แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 591 592 [593] 594 595 ... 651
8881
การรวบรวมองค์​ความรู้ทาง​การ​แพทย์​แผน​ไทยนับว่ามี​ความสำคัญอย่างยิ่งต่อ​การพัฒนา​การ​แพทย์​แผน​ไทย​ให้​เชิดหน้าชูตาอยู่​ในสังคมปัจจุบัน สมกับที่บรรพบุรุษ​ได้คิดค้นวิธี​การจน​ได้องค์​ความรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ​ใน​การดู​แลสุขภาพตาม​แบบ​ไทย กลาย​เป็น​เอกลักษณ์​และ​เสน่ห์ทาง​การ​แพทย์พื้นบ้าน ที่ผสมผสานวัฒนธรรม​และ​ความ​เชื่อ​ได้อย่างลงตัว

​ในอดีต​ผู้คนมัก​ไม่​ได้​เจ็บป่วยด้วย​โรคร้าย นานาชนิดอย่างที่​เป็นกันทุกวันนี้ ​ไม่มี​โรคร้าย กลายพันธุ์ ​และ​ไม่มี​โรค​แฝงมากับสิ่ง​แวดล้อมรอบตัว ชาวบ้าน​ก็​ใช้ชีวิตกัน​ได้อย่างสงบ ​ทำมาหา​เลี้ยงชีพตามอัตภาพ ​เมื่อ​เจ็บป่วย​ก็​เ​ก็บหา สมุน ​ไพรมาต้มกิน ถ้าอา​การมากหน่อย​ก็จะพา​ไปหาหมอพระ​หรือหมอพื้นบ้าน​เพื่อ​ให้รักษา ​และจัดยาสมุน​ไพร​ให้รับประทาน​ไม่นานอา​การ​เจ็บป่วย​ก็ทุ​เลา

​เมื่อก้าว​เข้าสู่ยุคที่​การ​แพทย์​แผน​ไทย ภูมิ ปัญญา​ไทยจะต้องอิง​ความรู้ควบคู่​ไปกับ​การวิจัยพัฒนา​หรือ​ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สากลยอมรับ​ในด้าน​ความสมบูรณ์ทางวิชา​การ ​และ​ความปลอดภัยของ​ผู้บริ​โภค ​แล้วองค์​ความรู้ด้าน​การรักษา​และ​การ​ใช้ยาสมุน​ไพร​แต่ดั้ง​เดิม​จึง​ไม่​เพียงพอ จำ​เป็นจะต้องพัฒนา​ไปอย่างควบ คู่ อาทิ ​การพัฒนาหลักสูตร​การ​เรียน​การสอน ​เนื้อ หาต้องตอบ​โจทย์​ได้​ทั้ง​ความรู้ด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย​และ​การ​แพทย์​แผนปัจจุบัน ​หรือ​เชื่อม​โยงอย่างมี​เหตุมีผล

ประ​เทศ​ไทย​ก็​ได้มี​การบรรจุยาสามัญประจำบ้าน​ไว้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข นับตั้ง ​แต่ปี พ.ศ.2497 ​เป็นต้นมา จน​ถึงปัจจุบัน รวม​ถึงบัญชียาหลัก​แห่งชาติ ​แม้จะน้อย​ไปนิด ​แต่​ก็​เป็นก้าวย่างที่มี​ความหมายต่อวง​การ​แพทย์​แผน​ไทย

​การพัฒนา​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​ไม่​ใช่หน้าที่​ใคร ​หรือหน่วยงาน​ใดหน่วยงานหนึ่ง​เท่านั้น ​แต่​แพทย์​แผน​ไทย​ในฐานะที่​เป็น​ผู้ดำรง​ไว้​ซึ่งวิธี​การรักษา​และตรวจ​โรค ​เป็น​เสมือนตัว​แทนของวง​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​ก็ต้องยึดมั่น​ในจรรยา​เพื่อ​ให้​การ​แพทย์​แผน​ไทย​เข้า​ไป​เป็นทาง​เลือกหนึ่งของคน​ไทยยุคปัจจุบัน

หัว​ใจหลักของ​การ​ใช้ยา​ไทย​เพื่อ​การรักษา​โรค​ให้มีประสิทธิภาพ คือ หมอต้องวินิจฉัย​โรค​ได้ถูกต้อง ​และวางยา​แม่น​เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมาจาก​การปรุงยา ยาที่ปรุงรักษา​โรคนั้นต้อง​ใช้​ให้ถูกส่วน ถูกต้น ​ไม่​ใช่​เอาส่วนต้น​ไป​แทนราก ​หรือ​เอา​ใบ​ไป​แทน​เปลือก ​เพราะ​ในยาสมุน​ไพรส่วนต่างๆ จะมีสรรพคุณ​แตกต่างกัน​ไป

ประ​การสำคัญต่อมา ​เมื่อ​ได้ตัวยาตามที่ต้อง​การ​ก็ต้องรู้จัก​การ​ทำ​ความสะอาด ​เพื่อรักษาคุณค่าของสาระสำคัญ​ในตัวยา ​การอบ บด ยา ต้อง​ทำด้วย​ความประณีต​และ​ใส่​ใจ ​และมี​ความจริง​ใจ​เพื่อต้อง​การ​ให้​ผู้ป่วยหายจาก​โรคภัย​ไข้​เจ็บ

ปัจจุบันตลาดยาสมุน​ไพร​ในภาค​เอกชน​เปิดกว้าง นับ​เป็นนิมิตอันดีที่จะ​เห็นยา​ไทย​เติบ​โตสร้าง ​เศรษฐกิจ ​แต่มัน​ก็​เปรียบ​เสมือนดาบ 2 คม ​เพราะ​ผู้ที่ขาย​และผลิต​ไม่มี​ความรู้ที่ดี​ใน​การ​ทำยา​ก็​ทำ​ให้ยานั้นกลายสภาพ​เป็นยาพิษ​แทน​ได้

มีนัก​เรียน​แพทย์​แผน​ไทยจำนวนมากที่ตั้ง​ใจ​เล่า​เรียน​เพื่อออกมา​เป็น​ผู้ประกอบ​การค้าขายยา ผลิตยา​และผลิตภัณฑ์จากสมุน​ไพรจำหน่าย ​และ​ทำ​การวินิจฉัย​โรค​เอง ​โดยยังขาด​ความรู้​เวชกรรม จะ​เกิดอะ​ไรขึ้นต่อวง​การ​แพทย์​แผน​ไทย

​เมื่อย่างก้าว​ไปทาง​ไหน จะ​เห็น​แคปซูลขมิ้นชัน ฟ้าทะลาย​โจร มะรุม​และอื่นๆ อีกมากมาย ​หรืออย่างประชาสัมพันธ์​ให้กินขมิ้นชัน​เพื่อต้านอนุมูลอิสระ ​แต่​ผู้กิน​ผู้​ใช้​ไม่​เคยรู้สภาพร่างกายตน​เองว่า​เหมาะที่จะกิน​หรือ​ไม่ ​หรือกิน​เพื่ออะ​ไร นอกจากต้อง​การต้านอนุมูลอิสระ ​ในที่สุดคน​เหล่านั้น​ก็ต้องประสบกับ​โรคภัย​ไข้​เจ็บตามมาจริงๆ

ฉะนั้น ​ผู้บริ​โภคอย่า​เพิ่งตัดสิน​ใจสุ่ม​เสี่ยงต่อ ชีวิต​และร่างกายตน​เอง ควรต้องปรึกษาหมอ​แพทย์​ไทยจริงๆ บอก​เล่าอา​การ​เพื่อ​ให้หมอวินิจฉัย​โรค​และอา​การ​แท้จริง​ให้พบ​เสียก่อน ค่อยกินยาสมุน ​ไพร​ก็ยัง​ไม่สาย​เกิน​การ

​เหล่า​แพทย์​แผน​ไทย​ทั้งหลาย​เอง​ก็ต้องตระหนักด้วยว่า​เรียน​แพทย์​แผน​ไทย​ไม่​ใช่​เพียง ​เพื่อมาขายยา อย่างที่​เกลื่อนตลาด​ในทุกวันนี้

​เภสัชกรรม​ไทยรุ่น​ใหม่จำนวนมาก หันมา ตั้งตำรับยา​ใหม่ๆ บนพื้นฐาน​ความ​เข้า​ใจ​ใน​การ​ใช้ยาที่ผิด​เพี้ยน ​ซึ่ง​เป็น​เหตุผลหนึ่งที่​ทำ​ให้ยา​ใช้​ไม่​ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพดี​เท่าที่ควร ตำรับยาดีๆ ​ไม่ต้อง​ไปหาที่​ไหน ​แต่อยู่​ในคัมภีร์ตำราต่างๆ ที่ทุกท่าน​เรียน ​ไม่ว่าจะ​เป็นคัมภีร์​เวชศาสตร์วัณณา คัมภีร์​แพทย์ศาสตร์สง​เคราะห์ คัมภีร์ของพระยาพิษณุประสาท​เวช คัมภีร์ของอาจารย์คล้อย ทรงบัณฑิตย์ คัมภีร์​เหล่านี้ต่างบันทึกตำรับยารักษา​โรค​ไว้จำนวนมากมาย ถ้า​ผู้​เรียนสามารถนำมา​ใช้​ได้อย่าง​แตกฉาน​ก็รักษา​โรคหาย ​ผู้ที่​เรียน​แพทย์​แผน​ไทย​ทั้งหลายลองหันมามองขุมทรัพย์ทางปัญญา​เหล่านี้​แล้วตี​โจทย์​ให้​แตก ทุกท่านจะร่วม​เป็นหนึ่ง​ใน​การพัฒนาคุณภาพยา​ไทย​ให้ก้าวหน้าก้าว​ไกล​ได้ ​ทำ​ให้​การ​แพทย์​แผน​ไทยผงาด​ได้

​ในระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-4 กันยายน 2554 จะมี​การจัดงานมหกรรมสมุน​ไพร​แห่งชาติครั้งที่ 8 ขึ้น ที่อิม​แพ็ค ​เมืองทองธานี ปีนี้จัดงานภาย​ใต้​แนวคิด ยา​ไทย ​เด็ก​ใช้​ได้ ​ผู้​ใหญ่​ใช้ดี ​ผู้บริ​โภคลอง​ไปค้นหาคำตอบของยา​ไทยที่มีคุณภาพอย่าง​แท้จริง​ได้.

ไทย​โพสต์ 14 สิงหาคม 2554

8882
ปัญหาร้อนที่ค้างคารอพิสูจน์ฝีมือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ "นายวิทยา บุรณศิริ" ให้เข้ามาถอดรหัสในมุมมองของบุคลากรสาธารณสุขและเครือข่ายภาคประชาชน 10 ต้อง กับความหวังของวงการแพทย์

1.ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ เป็นปัญหาที่สะสมมานานในแวดวงสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะกรณีญาติหรือคนไข้ที่ไม่พอใจผลการรักษา เข้าใจว่าแพทย์รักษาไม่ดีบ้าง หรือบกพร่องในการรักษาจนส่งผลต่อชีวิตคนไข้ และนำไปสู่ประเด็นการฟ้องร้อง ขณะที่แพทย์มองว่ารักษาเต็มที่แล้ว แม้ปัจจุบันจะมีมาตรา 40 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เยียวยาเบื้องต้น แต่ทว่าปัญหาไม่จบสิ้น นำไปสู่การร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.. ที่มีความเห็นต่างชนิดรุนแรง เป็นอีกเผือกร้อนที่รอให้เร่งดำเนินการ

2.ปัญหาโรงพยาบาล (รพ.) ขาดสภาพคล่องที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 รพ.สังกัดกระทรวงฯ 261 แห่ง จากทั้งหมด 875 แห่ง ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องอุดช่องโหว่ ด้วยการจัดสรรเงินให้ รพ.ต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้ดิ้นรนแก้ปัญหากันเอง เรื่องนี้ควรมีการวางระบบในภาพรวมว่าจะเดินต่อไปอย่างไร ทั้งเรื่องการจัดสรรงบฯที่ควรดูความกระจายตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่ อัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวของ สปสช. ที่จัดสรรเท่ากันหมดอาจไม่เพียงพอ ขณะที่ค่าตอบแทนควรพิจารณาเป็นภาระงาน เป็นต้น

3.บุคลากรแพทย์ขาดแคลน แพทย์กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ แพทย์ตามหน่วยบริการระดับปฐมภูมิไม่ค่อยมี คนไข้ส่วนใหญ่จะต้องวิ่งโร่เดินทางไปรักษาถึงในเมือง กลายเป็นภาพชินตาตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีคนไข้แออัดชนิดไม่มีที่นั่งรอ ปัญหาแพทย์สมองไหลก็เป็นอีกเรื่องที่ รพ.รัฐประสบมาโดยตลอด เรื่องนี้มีหลายฝ่ายเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งการแยกตัวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อให้มีความเป็นอิสระ สามารถจัดสรรตำแหน่งได้ โดยไม่ต้องรอ ก.พ.กำหนด หรือให้อยู่ในระบบต่อไป แต่ต้องมีการต่อรองกับรัฐบาลอย่างจริงจัง

4.ปัญหาค่าตอบแทน เป็นปัญหาที่ถูกเรียกร้อง โดยเฉพาะความต้องการให้คิดตามภาระงาน แม้ปัจจุบัน สธ. จะจัดสรรงบฯถึง 4.2 พันล้านบาท เพื่อกระจายให้ รพ.ทั้งระดับจังหวัด และชุมชนแล้ว แต่ดูเหมือนเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาที่ต้องพบทุกปี

5.การขยายสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรรักษาฟรี บัตรทอง หรือบัตร 30 บาทนั่นเอง ประเด็นคือ การทำอย่างไรให้สิทธิประโยชน์เท่าเทียมกัน หรือไม่แตกต่างกันมากนักระหว่างหลักประกันสุขภาพฯ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งนำไปสู่ประเด็นการรวม 3 กองทุน หรือล่าสุดการขยายไปยังผู้ประกันตน โดยอาศัยมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ซึ่งดูเหมือนจะยังไม่ได้ข้อชัดเจน แต่เป็นเรื่องที่ถือว่ากระแสสังคมจับตามองเป็นพิเศษ ยิ่งจะมีการฟื้นเก็บ 30 บาท งานนี้คงมีเสียงค้านไม่น้อย

6.การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (รพ.) อย่างที่ผ่านมามีการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) กว่า 9 พันแห่ง ทั้งการปรับปรุงอาคารสถานที่และป้ายโรงพยาบาล มีบุคลากรครบ มีระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมต่อกับ รพ.แม่ข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต เพื่อรองรับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ทั้งหมดเพื่อการบริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้น แต่ปัญหาคือ บุคลากรอาจไม่เพียงพออย่างที่คิด รวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ด้วย

7.การส่งเสริมป้องกันโรค ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมป้องกันโรค เพื่อลดงบฯการรักษาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาโรคเรื้อรังต่างๆ เรื่องนี้ถูกจับตามองว่าจะดำเนินการเป็นรูปธรรมอย่างไร ทั้งเรื่องงบฯต้องมีการแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสมด้วย

8.งานคุ้มครองผู้บริโภคต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นด้านสุขภาพ การซื้อเครื่องสำอาง อาหาร ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน สินค้าปลอม หรือแม้กระทั่งพบสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจไม่เน้นแค่การบุกจับ แต่ต้องเน้นกวาดล้างอย่างเป็นระบบด้วย

9.ประเด็นการสานต่อกฎหมายด้านสุขภาพต่างๆ ทั้งการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจบริการสุขภาพ พ.ศ. ที่จะช่วยควบคุมธุรกิจสปาที่อาจมีการแอบแฝงขายบริการทางเพศ หรือการผลักดันกฎหมายลูกของ พร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่เคยเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ มีทั้งหมด 6 ฉบับ ทั้งการห้ามขายเหล้าปั่น การห้ามขายเหล้ารอบสถานศึกษาในรัศมี 500 เมตร การกำหนดสถานที่หรือบริเวณที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนท้ายรถกระบะ การติดภาพฉลากคำเตือนที่บรรจุภัณฑ์ ห้ามขายในสนามกีฬาของรัฐ ให้กำหนดคล้ายๆ สถานศึกษาที่ห้ามขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด นอกจากนี้ในส่วนของสนามกีฬาของเอกชนกำหนดห้ามขายเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขโดยสามารถขายได้ในสโมสรของสนามกีฬานั้นๆ และห้ามขายและดื่มในโรงงานอุตสาหกรรม

และสุดท้าย 10.การคลี่คลายปัญหาในกระทรวงฯ ซึ่งแม้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ภาพรวมของประชาชน แต่เป็นปัญหาความขัดแย้งที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ยิ่งล่าสุดมีประเด็นความเห็นต่าง "สิทธิการตาย" หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุข ที่ดูเหมือนจะเถียงกันไม่จบสิ้น

เหล่านี้ คือ 10 สิ่งท้าทายรอรัฐมนตรี สธ.คนใหม่เข้ามาคลี่คลาย ...

