แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 603 604 [605] 606 607 ... 650
9061
กระทรวงสาธารณสุขของไต้หวันแถลงว่า โรงพยาบาลจะต้องถูกลงโทษ หากยินยอมให้มีการทำแท้งเพื่อเลือกเพศทารก หลังพบการทำแท้งทารกเพศหญิงมากถึง 3,000 รายในปีที่แล้ว

นายเจียง หง-จื่อ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุขไต้หวันกล่าววานนี้ว่า กระทรวงฯกำลังสอบสวนโรงพยาบาลที่ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยผู้ที่ละเมิดกฎหมายดังกล่าวจะต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต

ด้านเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขรายหนึ่งเปิดเผยว่า การทำแท้งเพื่อเลือกเพศเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัดส่วนการเกิดของเด็กชายสูงกว่าปกติ โดยผู้หญิงไต้หวันให้กำเนิดลูกชาย 1.09 คนต่อการให้กำเนิดลูกสาว 1 คน เมื่อเทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 1.06 คน

ประเทศจีนและอินเดียมีสัดส่วนประชากรเพศหญิงและชายที่แตกต่างกันมาก แม้ว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศจะสั่งห้ามไม่ให้แพทย์เปิดเผยเพศของทารกในครรภ์ก็ตาม ขณะที่ชาวไต้หวันจำนวนมากยังคงนิยมการมีลูกชายมากกว่าลูกสาว เนื่องจากเชื่อกันว่า ผู้ชายจะสามารถเป็นผู้สืบสกุลให้แก่ครอบครัวได้ และจะช่วยให้ฐานะทางการเงินของครอบครัวดีขึ้นมากกว่าการมีลูกสาว

มติชนออนไลน์
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

9062
เผยผลสำรวจการขายยาในหมู่บ้าน 8 จังหวัด195หมู่บ้านมีร้านชำ 775 แห่ง กองทุนยาหมู่บ้าน 96 แห่งพบทุกหมู่บ้านมีการขายยาปฏิชีวนะ ขณะที่เภสัชกรแนะแก้ระบบการกระจายยาและขึ้นทะเบียนตำรับควบคู่สร้างความเข้าใจประชาชน
       
       วันนี้ (15 พ.ค.) ภก.สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า สถานการณ์การขายยาปฏิชีวนะในร้านชำที่ได้จากการสำรวจการขายยาในหมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลจาก 8 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร ชัยภูมิ เชียงราย อุทัยธานี อ่างทอง ปราจีนบุรี ชุมพร และสงขลา จังหวัดละกว่า 20 หมู่บ้าน รวม 195 หมู่บ้าน มีร้านชำ 775 แห่ง กองทุนยาหมู่บ้าน 96 แห่ง พบว่า ร้านชำในทุกหมู่บ้านมีการขายยาปฏิชีวนะ หรือคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ของร้านชำในหมู่บ้าน ขณะที่ตัวยาที่พบมาก ได้แก่ Tetracycline (เตตราไซคลิน) ร้อยละ 85.1 และ Peniciline (เพนนิซิลิน) ร้อยละ 80.5
       
       อย่างไรก็ตาม การขายยาปฏิชีวนะในร้านชำ เป็นการกระทำผิดตามกฎหมายยา ซึ่งส่งผลให้เกิดการใช้ยาไม่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง และทำให้ชาวบ้านเสี่ยงอันตรายจากยา ทั้งการแพ้ยา และการเกิดเชื้อดื้อยา ที่สำคัญยังพบกรณียาที่มีรูปลักษณ์คล้ายกันแต่เป็นยาต่างชนิดกัน ซึ่งชาวบ้านเรียกชื่อเหมือนกันหมดว่าเป็นยาเพนนิซิลิน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่เป็นอีกสาเหตุสำคัญของการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ดังนั้น จำเป็นต้องแก้ปัญหาในระบบการกระจายยาและการขึ้นทะเบียนตำรับ ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนได้รู้วิธีใช้ยาอย่างเหมาะสมด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 พฤษภาคม 2554

9063
บ่นกันมากว่า 10 ปีแล้ว สำหรับบริการขั้นพื้นฐานของคนทำงานประจำ อย่าง 'ระบบประกันสังคม' เพราะนอกจากจะรับประกันเงินที่เสียกันแต่ละเดือนแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะลืมรับประกันความสะดวกและคุณภาพเวลาไปใช้บริการด้วย
       
       เอาง่ายๆ แค่เปรียบเทียบกับบัตรที่เกี่ยวกับบริการด้านสาธารณสุขอื่นๆ อย่าง ‘บัตรทอง’ ของสำนักงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า กับบัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างบัตรข้าราชการ และบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ มองมุมไหนบัตรประกันสังคมก็ยังดูด้อยกว่าชัดๆ
       
       เพราะไหนจะเรื่องค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า (3 เปอร์เซ็นต์จากเงินประจำ) แต่กลับจำกัดการรักษาอยู่แค่โรงพยาบาลเดียว (เฉพาะแห่งที่เลือก) หรือแม้แต่คุณภาพการรักษา หลายคนถึงกลับต้องส่ายหน้า เพราะนอกจากจะ 2 มาตรฐานตัวจริง จ่ายเงินได้บริการแบบหนึ่ง ใช้บริการก็เป็นบริการอีกแบบ (ซึ่งแย่กว่า)
       
       เจอแบบนี้หนักๆ ประกอบช่วงนี้ประเทศกำลังยุคในยุคปฏิรูป หลายคนเลยถือโอกาสทอง กระตุกหนวดถามรัฐบาลแบบแรงๆ สักหน่อยว่าเมื่อไหร่จะปฏิรูปให้ระบบประกันสังคมเสียที เผื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนกับเข้ามาบ้าง
       
       ร้อนไปถึง 2 กระทรวงเจ้าภาพใหญ่อย่าง กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงานต้องเร่งวางแผนการทำงานใหม่ว่าจะเอายังไงดี ซึ่งสุดท้ายก็ขอเริ่มต้นด้วยการขยายบริการประกันตนให้ครอบคลุมโรงพยาบาลรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั่วประเทศ พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ประกันตนเข้ากับโรงพยาบาลเพื่ออำนวยความสะดวกยิ่งขึ้น จากเดิมที่ใช้บริการโรงพยาบาลรัฐได้เพียง 1 แห่ง เพื่อจะได้ไม่มาว่ากันทีหลังว่า ใช้บริการประกันสังคมนั้นช่างแสนลำบากเหลือเกิน
       
       เห็นสรุปที่ออกมา หลายคนคงเริ่มใจชื้นขึ้นมาบ้าง เพราะอย่างน้อยๆ ก็เริ่มเห็นทิศทางความเปลี่ยนแปลงของระบบเจ้าปัญหานี้อยู่รำไร แต่ในอีกมุมหนึ่ง หลายคนยังมึนตึ้บไม่รู้ว่า เพราะแน่ใจว่า สุดท้ายเรื่องนี้จะลุกลามไปได้ไกลถึงการรื้อระบบหรือไม่
       
       ก็เลยขอหยิบยก ประเด็นนี้มาขยายมุมสักหน่อย เพื่อจะได้รู้ว่า เอาเข้าจริงแล้ว ก้าวย่างแรกของปฏิรูประบบประกันสังคมนี้สุดท้ายจะให้อะไรแก่คนทำงานได้บ้างหนอ
       
       ปฐมบท (ใหม่) ประกันสังคม
       
       ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวออกมาอย่างค่อนข้างเป็นทางการว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะมอบสิทธิ (พิเศษ) อันพึงได้แก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม โดยการขยายบริการประกันตนให้ครอบคลุมโรงพยาบาลรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั่วประเทศ
       
       เพราะจากรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ที่ระบุถึง การได้รับความเสมอภาคทางด้านสุขภาพของบุคคล แสดงให้เห็นว่า การเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตนของ สปส. ไปเป็นค่าดูแลสุขภาพว่าถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะด้านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช. ) ดูแลสุขภาพชาวไทยทั้งประเทศในมาตรฐานเดียวกันโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ทั้งนี้ก็ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวดังกล่าวที่ช่วยยกระดับระบบประกันสังคม
       
       เรียกว่าเป็นหลักประกันสุขภาพของชาวไทยที่เหลื่อมล้ำมาหลายปี สำหรับการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของบุคคลผู้เสียภาษีของ สปส.และบุคคลธรรมดาที่ใช้สิทธิของสำนักงาน สปสช.
       
       การขยับให้ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทุกแห่งทั่วประเทศ อย่างน้อยนี่ก็ถือเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปประกันสังคมที่ช่วยการันตีว่าสุขภาพของประชาชนผู้ชำระภาษี จะได้รับมาตรฐานบริการด้านการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
       
       นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส. เล่าถึงการเริ่มต้นการขยายสิทธิฯ ว่า มาจากทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขอเข้ามาเป็นเครือข่ายหลักในการให้บริการ เพื่อปรับปรุงการให้บริการของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจะได้รับการบริการได้สะดวกยิ่งขึ้นจึงกระจายไปยังโรงพยาบาลรัฐที่มีรองรับอยู่จำนวนมาก
       
       “สธ. เองมีแนวคิดว่าถ้าทำให้ผู้ประกันตนมาเลือกเขาเยอะขึ้น โดยการให้เป็นเครือข่ายกันเองทั้งประเทศ ก็เป็นเรื่องที่ดีประชาชนก็เข้าถึงบริการสะดวก ซึ่งประกันสังคมก็เห็นด้วย ถ้าสธ. ทำเองเงียบๆ เรื่อยๆ ก็เหมือนว่าผู้ปฏิบัติบางแห่งก็ยังไม่มีความมั่นใจ ก็ต้องให้เป็นความรู้ เป็นความร่วมมือร่วมกัน ก็น่าจะทำให้ทุกคนรับรู้ ผู้ให้บริการก็มีความมั่นใจ ประชาชนก็ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่”
       
       นพ.สุรเดช เผยว่าแนวคิดนี้มีมาตั้งแต่ปี 2539 ให้ใช้บริการโรงพยาบาลที่เป็นเครือข่ายเดียวกันได้ทุกที่ แต่การปฏิบัตินั้นยุ่งยาก รวมถึงไม่มีการประชาสัมพันธ์ ทำให้ผู้ให้บริการบางส่วนก็ปฏิบัติแบบยังไม่เข้าใจ
       
       “พอทางผู้บริหารทั้งสอง (สธ.และสปส.) เห็นว่าผู้ประกันตนได้ประโยชน์จริงๆ ก็มีการมาคุยกันว่าผู้ให้บริการกังวลอะไรบ้าง สปส. สนับสนุนอะไรได้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ซึ่งปัญหาเดิมคือทางโรงพยาบาลไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจในการให้บริการ ทีนี้เราเลยให้ปฏิบัติกันอย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่าอีก 2 เดือนก็น่าจะให้บริการได้ และในตอนนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยในรายละเอียด ว่า สธ.และ สปส. ต้องทำอะไรกันบ้าง ตอบสนองอะไรกัน”
       
       สิ่งที่ส่งผลดี ที่ชัดเจน หากมีการปรับการให้บริการก็เปรียบเสมือนกับว่าผู้ประกันตนมีโครงข่ายทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาล ขนาดเล็ก ใหญ่ หรือระดับชุมชนก็ให้บริการได้สะดวก เข้าถึงบริการ คลายความกังวล และไปแล้วไม่ต้องเสียเงิน เข้ารับบริการ
       
       “แม้เป็นคนกทม. เลือกบริการโรงพยาบาลในกทม. ไปเที่ยวเชียงใหม่ หาดใหญ่ ก็เข้าบริการโรงพยาลที่นั่นได้เลย ไม่จำเป็นว่าฉุกเฉินหรือไม่ ไม่ต้องมานั่งกังวลอะไรเลย”
       
