศษ ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
       
       ตามระเบียบนี้ ได้กำหนดการรับสิทธิเป็น 2 ประเภท คือประเภทที่ 1 ได้รับสิทธิทั้งตนเอง รวมถึงบุคคลในครอบครัว มีทั้งหมด 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป 2.ทหารและเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งไปร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี หรือไปทำการรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม 3.อาสาสมัครมาลาเรียตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุข 4.ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัย 5.ผู้บริจาคเงิน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นใดให้กับกระทรวงสาธารณสุขซึ่งคำนวณเป็นเงินแล้วไม่น้อย กว่า 2 ล้านบาท 6.ผู้บริหารโรงเรียนและครูของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลาม ควบคู่กับวิชาสามัญหรือวิชาชีพ ในเขตจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต และ 7. กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทศไทย
       
       ประเภทที่ 2 ได้รับสิทธิเฉพาะตัว ประกอบด้วย 10 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน 2. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน 3. ทหารและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปราบปรามผู้ก่อการร้าย 4. บุคคลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามผู้กระทำความ ผิด 5. บุคคลผู้ถูกโจรทำร้ายร่างกาย 6. สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ซึ่งมีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 24 ครั้งขึ้นไป 7. หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการของกระทรวงกลาโหม 8. ผู้บริจาคเงิน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นใดให้กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคำนวณเป็นเงินแล้วไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท 9. พระภิกษุ และสามเณร และ 10. อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น
       
       ขณะนี้ ระเบียบดังกล่าว อยู่ระหว่างขั้นตอนรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

9715
ไม่ได้อยู่เวรเหมือนกัน กลับบ้านเยี่ยมผู้ใหญ่
คลายเครียด หลบเรื่องยุ่งๆ ของบ้านเมือง

...........แล้วก็ได้เวลา กลับมาเครียด
กับงานประจำๆอีก(+การเมืองสีแดง)

9716
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.)ดำเนินการจัดทำแผนเร่งรัดในการยกระดับสถานีอนามัย (สอ.) 9,770 แห่ง

เป็นโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยจะประสานสำนักงบประมาณเพื่อของบประมาณในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 เพิ่มเติมอีก 8,200 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับปรุงกายภาพของ สอ. พัฒนาบุคลากรและความพร้อมในส่วนอื่นๆ

 นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า การยกระดับแบ่ง สอ.เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.รพ.สต.เดี่ยว มี 2,800 แห่ง จะมีบุคลากรหลัก 4 ตำแหน่ง คือ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน นักวิชาการสาธารณสุขชุมชน แพทย์หรือพยาบาลเวชปฏิบัติหรือพยาบาลวิชาชีพ และสหวิชาชีพ วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง เช่น เภสัชกร เป็นต้น และ 2.รพ.สต.เครือข่าย ซึ่ง 1 เครือข่ายจะประกอบด้วย รพ.สต. 2-3 แห่ง รวม 2,700 เครือข่าย ภายใน รพ.สต.จะมีบุคลากรเพิ่มจาก 4 ตำแหน่งแรกอีก 3 ตำแหน่ง เป็นสหวิชาชีพต่างๆ ส่วน รพ.สต.ที่นำร่องในปี 2552 ทั้ง 1,000 แห่ง อยู่ระหว่างการประเมินผล

 “กรณีรถพยาบาล 829 คัน ที่เดิมจะใช้งบ พ.ร.ก.ที่อนุมัติ 1,400 ล้านบาทในการจัดซื้อใช้ใน รพ.สต.นั้น นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กำลังดำเนินการทบทวนว่าควรจะยกเลิกหรือไม่” นายจุรินทร์กล่าว

 ด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัด สธ. กล่าวว่า งบไทยเข้มแข็งในส่วนของ พ.ร.ก.ที่จะขอเพิ่มจะใช้ยกระดับ สอ.เป็น รพ.สต.ในปี 2553 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.สอ.ที่รับผิดชอบประชากรต่ำกว่า 3,000 คน จัดสรรแห่งละ 5 แสนบาท มี 2,800 แห่ง 2.รับผิดชอบ 3,001-7,000 คน แห่งละ 7 แสนบาท มี 5,470 แห่ง และ 3.มากกว่า 7,000 คน แห่งละ 9 แสนบาท มี 1,500 แห่ง และ 4.สอ.ที่เป็นอาคารชั้นเดียวและก่อสร้างใหม่ 400 แห่ง จัดสรรแห่งละ 4,050,000 บาท