มติชนรายวัน 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

8883
    ตร.รวบเจ้าหน้าที่รังสีวิทยา รพ.บางเลน ค้ายาหลังถูกผอ.รพ.จับตรวจฉี่พบสีม่วงจึงประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม สารภาพเป็นหนี้นอกระบบมาก จนต้องหันมาค้ายาใช้หนี้
    พ.ต.อ.สุรศักดิ์ ปิ่นทอง ผกก.สภ.บางเลนได้รับการประสานงานจากนายจิระโรจน์ ธีระเดชธนพงศ์ ผู้อำนวยการรพ.บางเลนว่า ได้ทำการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะเจ้าหน้าที่ชายของรพ.บางเลนทั้งหมด และตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะนายชวลิต ผลิศักดิ์ อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 219 ม. 5 ต.ห้วยธรรม อ.จุน จ.พเยาว์ ตำแหน่งเจ้าหน้าทีรังสีวิทยา ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาทำการสอบสวน จากการสอบสวนเบื้องต้นนายชวลิต ให้การว่า ตนทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รังสีวิทยาของรพ.บางเลน รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย กลุ้มใจดื่มเหล้าและเสพยา จนกระทั่งมีพรรคพวกชวนให้รับยามาจำหน่าย ตนจึงตัดสินในที่จะรับยาบ้าและยาไอซ์ มาจำหน่ายให้กับวัยรุ่นในพื้นที่อ.บางเลน กระทั่งผอ.โรงพยาบาลให้ทำการตรวจปัสสวะเจ้าหน้าที่ชายทุกคน ทำให้พบสารเสพติดในปัสสวะของตน เพราะเพิ่งจะเสพมา
    พ.ต.อ.สุรศักดิ์ ปิ่นทอง ผกก.สภ.บางเลน กล่าวว่า หลังจากได้รับการประสานงานจากผู้อำนวยการรพ.บางเลน ว่าได้มีการตรวจปัสสวะเจ้าหน้าที่ชายของโรงพยาบาล และพบว่ามีปัสสาวะสีม่วง จึงได้ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำการสอบสวน จนกระทั่งนายชวลิต ได้ให้การรับสารภาพว่าเสพยาเสพติดให้โทษจริง และยังเป็นเอเย่นต์จำหน่ายยาบ้าและยาไอซ์ ให้กับวัยรุ่นในพื้นที่บางเลน และได้เก็บซ่อนยาไว้ในห้องเช่า เจ้าหน้าที่จึงได้นำกำลังเข้าไปทำการการตรวจค้นภายในห้องเช่าดังกล่าว และจากการตรวจค้น สามารถตรวจยึดยาบ้าจำนวน 250 เม็ด ที่บรรจุอยู่ในถุงและซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีชมพู และพบอาไอซ์ บรรจุอยู่ในกล่องวางอยู่ในตู้เอกสาร จึงได้ยึดไว้เป็นของกลาง ก่อนที่จะแจ้งข้อกล่าวหาว่า “เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) และมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) และยาไอซ์ ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ก่อนที่จะนำตัวมาทำการสอบสวนขยายผลและดำเนินคดีต่อไป

เนชั่นทันข่าว 11 สค. 2554

8884
หลังจากรุกซื้อหุ้นขยายเครือข่ายรพ.กรุงเทพ จนก้าวมาเป็นรพ.เอกชนที่มีเครือข่ายมากเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย เส้นทางจากนี้ไป คือบทพิสูจน์ความพร้อมรองรับเออีซี

 การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี (AEC : Asean Economic Community) ที่กำลังจะเกิดขึ้นเต็มตัวในปี 2558 คือ อีกหนึ่งเป้าหมายที่ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) เจ้าของและผู้บริหารสูงสุดกลุ่ม รพ.กรุงเทพ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เปิดใจในการให้สัมภาษณ์วานนี้ (10 ส.ค.) ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้เขาเดินหน้าแผนขยายธุรกิจและเครือข่าย ทั้งธุรกิจโรงพยาบาลกรุงเทพ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ให้ครอบคลุมบริการ เพื่อรองรับการเปิดเสรีในระดับอาเซียน ด้วยความพร้อมให้มากที่สุด

 โดยเฉพาะในธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่ง นพ.ปราเสริฐ เผยว่า รพ.กรุงเทพ ในวันนี้ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่มีเครือข่ายมากที่สุดในเอเชีย หลังจากได้ซื้อหุ้นและเข้าบริหารเครือ รพ.พญาไท-รพ.เปาโลสำเร็จ ทำให้เครือ รพ.กรุงเทพ มีจำนวนโรงพยาบาลในเครือถึง 27 แห่ง ให้บริการรักษาพยาบาลทั้งระดับบน-ระดับกลาง รวมกว่า 5,000 เตียง มีบุคลากรแพทย์ในเครือกว่า 6,200 คน และมีมาร์เก็ตแคปมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สูงถึง 9 หมื่นล้านบาท (คิดจากราคาปัจจุบันที่ 60 บาท คูณด้วยจำนวน 1,500 ล้านหุ้น)

 ผลประกอบการในธุรกิจโรงพยาบาลยังคงเติบโตต่อเนื่อง เมื่อรับรู้ผลประกอบการจากเครือ รพ.พญาไท-รพ.เปาโล เข้ามาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาส 4 จะทำให้รายได้ของเครือ รพ.กรุงเทพในปีนี้ มียอดปิดได้ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท และในปี 2555 ซึ่งรับรู้รายได้ครบทั้ง 4 ไตรมาสจะทำให้มีรายได้รวมเพิ่มเป็น 4.6 หมื่นล้านบาท ในอัตราการเติบโตค่อนข้างดี และคาดว่าเมื่อเปิดเออีซีในปี 2558 รายได้ของเครือ รพ.กรุงเทพ จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวที่รายได้รวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท

 เหตุผลหลักมาจากแนวโน้มธุรกิจโรงพยาบาลเติบโตต่อเนื่อง ทั้งตลาดผู้ป่วยในประเทศและชาวต่างชาติ ซึ่งเพิ่มเข้ามาทุกปี ตัวเลขผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามารักษาพยาบาลในไทยต่อปีมีไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านคน ในอนาคตหากรัฐบาลให้ความสำคัญและผลักดันแผนไทยเป็นเมดิคัลฮับ จะเพิ่มยอดผู้ป่วยต่างชาติเข้าไทย 2 ล้านคนได้ไม่ยาก

 อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบัน รพ.กรุงเทพ มีสัดส่วนการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยต่างชาติอยู่ที่ 35% อีก 65% เป็นตลาดคนไทย แต่ในอนาคตสัดส่วนเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีการเปิดเออีซี ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนแรงงาน ทั้งระดับบริหาร และแรงงานระดับกลาง ข้ามประเทศเข้ามาทำงานระหว่างกันได้อย่างสะดวก ธุรกิจโรงพยาบาลก็จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีในจุดนี้ แต่สิ่งสำคัญ เราต้องเตรียมความพร้อมให้ทัน ทั้งเตรียมเรื่องบุคลากร ขีดความสามารถในการแข่งขัน และการให้บริการให้สู้กับประเทศเพื่อนบ้านได้

 นพ.ปราเสริฐ เผยว่าเรื่องเทคนิคและวิทยาการทางการแพทย์ ความรู้ความสามารถต่างๆ ของแพทย์ไทยเชื่อว่าไม่แพ้ใครในระดับอาเซียน และยังได้เปรียบในแง่ค่ารักษาพยาบาลที่ถือว่าต่ำมาก หากเทียบกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเราต่ำกว่าถึง 3 เท่าตัว เช่น การทำบายพาสหัวใจในไทยค่าใช้จ่ายราว 6 แสนบาทในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่กว่า 1.5-1.6 ล้านบาท และหากเทียบกับสิงคโปร์ ค่ารักษาพยาบาลในไทยก็ยังต่ำกว่าถึง 1 เท่าตัว

ขณะที่คุณภาพการให้บริการไม่ด้อยไปกว่ากัน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ไทยจะใช้รับมือกับประเทศเหล่านี้ได้ ดังนั้น โอกาสในการเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลในไทย จึงยังมีอีกไม่น้อย แต่ที่สำคัญเราต้องพัฒนาองค์กรให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลกให้ได้

 "เรายังคงมองโอกาส เรื่องการขยายเครือข่ายโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้อาจยังพูดไม่ได้ว่าจะขยายอีกกี่แห่ง หรือจะซื้อใครเข้ามาเพิ่ม แต่มองว่าธุรกิจนี้มีความเป็นไปได้ในการเติบโตสูง จึงอยากเสนอให้ภาครัฐเห็นความสำคัญ และหันกลับมามองเรื่องเมดิคัลฮับอีกครั้ง แม้สิงคโปร์จะประกาศตัวว่าเป็นศูนย์กลางด้านนี้ แต่ไทยเราก็มีความพร้อมไม่น้อยไปกว่าเขาเช่นกัน เพียงแต่ภาครัฐต้องให้การส่งเสริมจริงจัง" นพ.ปราเสริฐ กล่าวพร้อมยกตัวอย่าง แนวทางส่งเสริม เช่น การเปิดให้ผู้ป่วยต่างชาติที่มารักษาพยาบาลในไทย สามารถต่อวีซ่าได้อย่างสะดวก ตลอดจนเปิดทางอำนวยความสะดวกในญาติผู้ป่วยเข้ามาในไทยด้วย

 นอกจากนี้ล่าสุดยังมีสัญญาณบวกน่าสนใจ สำหรับตลาดผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น โดยเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน รพ.กรุงเทพได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ในความร่วมมือกับ 12 โรงพยาบาลเอกชนของญี่ปุ่น และมีความเป็นไปได้ที่จะลงนามเพิ่มเป็น 100 โรงพยาบาล ในการรับส่งต่อผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นของโรงพยาบาลเหล่านั้น ซึ่งจะเดินทางเข้ามาพำนักระยะยาวในไทย ด้วยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ในกลุ่มผู้สูงอายุหลังเกษียณ ที่จะเข้ามาใช้ชีวิตในไทยซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นมาก เป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจ

 ไม่เพียงธุรกิจโรงพยาบาลเท่านั้น นพ.ปราเสริฐ ยังเผยด้วยว่า ธุรกิจการบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ก็มีแผนขยายเครือข่ายรับมือการเปิดเออีซี ด้วยเช่นกัน โดยล่าสุดทีมบริหารบางกอกแอร์เวย์ส มองเรื่องการเตรียมนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือราวปลายปี 2556 เพื่อระดมทุนสำหรับการขยายเครือข่ายการบิน

เป้าหมายสำคัญคือต้องการให้บริการการบินทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเส้นทางการบินระยะกลางราว 5-6 ชม.ให้ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยจุดยืนหลักการเป็นสายการบินที่มีจุดขายเฉพาะตัวเป็น บูทีคแอร์ไลน์ ที่มีบริการพิเศษกว่าสายการบินราคาประหยัด เน้นให้บริการกลุ่มคนที่ต้องการความพิเศษแตกต่าง และความสะดวกสบายเฉพาะตัว

 "โลกกำลังเปลี่ยนเศรษฐกิจประเทศตะวันตกชะลอตัว เอเชียจะเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ประชาคมเอเชียซึ่งมีประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน มากเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกที่มีอยู่ 7 พันล้านคน กำลังซื้อในเอเชียมีมหาศาล เพียงแต่เราต้องบริการรองรับให้ได้" นพ.ปราเสริฐ กล่าว และทิ้งท้ายว่า เรื่องเข้าตลาดหลักทรัพย์ คงต้องใช้เวลาอีกระยะจึงจะให้รายละเอียดได้มากกว่านี้ 

กรุงเทพธุรกิจ 11 สิงหาคม 2554

8885
สพศท.-แพทย์ชนบท-เครือข่ายผู้เสียหายฯ  จ่อคิว ขอเข้าพบ  รมว.สธ.คนใหม่ พร้อมพกนโยบายเข้าหารือเพียบ  ด้าน “ปรียนันท์” ลั่น ผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายต่อหลังจากที่ผลการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ออกมาเรียบร้อย โดยมีนายวิทยา  บุรณศิริ  ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  นั้น
       
       พญ.ประชุมพร  บูรณ์เจริญ  ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.)  กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า  ถือเป็นผลการแต่งตั้งที่น่าพึงพอใจมาก เพราะนายวิทยาเคยเป็นประธานวิปฝ่ายค้านมาก่อน  และเคยรับฟังปัญหาหลายเรื่อง  โดย เฉพาะเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ยอมเปิดใจรับฟังแพทย์ซึ่งไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด ซึ่งมั่นใจว่านายวิทยามีเหตุผลพอที่จะไม่ตัดสินใจอะไรแบบฉาบฉวย
       
       พญ.ประชุมพร   กล่าวด้วยว่า ในเร็วๆ นี้ตนและสมาชิก สพศท.อาจเข้าพบ รมว.สธ.หลังจากเข้ารับตำแหน่ง เพื่อเสนอนโยบายในหลายๆ ด้านที่กำลังเป็นปัญหาในระบบสาธารณสุข หลักๆ ได้แก่ ปัญหาวิกฤติการเงินการคลังของ รพ.สังกัด สธ., ปัญหาเรื่องบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  ส่วนกรณี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นั้น คาดว่าไม่มีสิ่งใดต้องเป็นห่วงในขณะนี้  เนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในนัดแรกก็ยังไม่เริ่มขึ้น
       
       ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ   ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวว่า   การที่ รมว.สธ.คนใหม่เข้ามารับตำแหน่งนั้น ตนไม่มีสิ่งใดโต้แย้งในมิติของตัวบุคคล  แต่อยากให้เน้นการบริหารที่ไม่เลือกข้าง โดยต้องพยายามสร้างสมานฉันท์ระหว่างผู้ให้บริการสาธารณสุข และผู้รับบริการให้ได้
       
       “ทั้งนี้หลังจากการเข้ารับตำแหน่งแล้ว คาดว่าจะมีการเข้าพบเพื่อนำเสนอนโยบายในการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ  เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการแก่ประชาชนทุกระดับ และอาจจะขอหารือเกี่ยวนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ระบุว่าอาจมีการกลับมาเก็บเงินสมทบในระบบหลักประกันสุขภาพจำนวน 30 บาท ซึ่งโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะการเก็บเงินส่วนนี้อาจทำให้รัฐต้องแบกรับกับภาระค่าจ้างบุคลากรมา จัดการระบบข้อมูลที่มากกว่าเดิม ซึ่งผมมองว่าไม่คุ้มค่า” นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
       
       นางปรียนันท์  ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า   ถือ เป็นโอกาสดีที่ สธ.มีรัฐมนตรีคนใหม่ โดยทางเครือข่ายฯ อาจจะมาขอเข้าพบเช่นกัน ซึ่งตนจะนำทีมผู้ป่วยมาชี้แจงกรณีความจำเป็นของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เพราะขณะนี้ค้างอยู่ในสภาฯนานแล้ว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 สิงหาคม 2554

8886
แพทย์ รพ.ปทุมธานีเผยเหตุที่เด็กเสียชีวิตจากไส้ติ่งแตก เป็นเพราเด็กอ้วนจึงยากที่จะตรวจหาสาเหตุพบในครั้งแรก แต่เมื่อครั้งสามพบอาการแต่ก็สายเสียแล้ว ทาง รพ.ได้เยียวยาให้กับทางญาติ ตามมติของทางแพทย์ และ กม. ...

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 11 ส.ค. ที่โรงพยาบาลปทุมธานี นำโดย นพ.สุรัตน์ สุขประเสริฐ รักษาการผู้อำนวยการ รพ.ปทุมธานี ได้เชิญนางสาวสุดารัตน์ นิมสันเทียะ อายุ 35 ปี พร้อมด้วยนางเตียง แซ่เจี่ย อายุ 52 ปี และญาติ เดินทางเข้าพูดคุยถึงปัญหาที่ห้องประชุมของทางโรงพยาบาลโดยนำแพทย์ที่ดูแลเด็กตั้งแต่เริ่ม และแพทย์ที่ผ่าตัดเด็ก โดย นพ.สุรัตน์ กล่าวว่า ในกรณีของ ด.ช.ฐิติวุฒิ หรือ น้องฟิวส์ ทองดอนเหมือน อายุ 10 ปี นั้นทางโรงพยาบาลได้เรียกแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในกรณีนี้เด็กเข้ามารักษาตัวด้วยอาการปวดท้อง เมื่อตรวจดูก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ เพราะเด็กอ้วนจึงเป็นการตรวจได้ยากว่าเกิดจากสาเหตุอะไร จึงได้ให้ยาลดกรดไปทาน แต่เมื่อเด็กเข้ามารักษาตัวเป็นครั้งที่ 2 ทางแพทย์จึงได้ทำการเอ็กซเรย์ แต่ก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ จึงให้เดินทางกลับบ้านได้ จนเมื่อวันที่ 9 ส.ค.เด็กได้เข้ามารักษาตัวอีกรอบด้วยอาการปวดท้องและอาเจียน ทางแพทย์จึงได้ทำการตรวจอย่างละเอียดอีกรอบ จนพบว่าเด็กมีอาการไส้ติ่งอักเสบ และแพทย์จึงได้ทำการเตรียมการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน

จนเมื่อเวลา 13.00 น. แพทย์ได้พาตัวน้องฟิวส์ เข้าทำการผ่าตัด แต่ก็ไม่ทันเพราะไส้ติ่งแตกแล้ว และมีการหนองไหลเข้าไปในช่องท้อง และกระแสเลือด ทำให้เด็กเกิดอาการติดเชื้อในกระแสเลือด จนเด็กเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งในการนี้ทางแพทย์ได้พูดเรื่องนี้ให้ทางญาติได้เข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว และทางโรงพยาบาล ก็จะรับดำเนินการเยียวยาให้กับทางญาติ ตามมติของทางแพทย์ ตามาตรา 41 ก่อนที่ทางญาติจะเข้าใจ และเดินทางกลับ.