       ส่วนสิทธิในการรับบริการทุกอย่างเหมือนเดิม กรณีการรักษาต่อเนื่องไม่เกิน 180 วัน ขณะนี้ทางกรรมการ สปส. ก็รอมติเห็นชอบที่จะยกเลิกการจำกัดสิทธิตรงนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิตรงนี้อย่างเต็มที่
       
       ย้อนมองปัญหา
       
       สำหรับข้อเรียกร้องดังกล่าวทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการผลักดันขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว ด้าน บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิจัยจากมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน อธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า มีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์ในสำนักงานประกันสังคมเสียใหม่
       โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่มีข้อตกลงไว้กับสำนักงานฯ ซึ่งเหตุผลก็มาจากข้อติดขัดบางประการเวลาที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทำให้เข้าไม่ถึงโรงพยาบาลที่ตัวเองเลือกเอาไว้ได้ ส่งผลให้บางครั้งก็ต้องจ่ายเงินไปก่อนก็มี
       
       "จริงๆ ระบบพวกนี้น่าจะทำได้นานแล้ว เพียงแต่ว่าเราต้องยอมรับว่าสำนักงานประกันสังคมเองก็ต้องบริหารงานอยู่หลายเรื่อง ไม่ใช่บริการทางการแพทย์อย่างเดียว เพราะฉะนั้นความถนัดหรือความสามารถในการบริหารจัดการในเชิงทางการแพทย์จึงมีความด้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น สปสช. ที่ทำงานด้านสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว”
       
       อย่างไรก็ตาม เรื่องการเข้าถึงได้ทุกโรงพยาบาลนี้ถือเป็นคนละเรื่องกับการคุณภาพของบริการ ซึ่งจะต้องมีระบบควบคุมด้วย เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเรื่องนี้ถือว่าเป็นปัญหาของหน่วยงานนี้มาก ซึ่งเหตุผลที่สำคัญก็มาจากปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรที่จะเข้ามาตรวจสอบในเรื่องนี้
       
        "โครงสร้างของ สปสช. เขาจะมีคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานบริการทางการแพทย์อยู่ ซึ่งแต่งตั้งจากผู้แทนหลายฝ่าย แต่ สปส.จะมีคณะกรรมการทางการแพทย์เหมือนกัน แต่ถ้าพูดถึงความถนัดความเชี่ยวชาญ ต้องยอมรับว่า สปสช.มีความถนัดมากกว่า เพราะเขากำเนิดมาจากทางกระทรวงสาธารณสุขที่มีข้อมูลเพียงพอ ขณะที่ สปส. มีหมอประจำน้อยมาก และนอกนั้นการสร้างคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานก็ยังเป็นเรื่องเฉพาะกิจ หรือสร้างขึ้นมาเพื่อประชุมเป็นครั้งคราว ก็เลยขาดการพัฒนาในแง่คุณภาพอย่างต่อเนื่องหรือสอดคล้องกับผู้ประกันตนส่วนใหญ่”
       
       เพราะฉะนั้นการที่ประชาชนจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างยุติธรรม บัณฑิตย์ เสนอแนะว่าจะต้องมีการปฏิรูปเชิงบริหารก่อน โดยต้องไม่ให้หน่วยงานนี้ยึดโยงอยู่กับระบบราชการแบบปัจจุบัน เพื่อจะได้เกิดความยืดหยุ่นคล่องตัวในการสรรหาบุคลากรที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจด้านประกันสังคมเข้ามาบริหารอย่างโปร่งใส และพัฒนาแนวทางของหลักประกันเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากที่สุด
       
       แก้แล้วแต่ 'ยังไม่ถึงใจ'
       
       การขยายสิทธิการประกันตนให้ครอบคลุมโรงพยาบาลสังกัดสธ. ทั้ง 94 แห่งทั่วประเทศนั้น เป็นเรื่องที่สร้างความเท่าเทียมในด้านการบริการสาธารณสุข อารยา พางาน พนักงานออฟฟิศ บอกเล่าความรู้สึกว่า หากประกันสังคมสามารถที่จะให้ใช้บริการทุกโรงพยาบาลได้ก็คงจะดีมาก เพราะที่ผ่านมาก็รู้สึกไม่เท่าเทียมกันโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ ซึ่งต่างจากข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับเงินมากกว่าพวกประกันสังคมในการรักษาพยาบาล
       
        “คนที่ใช้สิทธิบัตรทองยังได้สิทธิรักษาดีกว่าประกันสังคมอีก ระบบสิทธิในการรักษามันเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่คนไทยควรได้รับอยู่แล้ว”
       
       ด้านผู้สื่อข่าวอย่าง เบญจรัตน์ ทองศิลา แสดงทัศนะเกี่ยวกับระบบประกันสังคมว่าเป็นการเริ่มต้นของสิทธิที่ผู้ประกันตนควรได้รับ
       
       “หากผู้มีประกันสังคมใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลก็คงดี เพราะประกันสังคมจำกัดสิทธิทั้งโรงพยาบาล และจำนวนครั้ง แล้วทุกวันนี้เราต้องเสียเงินในส่วนนี้ทุกเดือนหากมีการใช้ได้ทุกโรงพยาบาลจะถือว่า สังคมให้สิทธิมนุษย์เท่าเทียมกันเสียที และหากจะดีกว่านี้ก็ไม่ควรจำกัดจำนวนครั้งในการเข้ารักษาเพราะคนจะเจ็บจะป่วยไม่เลือกเวลาหรอก ให้ใช้ได้เหมือนสิทธิบัตรทองเลยยิ่งดี เพราะเราเสียเงินแต่ละเดือนก็อยากให้มันสะดวกสบายขึ้นไม่ใช่แย่ลง”
       
       ...........
       
       ถึงแม้วันนี้ 'ประกันสังคม' ยังมีข้อด้อยให้ยกขึ้นมาถกเถียงกันอีกพอสมควร แต่นี่ก็ถือเป็นก้าวแรกที่จะปฏิรูปให้ระบบประกันสังคมที่ต้องหักเงินจากรายได้ประจำไปทุกเดือนเพื่อไปสมทบกองทุนจะได้มีการปรับปรุงทั้งเรื่องความสะดวกสบายในการหาสถานพยาบาลเพื่อใช้บริการขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก แม้จะเป็นแค่เครือข่ายโรงพยาบาลรัฐของกระทรวงสาธารณสุขก็ตาม ส่วนในเรื่องคุณภาพของการให้บริการและการรักษาก็ต้องต่อสู้กันต่อไปในแผนปฏิรูปที่จะดำเนินการไปตามขั้นตอนในอนาคต

ASTVผู้จัดการรายวัน    16 พฤษภาคม 2554

9064
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้บริหารและนักวิชาการจากกระทรวงสาธารณสุขไทย เข้าร่วมประชุม สมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 64 ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 16-24 พฤษภาคม 2554 โดย ปีนี้เน้นการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

นายแพทย์ไพจิตร์  วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ ว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้แทนไทยซึ่งประกอบด้วยนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมสุขภาพจิตและนักวิชาการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 64 (The Sixty-fourth World Health Assembly  : WHA) ระหว่างวันที่ 16-24 พฤษภาคม 2554 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส จัดโดยองค์การอนามัยโลก โดยมีผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 193 ประเทศเข้าประชุมกว่า 2,000 คน เพื่อร่วมมือกันกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับโลก  โดยหัวข้อหลักของการประชุมปีนี้คือการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
 นายแพทย์ไพจิตร์ ได้กล่าวถ้อยแถลงในเวทีสาธารณสุขระดับโลก ว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับโรคไม่ติดต่อได้แก่ เบาหวาน ความดัน มะเร็ง อัมพาต และโรคหัวใจ เป็นอย่างมากเนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนถึงร้อยละ 40 โดยเฉพาะอุบัติเหตุและโรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับ1 นอกจากนี้ยังเป็นภาระค่ารักษาพยาบาลถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีหรือ 90,000 ล้านบาท
 ดังนั้น รัฐบาลไทยโดยคณะรัฐมนตรี จึงได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย ที่ให้ความสำคัญกับการรณรงค์ทางสังคมอย่างกว้างขวาง ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ให้ลดอาหารรสหวาน มัน เค็ม ส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ และเพิ่มการออกกำลังกาย รวมทั้งคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาโรคความดันหิตสูงและเบาหวาน โดยผ่านกลไกการทำงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในระดับรากหญ้า ช่วยให้แผนการป้องก้นโรคไม่ติดต่อประสพความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศต้องมีงบประมาณของตนเองที่นอนสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยได้ใช้เงิน 2 เปอร์เซ็นต์จากภาษีเหล้าและบุหรี่
 นอกจากนี้ ได้นำเสนอวิธีการของไทยเพื่อการลดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นให้ได้ร้อยละ 10 และลดผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองให้ได้ร้อยละ 50 ในปีพ.ศ.2557 โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการติดภาพคำเตือน อันตรายของการสูบบุหรี่โดยหมุนเวียนภาพ 10 ภาพที่ซองบุหรี่ รวมทั้งได้มีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นวีธีการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ไม่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
 และในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมกับ องค์การอนามัยโลก สำนักงานกองทุนวนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ( สสส.) พันธมิตรนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลก (Global Alcohol Policy Alliance) จัดการประชุมนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลกประจำปี2554 ภายใต้หัวข้อ จากยุทธศาสตร์ระดับโลกสู่การปฎิบัติระดับชาติและท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2554 ที่ กรุงเทพฯ
 ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยจะดำเนินการคู่ขนานไปกับรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น จะสามารถจัดการกับปัญหาโรคไม่ติดต่อได้สำเร็จ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
16 พฤษภาคม 2554

9065
พิสูจน์ความต่างที่เหมือนกัน การรักษาสองศาสตร์ที่ล้วนส่งผลดีกับสุขภาพคนป่วย
ปัจจุบัน การรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วยนอกเหนือจากการแพทย์แผนปัจจุบันที่ตรวจวินิจฉัย ให้ยา ฉีดยา รักษาด้วยกระบวนการรังสีรักษา เคมีบำบัด และอีกหลายวิธีที่เป็นมาตรฐานแบบแผนในการรักษาโรคแล้ว

  แพทย์หญิงณิฎชธร มติพัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมิติเวช ศรีนครินทร์  กล่าวว่ายังมีที่เรียกว่าแพทย์ทางเลือกอีกด้วย การรักษาแบบแพทย์ทางเลือกเป็นการรักษาด้วยวิธีแบบโบราณ เป็นวิธีที่ได้ทดลอง ลองผิดลองถูกกันมาจนเป็นที่ยอมรับ ทั้งแบบฉบับแพทย์แผนไทยเอง แผนจีน หรือแผนอื่นๆ ซึ่งการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกนี้เกิดขึ้นมายาวนาน

 เริ่มจากผู้ป่วยที่มีความเชื่อ ได้เห็นตัวอย่าง เชื่อจากคำแนะนำจากพี่น้อง เพื่อนและญาติ เพราะบางครั้งอาการป่วยไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาแต่สามารถใช้วิธีแบบแพทย์ทางเลือกได้ หรือแม้กระทั่งแพทย์แผนปัจจุบันเองที่ทำการรักษาอยู่ได้วินิจฉัยแล้วว่าอาการสามารถรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกได้ ก็อาจแนะนำในเรื่องการกดจุด ฝังเข็ม หรือวิธีอื่นๆ เพิ่มเติม เนื่องจากมองเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้ยา วิธีนี้ก็สามารถบรรเทาและยับยั้งอาการป่วยนั้นๆ ได้ แต่อย่างไรก็ดีควรขอความเห็นหรือคำแนะนำจากแพทย์แผนปัจจุบันก่อนเพื่อความแน่ใจ