 อนึ่งก่อนหน้านี้มีการจัดสรรงบประมาณในส่วนของ พ.ร.ก.เพื่อปรับปรุง สอ.เป็น รพ.สต. เพียง 2,000 แห่ง แห่งละ 1.35 ล้านบาท จาก สอ.ทั้งหมด 9,770 แห่ง

9717
“จุรินทร์” มั่นใจ ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขทุกฝ่ายได้ประโยชน์(story-แพทย์ได้ประโยชน์จริงหรือเปล่า ถามแพทย์ๆเค้าดูหรือยัง) ช่วยลดฟ้องร้องแพทย์ ยึดหลักการเยียวยาผู้ป่วยทันทีไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด รัฐสนับสนุนงบประมาณร่วมกับโรงพยาบาลรัฐ-เอกชนร่วมสมทบเงิน สบส.เจ้าภาพดูแลกองทุน แก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยุบให้การช่วยเหลือตาม ม.41 ย้ำไม่ตัดสิทธิฟ้องอาญา
      
       วันนี้ (8 เม.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 เมษายน คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... เนื้อหาสาระให้มีการจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณ สุข 1 กองทุน โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณจำนวนหนึ่งและโรงพยาบาลทั้งที่สังกัดรัฐและเอกชน ร่วมสมทุบอีกจำนวนหนึ่ง สำหรับใช้เป็นค่าชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ได้รับความเสียหาย ไม่ต้องรอพิสูจน์ผู้กระทำผิด ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) จะเป็นผู้ดูแลสำนักงานกองทุน ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น
      
       นายจุรินทร์ กล่าวว่า การบริหารกองทุนจะมีคณะกรรมการ 1 ชุด มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน อธิบดีกรม สบส.เป็นเลขานุการ รวมทั้งตั้งอนุกรรมการที่สำคัญ 2 ชุด คือ อนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการสาธารณสุข ทำหน้าที่พิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น
และ 2.อนุกรรมการประเมินเงินชดเชย มีหน้าที่พิจารณาว่าจำนวนเงินที่จ่ายชดเชยมีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ ในการพิจารณาจ่ายเงินชดเชยจะยึดตามหลักชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดตาม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
      
       “ถ้ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะเกิดประโยชน์ทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการ จะมีส่วนช่วยให้ผู้เสียหายได้รับเงินเยียวยาชดเชยทันท่วงที ไม่ต้องรอการฟ้องศาลเพื่อพิสูจน์ถูกผิด ช่วยลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และผู้ป่วยได้มาก(story-แน่ใจหรือว่า จะมีการฟ้องร้องแพทย์น้อยลง) เพราะหากตกลงค่าสินไหมกันได้ก็ไม่จำเป็นต้องฟ้องศาล อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้ตัดสิทธิการฟ้องทางอาญา” นายจุรินทร์ กล่าว
      
       นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ขั้นตอนต่อจากนี้จะส่งร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปยัง คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามขั้นต่อไป
        
       ซึ่งในรายละเอียดวิธีปฏิบัติยัง สามารถปรับแก้ให้เหมาะสมได้ นอกจากนี้ ครม.ยังให้การเห็นชอบการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยให้ยกเลิกมาตรา 41 ที่ระบุให้มีการจ่ายเงินชดเชยเบื้องต้นให้ผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข หาก พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้มีผลบังคับใช้ด้วย เพื่อให้การจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ป่วยไม่ซ้ำซ้อนและไม่ให้เกิดความสับสน

9718
ผลสำรวจล่าสุดพบว่า ชาวอเมริกันไม่ถึงครึ่งสนับสนุนแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขของประธานาธิบดี “บารัค โอบามา” ที่เพิ่งลงนามเป็นกฎหมายไปหมาดๆ