ไทยรัฐออนไลน์ 11 สค 2554

8887

โดย คณะทำงานจัดทำคู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน
การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน

๑ ความเป็นมา   

การจัดระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนนั้นจำเป็นต้องมีบุคลากรที่เหมาะสมทั้งในเชิงปริมาณ ทักษะ การกระจาย และมีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามปัญหาการกระจายบุคลากรอย่างเป็นธรรมระหว่างเมืองและชนบท และระหว่างภาครัฐและเอกชนของวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเฉพาะ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องได้รับการแก้ไขที่เร่งด่วน แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาการธำรงอยู่ในภาครัฐของบุคลากรสาธารณสุขโดยใช้มาตรการต่างๆ ได้แก่ การเพิ่มการผลิต  การบังคับใช้ทุนในการให้บริการภาครัฐ มาตรการการเงิน และมาตรการแรงจูงใจต่าง ๆ ที่ไม่เป็นตัวเงินต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนย้ายออกจากระบบบริการภาครัฐยังคงมีอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในวิชาชีพแพทย์  อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของมาตรการต่างๆ ได้รับการมองว่าเป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองกับปัญหาเฉพาะหน้าเฉพาะประเด็น ขาดการมองอย่างเชื่อมโยง และเป็นมาตรการที่กำหนดจากส่วนกลาง ขาดการปรับเพื่อใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้งบประมาณที่จำกัด สถานบริการจำเป็นจะต้องเพิ่มผลิตภาพการทำงานของกำลังคนของหน่วยบริการ  และสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ประกอบกับ ค่าตอบแทนของภาครัฐซึ่งแตกต่างจากภาคเอกชนเป็นอย่างมากเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะสมองไหล (internal brain drain) ของบุคลากรสาธารณสุขจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน  จากพื้นที่ยากลำบากไปสู่พื้นที่เขตเมือง จากพื้นที่ที่มีงานมากไปสู่พื้นที่ที่มีงานเบากว่า  ถึงแม้ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามในการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรในหลายรูปแบบเพื่อแก้ไขสภาพปัญหาดังกล่าว ตัวอย่างเช่น การปรับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การออกระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนในพื้นที่ทุรกันดารและการไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว และการแก้ไขระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้น ในปี๒๕๕๑ - ๒๕๕๒ กระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนในส่วนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่ โดยมีการปรับเพิ่มอัตราการจ่ายในทุก ๆ พื้นที่ และยังเพิ่มหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างกันตามระดับโรงพยาบาล และระยะเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากรในพื้นที่นั้นด้วย ตัวอย่างเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับแพทย์ การเพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง เพราะอัตราจ่ายที่แตกต่างกันมากระหว่างวิชาชีพและระหว่างพื้นที่ เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปรับเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น โดยรวม คือ การขอให้มีการปรับเพิ่มขึ้น (ในกลุ่มที่เห็นว่าตนเองได้น้อยจนเกินไป) หรือขอให้มีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในกลุ่มที่ยังไม่เคยได้รับ อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้มีการทบทวนเมื่อใช้ไป ๑๕ เดือน (ถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๓) กระทรวงสาธารณสุขจึงขอชะลอการตัดสินใจทั้งหมด ในปี ๒๕๕๔ กระทรวงสาธารณสุขก็ถูกทักท้วงจากกระทรวงการคลังในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องทบทวนหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนใหม่

หลักการณ์เบื้องต้น (General  Principle) ในการกำหนดค่าตอบแทนแนวใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๓ ส่วน  แต่ละส่วนมีจุดมุ่งหมายต่างกัน  ดังแสดงในภาพที่ ๑  โดยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งนั้นเป็นการจ่ายตามประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของบุคลากร ในขณะที่จะมีค่าตอบแทนส่วนที่ ๒ ซึ่งจ่ายเพื่อเป็นแรงจูงใจเพื่อดึงดูดและธำรงกำลังคนในพื้นที่พิเศษหรือกันดาร รวมถึงกำลังคนในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน สำหรับค่าตอบแทนส่วนที่ ๓ มีวัตถุประสงค์ของการจ่ายเงินตามผลการปฏิบัติงานก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  คุณภาพ ขวัญและกำลังใจซึ่งจะสร้างความเป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นรูปธรรม


                        
ภาพที่ ๑ หลักการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

ในส่วนของการจ่ายค่าตอบแทนในส่วนที่ ๓ เป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance) กระทรวงสาธารณสุขได้เคยมีการจัดทำโครงการ “ทดลองจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน หรือ pay-for-performance (P4P)” โดยดำเนินการนำร่องที่ โรงพยาบาลพาน จังหวัดเชียงราย และโรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๖ เป็นต้นมา จากการประเมินผลการทำงานพบว่าสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั้งสองแห่งใช้ศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น จึงได้ดำเนินการขยายพื้นที่เพิ่มเติมในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ สามารถจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี โรงพยาบาลพนมสารคาม และโรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

จากประสบการณ์การดำเนินการในโรงพยาบาลต่างๆ ที่ผ่านมา ได้เกิดองค์ความรู้ในการกำหนดเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานในลักษณะแตกต่างกัน แต่ละลักษณะมีจุดเด่นเป็นของตนเอง และเหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ดังกล่าวจัดทำคู่มือฉบับนี้ขึ้น โดยมีแนวคิดที่จะเสนอแนวทางที่หลากหลาย เพื่อให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง

 
๒ หลักการ
การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน(Pay for Performance) ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นระบบที่สามารถเพิ่มผลิตภาพการทำงานของกำลังคน และสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ซึ่งการนำมาใช้ในภาคบริการสุขภาพที่เป็น Skill Labour Intensive ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบระบบอย่างรอบคอบ คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อม และผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบอย่างรอบด้าน ทั้งด้านผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย ผู้ใช้บริการความสามารถในการจ่ายและความมั่นคงขององค์กร ความพึงพอใจและประสิทธิภาพของกำลังคน รวมทั้งการแข่งขันในตลาดบริการสุขภาพที่เติบโตขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทั้ง ๔ ปัจจัยดังกล่าว มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ดังแผนภาพ


การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance) เป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานแก่บุคลากรด้านสุขภาพ ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานประกอบไปด้วย ปริมาณภาระงานและ คุณภาพงาน โดยมีหลักการพื้นฐานดังนี้

๑.   ค่าตอบแทนนี้ เป็นค่าตอบแทนเพื่อการจูงใจ (Incentives) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ให้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าตอบแทนพื้นฐาน ขนาดของค่าตอบแทนเพื่อการจูงใจที่จะจ่ายนี้ เป็นค่าตอบแทนที่ผันแปรตามผลงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในแต่ละโรงพยาบาล โดยจะมีการจ่ายค่าตอบแทนนี้ภายหลังจากมีการประเมินผลงานแล้ว  
ภาพที่ ๒ กรอบแนวคิดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน


๒.   การจ่ายค่าตอบแทน โดยยึดหลักพื้นฐานของความเป็นธรรมภายใน หมายถึง การจ่ายให้บุคลากรที่ทำงานมีผลงานเท่ากัน ได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน และจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่าสำหรับบุคลากรที่ทำผลงานได้มากกว่า หรือดีกว่า หรือที่มีความยากมากกว่า ดังนั้น จึงต้องมีการวิเคราะห์งาน และการประเมินค่างานอย่างโปร่งใส ด้วยหลักเกณฑ์เชิงประจักษ์ ที่จะสามารถเปรียบเทียบกันได้ระหว่าง งานทุกงาน และทักษะของบุคลากรทุกคนและทุกสาขา

๓.   ยอมรับในหลักการที่ว่าแต่ละงานแต่ละกิจกรรมของบุคลากรสาขาต่าง ๆ มีความสำคัญหรือแตกต่างกันได้จากปัจจัยกำหนดหลายประการ  เช่น ความยากง่ายของงาน  ความเสี่ยงในการทำงาน  ความจำเป็นเร่งด่วน หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทรวงฯหรือหน่วยงานถือเป็นนโยบายสำคัญ เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มค่าของงานหรือกิจกรรมของสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ดังกล่าว

๔.   ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน นี้สามารถกำหนดให้ใช้ได้กับทั้งผู้ทำงานรายบุคคล กับกลุ่มทีมงาน หรือกับหน่วยงาน  ครอบคลุมทั้งงานบริหาร งานบริการ และงานวิชาการ รวมทั้งครอบคลุมทั้งงานที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง และงานสนับสนุนอื่นๆ

๕.   ระบบค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ที่กำหนดจะต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งฝ่ายผู้บริหาร ซึ่งกำหนดนโยบาย และบุคลากรในหน่วยงาน โดยอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ความสามารถในการจ่ายและเป้าหมายขององค์กร

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเบิกจ่ายอย่างกว้างขวางในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จะต้องมีการพิจารณาถึงหลักพื้นฐานความเป็นธรรมระหว่างองค์กรด้วย

.................................................
สารบัญ
1 ความเป็นมา   4
2 หลักการ   6
3 การกำหนดค่าคะแนนประกันขั้นต่ำ   8
4 ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System)   11
4.1.2  ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) แบบ Apply activity base   15
4.1.3  ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) แบบ Result base: RW   16
4.1.4  ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) แบบ Modified Hay-Guide Chart   18
4.1.5  ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) แบบ Work Pieces   21
4.2  ระบบการคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System) แบบ Quality point   22
5 สัดส่วนการเบิกจ่ายระหว่างวิชาชีพ   23
6 วงเงินที่เบิกจ่าย   25
7 เงื่อนไขการเบิกจ่าย   26
8 การจัดกระบวนการภายใน การมีส่วนร่วม การตรวจสอบ   27
9 การอภิบาลระบบ กำกับและประเมินผล   33