 การรักษาแพทย์ทางเลือกนั้น เป็นวิทยาการผสมผสานการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติโดยมีแพทย์ผู้ผ่านการอบรมได้รับการฝึกฝนจนเป็นที่ชำนาญในแต่ละสาขามารักษา ตัวอย่างการรักษา เช่น การใช้มือหรือนิ้วมือในการกดจุด ณ ตำแหน่งที่สำคัญของร่างกายตามทฤษฎีของธาตุทั้ง 5 ร่วมกับเส้นลมปราณที่มีแบบแผนของการไหลเวียนเฉพาะ เพื่อให้เกิดพลังในการรักษา หรือใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยวิธีการอย่างเช่นการลงเข็มในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายให้เกิดพลังไหลเวียน

 หรือบางครั้งเป็นการบำบัดรักษาด้วยสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยจากพืชเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย  รวมไปถึงกิจกรรมอย่างโยคะ การทำสมาธิ นวดด้วยน้ำมัน กำหนดชนิดอาหารเพื่อการสลายพิษที่จะนำไปสู่ความสมดุลของร่างกาย เรียกว่าเป็นการบำบัดโดยอาศัยหลักการที่ร่างกายสามารถบำบัดตนเองให้เกิดความสมดุล โดยมีระบบประสาทเป็นตัวควบคุมการบำบัด  การรักษาทั้ง 2 วิธีดังกล่าว จึงมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แพทย์ทางเลือกจะเน้นการป้องกันฟื้นฟูรักษาแบบธรรมชาติ ไม่ใช้ยา เพื่อให้ร่างกายได้รักษาปรับตัวเองเน้นการรักษาแบบธรรมชาติ
 
 อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบันหรือว่าแพทย์ทางเลือก ก็สามารถทำการรักษาโรคต่างๆ ได้ไม่แพ้กัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยข้อจำกัดของผู้ป่วยรวมถึงอาการของโรคนั้นๆ  คงต้องยึดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้ง 2 แบบให้ดี ก่อนตัดสินใจก็คงต้องนำการตัดสินใจนั้นไปปรึกษากับแพทย์แผนปัจจุบันของเรากันอีกทีว่า จะมีข้อดีหรือข้อเสียอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่ คงต้องใช้วิจารณญาณจากแพทย์เป็นคำตอบสุดท้าย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 13 พฤษภาคม 2554

9066
ประ​เทศ​ไทย​ได้รับ​การกล่าวขวัญ​ในหมู่ชาวต่างชาติที่ต้อง​การรับบริ​การทาง​การ​แพทย์ว่า​เป็นศูนย์กลางทาง​การ​แพทย์​ในภูมิภาค​เอ​เชีย ​โดยปัจจัยส่ง​เสริมที่สำคัญ ​ได้​แก่ ​การมี​เครื่องมือทาง​การ​แพทย์ที่ทันสมัย​และ​แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญ ​การที่​เข้าประ​เทศ​ได้อย่าง​ไม่ลำบาก ค่า​ใช้จ่ายที่​ไม่​แพง ​และ​ความมีอัธยาศัยดีจาก​ผู้​ให้บริ​การ นอกจากนี้ประ​เทศ​ไทยยัง​เป็นศูนย์กลาง​การท่อง​เที่ยวหลัก​โดยมี​การท่อง​เที่ยวทางทะ​เล ภู​เขา ศิลปะ​และวัฒนธรรม อาหาร ​ความบัน​เทิง ​และ​แหล่งซื้อของต่างๆ สิ่ง​เหล่านี้สามารถรองรับนักท่อง​เที่ยวที่มา​ใช้บริ​การทาง​การ​แพทย์​ได้​เป็นอย่างดี

หนึ่ง​ในประ​เด็นที่จะถูกนำมาพูดคุยกัน​ในงานสัมมนา​เชิงปฏิบัติ​การ “​แนวทาง​การวาง​แผน​การตลาด​เกี่ยวกับธุรกิจนำ​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์” ​ซึ่งจะจัดขึ้น​ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2554 ณ จังหวัด​เชียง​ใหม่ ​โดย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม (ISMED) สถาบัน​เครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ​ทั้งนี้​เพื่อ​เตรียม​ความพร้อม​ให้​ผู้ประกอบ​การธุรกิจสนับสนุนบริ​การนำ​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ ​เขตภาค​เหนือ ที่สน​ใจขยายบริ​การสู่ธุรกิจนำ​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ สามารถ​เริ่มต้นธุรกิจนี้​ได้อย่าง​เป็นระบบ ​โดย​ผู้​เข้าสัมมนาจะ​ได้ร่วมระดม​ความคิดกับ​ผู้​เชี่ยวชาญที่มีประสบ​การณ์ด้าน​การท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ ​การประ​เมินศักยภาพธุรกิจ วิ​เคราะห์จุด​แข็ง ค้นหา​โอกาส กำหนดจุดขาย​และ​แนวทาง​ใน​การ​ทำ​แผนธุรกิจ (ด้าน​การตลาด) ร่วมกับ​แนวร่วมธุรกิจ ​เพื่อนำนักท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์จากประ​เทศต่างๆ มารับบริ​การทาง​การ​แพทย์​ในประ​เทศ​ไทย​ให้มากยิ่งขึ้น
วิทยากร​ผู้บรรยาย :

​การ​เชื่อม​โยงทาง​การตลาดระหว่าง​โรงพยาบาลกับตัว​แทนท่อง​เที่ยว ​เพื่อนำ​ผู้ป่วยต่างชาติ​เข้า​ใช้บริ​การ​ใน​โรงพยาบาล​เอกชน
​โดย นาย​แพทย์นิธิวัฒน์ กิจศรีอุ​ไร ​ผู้อำนวย​การ ​โรงพยาบาลหัว​เฉียว
​การท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ ​เริ่มอย่าง​ไร​จึง​ไม่​เจ็บตัว
​โดย คุณสุ​เมธารัตน์ สีตบุตร ที่ปรึกษาอาวุ​โส ISMED
​แนวทาง​การวาง​แผน​การตลาด​เกี่ยวกับธุรกิจนำ​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์
​โดย คุณอาภาพรรณ ชนานิยม ​ผู้​เชี่ยวชาญ ISMED

ThaiPR.net  15 พฤษภาคม 2554

9067
สธ. ตีฆ้อง “วัคซีน” วาระ​แห่งชาติ ตั้ง​เป้า 10 ปี ผลิตวัคซีน​ใช้​เอง​ในประ​เทศ​และขายอา​เซียน!!!

กระทรวงสาธารณสุข​เดินหน้าหลังครม.​เห็นชอบ วาระ​แห่งชาติด้านวัคซีน ระดมทุกหน่วยงานที่​เกี่ยวข้องร่วมลงสัตยาบัน ​เชื่อหลัง​เดินหน้าผลักดัน 4 ยุทธศาสตร์หลัก ​และ​โครง​การสำคัญ 10 ​โครง​การ จะยกระดับขีด​ความสามารถ​ใน​การพัฒนา ผลิตวัคซีน ​ใช้​เอง 9 ชนิด ภาย​ใน 10 ปี ขึ้น​แถวหน้าภูมิภาคอา​เซียน

กระทรวงสาธารณสุข​เดินหน้าหลังครม.​เห็นชอบ วาระ​แห่งชาติด้านวัคซีน ระดมทุกหน่วยงานที่​เกี่ยวข้องร่วมลงสัตยาบัน ​เชื่อหลัง​เดินหน้าผลักดัน 4 ยุทธศาสตร์หลัก ​และ​โครง​การสำคัญ 10 ​โครง​การ จะยกระดับขีด​ความสามารถ​ใน​การพัฒนา ผลิตวัคซีน ​ใช้​เอง 9 ชนิด ภาย​ใน 10 ปี ขึ้น​แถวหน้าภูมิภาคอา​เซียน

นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่า​การกระทรวงสาธารณสุข ​เปิด​เผยว่า กระทรวงสาธารณสุข​ได้​เสนอร่างวาระ​แห่งชาติด้านวัคซีนต่อคณะรัฐมนตรี ​ใน​การประชุม​เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 คณะรัฐมนตรีพิจารณา​แล้วลงมติ​เห็นชอบ​ในหลัก​การต่อวาระ​แห่งชาติด้านวัคซีน รวม​ทั้งสนับสนุน 4 ยุทธศาสตร์หลัก ​และ​โครง​การสำคัญ​ทั้ง 10 ​โครง​การ ​เพื่อยกระดับขีด​ความสามารถ​ใน​การพัฒนา ผลิต ​การควบคุมกำกับคุณภาพวัคซีน​ให้​ได้มาตรฐานสากล รวม​ถึง​การ​ใช้วัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ​การดำ​เนิน​โครง​การวาระ​แห่งชาติด้านวัคซีนภาย​ใต้ 4 ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะ​ทำ​ให้ประ​เทศ​ไทยสามารถผลิตวัคซีน​ได้ 9 ชนิดที่ป้องกัน​ได้​ถึง 7 ​โรค

​โดย​แบ่งออก​เป็นช่วง 4 ปี​แรก จะสามารถผลิตวัคซีนป้องกัน​โรคคอตีบ, ​โรคบาดทะยัก, ​โรค​ไอกรน ​และ​โรคตับอัก​เสบบี ภาย​ใน 5 ปี จะสามารถขยายกำลัง​การผลิตวัคซีนบีซีจี ป้องกันวัณ​โรค, วัคซีนป้องกัน​โรค​ไอกรนชนิด​ไร้​เซลล์, วัคซีนป้องกัน​ไข้สมองอัก​เสบ​เจอีที่ผลิตจาก​เซลล์​เพาะ​เลี้ยง​ได้สำ​เร็จ ​และภาย​ใน 10 ปี จะสามารถผลิตวัคซีนป้องกัน​ไข้​เลือดออก, วัคซีนป้องกัน​ไข้สมองอัก​เสบ​เจอีชนิด​เชื้อ​เป็น ​ซึ่งจะช่วย​เสริมสร้าง​ความมั่นคงด้านวัคซีนของประ​เทศ​ได้​เป็นอย่างมาก

“​การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ จะ​เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดัน​ให้ประ​เทศ​ไทย สามารถผลิตวัคซีนที่​ได้มาตรฐานสากลสำหรับ​ใช้​ในประ​เทศ​ได้อย่าง​เพียงพอ ​และ​เพิ่มกำลัง​การผลิต​เพื่อส่งขาย​ในภูมิภาค​และ​ในระดับนานาชาติ ​ซึ่งจะ​เป็น​การ​เพิ่ม​โอกาส​ใน​การ​แข่งขันธุรกิจด้านวัคซีน​ในภูมิภาคอา​เซียนต่อ​ไป” รมต.จุรินทร์ กล่าว

ปัจจุบันหน่วยงานทางสาธารณสุข ​ทั้งภาครัฐ​และภาค​เอกชนของ​ไทย​ใช้วัคซีนคิด​เป็นมูลค่ารวม ประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี ส่วน​ใหญ่มีราคา​แพง​และมี​แนว​โน้ม​การ​ใช้สูงขึ้น ยังต้องนำ​เข้าจากต่างประ​เทศ มากกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่ารวม นี่คือ​เม็ด​เงินจำนวนมหาศาลที่ประ​เทศ​ไทยจ่าย​ไป​เพื่อสร้าง​ความมั่นคงด้านสุขภาพของประชากร