หนังสือพิมพ์ “ยูเอสเอ ทูเดย์” และ บริษัท “กัลลัพ” ซึ่งรับทำการสำรวจความคิดเห็น พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ร้อยละ49 เห็นว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นสิ่งดี ในขณะที่อีกร้อยละ 40 เห็นว่าไม่ดี แต่ยังมีผู้ตอบแบบสอบถามอีกร้อยละ 11 ที่ไม่มีความเห็นต่อเรื่องนี้

จากผลสำรวจ ระบุว่า เสียงสนับสนุนกฎหมายหลักประกันสุขภาพส่วนใหญ่ มาจากผู้ตอบแบบสอบถามที่ชื่นชอบพรรค “เดโมแครต” โดยร้อยละ 79 เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ ขณะที่ผู้สนับสนุนจากกลุ่มผู้ชื่นชอบพรรค “รีพับลิกัน” ยังแอบมีเข้ามาถึงร้อยละ 14 ทั้งนี้ผู้คัดค้านกฎหมายฉบับดังกล่าวส่วนใหญ่ ร้อยละ 76 เป็นผู้ชื่นชอบพรรครีพับลิกัน ซึ่งเห็นว่า นี่เป็นกฎหมายที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป

ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามเพียงร้อยละ 15 มีความกระตือรือร้นและสนใจกฎหมายฉบับนี้ แต่อีกร้อยละ 19 บอกว่า รู้สึกไม่พอใจที่กฎหมายผ่านการรับรองจากรัฐสภา

กฎหมายประกันสุขภาพจะช่วยให้ชาวอเมริกันราว 32 ล้านคน ที่ไม่มีประกันสุขภาพได้มีประกันสุขภาพ โดยจะบังคับให้ทุกคนซื้อประกันสุขภาพไม่เช่นนั้นจะถูกปรับ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองให้คนทุกชนชั้นในประเทศนี้มีสุขภาพดีถ้วนหน้า (story-สู้ของไทยไม่ได้ บังคับให้ทุกคนห้ามจ่าย อยู่เฉยๆ รัฐบาลจ่ายให้เอง)

9719
ผอ.สำนักค่าตอบแทน สวัสดิการฯ เผยตรวจสอบ30ขรก.เวียนเบิกจ่ายยาตามร.พ. ระบุก่อนหน้าแจ้งดำเนินคดีแล้ว8คน "จุรินทร์"ให้รองปลัดสธ.ร่วมกก.ควบคุม
น.ส.สุวิภา สุขวณิชนันท์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง กล่าวชี้แจงระหว่างการลงนามข้อตกลงเรื่องการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน กรณีข้าราชการ 8 คน มีพฤติกรรมเวียนเทียนเบิกจ่ายยาซ้ำซ้อนว่า กรมบัญชีกลางได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับข้าราชการเกษียณอายุราชการที่รับบำนาญและบุคคลในครอบครัวที่มีพฤติกรรมไปเวียนเทียนเข้ารักษาในหลายโรงพยาบาลเพื่อเบิกจ่ายยาโดย 1 ใน 8 คนนี้ ศาลได้พิพากษาไปแล้ว 1 ราย โดยผู้กระทำผิดรับสารภาพ

แต่กรณีนี้ทางกรมบัญชีกลางไม่ได้เอาผิดกับแพทย์ที่เป็นผู้สั่งจ่ายยาให้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากพฤติกรรมตัวผู้ใช้สิทธิเอง อย่างไรก็ตาม ยังมีรายชื่อของข้าราชการมีพฤติกรรมดังกล่าวอีก 30 ราย แต่อยู่ระหว่างการหาข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งยังไม่ได้ฟ้องร้องเพราะต้องดูข้อเท็จจริงก่อน 

น.ส.สุวิภา กล่าวว่า จากการสำรวจพบโรงพยาบาล 34 แห่ง ที่มีคนไข้เข้าไปรักษาพยาบาลมาก ในปี 2552 ตั้งแต่ 1 แสนครั้งขึ้นไป ซึ่งในโรงพยาบาล 34 แห่งนั้น ครึ่งหนึ่งเป็นการเบิกจ่ายในส่วนผู้ป่วยนอก และในจำนวนนี้ร้อยละ 80 เป็นค่ายา และจากการตรวจสอบรายการยาพบว่า ร้อยละ 60 เป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ จึงคิดว่าต้องมีการดำเนินการตรงจุดนี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการทำเพื่อลิดรอนสิทธิการรักษาของข้าราชการ แต่ดำเนินการเพื่อให้การใช้งบประมาณซึ่งเป็นภาษีของประชาชนไปเป็นอย่างเหมาะสม และให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารเรื่องนี้

"คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลโรงพยาบาลต่างๆ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เข้าร่วมด้วยเนื่องจากการดำเนินการเรื่องนี้ต้องโปร่งใส เป็นที่ยอมรับของทุนกฝ่าย” น.ส.สุวิภา กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ตรวจสอบแพทย์มีพฤติกรรมยิงยา โดยให้ยาที่ไม่จำเป็นใช้ในการรักษาแก่ผู้ป่วยหรือไม่ น.ส.สุวิภา กล่าวว่า คงไม่ใช่อย่างนั้น ที่เราตรวจพบเป็นพฤติกรรมการเบิกจ่ายยาในลักษณะซ้ำซ้อน เช่น ยาลดกรด แทนที่จะจ่ายยา 1 ตัวก็จ่าย 2 ตัว ซึ่งกรมบัญชีกลางได้แจ้งโรงพยาบาลให้ดำเนินการ และเราคงไม่ดำเนินการเรื่องนี้เพราะเป็นดุลพินิจของแพทย์ที่จะใช้ยาเอง อย่างไรก็ตามถ้าพบอะไรผิดสังเกต เราจะส่งเรื่องให้แพทยสภาตรวจสอบเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างที่เหมาะที่ควรอยู่แล้ว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขไปร่วมประชุมในคณะกรรมการที่ ครม.ตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการเบิกจ่ายค่ารักษาในระบบสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งที่ประชุม ครม.ได้ให้หลักไว้ว่า กรณีจ่ายยาให้เบิกจ่ายยาในกลุ่มบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นหลัก ยกเว้นยานอกบัญชีที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการรักษา และไม่มียาอื่นที่จะทดแทนได้ ก็อนุญาตให้ดำเนินการได้ ซึ่งคณะกรรมการจะไปดูในรายละเอียดและรายงานมาให้ทราบ

9720
วอชิงตัน ดีซี (เอพี) - ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าของสหรัฐ ลงนามในร่างกฏหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ซึ่งมองกันว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศครั้งใหญ่สุดของสหรัฐ นับจากทศวรรษที่ 1960 นับเป็นชัยชนะของนายโอบามาในประเด็นที่เขาให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆมา ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อกว่า1 ปีก่อน

นายโอบาม่ากล่าวในพิธีลงนามที่ทำเนียบขาวท่ามกลางบรรดานักการเมืองและ ประชาชนผู้สนับสนุนร่างกฏหมายฉบับนี้ว่า ได้เพิ่งทำสิ่งที่เป็นการยกย่องความเชื่อหลักที่ว่าคนทุกคนสมควรมีความ ปลอดภัยขั้นพื้นฐานในเรื่องสุขภาพ เพราะกฏหมายฉบับนี้จะขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมชาวอเมริกันเพิ่มอีก 32 ล้านคน หรือช่วยให้ร้ครอบคลุมร้อยละ 95 ของชาวอเมริกัน เพิ่มจากร้อยละ 83 ในปัจจุบัน กับจะช่วยลดการขาดดุลย์งบประมาณของรัฐบาลกลาง และได้มีบทกำหนดห้ามพฤติกรรมที่ไม่สมควรต่างๆของบริษัทประกันภัย

เพียงไม่นานหลังผู้นำสหรัฐฯลงนามในกฏหมาย อัยการซึ่งส่วนใหญ่เป็นรีพับลิกันใน 14 รัฐของสหรัฐได้ยื่นพ้องต่อศาลให้รัฐบาลกลางยกเลิกกฏหมายฉบับนี้ โดยระบุว่าบทบัญญัติที่บังคับให้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ต้องซื้อประกันสุขภาพ ขัดต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ คาดด้วยว่าจะมีอีกหลายรัฐทำตาม รวมทั้งมีข่าวว่าหลายรัฐเตรียมออกกฏหมายของรัฐมาสกัด

หน้า: 1 ... 646 647 [648] 649 650 651