8888
สพศท. แพทย์ชนบท เอ็นจีโอสาธารณสุข ยอมรับ "วิทยา" เป็น รมว.สธ.คนใหม่ เชื่อทำงานแก้ไขปัญหากระทรวงสาธารณสุขได้

พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย (สพศท.)  กล่าวถึงโผคณะรัฐมนตรีล่าสุด ซึ่งมีชื่อนายวิทยา บูรณศิริ แกนนำพรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ว่า ถือเป็นข่าวที่ดีมาก และรู้สึกดีใจที่ไม่ใช่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ตามที่มีกระแสข่าวในครั้งแรก ซึ่งผ่านมาตนได้เคยประสานงานกับนายวิทยามาก่อน ในช่วงที่มีการพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร์ โดยในช่วงนั้นนายวิทยาเป็นประธานวิปฝ่ายค้าน รับฟังปัญหาและความเห็นจากพวกเรา ถือว่าเป็นบุคคลที่ใช้ได้ ซ้ำยังบอกด้วยว่า หากร่างกฎหมายเข้าสภาฯ จริง จะยกเก้าอี้กรรมาธิการในการพิจารณากฎหมายให้กับพวกเราซึ่งเป็นแพทย์ที่ได้รับผลกระทบ เข้าไปนั่งในกรรมาธิการแทน เพื่อแก้ไขร่างกฎหมาย

พญ.ประชุมพร กล่าวว่า หากนายวิทยาได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้ว และเข้ารับตำแหน่งในกระทรวงสาธารณสุข พวกเรายินดีต้อนรับ และจะไปเข้าพบเพื่อพูดคุยให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาในส่วนของโรงพยาบาล ซึ่งต้องเข้าใจว่า ปัญหาโรงพยาบาลก็คือปัญหาของประชาชน หากโรงพยาบาลมีปัญหา และประชาชนจะได้รับบริการที่ดีได้อย่างไร

“คุณวิทยาจริง เรายินดีต้อนรับ เพราะเท่าที่เคยทำงานด้วย ท่านเป็นคนใจดี ฉลาด เรียนรู้งานได้เร็ว และเชื่อว่าท่านจะช่วยแก้ไขปัญหาภายในกระทรวงสาธารณสุขได้ แม้ว่าจะจับงานด้านกระทรวงเศรษฐกิจมาตลอดก็ตาม” พญ.ประชุมพร กล่าวและว่า ทั้งนี้นายวิทยาเป็นแกนนำพรรคเพื่อไทย เชื่อว่าจะทำตามนโยบายพรรคที่นายวิชาญ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยได้เคยหาเสียงไว้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ 30 บาท รวมไปถึงการขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเยียวยาผู้ป่วยในระบบประกันสังคมและระบบสวัสดิการข้าราชการ

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกุลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ยินดีที่นายวิทยาจะดำรงตำแหน่ง เนื่องจากไม่เคยมีประวัติทุจริตใดๆ และยังไม่เคยมาทำงานในดำรงตำแหน่งนี้ อย่างไรก็ตามเกณฑ์การประเมินผู้ที่ได้รับตำแหน่งรมว.สธ.ของชมรมฯ จะดูที่ตัวบุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่งมาแล้ว ส่วนตัวคิดว่านายวิทยาไม่น่ามีปัญหาอะไร

ทั้งนี้ สิ่งที่รมว.สธ.คนใหม่ควรทำคือ 1.สานต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2.ใช้หน่วยบริการปฐมภูมิดำเนินโยบายส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 3.ทำระบบบริการให้มีคุณภาพและเสมอภาค โดยต้องแก้ไขเชิงโครงสร้าง

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า หากเป็นนายวิทยาจริงก็ยินดี เชื่อว่าทำงานกับภาคประชาชนได้ สิ่งสำคัญที่รมต.คนใหม่ต้องเร่งทำคือ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพ ไม่กลับไปเก็บเงิน 30 บาท และแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับคนไข้อันเนื่องมาจากกฎหมายบางฉบับ.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 10 สิงหาคม 2554

8889
“ศิริราช” ผ่าตัดผู้ป่วยภาวะแขน-ขาบวม จากน้ำเหลือสำเร็จเป็นครั้งแรก  ด้วย “เทคนิค ซูเปอร์ไมโครเซอร์เจอรี” แพทย์ชี้เสียเลือดน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวไว
       
       วันนี้ (10 ส.ค)  นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวในการแถลงข่าว “ศิริราชผ่าตัดแขนขาบวมจากทางเดินน้ำเหลืองอุดตันสำเร็จเป็นครั้งแรกของไทย” ว่า   จากการที่วงการแพทย์มีความนิยมในการใช้กล้องผ่าตัดมาโดยตลอดนั้น ถือว่ามีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด คณะแพทย์จาก รพ.ศิริราช ได้มีการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยภาวะบวมน้ำเหลืองตามร่างกาย  เช่น แขน ขา ด้วยวิธีการต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำขนาดเล็กด้วยกล้องจุลทรรศน์ สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
       
       ด้านนพ.ศิริชัย กำเนิดนักตะ   อาจารย์แพทย์ประจำสาขาวิชาศัลยศาสตร์  แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด กล่าวว่า การผ่าตัดต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยเทคนิค ซูเปอร์ไมโครเซอร์เจอรี (supermicrosurgery) ประกอบด้วย กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง 40 เท่า ประมาณ 1-2 ตัว โดยมีศัลยแพทย์ประจำกล้อง 2 คน ต่อ 1 ตัว อุปกรณ์เครื่องมือพิเศษขนาดเล็กกว่า 0.8 มม.เข็มเย็บขนาดเล็ก 50-80 ไมครอน และไหมเย็บขนาดเล็กกว่าเส้นผม เบอร์ 11-0 หรือ 12-0 โดยการผ่าตัดใช้เวลานานที่สุด 7-8 ชม.แพทย์จึงให้ผู้ป่วยดมยาสลบแทนการฉีดยาชาเฉพาะที่  โดยขั้นตอนการผ่าตัดเริ่มด้วยการเปิดแผลกว้างประมาณ 3-4 ซม.  จากนั้นต่อทางเดินน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำประมาณ 3-4 ตำแหน่ง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษร่วมกับกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง
       
       “สำหรับขั้นตอนที่ยากที่สุดในการผ่าตัดอยู่ตรงช่วงเวลาของการหาหลอดน้ำเหลือง ซึ่งมีขนาดเล็กและบางมาก จะต้องแยกเนื้อทีละนิดเพื่อหาหลอดน้ำเหลือง ส่วนข้อดีของการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ จะช่วยให้เสียเลือดน้อย บาดแผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อเทียบกับการผ่าตัดรักษาวิธีอื่นๆ โดยวันรุ่งขึ้นหลังการผ้าตัด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านและใช้ชีวิตได้ตามปกติ ได้” นพ.ศิริชัย กล่าว
       
       
        ขณะที่   ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช หัวหน้าสาขาวิชาระบบศัลยศาสตร์ตกแต่ง กล่าวถึงภาวะบวมน้ำเหลือง ว่า อาการดังกล่าว  เป็นการคั่งค้างสะสมของน้ำเหลืองใต้ผิวหนัง เนื่องจากทางเดินน้ำเหลืองบริเวณที่ใกล้เคียงอุดกั้นหรือถูกทำลาย พบได้หลายอวัยวะทั้งแขน ขา อวัยวะเพศ เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ พันธุกรรม และการผ่าตัดที่ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองออกไป เช่น การผ่าตัดมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณปากมดลูก เต้านม หรืออัณฑะ,ภายหลังได้รับการฉายรังสีรักษาใกล้ขาหนีบรักแร้, ผิวหนังเกิดภาวะติดเชื้อและอักเสบรุนแรงอย่างซ้ำๆ
       
                   ศ.คลินิก นพ.อภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ในระยะต้นของโรคอาจไม่แสดงอาการใดๆ ตามมาด้วยอาการบวม แต่สามารถยุบบวมเองได้ ต่อมาผิวหนังมีความผิดปกติ เริ่มมีการสะสมของพังผืดใต้ผิวหนัง หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการอักเสบติดเชื้อใต้ผิวหนัง และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเชื้อจะกระจายสู่กระแสเลือด ในการรักษา ทำได้ด้วยการพันผ้ายืดให้ตึงพอดี หรือสวมถุงน่องที่กระชับพอดี ไม่แน่น หรือหลวมไปตลอดเวลาแม้กระทั่งเวลานอน ยกเว้นเวลาอาบน้ำ, นวดด้วยเครื่องอัดลม, การขันชะเนาะลดบวม และการผ่าตัดที่มีหลายวิธี ซึ่งการผ่าตัดต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยเทคนิคซูเปอร์ไมโครเซอร์เจอรี ค่าใช้จ่ายประมาณ 1 แสนบาทขึ้นไป แต่ผู้ป่วยในทุกสิทธิการรักษาพยาบาลทั้งประกันสังคม สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 สิงหาคม 2554