​ในอดีตประ​เทศ​ไทยอยู่​ใน​แนวหน้าด้าน​การผลิตวัคซีน​ในระดับภูมิภาค ​เพราะ​เคยผลิตวัคซีน​ได้​เองหลายชนิด ​ได้​แก่ วัคซีน​โรคฝีดาษ วัคซีนอหิวาตก​โรค วัคซีน​โรค​ไทฟอยด์ วัคซีนคอตีบ ​ไอกรน บาดทะยัก วัคซีนบีซีจี วัคซีน​ไข้สมองอัก​เสบ​เจอี ​แต่​ในปัจจุบัน​ผู้ผลิต​ในประ​เทศสามารถผลิตวัคซีน​ได้​เพียง 2 ชนิด ​เท่านั้น คือ วัคซีนบีซีจีสำหรับป้องกันวัณ​โรค​ใน​เด็ก ​โดยสถาน​เสาวภา สภากาชาด​ไทย ​และวัคซีนป้องกัน​โรค​ไข้สมองอัก​เสบ​เจอี ​โดยองค์​การ​เภสัชกรรม นั่นหมาย​ถึงศักยภาพ​ใน​การ​เป็นประ​เทศ​ผู้ผลิตวัคซีน​แถวหน้าของภูมิภาคนี้​ได้ถดถอย​ไปอย่างมาก

สำหรับหน่วยงานที่มาลงสัตยาบันร่วมกัน ​เพื่อผลักดัน​ให้วาระ​แห่งชาติด้านวัคซีน​เกิด​เป็นรูปธรรมครั้งนี้ประกอบด้วย กรมวิทยาศาสตร์​การ​แพทย์, กรมควบคุม​โรค, องค์​การ​เภสัชกรรม, สถาน​เสาวภา สภากาชาด​ไทย, มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ ​และ​เทค​โน​โลยี​แห่งชาติ, ศูนย์​ความ​เป็น​เลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประ​เทศ​ไทย ​และ บริษัท ​ไบ​โอ​เนท-​เอ​เชีย จำกัด ​ทั้ง 8 หน่วยงานนี้ จะรับผิดชอบ​ใน​การดำ​เนิน​โครง​การสำคัญ 10 ​เรื่อง ​ได้​แก่

1. ​โครง​การจัด​เตรียมคลัง​เ​ก็บวัคซีนมาตรฐานของภูมิภาค

2. ​โครง​การจัดตั้ง​โรงงานผลิตวัคซีนระดับกึ่งอุตสาหกรรมมาตรฐาน GMP ​แบบอ​เนกประสงค์

3. ​โครง​การจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรชีวภาพทาง​การ​แพทย์​แห่งชาติ

4. ​โครง​การวิจัยพัฒนา​เพื่อ​การผลิตวัคซีน​ไข้สมองอัก​เสบ​เจอี

5. ​โครง​การผลิตวัคซีนป้องกัน​โรคคอตีบ บาดทะยัก ​ไอกรน ​และ​การผลิตวัคซีนผสมคอตีบ บาดทะยัก ​ไอกรน ​และตับอัก​เสบบี

6.​โครง​การวิจัย​และพัฒนา​เพื่อ​การผลิตวัคซีนป้องกัน​โรค​ไอกรนชนิด​ไร้​เซลล์

7.​โครง​การขับ​เคลื่อน​การดำ​เนินงานด้านวัคซีน​โดยหน่วยงานกลาง​แห่งชาติด้านวัคซีน

8. ​โครง​การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนอย่าง​เป็นระบบ,

9.​โครง​การวิจัยพัฒนา​และขยายกำลัง​การผลิตวัคซีนป้องกันวัณ​โรค ​และ

10.​โครง​การพัฒนาวัคซีน​ไข้​เลือดออกของประ​เทศ​ไทย ​โดยกระทรวงสาธารณสุข ​ได้มอบหมาย​ให้สถาบันวัคซีน​แห่งชาติ กรมควบคุม​โรค ​เป็นหน่วยหลัก​ใน​การดำ​เนิน​การวาระ​แห่งชาติด้านวัคซีนครั้งนี้

ThaiPR.net 13 พฤษภาคม 2554

9068

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 กระทรวงแรงงานได้จัดการสัมมนาความรู้คู่แรงงานไทย/ผู้ประกันตนไทย เรื่อง ทางเลือกประกันสุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตนระบบประกันสังคม : เสือ หรือ จระเข้ โดยมีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม

   ซึ่งปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงการประกันสังคมในประเทศไทยว่า หลายๆประเทศทั่วโลก ได้ใช้ระบบประกันสังคมในการสร้างสวัสดิการให้แก่คนในชาติ เป็นการทำให้คนในสังคมมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่รอรับความช่วยเหลือจากรัฐฝ่ายเดียว โดยได้อ้างคำกล่าวของนายอำพล สิงหโกวินทร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมว่า “การจะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเดียวนั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายแล้ว ประชาชนก็จะต้องอยู่ตามยถากรรม เพราะฉะนั้นคนในสังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อจะทำให้เป็นระบบที่ยั่งยืน”

   ในประเทศไทยนั้น ระบบประกันสังคม เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2515 โดยการตั้งกองทุนเงินทดแทน ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน  โดยการให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องจาการทำงาน โดยเริ่มจากสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 20คน ในเขตกทม.ก่อน แล้วค่อยขยายไปจนครบทุกจังหวัดในปีพ.ศ. 2531

  ต่อมาได้มีการประกาศพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 นับเป็นการประกันสังคมเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง 8 อย่างคือ ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร  ชราภาพ และการว่างงาน เหมือนกับในประเทศอื่นๆ

    พลอากาศตรี นายแพทย์บรรหาร กออนันตกูล วิทยากรรับเชิญ ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการมีระบบประกันสังคมว่า ประเทศที่ให้กำเนิดการประกันสังคมครั้งแรกในโลกคือประเทศเยอรมัน โดยนายกรัฐมนตรีคนแรกของเยอรมันคือ บิสมาร์คที่ปกครองประเทศในสภาพที่มีสงครามจากเพื่อนบ้าน  จึงต้องการที่จะสร้างอาวุธไว้ป้องกันประเทศ โดยมอบให้บริษัท Krupp ที่ผลิตเหล็กกล้ารับสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่บริษัทไม่มีคนงานเพียงพอ บิสมาร์คจึงคิดสร้างเมืองใหม่ และหาคนมาทำงานในโรงงานแห่งนี้ จึงต้องมีการให้หลักประกันแก่คนทำงาน เพื่อให้คนงานมีความมั่นใจว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี   มีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจการงาน  และสุขภาพ เปรียบเหมือนกับมีปัจจัยสี่ มีเงินเดือน มีที่อยู่อาศัย ได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วย บุตรหลานได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษา มีความปลอดภัยในการทำงาน

   หลักการในการจัดให้มีการประกันสังคมจึงเกิดขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถอยู่เพียงคนเดียวได้ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ย่อมต้องการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยมีแนวคิดว่า คน 1,000 คน จะมีคนเจ็บป่วยเพียง 10-20 คน ฉะนั้นถ้าเก็บเงินทุกคนเพียง 5% ไว้จ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนที่อาจจะป่วยเพียง 10-20 คน เงินที่เก็บไว้ก็เพียงพอในการจ่ายเป็นค่ารักษาได้  เป็นการช่วยให้ประชาชนทุกคนอยู่ได้ และมีความสุข โดยการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 ระบบประกันสังคมจึงเป็นระบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการ จ่ายเงินเข้ากองทุน โดยลูกจ้างและนายจ้าง(ซึ่งถือว่าเป็นผู้ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการทำงานของลูกจ้าง) จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคม เพื่อจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้ทำงาน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบ ในอัตรา ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

   สำหรับประเทศไทยนั้น มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมอยู่ 9.5 ล้านคน และมีเงินสมทบจากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาลอยู่ในกองทุนประกันสังคมเกือบ 800,000 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งสิ้น 8 อย่าง และได้รับการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ คลอดบุตร

ในขณะที่พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้เกิดขึ้นภายหลังระบบประกันสังคม มีหลักการในการให้การดูแลรักษาสุขภาพแก่ประชาชน 47 ล้านคน ที่ไม่ได้รับสิทธิในกองทุนประกันสังคมหรือสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ เมื่อเริ่มต้นโครงการนี้ ประชาชน 20 ล้านคนที่เป็นผู้ยากจน จะไปรับบริการด้านสาธารณสุขโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ในส่วนผู้ที่ไม่ยากจน จะต้องจ่ายเงินในการไปรับบริการสาธารณสุขครั้งละ 30 บาท

   แต่ต่อมา ในปีพ.ศ. 2550 นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศยกเลิกการจ่าเงินครั้งละ 30 บาท ทำให้ประชาชน 47 ล้านคน (ปัจจุบันเพิ่มเป็น 48 ล้านคน) ได้รับสิทธิในการไปรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องจ่ายเงินเลย

   ทำให้ประชาชน 48 ล้านคนนี้ มีสิทธิมากกว่าประชาชนในกลุ่มผู้ประกันตน ที่ยังต้องจ่ายเงินสมทบ จึงจะมีสิทธิได้รับบริการด้านสุขภาพ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นและเป็นอยู่มา 4 ปีแล้ว แต่ก็ไม่มีใครออกมาเอะอะโวยวายแต่อย่างใด จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ มีกลุ่มคนที่ตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” ได้ออกมาเรียกร้องกับผู้ตรวจการแผ่นดินว่า สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ละเมิดสิทธิผู้ประกันตน ในการเก็บเงินจากผู้ประกันตน มาเป็นค่ารักษาสุขภาพ ในขณะที่ประชาชน 48 ล้านคนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ต้องจ่ายเงินของตนเองเลย ในการได้รับการบริการด้านสุขภาพ และเรียกร้องให้ผู้ประกันตน เลิกจ่ายเงินสมทบด้านสุขภาพ1.5% และให้ไปใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแทน

   การเรียกร้องของกลุ่มพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนในขณะนี้ จึงทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ประกันตนว่า จะเลือกไปอยู่กับบัตรทอง เลิกจ่ายเงินสมทบ 1.5% หรือให้เอาเงิน 1.5%ที่ต้องจ่ายสมทบนี้ ไปจ่ายสำหรับสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มเติมแทนการรักษาสุขภาพ  แต่ในส่วนการดูแลรักษาสุขภาพนั้น ก็จะไปใช้บริการบัตรทองแทน

     กระทรวงแรงงานร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างและสภาแรงงานหลายๆแห่ง จึงได้จัดสัมมนาให้ข้อมูลและความเข้าใจในสาระสำคัญ หรือหลักการของการประกันสังคม และสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจาการประกันสังคม รวมทั้งเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียของการรับบริการด้านสุขภาพจากระบบประกันสังคมและบัตรทอง เพื่อให้ผู้ประกันตน สามารถแสดงความคิดเห็นว่า จะต้องการระบบประกันสุขภาพแบบใด?