8890
ความคิดเห็นจากเวบผู้จัดการออนไลน์
ความคิดเห็นที่ 1
พวกปัญญาอ่อนแก้ไขการลาออกด้วยการผลิตเพิ่ม ชอบบอกว่าขาดแคลน ถามจริงเถอะครับผลิตไปเท่าไหร่มันก็ลาออก แล้วมันก็ขาดแคลน เพราะสาเหตุมันไม่ได้มาจากผลิตไม่พอจึงจะไปผลิตเพิ่ม แต่สาเหตุของการขาดแคลนมาจากการลาออก แล้วลาออกเพราะอะไรครับ เพราะเงินเดือนมันไม่พอยาใส้ หรือ สวัสดิการมันห่วยแตก 2 อย่างนี้ถ้าอย่างใดอย่างนึงดี ไม่มีไครอยากออกหรอกครับ ถ้าคุณบรรจุเป็นข้าราชการให้เค้า เค้าก็ไม่ลาออก หรือปรับสวัสดีการให้เค้าให้มันดี เค้าก็ไม่ลาออก หรือเพิ่มเงินเดือนให้เท่ากับลูกจ้างเอกชนเค้าก็ไม่ลาออก แต่ไอ้การผลิตเพิ่มเนี่ย ถุยยยยยยยย ปัญญาอ่อน
..........................
ความคิดเห็นที่ 7
ทำไมระบบราชการ คนที่นั่งหัวโต๊ะ
มักมีแต่คนโง่ กับคนโลภ หรือไม่ก็
พวกฉลาดแกมโกง
..........................
ความคิดเห็นที่ 22
ระบบพยาบาลบ้านเรา
ถูกออกแบบมาให้อยู่ภายใต้ระบบกดขี่ตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว
อย่างคณะพยาบาลชื่อดังของประเทศที่อ้างว่าตัวเองเป็นอันดับหนึ่ง
เด็กปีหนึ่งต้องผูกโบว์เกือบตลอดปี แต่งตัวถูกระเบียบเป๊ะ
เสื้อผ้าหน้าผมห้ามแตกแถว ทั้งที่คณะอื่นแต่งตามสบาย
ซ้อมเชียร์เกือบตลอดปีการศึกษา รุ่นพี่อ้างการฝึกระเบียบวินัย จริงจังซีเรียสกดดัน
พูดจากระแนะกระแหนเสียดสีรุ่นน้อง ดุด่า อ้างรุ่นพี่จำใจทำ
อ้างว่าไม่งั้นรุ่นน้องไม่เกรงใจรุ่นพี่ คิดได้ไงเนี่ย
จะให้ผู้อื่นเกรงใจ คุณก็ต้องทำตัวเองให้ดี
ไม่ใช่ไปบังคับให้คนอื่นเกรงใจ
รุ่นน้องใครหือใครเถียงจะไม่นับรุ่น
การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลถูกละเลยมองข้าม
ใครนุ่งกระโปรงเหนือเข่าซึ่งก็ไม่ได้มากอะไรรุ่นพี่ก็ไปแหกกระโปรงเขา
ระบบกดขี่โดยอ้างอาวุโส มันสะท้อนแวดวงพยาบาล
ที่กดขี่กันมาตั้งแต่หัวหน้าพยาบาลยันนักศึกษา
น่าจะเกิดจากปมด้อยที่ต้องเป็นลูกน้องหมอ เป็นชนชั้นมดงานในโรงพยาบาล
งานหนัก เงินน้อยกว่าหมอหลายเท่าตัว
สุดท้ายก็มาสร้างระบบชนชั้นในหมู่พยาบาลกดขี่กันเอง
.................................
ความคิดเห็นที่ 21
เห็นใจพยาบาลมากๆเพราะงานหนักแต่ไม่มีขวัญและกำลังใจเพราะว่าในหน่วยงานเกือบทุกแห่งจะถูกบังคับบัญชาโดยแพทย์(ทางอ้อมแต่มีpowerสูงลิบลิ่ว)แม้แต่หัวหน้าพยาบาลเองบางแห่งยังต้องถูกล๊อดสเป็คโดยแพทย์ ซึ่งหัวหน้าก็ต้องมัวแต่ทำงานรักษาตัวรักษาตำแหน่งไปวันๆ ลามมาถึงหัวหน้าตึก ทีนี้คุณภาพก็ต้องทำให้ได้ แต่เมื่อมีสวัสดิการอะไร ที่ต้องให้ แน่นอนระบบนี้รู้ๆกันอยู่ ต้องให้แพทย์ก่อนตามมาด้วย ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข ตามลำดับ คนในวงการรู้ดี ซึ่งถูกต้องแต่บอกได้เลยค่าตอบแทนและสวัสดิการของแพทย์มากจนไม่เหลือมาถึงพยาบาล พยาบาลบางแห่งคุณภาพสูงบางแห่งยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพ ตอนนี้สภาการพยาบาลคุมอยู่ก็เข้าท่าดี แต่คนในสภาก็ไม่ทราบว่ารู้ปัญหาการทำงานของพยาบาลจริงหรือไม่ เพราะกรรมการสภาเป็นอาจารย์เกือบหมดเลยไม่รู้ว่าปัญหาของพยาบาลที่อยูทำงานจริงๆคืออะไร อยากให้มีสัดส่วนของผู้ปฏิบัติเข้าไปนั่งในสภาบ้าง เพราะเลือกทีไรได้แต่อาจารย์เพราะอะไรละ ก็อาจารย์มีเวลาไปเป็นวิทยากรในที่ต่างๆมากมายใครๆก็รู้จัก แต่อยาลืมว่าอาจารย์ไม่ลึกซึ้งในปัญหาของผู้ปฏิบัติ ดังนั้นปัญหาของพยาบาลในหลายๆเรื่องจึงเกาไม่ถูกที่คันซะที เอ้าสภาการพยาบาลจะว่าอย่างไร จะช่วยคนในวิชาชีพอย่างไร มีบทบาทและประชาสัมพันธ์ตัวเองหน่อย
............................

8891
 เผยเหตุพยาบาลจบใหม่ส่วนใหญ่ลาออก เนื่องจากไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ เร่งแก้ไขพัฒนาระบบกำลังด้านพยาบาล ยกเครื่องทั้งระบบ 3 แนวทาง ตั้งทีมศึกษาข้อมูลการใช้กำลังอย่างแท้จริงใน รพ.ทุกระดับ พร้อมเตรียมออกนอกระบบและบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขมีสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ เชื่อลดปัญหาการลาออก
       
       วันนี้ (9 ส.ค.) ที่โรงแรมสุนีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ “แนวทางพัฒนาคน เพื่อพัฒนางานการพยาบาล” เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ แนวทางการพัฒนากำลังคนทางการพยาบาลและนวัตกรรมทางการพยาบาล มีพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศร่วมประชุมจำนวน 1,300 คน
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า แต่ละปีมีผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษาปีในสถานพยาบาลสังกัด สธ.ละ 180 ล้านครั้ง และผู้ป่วยในปีละ 2 ล้านคน ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคน โดยพยาบาลที่จบใหม่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ จึงเป็นสาเหตุให้ลาออกไปทำงานในภาคเอกชน ทำให้บุคลากรโดยเฉพาะพยาบาลที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 70,000-80,000 คน ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การแก้ไขด้านกำลังคนของพยาบาลจะต้องแก้ไขทั้งระบบ คือ 1.ต้องผลิตพยาบาลให้เพียงพอ และ 2.ต้องรักษาบุคลากรที่ผลิตมาให้ทำงานในระบบได้
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ทางออกการแก้ไขเรื่องกำลังคน กระทรวงสาธารรณสุขได้วางทิศทางแก้ไข 3 เรื่อง ได้แก่

1.ศึกษากำลังคนสุขภาพในระดับประเทศ และระดับกระทรวงสาธารณสุข โดยตั้งทีมวิชาการศึกษากำลังคนในสาขาต่างๆ ที่จำเป็นทั้งระบบ ทำงานควบคู่กับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกในหน่วยบริการทุกระดับ และศึกษาในหน่วยจัดการศึกษาทุกแห่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลการใช้กำลังคนที่แท้จริง คาดว่า จะได้ข้อสรุปในปลายปีนี้
       
2.เตรียมการออกนอกระบบ ไม่สังกัดกับ ก.พ.เพื่อบริหารกำลังคนแบบอิสระโดยมีพระราชบัญญัติรองรับคล้ายกับกระทรวงศึกษาธิการ และ

3.จัดระบบบริหารลูกจ้างชั่วคราวให้อยู่ในระบบได้ โดยจัดเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขรูปแบบเฉพาะ มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีสวัสดิการเช่นเดียวกับข้าราชการ และมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งเบื้องต้นจะมีพนักงาน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น กลุ่มเชี่ยวชาญพิเศษ และกลุ่มเทคนิคบริการ บริหารทั่วไป