 หลังจากฟังวิทยากรให้ข้อมูลเรื่องหลักการประกันสังคมและสิทธิประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ เปรียบเทียบระหว่างประกันสังคมและบัตรทองแล้ว  ผู้จัดการสัมมนาได้จัดการประชุมกลุ่ม โดยแบ่งผู้เข้าประชุมเป็น 4 กลุ่ม

  ผลการประชุมกลุ่มตามรายกลุ่ม มีดังนี้

  กลุ่มที่ 1 ข้อดีของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

-       พอใจในการรักษาโรคทั่วไปของโรงพยาบาลรัฐมากกว่าโรงพยาบาลเอกชน

-       พอใจในสิทธิคุ้มครองการว่างงาน คือ ได้รับเงินทดแทน

-       ข้อเสียของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

-       โรงพยาบาลไม่ดูแล ให้บริการล่าช้า โดยส่วนใหญ่พบในโรงพยาบาลเอกชน

-       ได้รับยาไม่ตรงกับโรค เช่น ได้ยาพารา อย่างเดียว

-        พอใจในการได้สิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

ข้อเสนอแนะ

-       1. ต้องการช่องทางเฉพาะทั้งผู้ป่วยนอกทั่วไป และผู้ป่วยนอกโรคเฉพาะด้าน

-       2. ต้องการการรักษาที่ได้ยาตรงกับโรค

-       3. ขอให้ขยายเวลาในการให้เงินสงเคราะห์บุตร จาก 6 ปี ขยายเป็น 12 ปี

-       4. ขยายสิทธิในการรักษาการเจ็บป่วยทั่วไป ไปใช้ที่โรงพยาบาลอื่นได้ด้วย ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉิน

-       5. การทำฟัน ควรจ่ายตามจริง และไม่จำกัดจำนวนครั้ง

-       6. อยากให้ขยายรับบัตรทองที่มีรายได้ให้เปลี่ยนมาเป็นสิทธิประกันสังคม

-       7. ให้ขยายรับครอบครัวผู้ประกันตนมาใช้สิทธิประกันสังคมแทนบัตรทอง

-       8. ต้องการให้ทำวิจัยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ระหว่างบัตรทองและบัตรประกันสังคม

กลุ่มที่ 2 ปัญหา/อุปสรรคของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

•                    ไม่ค่อยแจกแจงรายละเอียดให้ผู้ประกันตนทราบสำหรับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น

•                    เจ้าหน้าที่ สายด่วน ไม่บริการให้ด่วน ข้อมูลไม่ชัดเจน โอนสายหลายทอด

ข้อเสนอแนะ

•                    ข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทำได้เลย และข้อมูลที่ยังมีไม่เพียงพอควรทำวิจัยเพิ่มเติม ครอบคลุมความคิดเห็นจากผู้ประกันตน ผู้ให้บริการ สำนักงานประกันสังคม และแพทย์ บุคคลากรทางแพทย์

•                    ปรับปรุงการบริการของสายด่วน

•                    ปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการของสถานบริการ

•                    มีการสุ่มตรวจคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการของ รพ.คู่สัญญาเป็นประจำ

•                    ส่งเสริมให้มีการประกวด รพ.ดีเด่น (top ten) และ รพ.ยอดแย่ (bottom ten)

•                    การทำฟัน ควรให้สถานพยาบาลเบิกจาก สปส. ไม่ต้องให้ผู้ประกันตนจ่ายเงิน

•                    ไม่ควรใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวแก่ รพ. ควรจ่ายตามจริง เพื่อคุณภาพการบริการที่ดี

•                    ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาได้ทุก รพ.ที่เป็นคู่สัญญา ไม่ใช่เฉพาะที่เลื่อกดังนั้น กรณีฉุกเฉิน ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่ว่าจะฉุกเฉินกี่ครั้ง (ปกติไม่น่าจะมีการฉุกเฉินบ่อยเกินความจำเป็น)

•                    ให้รัฐจ่ายสมทบเงินเข้าระบบประกันสังคม อย่างน้อยเท่ากับนายจ้างและลูกจ้าง

•                    เปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวของผู้ประกันตน เข้าระบบประกันสังคม

•                    ให้ สปส.เป็นองค์กรอิสระ แต่มีการคัดเลือกกรรมการโปร่งใส กรรมการไม่เป็นชุดเดียวกับที่เป็นกรรมการที่เกี่ยวช้องกับระบบอื่นๆ เช่น บัตรทอง ควารมีนักวิชาการทางการแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ร่วมเป็นกรรมการการแพทย์ในจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานการรักษาที่ดีขึ้น

•                    ให้เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล

•                     ควรใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวแก่ รพ. ควรจ่ายตามจริง เพื่อคุณภาพการบริการที่ดี

กลุ่มที่ 3 ข้อดีของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

•                    ส่วนใหญ่พึงพอใจในการรักษาโรคทั่วไปของ สปส.

•                    ผู้ประตนรู้สึกมีความมั่นคงในการอยู่ในระบบประกันสังคม

ปัญหา/อุปสรรคของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

•                    ปัญหาของโรงพยาบาลเอกชน ที่ให้บริการไม่มีคุณภาพและไม่น่าพึงพอใจ

•                    กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินและโรควิกฤต ที่เข้าใช้บริการสถานพยาบาลแตกจากที่เลือกไว้ ถูกปฏิเสธการรักษา และเรียกเก็บเงินสด

•                    การให้การรักษาพยาบาลไม่ครอบคลุมทุกกรณีเหมือนกับบัตรทอง

ข้อเสนอแนะ

•                    ให้จัดทำประชาพิจารณ์ ไปยังผู้ใช้แรงงานในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของประกันสังคม เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็น

•                    เพิ่มสิทธิในการรักษาพยาบาลให้เท่าเทียมหรือมากกว่า สปสช. ที่เหมาะสมกับโรค

•                    มีระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคมได้

•                    มีระบบการให้บริการโรคจากการประกอบอาชีพอย่างครบวงจร

•                    สนับสนุนให้มีการสมทบกองทุนประกันจากบุคคลภายนอกเพื่อให้กองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีศักยภาพการจัดการมากขึ้น

•                    ให้เปลี่ยนแปลง คกก. กองทุนประกันสังคม โดยไม่ให้มี คกก. กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง

•                    ปรับปรุงระบบการตรวจสุขภาพประจำปี ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และครอบคลุมตามลักษณะงาน

•                    ให้นำคู่มือประกันตนไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง

•                    ให้มีการวิจัยระบบบริการประกันสุขภาพ

•                    มีคณะกรรมการปกป้องกองทุนประกันสังคม

 

กลุ่มที่ 4 ประชามติของกลุ่ม ไม่ย้ายไปอยู่กับสปสช. 100% ให้ยกเลิกเพดานการจ่ายเงินสมทบ ให้เก็บร้อยละ 5 ทั้งหมดทุกระดับรายได้   ให้สปสช.งดสิทธิรักษาฟรีผู้มีรายได้

ข้อดีของระบบประกันสังคม มีรพ.และหมอเฉพาะทาง รักษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้รับบริการดี โรคเรื้อรังมีการรักษาต่อเนื่อง ป่วยหยุดงานได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องเป็นภาระกับสังคม กำหนดทิศทางได้ด้วยตนเอง

ข้อเสีย ของระบบประกันสังคม วินิจฉัยโรคล่าช้า หน้างอ รอนาน บริการแย่ ยาไม่มีคุณภาพ แพทย์ออกใบรับรองโดยไม่เป็นธรรม ประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ไม่ทั่วถึง บางเรื่องประกาศแล้ว แต่ทำไม่ได้ บริการทันตกรรมยังให้จ่ายเพิ่มอีก

ข้อเสียของการบริหารกองทุน

 เสียเวลานานเป็นวันในการติดต่อกับสปส. ขาดหน่วยงานย่อยให้บริการจุดเดียวในทุกพื้นที่

ข้อเสนอแนะ

•                    ให้องค์กรแรงงาน จัดให้มีการวิจัย และสำรวจเพื่อการปรับปรุงระบบประกันสังคมทั้งหมดและด้านสุขภาพให้ดีขึ้น ตามข้อมูลที่เป็นจริง โดยให้ ประกันสังคมเป็นผุ้สนับสนุนงบวิจัย

•                    ให้เพิ่มวงเงินค่าสัมมนาประกันสังคมเป็น ๔๐๐๐๐ บาทต่อรุ่น

•                    ให้เพิ่มช่องทางให้ผู้ประกันตนจัดขอการสัมมนาดังกล่าวได้ เพิ่มจากช่องทางผ่านสภาองค์กรลูกจ้าง

•                    ให้เข้ารักษาได้ทุกโรค ทุกภาวะ ตลอดเวลา ที่โรงพยาบาลของรัฐ

•                    ให้จัดแพทย์ พยาบาล และบุคคลกรให้เพียงพอทั้งนอกและในเวลา

•                    ให้ผู้ประกันตนเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ทันที ไม่ต้องรอครบ ๑ ปี

•                    ให้จัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคมทุกจังหวัด โดยให้รักษาผู้ประกันตนที่ได้รับสารพิษ และป่วยจากการทำงานด้วย

•                    ให้มีหมอด้านโรคจากการทำงาน สารพิษด้วย

•                    ให้ควบรวมกองทุนเงินทดแทนเข้ากับกองทุนประกันสังคมในกรณีรักษาพยาบาล

•                    ให้จัดเงินกู้สวัสดิการดอกเบี้ยต่ำโดยประกันสังคมเอง ไม่ต้องผ่านธนาคาร เพื่อปัจจัยในเรื่องที่อยู่อาศัย เครืองอุปโภค และ บริโภค พาหนะ

•                    ให้บริษัทห้างร้านจัดให้พนักงานในด้านสิทธิประโยชน์ ปีละ ๑ ครั้งอย่างน้อย

•                    ให้เพิ่มบทลงโทษ และค่าปรับ กับนายจ้างที่เก็บเงินประกันสังคมแล้วไม่ส่งในกำหนด หรือส่งไม่ครบ หรือใช้ฐานอื่นนอกจากรายได้มาหักเงินประกันสังคม

•                    ไม่ให้นำกองทุนประกันสังคมไปเป็นองค์กรอิสระเด็ดขาด

•                    ให้การเลือกตั้งกรรมการประกันสังคม เป็นแบบกลุ่ม และมีการพัฒนาบ้าง

•                    อยากให้ขยายความคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยการเพิ่มเพดานสิทธิประโยชน์

•                    ให้มีการรักษาผู้ประกันตนให้ดีที่สุดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่นผ่าตัดดั้งเดิม ต้องใช้เวลานาน เช่นผ่าตัดผ่านกล้องที่ใช้เวลาน้อยไม่เจ็บนาน กลับบ้านได้เลย

•                    ให้เรียกชื่อผู้ประกันตน โดยเรียกทั้งชื่อและนามสกุลให้ครบถ้วน (หมายถึงการเรียกชื่อในโรงพยาบาล)

•                    สถานที่ให้ผู้ประกันตนที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ถูกส่งตัวไป โดยมูลนิธิช่วยเหลือต่างๆ ตามที่มูลนิธิสังกัด

•                    ให้เสนอรัฐบาลงดรักษาฟรีแก่ผู้ที่มีรายได้เพื่อจะได้มาดูแล

•                    ให้แรงงานเฝ้าระวังการแทรกแซงของ NGOs ในองค์กร ถ้าพบเห็นให้แจ้งสภา, สหภาพ

•                    กรณีทำฟัน

•                    ให้จัดศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ การใช้สิทธิในด้านประกันสังคมในพื้นที่ซึ่งมีผู้ประกันตนจำนวนมาก โดยจัดตั้งศูนย์ระดับอำเภอ ค่อยๆ ขยายครอบคลุม

•                    ให้สิทธิประโยชน์ครอบคลุมในการป้องกันโรคด้วยวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ตับอักเสบ

•                    ให้แก้ไขระเบียบการสนับสนุนงบอุดหนุนองค์กรแรงงานแก่ผู้ประกันตนไม่ให้ใช้ระเบียบเบิกจ่ายแบบราชการ

•                    ขอให้มีการจัดประชุมสัมมนาเช่นนี้ในแรงงานและผู้ประกันตนในภูมิภาคต่างๆ

•                    ในระยะเวลาภายใน 1 เดือนข้างหน้า ขอให้หน่วยงานที่มีผู้ประกันตนในหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าร่วมอย่างกว้างขวาง โดยให้สภาองค์การลูกจ้างเป็นผู้จัดและให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้จ่ายงบประมาณในการจัดสัมมนา