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 สิงหาคม 2554

8892
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ขอเชิญร่วมงาน มหกรรมหมอพื้นบ้านนาชาติ ICETM 2011 พบกับกิจกกรมการออกบูธพร้อมกับการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย, นิทรรศการหมอพื้นบ้านนานาชาติและผลงานทางวิชาการภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน 8 ประเทศ, บริการคลินิกทางการแพทย์, เรือนสาธิตการรักษาด้วยแพทย์พื้นบ้าน, บริการคลินิกฝังเข็ม ชมสวนสมุนไพรในเขตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และกิจกรรมต่างๆอีกมากมาย ระหว่างวันที่ 24-28 สิงหาคม 2554 ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

ThaiPR.net  9 สิงหาคม 2554

8893
สธ. เตรียมขยายศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ(Transplant Center) ระดับภูมิภาคไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในสังกัด 5 แห่งทั่วประเทศ หลังโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ประสบผลสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตจากผู้ที่มีภาวะสมองตาย พร้อมให้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศอีก 95 แห่ง เป็นเครือข่ายรับบริจาคอวัยวะเพื่อเปลี่ยนทดแทนให้ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่รอเปลี่ยนไตจำนวน 2,654 คน

สธ.เล็งขยายศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะไปยัง รพ.ขนาดใหญ่ในสังกัด 5 แห่งทั่ว ปท.
ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 9 สิงหาคม 2554 13:23:00 น.
กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เตรียมขยายศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ(Transplant Center) ระดับภูมิภาคไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในสังกัด 5 แห่งทั่วประเทศ หลังโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ประสบผลสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตจากผู้ที่มีภาวะสมองตาย พร้อมให้โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศอีก 95 แห่ง เป็นเครือข่ายรับบริจาคอวัยวะเพื่อเปลี่ยนทดแทนให้ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่รอเปลี่ยนไตจำนวน 2,654 คน

"กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายกระจายบริการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะทุกประเภท เช่น ตับ, ไต, ปอด, หัวใจ, ดวงตา โดยพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี, โรงพยาบาลชลบุรี, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ให้เป็นศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะในระดับภูมิภาคครบวงจร" นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าว

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคเข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว และให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดทั่วประเทศที่มี 95 แห่ง เป็นเครือข่ายรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุและมีภาวะสมองตายแล้ว ตั้งเป้าภายใน 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2553-2554 จะผ่าตัดเปลี่ยนไตให้ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายให้ได้ 300 ราย และเพิ่มจำนวนผู้บริจาคอวัยวะให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 20 ต่อปี หลังจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ดำเนินการและประสบผลสำเร็จเป็นแห่งแรกแล้ว

ปัจจุบันพบว่าคนไทยป่วยจากโรคเรื้อรังมากขึ้น ที่สำคัญ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคถือว่าเป็นมหันตภัยเงียบ เมื่อโรคลุกลามไปมากจะทำให้เกิดไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ต้องได้รับการล้างไต เพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย ค่าใช้จ่ายสูงมาก ต้องล้างอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง การรักษาที่ดีที่สุดของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย คือการผ่าตัดเปลี่ยนไต (Kidney  Transplant ) ซึ่งเดิมทำได้เฉพาะโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและโรงเรียนแพทย์เท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ต่างจังหวัดขาดโอกาสได้รับบริการ ขณะนี้มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังขึ้นทะเบียนรอคิวผ่าตัดเปลี่ยนไตประมาณ 2,654 คนทั่วประเทศ

และข้อมูลจากสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ระบุว่า มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตตั้งแต่เริ่มมีการผ่าตัดในประเทศไทยจนถึง 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 4,864 ราย เฉลี่ยปีละ 200-300 ราย ซึ่งควรจะมีปีละประมาณ 1,000 รายต่อปี เนื่องจากขาดแคลนอวัยวะบริจาค

--อินโฟเควสท์ 9 สิงหาคม 2554

8894
กลุ่มหมอต่อต้าน กม.คุ้มครองผู้ป่วย รวมตัวฟ้องศาลยกเลิกกฎกระทรวงสิทธิตาย เหตุขัดมาตรา 4 พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ชี้เพิ่มอำนาจผู้ป่วยสร้างหลักเกณฑ์การรักษาเหนือผู้ประกอบวิชาชีพ

เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย พญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล และ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีที่การออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 และ ขอให้ยกเลิก เพิกถอนกฎกระทรวง ดังกล่าว

นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวต่อว่า เหตุผลที่ยื่นฟ้องศาลปกครองเพราะมองว่า การออกกฎกระทรวง ดังกล่าวขัดต่อมาตรา 4 พ.ร.บ. ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชา ชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค รวมทั้งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สร้างภาระให้กับการบริการสาธารณ สุข ขาดการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในขณะที่กฎกระทรวงดังกล่าวสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ที่สร้างภาระต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้มีภาระหนักเพิ่มกว่าเดิม และเป็น การยกระดับให้ผู้ป่วยมีอำนาจสร้างหลักเกณฑ์การรักษาเหนือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

นพ.,ฐาปนวงศ์กล่าวอีกว่า อีกทั้งกฎกระทรวงดังกล่าวมิได้มีผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะต้องพ้นจากความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่มีหนังสือแสดงเจตนา ในทางกลับกันต้องเป็นผู้วินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิต จึงไม่เป็นธรรมต่อทั้งผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ตั้งอยู่บนความเสี่ยงของเส้นลวดคนละเส้น กฎกระทรวงดังกล่าวจึงไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและเพื่อประโยชน์สาธารณะจึงขอให้ยกเลิก เพิกถอนกฎหมายดังกล่าว.


ไทยโพสต์  9 สิงหาคม 2554

8895
    นายแพทย์จักร สมณะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) เปิดเผย "ผู้สื่อข่าว" ว่า หลังจากที่โรงพยาบาลฯ ได้เปิดให้บริการผู้ป่วยในอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ได้การตอบรับจากประชาชนที่มีอาการเจ็บป่วยเข้ามารับบริการเป็นอย่างมาก เฉลี่ยวันละประมาณกว่า 100 คน และคาดว่าจะเพิ่มถึงวันละ 300 คน ในเร็วๆ นี้ โดยผู้ป่วยที่มาใช้บริการส่วนใหญ่มีอาการไข้หวัด ความดันโลหิตสูง และเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องข้อเสื่อมค่อนข้างมาก ส่งผลจึงมีผู้มาใช้บริการแผนกกระดูกและข้อเป็นจำนวนมากตามไปด้วย
    “โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต มีแพทย์เฉพาะทางทั้งอายุรกรรม ศัลยแพทย์ สูตินารีแพทย์ กระดูกและข้อ กุมารแพทย์ และทันตกรรม นอกจากการรักษาตามอาการแล้ว แพทย์ยังได้ให้คำแนะนำการดูแลรักษาสุขภาพให้กับประชาชน โดยให้หมั่นออกกำลังกายและตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมทั้งเสนอแพคเกจตรวจสุขภาพ ตามเพศและอายุไว้บริการประชาชนด้วย นอกจากความพร้อมด้านบุคลากรด้านการแพทย์แล้ว ยังมีความพร้อมด้านเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย เทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชน เช่น เครื่องทีซีแสกน เครื่องอัลตราซาวน์ หน่วยบริการไตเทียม เป็นต้น ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมั่นการให้บริการเหมือนกับโรงพยาบาลเอกชน แต่อัตราค่ารักษาเทียบเท่าโรงพยาบาลของรัฐบาล” นายแพทย์จักร กล่าว
    ขณะที่นายแพทย์วิวัฒน์ รัตนชัย แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมโรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้แพทย์อายุรกรรม พบว่าตลอดช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาหลากหลายโรค อาทิโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ทางเดินอาหารอักเสบ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ทางโรงพยาบาลมีความพร้อมทั้งการรับผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกตามขีดความสามารถที่กำหนดไว้ รวมถึงในส่วนของห้องไอซียูด้วย และเป็นที่น่ายินดีว่าในการจัดสถานที่ให้บริการนั้นก็ได้เตรียมไว้สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยทั้งห้องละหมาดและร้านอาหารฮาลาลภายในโรงพยาบาลด้วย
    อย่างไรก็ตามสำหรับโรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต ได้เปิดให้บริการผู้ป่วยนอกมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 และเปิดให้บริการผู้ป่วยในมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเป็นโรงพยาบาลขนาด 190 เตียง แต่เบื้องต้นให้บริการก่อน 120 เตียง เป้าหมายของการเปิดให้บริการเพื่อช่วยแบ่งเบาจำนวนผู้ป่วยจากโรงพยาบาลของรัฐที่มีเป็นจำนวนมากและแออัด โดยได้ว่าจ้าง บริษัท โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารจัดการ ทั้งนี้นับเป็นโรงพยาบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรกของประเทศไทยยกเว้นในส่วนของกรุงเทพมหานคร

เนชั่นทันข่าว 7 สค. 2554

หน้า: 1 ... 591 592 [593] 594 595 ... 651