•                     

สรุปผลสำรวจประชาพิจารณ์จาการตอบแบบสอบถามผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

ความพึงพอใจด้านบริการสุขภาพในระบบประกันสังคม

•                    ไม่พึงพอใจ                             30 คน (15.96%)

•                    พึงพอใจ                        132 คน (70.21%)

•                    ไม่ระบุ                             25 คน (13.30%)

•                    พอใจและไม่พอใจ                 1 คน (0.53%)

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม = 188 คน

ระบบหลักประกันสุขภาพที่ต้องการ

•                    ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  3 คน (1.60%)

•                    ระบบประกันสังคม                                  177 (94.15%)

–                   โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง                             120 คน (67.80%)

–                   ต้องมีการเปลี่ยนแปลง                                         36 คน (20.34%)

–                   ไม่ระบุเหตุผล                                                        20 คน (11.30%)

–                   ต้องเปลี่ยนแปลงและไม่ต้องเปลี่ยนแปลง         1 คน (0.56%)

•                    ไม่แสดงความเห็น                                              8 คน (4.25%)

•                    ด้านการให้บริการ

•                    ให้มีการจัดประกวดโรงพยาบาลที่รับประกันสังคมเพื่อพัฒนาการให้บริการ

•                    ให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมและโรงพยาบาลที่ให้บริการประกันสังคม

•                    ไม่พอใจบริการในทุกด้านของโรงพยาบาลในประกันสังคม ต้องการให้ปรับปรุง

•                    ให้บริการช้า ต้องรอนาน คนมาใช้บริการเยอะ

•                    ปรับปรุงด้านบริการให้เหมาะสมกับเงินสมทบที่จ่ายไป

•                    ให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

•                    ใช้บัตรเพียงใบเดียวในการเข้ารับการบริการในทุกโรงพยาบาลและไม่ต้องสำรองจ่ายเงินก่อน

•                    ควรมีโรงพยาบาลที่มาจากแรงงานไม่ใช่มาจากภาครัฐและเอกชน

•                    ด้านสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการสุขภาพ

•                    ให้โรงพยาบาลในประกันสังคมตรวจรักษาอย่างเอาใจคนไข้ ไม่ใช่ตรวจ แล้วจบๆ ไป

•                    ให้มีสิทธิเข้ารับการรักษาได้ทุกโรค และครอบคลุมทุกผู้เชี่ยวชาญ เช่นการฟอกไตควรให้ฟรีทุกอย่างรวมถึงอุปกรณ์ในการฟอกไต

•                    ปรับปรุงเรื่องทันตกรรมโดยผู้ประกันตนไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายก่อนและให้เพิ่มงบให้มากขึ้น

•                    ให้เพิ่มเงินค่าคลอดบุตร

•                    ให้เพิ่มคุณภาพของการรักษาเช่น ยา เครื่องมือแพทย์ ที่มีมาตรฐานและทันสมัย

•                    ให้ขยายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร (เช่น แรกเกิด-15 ปี)

•                    บุตรของผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ด้วย

•                    ให้มีสิทธิเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลโดย และให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

•                    ให้ประกันสังคมมีโรงพยาบาลไว้เฉพาะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเอง จะได้ให้บริการผู้ประกันตนได้อย่างทั่วถึง

•                    ให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลอื่นๆ เพิ่มขึ้น

•                    ให้แก้ไขกรณีการจ่ายยาไม่ตรงกับโรค

•                    ให้ปรับปรุงเรื่องยารักษาโรค ไม่ใช่ให้แต่ยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้ปวดเกือบทุกโรค

•                     ให้รักษาสิ่งดีๆ ไว้

•                     เพิ่มสิทธิในการตรวจสุขภาพประจำปี โดยไม่ต้องเสียเงิน

•                     ให้ประกันสังคมดูแลผู้ประกันตนตลอดชีวิต ไม่ใช่ดูแลจนเกษียณเท่านั้น

•                    ความคิดเห็นด้านอื่นๆ

•                    ให้นำผู้อยากจน (มีรายได้อยู่แล้ว ไม่ใช่ยากจน) ออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

•                    ผู้เสียภาษีทุกคนยินดีให้ความช่วยเหลือผู้ยากจนเท่านั้น

•                    ให้แรงงานช่วยกันนำเอา NGOs ออกจากระบบแรงงาน

•                    ขอให้แรงงานตั้งมั่นในการเป็นเสรีชน อย่าทำตัวเป็นขอทาน ให้รับผิดชอบตัวเอง

•                    ยินดีร่วมจ่ายสมทบ แต่อยากจ่ายน้อยลง

•                    ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์และพร้อมจะจ่ายเงินสมทบเพิ่ม

รวบรวมโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
(สผพท.)
13 พ.ค. 54

9069
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ  กระทรวงสาธารณสุขตีตราหมอพื้นบ้านรักษาได้จริง

วันนี้ 12 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ  อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบใบประกอบโรคศิลปะแก่หมอพื้นบ้านที่ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถ จำนวน 56 คนว่า ปัจจุบันทั่วประเทศมีหมอพื้นบ้านมาขึ้นทะเบียนที่สำนักทะเบียนกลาง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ  เมื่อ พ.ศ. 2553 จำนวน  50,991 คน ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถได้ใบประกอบโรคศิลปะ 100 คน เสียชีวิต 8 คน คงเหลือ 92 คน   ทั้งนี้จะพยายามออกใบประกอบโรคศิลปะให้ได้แก่หมอพื้นบ้านที่รักษาโรคได้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม มีศักดิ์ศรี เพราะต้องยอมรับว่าหมอพื้นบ้านบางคนมีประชาชนหอบเสื่อหอบหมอนไปนอนรอรักษาเยอะมาก แต่ไม่รู้ว่าการรักษานั้นปลอดภัยหรือไม่ ขณะเดียวกันใน 5 หมื่นกว่าคนนั้น อาจจะมีบางคนที่ไม่ใช่หมอพื้นบ้านที่แท้จริง เป็นเพียงคนที่แอบอ้างมาขายยาและทำให้เกิดความเข้าใจผิด
               
“หมอพื้นบ้านเป็นเหมือนคัมภีร์เคลื่อนที่ เพราะมีภูมิปัญญาอยู่ในตัว จะมีประสบการณ์ยาวนานในการรักษา แต่ไม่สามารถสอบผ่านเพราะความรู้และประสบการณ์เป็นละชุดกับความรู้ที่ประเมินจากการทดสอบ ทำให้กลายเป็นผู้อยู่นอกกฎหมาย ดังนั้นปีนี้จะพยามยามรับรองให้ได้มากที่สุดเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น”พญ.วิลาวัณย์ กล่าวและว่าอีกเรื่องที่หนักใจมาก คือ สมุนไพรใบยาต่าง ๆไม่รู้ว่าหายไปไหนหมด ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศถึง 40% โดยเฉพาะจากอินโดนีเซีย อินเดีย หากมีการปลูกสมุนไพรที่หายาก พันธุ์ดี ๆ ไม่ให้สูญหายไปก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก.

เดลินิวส์ 12 พฤษภาคม 2554

9070
สวปก.ชี้ผู้สูงอายุไทยเข้าไม่ถึงระบบริการสุขภาพที่รัฐจัดให้ อึ้ง! พบผู้สูงอายุตรวจ คัดกรองโรค ตามนโยบาย สปสช.แค่ 2 ล้าน จาก 8 ล้าน เหตุระบบแผนการฟื้นฟูสุขภาพยังด้อยทั้งเรื่องบริการ-การจ่ายยาเปลือง คาดอีก 10 ปี มีผู้สูงอายุเพิ่ม ค่าใช้จ่ายจะมากกว่าเดิมเกือบ 4 เท่าตัว เสนอ สปสช.เร่งจัดระเบียบบริการคัดกรองโรค และฟื้นฟูสุขภาพรองรับ
       
       วันนี้ (12 พ.ค.) นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) กล่าวในงานเสวนา เรื่อง “ความเหลื่อมล้ำในการรับบริการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ” ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กทม. ซึ่งจัดโดยความร่วมมือของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ระหว่างปี 2551-2552 พบว่า มีผู้สูงอายุเพศชาย 4% และเพศหญิง 3% เป็นโรคเบาหวานไม่รู้ตัว ผู้สูงอายุเพศชาย 20% และผู้สูงอายุเพศหญิง 16% เป็นความดันโลหิตสูงไม่รู้ตัว แม้ว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะจัดให้ผู้สูงอายุทุกคนได้รับสิทธิประโยชน์ในการตรวจคัดกรองโรคประจำทุกปี แต่ปรากฏว่าในปี 2553 มีผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองเพียง 2 ล้านคนจาก 8 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด
       
       “สำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต้องครอบคลุมทั้งการป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแสดงความต้องการ แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน แสดงให้เห็นถึงความต้องการบริการดังกล่าว โดยดูจากจำนวนผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลนานเกิน 2 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากหลักพันคนในปี 2551 เป็น 16,000 คนในปี 2553 สาเหตุหลักมาจากการจัดระบบบริการสุขภาพด้านการฟื้นฟูยังไม่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ” นพ.ถาวรกล่าว
       
       นพ.ถาวรกล่าวว่า จากการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมีสมมติฐานว่าประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 12% ในปี 2553 เป็น 17% ส่วนในปี 2563 พบว่า ค่าใช้จ่ายบริการสุขภาพจะเพิ่มขึ้นเป็น 37% จาก 34% ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือเกือบ 4 เท่าตัว โดยปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มอัตราการใช้บริการ และค่ายา รัฐจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการ ปรับปรุงระบบบริการสุขภาพเชิงรุกและเชื่อมโยงโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม และจัดระบบบริการฟื้นฟูสภาพที่เป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อดูแลสุขภาพในระยะยาว
       
       ด้านนพ.กฤช ลี่ทองอิน ผู้จัดการกองทุนพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ สปสช.กล่าวว่า สำหรับนโยบายสาธารณสุขของผู้สูงอายุโดยเฉพาะนั้น สปสช.ยังไม่มีให้เห็นในภาพใหญ่ แต่มีการจัดรายการดูแลในลักษณะรายโรค โดยไม่ได้เน้นกลุ่มเป้าหมายใดเป็นพิเศษ เช่น การคัดกรองต้อกระจก หรือการให้บริการรักษาฟันเทียม ซึ่งในอนาคตจะให้บริการสาธารณสุขแก่กลุ่มผู้สูงอายุเป็นพิเศษหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข

ASTVผู้จัดการออนไลน์    12 พฤษภาคม 2554

9071
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือลงวันที่ 10 พ.ค. ถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง กรณีที่มีหนังสือมายังแพทยสภาขอให้พิจารณาประสิทธิ ภาพของการใช้ยากลูโคซามีนเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสิทธิในการเบิกจ่ายของสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยกรณีนี้แพทยสภาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาทบทวน รับรองประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยาแบบองค์รวม เพื่อพิจารณาศึกษา ทบทวน รับรองประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยากลูโคซามีน ได้ข้อสรุปว่า

1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนกลูโคซามีนเป็นยา
2. หลักฐานงานวิจัยของกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับกลูโคซามีน ยังไม่เป็นที่ยอมรับกว้างขวาง ซึ่งมีการตั้งค่าการวิจัยที่สูงกว่าความเป็นจริง และมีการเปรียบเทียบกับยาหลอกอาจจะไม่เป็นมาตรฐานที่ถูกต้อง รวมทั้งผู้ทำวิจัยยังไม่เป็นที่ยอมรับหรืออาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน
3. ยากลูโคซามีนสามารถใช้ได้ผลกับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะกลางและใช้ในระยะสั้น รวมถึงยากลูโคซามีนไม่ใช่เป็นยาป้องกันข้อเข่าเสื่อม
4. ยากลูโคซามีนมีข้อจำกัดในการใช้ ควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการใช้ยา โดยสามารถใช้ยาช่วงแรก 3 เดือน หากไม่ได้ผลให้หยุดยา หากได้ผลให้ใช้ต่อจนถึง 6 เดือนแล้วจึงหยุดยา และ 
5. มีงานวิจัยขององค์กรวิชาชีพนานาชาติทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลเกี่ยวกับการใช้ยากลูโคซามีน
   
นพ.สัมพันธ์  กล่าวต่อว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายคือ
1. กรณีที่มีการทุจริตเกี่ยวกับเรื่องยา เห็นควรให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด
2. ให้กำหนดแนวทาง วิธีการและข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการจ่ายยากลูโคซามีน หรือกลุ่มยาที่มีราคาแพง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ยาสูงสุด
3. เห็นควรให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายจ่ายตรง โดยเฉพาะเรื่องของการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติให้งดการเบิกจ่ายตรง โดยให้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วนำหลักฐานไปเบิกกับหน่วยงานต้นสังกัดได้ หรือกำหนดเพดานที่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ โดยมิต้องสำรองจ่าย
4. แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีหน่วยงานต่าง ๆ อยู่ภายใต้กำกับดูแลและมีเครือข่ายทางวิชาการที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับดุลพินิจในการใช้ยาทุกกลุ่ม
5. ให้มีกระบวนการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทุกระดับ ทุกสถาบันในเรื่องการใช้ยากลูโคซามีนให้ถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยแพทยสภา หรือราชวิทยาลัย
6. มาตรการงดการเบิกจ่ายกลูโคซามีนของกรมบัญชีกลาง มีผลกระทบต่อสิทธิข้าราชการ จึงสมควรมีการปรึกษาหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ และ
7. การสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพที่ตรงที่สุดในการใช้ยาและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน.

เดลินิวส์
12 พฤษภาคม 2554

9072
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขได้ถ้าเรามี “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพันธุ์ใหม่

  หลังจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกิดขึ้นแล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณในการทำงานลดลง แต่งบประมาณด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ของประเทศได้รับการจัดสรรให้แก่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อ “จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุข” ให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ

แต่เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ว่านี้ ได้รวมเอาเงินเดือนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข เงินค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรครวมทั้งงบประมาณในการซ่อมแซมและพัฒนาอาคารสถานที่ และอื่นๆ ที่กระทรวงสาธารณสุข (เคย)ได้รับเข้าไปด้วย โดยผู้ทำโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มิได้มีการสำรวจและวิจัยถึงต้นทุนที่แท้จริงในการดำเนินการของโรงพยาบาลไว้ ทำให้เกิดปัญหาต่อกระทรวงสาธารณสุขดังนี้

1.โรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงิน

   ในเรื่องการขาดแคลนงบประมาณจนโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงินนั้นในปีพ.ศ. 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณ 40,000 ล้านบาทจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ในขณะที่จำนวนเงินงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมดในปี 2552 คือ89,385 ล้านบาท(หักเงินเดือน28,584 ล้านบาท)

 ส่วนงบประมาณจากระบบสวัสดิการข้าราชการนั้น  โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้รับเพียง 20,000ล้าน ( จากงบทั้งหมด 60,000 ล้านบาทที่กรมบัญชีกลางต้องจ่ายในสวัสดิการค่ารักษาของงข้าราชการ)

   โรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีประชาชนมาก มีโรงพยาบาลที่ไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะพอมีเงินเหลือ แต่โรงพยาบาลที่มีประชาชน(ตามทะเบียนบ้าน)น้อย แต่อาจมีจำนวนผู้ป่วยมาก เช่นเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือเป็นโรงพยาบาลชายแดน ที่มีประชาชนอพยพจากที่อื่นมาใช้บริการมาก ก็จะมีปัญหาเรื่องการขาดเงินดำเนินการจนถึงกับขาดสภาพคล่องทางการเงิน จากการรายงานของกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ในปีพ.ศ. 2552โรงพยาบาลทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุข 807 แห่ง มีโรงพยาบาลที่ได้กำไรเพียง 302 แห่ง (คิดเป็น 37%) ส่วนที่เหลือจะขาดทุน 505 แห่ง (62.58%)และขาดสภาพคล่องทางการเงิน  175 แห่ง จำนวนเงินที่ขาดทุน 5,575 ล้านบาท

 ทั้งนี้การจัดสรรงบประมาณจากการจ่ายเงินจากกองทุนต่างๆ ไปยังโรงพยาบาลโดยตรง ทั้งกำหนดการหักเงินเดือนของสปสช.ในระดับเครือข่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถบริหารหรือจัดการงบประมาณในแต่ละโรงพยาบาลได้

2. เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างประชาชน ทั้งคนจนและไม่จนจำนวน 48 ล้านคน ได้รับการบริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

   การยกเลิกการจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท ทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น

 ส่วนคนที่ยากจนจริงๆนั้น บางคนอาจไม่มีเงินเป็นค่าเดินทาง ก็อาจจะไม่สามารถมารับบริการได้ แต่ผู้มีเงินมากก็(อาจจะรู้มากด้วย)จะมารักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น เรียกร้องการรักษามากขึ้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพของตนเอง และไม่ต้องร่วมจ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองเลย

3.ไม่มีงบประมาณด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทั้งนี้เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการเลยหลังจากพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาลคิดว่างบประมาณเหมาจ่ายรายหัวนั้น รวมทั้งเงินเดือน(บางส่วน)ของบุลากรกระทรวงสาธารณสุข และงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้นของกระทรวงสธ.แล้ว ทำให้กระทรวงต้องไปของบประมาณด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมาจากสปสช. โดยแบ่งมาจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว

 การขาดงบประมาณในการดำเนินการเรื่องนี้ ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้น ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น โรงพยาบาลมีภาระงานในการตรวจรักษาผู้ป่วยมากขึ้น  ต้องสูญเสียเงินในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

4.ขาดงบประมาณในการซ่อมแซมและพัฒนา งบประมาณที่ขาดดุล ทำให้โรงพยาบาลไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม พัฒนาและจัดหาสิ่งองเครื่องใช้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

5.ภาระงานมากขึ้นแต่บุคลากรก็ลาออกมากขึ้น ผู้ป่วยใน (นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล)เพิ่มขึ้น23% ผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 32 % จนมีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการถึง 200 ล้านครั้งต่อปี เป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้บุคลากรลาออกอย่างต่อเนื่อง

6.การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทุกชนิด บุคลากรหลายๆสาขาวิชาชีพขาดแคลน ต้องรับภาระงานมากเกินไป  มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการทำงาน ขาดเวลาที่จะอธิบายและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและประชาชน มีความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียนฟ้องร้อง และไม่มีความก้าวหน้าและความมั่นคงทางการงาน

7. มาตรฐานการแพทย์(ในกระทรวงสาธารณสุข)ตกต่ำ แพทย์ขาดอิสระในการพิจารณาสั่งการรักษาผู้ป่วย ทั้งๆที่ “เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ” ทั้งนี้เนื่องจากการกำหนดกฎเกณฑ์การจ่ายยาและการจ่ายเงินของสปสช. ทำให้แพทย์ต้องสั่งใช้ยาเก่าๆเดิมๆ ตามรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งบางอย่างก็ไม่ใช่ยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย

 ซึ่งการ “มีสิทธิ์สั่งเพียงยาเก่าๆ เดิมๆ” นี้จะทำให้แพทย์ไม่มีประสบการณ์ในการใช้ยาใหม่ๆที่มีประสิทธิผลดีกว่าเดิม และประชาชนทั่วไปที่ใช้สิทธิในระบบ “บัตรประชาชนใบเดียวไปรักษาฟรีทุกโรงพยาบาล” จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายมากขึ้น   เนื่องจากไม่มีสิทธิได้รับยาใหม่ๆที่มีประสิทธิผลสูงสุด ตามดุลพินิจของแพทย์ตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่สูงขึ้น

   ผลในระยะยาวก็คือการแพทย์ไทยในระบบของกระทรวงสาธารณสุขนอกจากแพทย์จะไม่สามารถมีประสบการณ์ในการ “พัฒนาการรักษาให้ความก้าวทันโลก และทันโรค” แล้ว ความรู้ทางการแพทย์ไทยยังจะต้องถอยหลังลงคลองไป ในอนาคตอันใกล้นี้  เหมือนกับที่ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการที่เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวไว้ในเวทีการประชุมระดับนานาชาติ(ในการตอบคำถาม)ว่า “ผมไม่กล้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ทั้งนี้เนื่องจากไม่เชื่อถือว่าจะมีมาตรฐานทางการแพทย์ที่ไว้ใจได้”

ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข

  ปัญหาในการให้บริการด้านสาธารณสุขในกระทรวงสาธารณสุขนั้น ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ถ้าประชาชนมีสุขภาพดี คุณภาพชีวิตก็จะดีด้วย และจะช่วยให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานได้เต็มที่ สร้างเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว ส่งผลให้ประเทศชาติมีความก้าวหน้า ม่านคง และเจริญรุ่งเรืองต่อไป

  จะแก้ปัญหาได้ต้องการผู้บริหารพันธุ์ใหม่ คือ ต้องมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพันธุ์ใหม่มาแก้ปัญหา

    ปัญหาทั้งหลายที่เห็นและเป็นอยู่ในระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขที่กล่าวมา (ยังมีปัญหาต่างๆอีกมากมาย ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง )ทั้งหมดนี้   เป็นการสุดวิสัยที่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายจะป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ถ้าเรายังไม่มี “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพันธุ์ใหม่” ที่สามารถเข้าใจถึงสาเหตุของ “การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการ” การบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข  และลงมือแก้ปัญหาที่ “ต้นเหตุแห่งปัญหา”  อย่างจริงจังให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

   มิใช่เอาแต่โฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าจะพัฒนาให้ประชาชนได้รับการบริการฟรีที่มีคุณภาพ โดยไม่ได้ศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ตรงกับสาเหตุที่แท้จริง

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท)
11 พ.ค. 54

9073
วันนี้ (วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2554) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงเช้า (08.00 น.) ณ อาคารรัฐสภา กรุงเทพฯ และช่วงค่ำ (19.00 น.) ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.    เรื่อง ขออนุมัติโครงการดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
2.    เรื่อง การรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การศึกษาแนวทางและกำหนด มาตรการในการนำเทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) มาใช้ติดตั้งกับรถสาธารณะ ครั้งที่ 1
3.    เรื่อง การขยายความคุ้มครองประกันสังคมตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2553
4.    เรื่อง โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้
5.    เรื่อง การนำเสนอร่างแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2559 ต่อคณะรัฐมนตรี
6.    เรื่อง การเป็นเจ้าภาพการประชุม World Economic Forum on East Asia ปี 2555
7.    เรื่อง ความคืบหน้าในการดำเนินการตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ
8.    เรื่อง กำหนดงานให้คนต่างด้าวที่เป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ทำ
9.    เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 งบกลาง สำหรับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ส่วนราชการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง
10.   เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข
11.   เรื่อง มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554 เรื่อง ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ และเรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ
12.   เรื่อง แผนงบประมาณขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2555 - 2561)
13.   เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 งบกลาง รายการเงิน สำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (เพื่อเป็นค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมให้กับกำลังพลของ กอ.รมน. ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2553-30 กันยายน 2554)
14.   เรื่อง การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณแม่น้ำที่เป็นเขตแดนระหว่างไทย - พม่า
15.   เรื่อง โครงการระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมายกก
16.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไป เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน พ.ศ. ....
17.   เรื่อง การจัดตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร
18.   เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมคณะกรรมาธิการภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และคณะกรรมาธิการภูมิภาคเอเชียใต้ ครั้งที่ 24 (24th Joint Meeting UNWTO Commission for East Asia and the Pacific and UNWTO Commission for South Asia)
19.   เรื่อง โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9
20.   เรื่อง การปฏิบัติการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
21.   เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มรายการดำเนินงานและกรอบวงเงินงบประมาณโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุม และแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่
22.   เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2557 ณ จังหวัดภูเก็ต
23.   เรื่อง (ร่าง) มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ
24.   เรื่อง ขออนุมัติเงินอุดหนุนคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและ สิทธิเด็ก
25.   เรื่อง การช่วยเหลือผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ชุมนุมในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร
26.   เรื่อง ขอความเห็นชอบการสถาปนาวันมวยไทย
27.   เรื่อง การขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเพื่อปรับอัตราค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย
28.   เรื่อง ข้อเสนอเพื่อพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2555 - 2559)
29.   เรื่อง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม (กรณีผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย)
30.   เรื่อง โครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก
31.   เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2553 และ 2554 (เพิ่มเติม)
32.   เรื่อง การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง โครงการจัดเครื่องบินปี 2553 - 2557 ของ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
33.   เรื่อง การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรของกรมการ ปกครอง
34.   เรื่อง การเตรียมการด้านงบประมาณเพื่อการบริหารราชการจังหวัดบึงกาฬ
35.   เรื่อง เสนอขอจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินแผนงานด้านผู้ค้าหาบเร่-แผงลอย ตามโครงการประชาวิวัฒน์ และขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ (มอเตอร์ไซค์วิน)
36.   เรื่อง (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ฉบับที่ 3-4
37.   เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการบูรณะและซ่อมแซมโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย
38.   เรื่อง ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย-สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน
39.   เรื่อง การขอรับสนับสนุนงบประมาณปี 2554 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (โครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ)
40.   เรื่อง ขอความเห็นชอบ ร่างบันทึกการประชุมคณะกรรมการระดับสูงไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 27
41.   เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กับ North East Institute of Science and Technology (NEIST)
42.   เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 งบกลาง โครงการกรุงเทพฯ เมือง ปลอดภัยห่างไกลอาชญากรรมตามโครงการปฏิบัติการประชาวิวัฒน์ แผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย
43.   เรื่อง ขออนุมัติหลักการก่อสร้างสนามกีฬาจังหวัด
44.   เรื่อง แหล่งเงินสนับสนุนแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
45.   เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
46.   เรื่อง การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์วิศวกรรมศาสตร์ศึกษาซูนเนอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา
47.   เรื่อง โครงการทศวรรษการผลิตและพัฒนากำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พ.ศ. 2555 - 2564
48.   เรื่อง การเสนอรายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
49.   เรื่อง ขอสนับสนุนอัตราข้าราชการตำรวจตั้งใหม่ งบบุคลากรและงบดำเนินงาน
50.   เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ....
51.   เรื่อง การชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ปี 2552/53
52.   เรื่อง ขออนุมัติปรับอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสนามของอาสาสมัครทหารพราน
53.   เรื่อง คำขอของประเทศในภูมิภาคยุโรปในการขอยกเว้นการตรวจลงตราเข้าราชอาณาจักรไทยเพื่อ การท่องเที่ยวไม่เกิน 30 วัน
54.   เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาการประกันภัยพืชผลและโครงการประกันภัยข้าวนาปีปีการผลิต 2554
55.   เรื่อง ขออนุมัติจ่ายเงินชดเชยเป็นกรณีพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ จากการก่อสร้างโครงการเขื่อนน้ำอูน (เพิ่มเติม)
56.   เรื่อง แนวทางการควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี 2554
57.   เรื่อง ของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
58.   เรื่อง การแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง
59.   เรื่อง ขอความเห็นชอบการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง
60.   เรื่อง ขอต่ออายุเงินกู้ระยะสั้น
61.   เรื่อง ขอความเห็นชอบในหลักการจัดตั้งศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ
62.   เรื่อง แนวทางการปรับค่าตอบแทนของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
63.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวม4 ฉบับ
64.   เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
65.   เรื่อง แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555 - 2559)
66.   เรื่อง การดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการการเดินอากาศของบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด
67.   เรื่อง รายงานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2554
68.   เรื่อง สถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศลิเบีย
69.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตใช้เรือครั้งแรกสำหรับเรือประเภท การใช้ทำการประมงขนาดไม่เกิน 20 ตันกรอส พ.ศ. ....
70.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการทำสำมะโนสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ รวม 16 ฉบับ
71.   เรื่อง ขออนุมัติหลักการในการเป็นสมาชิกสหพันธ์กีฬานักเรียนนานาชาติ
72.   เรื่อง ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
73.   เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง โครงการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television System: CCTV System) และระบบเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสมกับการควบคุมทางศุลกากร
74.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการสอบคุณสมบัติและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และ ความเหมาะสมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระบวนการให้คำปรึกษาเยียวยาก่อนเลิกรับบุตรบุญธรรม พ.ศ. ....
75.   เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับคณะทำงานของสหประชาชาติประจำประเทศไทยเพื่อการเป็นหุ้นส่วนในการบริหารจัดการความรู้และการหารือเชิงนโยบาย
76.   เรื่อง คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการเจรจากรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
77.   เรื่อง เรื่อง แต่งตั้ง
        แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
        รัฐบาลสาธารณรัฐอิรักเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย
        แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
        ขอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และผู้เกี่ยวข้องอันเป็นผลมาจากคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองชุดใหม่
        แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ
        แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
        แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
        แต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การสวนยาง
        แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
        แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
        แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
        แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
        แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงพลังงาน)
        แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
        แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน
        แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการปิโตรเลียม
        แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
        แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ (กระทรวงมหาดไทย)
        แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
        แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
        แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้แทนตำแหน่งที่ว่าง
        แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (เพิ่มเติม)
        แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
        แต่งตั้งคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า แทนตำแหน่งที่ว่าง
        แต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การตลาด
        แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
        แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
        แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงคมนาคม)
        แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
        แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์


9074
เรื่องของชีวิตจริง น่าอ่าน


9075
จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของไทย

ในปีพ.ศ.2545 รัฐสภาได้เห็นชอบที่จะรับรองร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ให้ออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในประเทศไทยจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

 กล่าวคือก่อนที่จะมีพ.ร.บ.ฉบับนี้ การบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขนั้น ก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2530  กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

แต่ในปีพ.ศ. 2545 มีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้น คือเกิดมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นมา ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สำนักงานแห่งนี้ ไม่ได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม ใดๆเลย นายกรัฐมนตรีไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของเขา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของเขา เนื่องจากในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เขียนไว้ว่า ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรี

  ความหมายของคำว่ากำกับ หมายถึงดูแลเฉพาะความชอบด้านกฎหมาย ส่วนคำว่าบังคับบัญชาหมายถึงดูแลทั้งความชอบด้านกฎหมาย ดุลพินิจ นโยบาย

 หมายความว่า ตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขใดๆที่เกี่ยวข้องกับสปสช.ได้  กระทรวงสาธารณสุขอยากจะทำอะไร ก็ไม่มีเงินทำงาน เอกภาพในการบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุขมันหายไป สปสช.ไม่อยู่ในกรอบตามกฎหมายที่จะต้องทำตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเลย จะทำตามก็ได้ ไม่ทำก็ได้ นับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจริงๆ

รัฐมนตรีและปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถกำหนดนโยบายใดๆได้เลย ถ้าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เห็นด้วย  นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่ได้มีจุดเกาะเกี่ยวในอำนาจที่จะบังคับบัญชาหรือสั่งการใดๆต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ได้เลย

มีกฎหมายอยู่ข้อหนึ่งบอกว่า สปสช.จะต้องส่งงบดุลรายการใช้จ่ายเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภา โดยผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่รัฐมนตรีอาจจะไม่เคยได้อ่านงบดุลเหล่านี้อย่างละเอียดรอบคอบ และอาจไม่สามารถตรวจพบรายการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากไม่รู้เท่าทันการบริหารงบประมาณของสปสช.

ส่วนที่รัฐมนตรีทำได้คือตรวจการใช้งบ แต่ไม่สามารถตรวจสอบควบคุมการ ใช้อำนาจของสปสช.ได้ ซึ่งตอนนี้ สปสช.มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจหลายอย่าง เช่น บัญชีเงินเดือน ก็กำหนดเอาเอง การซื้อยาก็รวบอำนาจมาทำเอง การรักษาพยาบาลของแพทย์ก็ถูกแทรกแซง โดยมีการกำหนดว่าให้ใช้ยาอะไร การจ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขก็จ่ายไม่ครบตามที่โรงพยาบาลได้ใช้จ่ายจริง

แต่สปสช.มีเงินมากำหนดโครงการใหม่ๆเพิ่มเติมในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน หรือแม้แต่การที่สปสช.มีหน้าที่จ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุขตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สปสช.ก็จ่ายเงินไปเพียง0.01% ของงบประมาณเฉพาะส่วนนี้ ทำให้ประชาชนบางกลุ่มอ้างว่า การที่สปสช.จ่ายเงินเพียงไม่เกินรายละ 200,000 บาท ทำให้ประชาชนมีเงินไม่พอใช้จ่ายในการดำรงชีวิต จึงพยายามกดดันรัฐบาล ให้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยอ้างว่าสปสช.จ่ายเงินตามม. 41 น้อยเกินไป

 นายสุกฤษฏิ์ กิตติศรีวรพันธุ์  นักกฎหมายมหาชน  ได้กล่าวไว้ในการสัมมนา “แปดปีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ"”เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2552ว่า ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนในโลก ที่รัฐมนตรีไม่สามารถสั่งการหน่วยงานที่ทำงานตามภาระงานในสายงานการบริหารของตนเองได้ รัฐมนตรีมีหน้าที่บังคับบัญชาและจัดการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน แต่ไม่มีอำนาจที่จะสั่งใช้เงินในการดำเนินการตามนโยบายได้

 รัฐมนตรีและปลัดกระทรวง  ไม่สามารถบริหารงบประมาณได้ตามแนวนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากสปสช.มีอำนาจในการควบคุมการใช้เงิน ส่วนรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมีเพียง คนละ 1เสียงในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น  โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะเป็นผู้กำหนดการใช้เงิน โดยที่คณะกรรมการเหล่านี้ ก็ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชน  ไม่มีความเกี่ยวโยงกับสส. ไม่ต้องผ่านการคัดเลือกใดๆ ไม่ต้องผ่านการสอบความรู้ความสามารถทางวิชาการเหมือนข้าราชการ

กล่าวคือสปสช.ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของทั้งฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายข้าราชการ แต่ได้มาบริหารงบประมาณแผ่นดินมากมายมหาศาล ทำให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจหลายอย่างดังกล่าวมาแล้ว และเป็นเนื้องอกหรือสิ่งแปลกปลอมของกระทรวงสาธารณสุข ที่บ่อนทำลายการทำงานบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมายาวนานถึง 8 ปีแล้ว   

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
9 พ.ค.54

หน้า: 1 ... 603 604 [605] 606 607 ... 650